โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM
อัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯ ชะลอลงสู่ 4.0% YoY ในเดือนพ.ค. ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 4.1% โดยได้แรงหนุนจากราคาพลังงานที่ลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมสินค้าที่ราคาผันผวน เช่น อาหารและพลังงาน ซึ่งได้ชะลอตัวลงสู่ระดับ 5.3% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2021
· ในรายองค์ประกอบราคาพลังงานลดลง -11.7% YoY (เทียบกับ -5.1% เดือนก่อน) ในขณะที่ ราคาอาหารชะลอลงมาที่ 6.7% YoY (เทียบกับ 7.7% เดือนก่อน) ส่วนราคารถยนต์ใหม่ปรับขึ้น (4.7% เทียบกับ 5.4% เดือนก่อน) ด้านบริการขนส่งชะลอลงมาที่ 10.2% YoY เทียบกับ 11.0% เดือนก่อน)
· เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอลงมาที่ 0.1% MoM ในเดือนพ.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย. โดยราคารถยนต์มือสองมีส่วนหนุนอัตราเงินเฟ้อรายเดือนมากที่สุด ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังยืนนิ่งที่ 0.4% MoM เท่าเดือนก่อน
· ในระยะข้างหน้า เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ น่าจะชะลอลงต่อเนื่อง ทั้งจาก 1) ฐานสูงจากช่วงปีก่อนที่มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อรายปีในระยะข้างหน้าปรับลดลง 2) ราคารถมือสองที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นปัจจัยระยะสั้นๆ
· Bloomberg ได้ประมาณการว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.จะอยู่ที่ราว 3.x% YoY ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2023 ตลาดมองว่าจะอยู่ที่ราว 4.1%
· สำหรับการประชุม FOMC ที่จะถึงนี้ ตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันที่ 5-5.25% ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้