กองทุน B-ASEAN และ B-ASEANRMF Q1/2023

กองทุน B-ASEAN และ B-ASEANRMF Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

“ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกในระยะยาวกับอินโดนีเซียและเวียดนาม โดยอินโดนีเซียได้รับแรงสนับสนุนหลักจากนโยบายภาครัฐ เช่น การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การแก้กฎหมายแรงงานทาให้ราคาค่าแรงมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น (จากอดีตที่ค่าแรงขั้นต่าขึ้นอย่างรวดเร็ว) และการพัฒนาอุตสาหกรรมกลาง-ปลายน้ำให้มากขึ้น (Downstreaming) จากที่เคยส่งออกวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเหล่านี้ทาให้อินโดนีเซียมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในขณะที่ เวียดนามได้ประโยชน์จากโครงสร้างประชากรที่เป็นวัยแรงงานสูงมีการจับจ่ายใช้สอยมาก และเป็นเป้าหมายของฐานการผลิตจากต่างชาติ อีกทั้งภาครัฐก็มีโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในวงเงินที่สูงเช่นกัน จึงคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ต่อไป”

มุมมองต่อตลาดอาเซียน
ปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นอาเซียนในปีนี้ มีหลายประเด็น ดังนี้

  1. การเติบโตของ GDP โดยรวมของประเทศต่างๆ ในอาเซียนมีแนวโน้มที่สดใส อยู่ที่ระดับประมาณ 5% ซึ่งอัตราการเติบโตนี้คาดว่าจะต่อเนื่องอีกหลายปี นาโดยเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
  2. เงินลงทุนตรงจากต่างชาติ (FDI) เข้ามาลงทุนในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพราะมีต้นทุนแรงงานถูก มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมาก บริษัทใหญ่ๆ ย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังประเทศอื่นๆ (กลยุทธ์ China+1) ซึ่งมีอาเซียนเป็นเป้าหมายที่สาคัญ ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย
  3. การเปิดประเทศของอาเซียนที่เริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีที่แล้วจะส่งผลบวกในปีนี้ทั้งปี เนื่องจากอาเซียนเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะเป็น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม โดยไทยมีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 12% ของ GDP ในขณะที่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนามอยู่ที่ประมาณ 4%-5% ของ GDP อีกทั้งการเปิดประเทศของจีนที่เริ่มตั้งแต่ต้นปีนี้ ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวของอาเซียน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเวียดนามและไทย เป็นคนจีนประมาณ 30% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูง
  4. การชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ทำให้ธนาคารกลางของประเทศในอาเซียนมีความผ่อนคลายมากขึ้น
  5. เมื่อพิจารณาทั้งปี 2023 มีแนวโน้มว่า จะเห็นการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐและราคาน้ำมัน ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐส่งผลบวกต่อค่าเงินในสกุลเงินอาเซียน อีกทั้งการที่ราคาน้ำมันชะลอตัวลง ทำให้ประเทศในอาเซียนที่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิได้ประโยชน์ (ยกเว้นมาเลเซียที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิ)
    พอร์ตการลงทุน
    ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกในระยะยาวกับอินโดนีเซียและเวียดนาม อินโดนีเซียได้รับแรงสนับสนุนหลักจากนโยบายภาครัฐ เช่น การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การแก้กฎหมายแรงงานทำให้ราคาค่าแรงมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น (จากอดีตที่ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นอย่างรวดเร็ว) และการพัฒนาอุตสาหกรรมกลาง-ปลายน้ำให้มากขึ้น (Downstreaming) จากที่เคยส่งออกวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเหล่านี้ทำให้อินโดนีเซียมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในขณะที่ เวียดนามได้ประโยชน์จากโครงสร้างประชากรที่เป็นวัยแรงงานสูงมีการจับจ่ายใช้สอยมาก และเป็นเป้าหมายของฐานการผลิตจากต่างชาติ อีกทั้งภาครัฐก็มีงบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในวงเงินที่สูงเช่นกัน จึงคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ต่อไป

Disclaimer: เอกสารนี้ จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนาในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่ง ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต