2023 – The Rise of Asia |
INVESTMENT STRATEGY
By BBLAM
“พอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 BBLAM ยังมองโอกาสอยู่ที่เอเชีย และจีน นอกจากนี้ การจัดพอร์ตที่มีหุ้นของธุรกิจ Premium brands และตราสารหนี้ ก็เป็นโอกาสลงทุนที่น่าสนใจ”
สัปดาห์นี้ คุณมทินา วัชรวราทร CFA, Head of Investment Strategy, BBLAM พูดถึง B-SELECT ซึ่งเป็นมุมมองของโอกาสลงทุนในไตรมาส 2 ของปีนี้
B-SELECT เป็นการแนะนำกองทุนที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีใน 6-12 เดือนข้างหน้า กองทุนที่แนะนำให้เข้าซื้ออาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละไตรมาส โดยหลักการพิจารณากองทุนที่แนะนำจะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานด้านแมคโคร ด้านพื้นฐานของบริษัท พื้นฐานของกองทุน และราคาเป็นหลัก โดยในไตรมาส 2 นี้ BBLAM ยังมองโอกาสอยู่ที่เอเชีย และจีน นอกจากนี้ การจัดพอร์ตที่มีหุ้นของธุรกิจ Premium brands และตราสารหนี้ ก็เป็นโอกาสลงทุนที่น่าสนใจ ไตรมาส 2 นี้ BBLAM แนะนำ 4 กองทุน ได้แก่ B-ASIA, B-CHINE-EQ, B-PREMIUM และ B-DYNAMIC BOND
กองทุน B-ASIA
1. ปัจจัยพื้นฐาน
- ในการจัดพอร์ต BBLAM มองว่ากองทุน B-ASIA น่าสนใจเนื่องจาก เอเชียอยู่ในคนละวัฐจักรกับตลาดอเมริกา ในขณะที่ตลาดเอเชีย ให้ผลตอบแทนไม่ดีมาทั้งในปี 2021 และปี 2022 ทั้งจากเรื่องเฟดขึ้นดอกเบี้ย และเรื่องเงินเฟ้อ ในขณะที่ปีนี้ ความเสี่ยงเหล่านี้ลดลงไป แต่ละประเทศในเอเชียขึ้นดอกเบี้ยนำหน้าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไปแล้ว เป็นการเตรียมพร้อม จนทำให้ประเทศอย่างเกาหลี และไต้หวัน อาจไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก และพร้อมจะลดดอกเบี้ยหากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ดอกเบี้ยและเงินเฟ้อไม่ได้เป็นปัจจัยที่กดดันเอเชีย
- ในด้านค่าเงิน ที่ผ่านมาหากเฟดยังคงส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อ ค่าเงินดอลลาร์จะแข็ง ซึ่งจะสร้างแรงกดดันให้เงินไหลออกจากภูมิภาคเอเชีย แต่ในปีนี้ที่เฟดส่งสัญญาณชะลอ หรือหยุดการขึ้นดอกเบี้ย ดอลลาร์อ่อนค่า และฟันโฟลว์เริ่มหันกลับมาไหลเข้าเอเชียมากขึ้น
- ในเรื่องของกำไรของบริษัทจดทะเบียน ถึงแม้ว่าไตรมาส 4/2022 กำไรของ Asia Ex-Japan จะยังคงปรับลดลง 26% จากปีที่แล้ว และลดลง 35% จากไตรมาสที่แล้ว แต่แนวโน้มกำไรของเอเชียจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับจีน ตลาดคาดว่าปีนี้ กำไรจะอยู่ที่ 7% และมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำ และเศรษฐกิจในเอเชียที่ค้าขายกับจีนค่อนข้างสูง การปรับประมาณการณ์กำไรลงได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
2. ในด้านการประเมินมูลค่า
- 12M Forward P/E ของเอเชียอยู่ที่ 11.09 เท่า อยู่ที่ประมาณค่าเฉลี่ยสิบปี ไม่ถือว่าแพง สามารถสะสมได้
3. การปรับพอร์ตของกองทุน B-ASIA
- ที่ผ่านมา กองทุนมีการลงทุนในหุ้นฮ่องกงและจีนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่มูลค่าไม่แพง และกลายเป็นประเทศที่กองทุนให้น้ำหนักสูงกว่าประเทศอื่นๆ กองทุนลงทุนในอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวได้ดี จาก current account surplus โดยที่มูลค่าปรับระดับลงมาจนน่าสนใจ
- ตัวอย่างการเข้าซื้อของกองทุน
กองทุนเข้าซื้อ Delhivery บริษัทขนส่งที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย และกินสัดส่วน 25% ในมูลค่าตลาดทั้งหมดซึ่งบริษัทนี้จะได้ประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรม e-commerce ของอินเดียที่กำลังเติบโตในขณะนี้
กองทุนเข้าซื้อ Largan Precision ไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่องการออกแบบและผลิตเลนส์กล้องในมือถือ Largan เป็นบริษัทผู้นำในการผลิต และพัฒนานวัตกรรมการผลิตเลนส์ ในช่วงที่ผ่านมาที่เกิดชิปขาดแคลนทำให้การผลิตมือถือล่าช้า ทำให้การสั่งของถูกเลื่อนออกไป แต่เมื่อ supply chain disruption คลี่คลาย ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อบริษัท
กองทุน B-CHINE-EQ
ในการจัดพอร์ต Asset Allocation BBLAM ให้น้ำหนักหุ้นจีนเป็น overweight เนื่องจากปัจจัยทั้งสามปัจจัยต่อไปนี้
1. ปัจจัยพื้นฐาน
- ในด้านของเศรษฐกิจ ข้อมูลเศรษฐกิจหลาย ๆ อย่างบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวได้ดี อย่างเช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ทั้งภาคการผลิตและการบริการ บ่งบอกว่าเศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวแบบ V-shape โดย PMI Composite ในเดือนล่าสุดออกมาอยู่ในโซนขยายตัวที่ระดับ 57 โดยที่ภาคการผลิตอยู่ในโซนขยายตัวที่ 51.9 และภาคบริการอยู่ที่ 58.2 เป็นตัวเลขที่มากกว่าที่ตลาดคาด เป็นสัญญาณบวกให้กับตลาดหุ้น
- ในด้านการปล่อยสินเชื่อ ถึงแม้ว่าทุกครั้งที่ตลาดหุ้นจีนสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างร้อนแรง จะมาจากการใช้เงินกู้หรือ margin loan และมีสภาพคล่องในระบบที่ค่อนข้างสูง แต่เชื่อว่า ในรอบนี้ถึงแม้ว่าการปล่อยสินเชื่อจะไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นสูงมากเหมือนในอดีต แต่ตลาดหุ้นจะถูกขับเคลื่อนด้วยกำไรของบริษัทจดทะเบียนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นั่นคือการผลิต และการบริโภค
- ในด้านสภาพคล่องของจีน โดยพิจารณาจาก Total Social Financing จากรูปจะเห็นว่า สภาพคล่องโดยรวมทั้งระบบ ไม่ได้ถือว่าต่ำ เหมือนปี 2022
- ในด้านผลประกอบการ ในไตรมาส 4/2022 กำไรของปี 2022 ของ MSCI China ปรับเพิ่มขึ้น 7% มาจากตลาด A-Shares 13% และมาจากฝั่ง HK-listed -3% ตลาดยังคงมีมุมมองเชิงบวกสำหรับกำไรในปี 2023 โดยคาดว่ากำไรของ MSCI China จะสามารถเติบโตได้ 15-20%
2. Valuation
- ในขณะที่ Valuation อยู่ในเกณท์ที่ยังไม่แพง โดยที่ Forward P/E ของตลาดจีนมีดังนี้ MSCI China 12.7x, China A-Shares 14.2x, Hang Seng Index 9.2x
3. ในเรื่องของนโยบาย
- จากการประชุมสองสภาของจีนที่จัดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม 2023 สรุปใจความสำคัญจากการประชุมนี้ คือ ผู้กำหนดนโยบายค่อนข้างตระหนักถึงเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมากจากการล็อกดาวน์ในปี 2022 ดังนั้น ในปีนี้ การดำเนินนโยบายเป็นไปในลักษณะ pro-growth และไม่ได้มีนโยบายใดๆ ที่เข้ามาควบคุมอุตสาหกรรมใดเป็นพิเศษ และยังคงมีการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มีสภาพคล่อง เป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุน
- นโยบายการควบคุมบริษัทเทคโนโลยี BBLAM เชื่อว่าการเข้ามาควบคุมและเข้มงวดจะค่อยๆ ลดลง แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทเอกชนกับภาครัฐบาลและเป็นการแก้ไขปัญหาร่วมกันมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น การอนุมัติเกมส์ออนไลน์ที่ทางการอนุมัติเพิ่มขึ้น และมีเกมส์ของ Tencent อยู่ในเกมส์ที่อนุมัติด้วย ถือเป็นสัญญาณที่ดี หรือว่าการที่ Alibaba แยกตัวออกมาเป็น 6 กลุ่มธุรกิจเพื่อเป็นการ unlock value และทำให้ธุรกิจแต่ละธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถระดมทุนเพิ่ม หรือ IPO ได้ ซึ่งตลาดหุ้นจีนก็ตอบรับวิธีนี้เป็นอย่างดี
4. สรุปประเด็นการลงทุนกองทุน B-CHINE-EQ
- CSI 300 และ Hang Seng Index ปรับตัวขึ้นจาก 17% และ 40% แล้วจากจุดต่ำสุด จากข่าวเรื่องการเปิดประเทศ เป็นการปรับตัวขึ้นจาก deep discount valuation คือมูลค่าที่ต่ำเกินความเป็นจริงและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นจีน อย่างไรก็ตาม BBLAM มองว่า ขาแรกของการปรับตัวขึ้นของสองตลาดนี้ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ก็ยังแนะนำนักลงทุนว่าสามารถสะสมได้ เนื่องจากมูลค่าที่พิจารณาจากทั้ง Forward P/E 12M และ Earning Yield Gap ยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง อีกทั้งความเสี่ยงต่าง ๆ ลดลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะมาจากความเสี่ยงเรื่องนโยบาย และเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงเรื่องหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยที่ในปี 2023 เรามองว่ากองทุนจีนที่สามารถปรับตัวขึ้นได้จากการบริโภค ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยวภายในประเทศ จึงยังแนะนำสะสมอย่างต่อเนื่อง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/10-14-2023