BBLAM Weekly Investment Insights 20-24 พฤศจิกายน 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 20-24 พฤศจิกายน 2023

The Rise of Asia

INVESTMENT STRATEGY

By BBLAM

“ต้องยอมรับว่า ณ วันนี้ ผลตอบแทนการลงทุน “ตลาดเอเชีย” ในหลายๆ ประเทศ ไม่ได้เป็นไปตามคาด ทำให้นักลงทุนผิดหวัง เต็มไปด้วยความผันผวน ความสับสน ความไม่แน่นอนมากมาย บางตลาดถึงขั้นปรับตัวลงเข้าสู่ Bear Market  ทำให้เชื่อว่า การลงทุนในภูมิภาคเอเชีย  ยังคงคำถามอีกมากมายอยู่ในใจนักลงทุน เช่น จีนยังลงทุนได้ไหม? China Dream จบแล้วใช่ไหม? ควรเพิ่มสัดส่วนลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงหรือไม่? หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ยังให้ผลตอบแทนดีต่อไปในปีหน้าหรือไม่?”

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด (BBLAM) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ Allianz Global Investor, Invesco, Nomura Asset Management, Nippon Life India และ Kotak Mahindra จัดงาน BBLAM’s Asia Plenary Fund Series ครั้งแรก ภายใต้แนวคิด Demystifying Asia’s Growth Opportunities for 2024 and Beyond: ไขปริศนาโอกาสเติบโตของทวีปเอเชียในปี 2567 และอนาคตข้างหน้า เพื่อเป็นข้อมูล Insights, Investment Perspective ให้กับนักลงทุน

พีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง จำกัด (BBLAM) กล่าวว่า หลังโควิด-19 ผ่านพ้นไป ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ และตั้งแต่ต้นปีนี้ นักลงทุนยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังและมองโลกในแง่ดี

แต่ไม่นานมานี้ จะได้ยินแต่คำว่า Lower for longer มาถึงวันนี้ มีแต่ผู้คนพูดว่า “Higher for longer” เผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน “ภาวะเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูงยาวนาน” และที่น่าตกใจอย่างยิ่ง เมื่อเห็นอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ (Bond Yield) ปรับขึ้นมาระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี

ต้องยอมรับว่า ณ วันนี้ ผลตอบแทนการลงทุน “ตลาดเอเชีย” ในหลายๆ ประเทศ ไม่ได้เป็นไปตามคาด ทำให้นักลงทุนผิดหวัง เต็มไปด้วยความผันผวน ความสับสน ความไม่แน่นอนมากมาย บางตลาดถึงขั้นปรับตัวลงเข้าสู่ Bear Market  ทำให้เชื่อว่า การลงทุนในภูมิภาคเอเชีย  ยังคงคำถามอีกมากมายอยู่ในใจนักลงทุน เช่น จีนยังลงทุนได้ไหม? China Dream จบแล้วใช่ไหม? ควรเพิ่มสัดส่วนลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงหรือไม่? หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ยังให้ผลตอบแทนดีต่อไปในปีหน้าหรือไม่?

อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนอยากได้จากการลงทุนในตราสารหนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอีกไหม? สงครามที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน จะจบลงในรูปแบบใดและเมื่อไหร่?

แต่สำหรับ “นักลงทุนสถาบัน” และ “ผู้จัดการกองทุน” กลับมองว่า เป็นโอกาสหาไอเดียการลงทุนใหม่ๆ และแสวงหา Alpha ได้จากการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย

เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นที่เอเชีย 

ดังนั้น การลงทุนใน “ภูมิภาคเอเชีย” นักลงทุนควรได้รับความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จาก Investment Partners ถึงการเติบโตในอนาคตข้างหน้า รวมถึงทิศทางและจุดหมายของการลงทุนจะเป็นไปในทิศทางใดในปี 2024

ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist BBLAM กล่าวว่า ปี 2023 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับการลงทุนในเกือบทุกสินทรัพย์ เนื่องด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคไม่เอื้ออำนวย เราไม่สามารถใช้ข้อมูลเชิง Macroeconomics ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนได้ง่ายเท่าเมื่อก่อน เพราะจากปีนี้เป็นต้นไป ไม่มีสภาพคล่อง ไม่มีดอกเบี้ยต่ำ เป็นตัวหนุนการลงทุนอีกแล้ว นอกเหนือจากนั้น Event Risk เช่น สงคราม และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ยังเป็นชนวนต่อความผันผวนในตลาด ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ของนักลงทุนด้วย

เมื่อเราไม่สามารถเล่น “ท่าง่าย” ในการกำหนดจังหวะการลงทุน BBLAM จึงปรับเปลี่ยนมาใช้ “ท่ายาก” เพื่อเฟ้นหาโอกาสที่จะได้ผลตอบแทน ปีนี้เป็นปีที่เราใช้ข้อมูลเชิงอุตสาหกรรมผนวกกับข้อมูลเชิงประเทศเป็นตัวกรองในชั้นที่ละเอียดขึ้น เพื่อเฟ้นหาอุตสาหกรรมในประเทศที่ยังเติบโตได้ดี ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรม Apparels ที่ดูเหมือนจะเป็นอุตสาหกรรมตะวันตกดิน หรือ Sunset Industry ในหลาย ๆ ประเทศ แต่อุตสาหกรรมนี้กลับเป็นอุตสาหกรรมตะวันขึ้น หรือ Sunrise Industry ในเวียดนาม ในกลุ่มของสิ่งทอ โดยเฉพาะกลุ่ม High-Fashion การเติบโตของ Sub-Industry นี้ สะท้อนการเติบโตของรายได้และความกินดีอยู่ดีของชาวเวียดนาม เราไม่ได้มองเวียดนามในฐานะของการเป็นประเทศฐานผลิตอีกต่อไป แต่เวียดนาม คือ ประเทศที่มีศักยภาพที่จะกลายเป็นผู้บริโภคหลักของภูมิภาคในอนาคต 

ในอดีต ทุกปีจะมีประเทศในเอเชียอย่างน้อยหนึ่งประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่น ซึ่งด้วยตัวกรองที่ละเอียดขึ้น ทั้ง Cross-Industry ผนวกกับ Cross-Country นี้ BBLAM จะใช้เป็นปัจจัยในการกำหนด กลยุทธ์การลงทุนเพื่อเฟ้นหาอุตสาหกรรมในประเทศศักยภาพของเอเชียที่จะ Outperform  ในปี 2024 และในปีต่อ ๆ ไป

เช่นเดียวกับ  “เคน ลิน” หัวหน้าฝ่ายตัวกลางธุรกิจฮ่องกง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Invesco กล่าวถึง Asia 2024 – Where will the Dragon Soar ว่า ท่ามกลางความเสี่ยงไม่คาดคิดปีนี้ แต่เราเชื่อว่า ระยะข้างหน้า “เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย” เติบโตสูงสุด 

มาจากนโยบายต่างๆ ของหลายประเทศ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ชนชั้นกลางมีรายได้สูงขึ้น สถานการณ์เงินเฟ้อในเอเชียยังต่ำ จะเป็นแรงหนุนการปรับตัวขึ้นของกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในเอเชีย

ขณะเดียวกัน “การลงทุนในวิกฤติ เป็นโอกาสที่ทำเงิน” และ “การลงทุนระยะยาวมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดี” สะท้อนจากดัชนี MSCI AC Asia ex Japan ช่วง 25 ปีที่ผ่านมา (ปี 1998 – 2023) มีผลตอบแทน 5.8% และ Invesco Asian Equity Fund มีผลตอบแทนถึง 10.7% 

ทั้งนี้  Invesco จะกำหนดนโยบายการลงทุนในเอเชียแบบเฉพาะเจาะจง มุ่งสร้างผลตอบแทนต่อปี ระดับ 10% ขึ้นไป เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่มีราคาเหมาะสม ลงทุนระยะ 3-5 ปี และกระจายการลงทุนต่อเนื่อง ในพอร์ตจะมีหุ้นราว 50-60 ตัว  

มีกลยุทธ์การจับจังหวะการลงทุน “ซื้อในราคาที่ต่ำ และขายในราคาที่สูง” มุมมองการลงทุนในเอเชียระยะข้างหน้า “ปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุน” ใน อินเดีย เกาหลีใต้ จีน มีโอกาสเติบโต “ปรับลดน้ำหนักลงทุน” ในไต้หวัน อินโดนีเซีย หลังจากราคาหุ้นปรับตัวขี้นมากแล้ว

“หุ้น NASDAQ สหรัฐฯ ช่วงที่ผ่านมา แม้ยากลำบาก ยังให้ผลตอบแทนดีอยู่ แต่เมื่อเห็นเอเชียยังมีโอกาสหาหุ้นที่ดี นักลงทุนควรจะกระจายการลงทุนและเฟ้นหาแกะดำ ตัวที่ทำเงินให้ได้ด้วย”

เฟ้นหา “หุ้นจีน” ลดเสี่ยงพอร์ตลงทุน

แน่นอนว่า  Invesco  ยังคงชื่นชอบ “หุ้นจีน” มากที่สุด  “เคน” มองว่า “หุ้นจีน” มีกลุ่มธุรกิจที่มีกำไรปรับตัวดี เช่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ประกัน การบริโภค พลังงานกังหันลม และในระยะยาวยังน่าลงทุน จากมาตรการภาครัฐหนุนเศรษฐกิจเติบโตและงบการเงินของธุรกิจยังดูดี

“แม้หุ้นจีน ตอนนี้ มีปัจจัยลบกระทบบรรยากาศการลงทุนอยู่ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่เชื่อว่า ทางการจีน รัฐบาลจีนจะพยายามหาแนวทางสร้างความสมดุลย์และการกระจายการเติบโตในส่วนต่างๆ ให้ดีขึ้นได้”

“ซาร่าห์ เลียน” ผู้ชำนาญการสินค้าอาวุโส Allianz Global Investors กล่าวถึง China’s Innovation Pathway ว่า “ตลาดหุ้นจีน” ยังเป็นตลาดหลักของภูมิภาคเอเชีย และยังมีโอกาสในปี 2024 เพียงแต่ “ต้องเลือกให้แม่นยำขึ้น”

สำหรับ “หุ้นจีน” ที่ยังมี “ราคาต่ำ” เป็นเพรชเม็ดงามน่าลงทุน ได้แก่ เฮลธ์แคร์ ไอที โทรคมนาคม ใช้กลยุทธ์ลงทุน “เข้าซื้อในราคาต่ำ ขายราคาที่สูง”  ถึงแม้บอกไม่ได้ว่า จุดที่ราคาหุ้นต่ำอยู่ตรงไหน แต่เรามองว่า “ราคาหุ้นจีนในปัจจุบัน น่าเข้าลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้า”

และที่สำคัญ “หุ้นจีน” ยังควรมีอยู่ในพอร์ตลงทุน เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน เพราะว่า หุ้นจีนมีความหลากหลาย ไม่ว่าในภาวะที่ดีหรือไม่ดี และยังมีส่วนที่เชื่อมโยงกับสินทรัพย์การลงทุนส่วนอื่น ๆ น้อยมาก

“อินเดีย” แลนด์มาร์กใหม่การลงทุนระยะยาว

“อังกิต สันเชติ” ผู้จัดการการลงทุน กลยุทธ์การลงทุนหุ้น Kotak Mahindra Asset Management กล่าวถึง Incredible India: Finding Opportunities in the World’s Leading Growth Market amidst Global Uncertainties ว่า “อินเดีย” เป็นโอกาสลงทุนระยะยาวที่มาพร้อมกับการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหม่ ขณะที่ การเลือกตั้งอินเดีย ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า อาจเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนกำลังจับตา หากไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาด ทำให้ยังมีความผันผวนได้บ้าง

 แต่เรายังมองการลงทุน “หุ้นอินเดีย” เป็นการเล่นเกมส์ระยะยาว และด้วยราคาหุ้นน่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมาก หรือทรงตัวในปี 2024 แนะนักลงทุน คว้าโอกาสนี้ไว้ “ปรับพอร์ต มีหุ้นอินเดียมาเป็นส่วนหนึ่ง” เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะกลางถึงยาว

มีธีมการลงทุน น่าสนใจระยะสั้น เช่น การเงิน ค้าปลีก ท่องเที่ยว การผลิตจากรายได้ต่อหัวประชาการที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนระยะกลางถึงยาว จากปัจจัยหนุน เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (สนามบิน ระบบรางรถไฟ ถนน) เพื่อเชื่อมต่อระบบเมือง การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มเข้าสู่ตลาดอีวีมากขึ้น และจะมีการลงทุนเพิ่มเติมอีกกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ลงทุนในพลังงานทางเลือกและหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำ ทดแทนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ

ขุดขุมทรัพย์ ใน “ตลาดหุ้นญี่ปุ่น”

“เคน นากาโนะ” หัวหน้าทีมกองทุนเชิงรุก กลุ่มธุรกิจกองทุนเชิงรุกญี่ปุ่น Nomura Asset Management กล่าวถึง The Land of Rising Stocks: Investing in Japan ว่า “หุ้นญี่ปุ่น” แม้จะไม่เซ็กซี่ เหมือนหุ้นสหรัฐฯ แต่ยังเป็น “หุ้นที่มีมูลค่า” ซึ่งนักลงทุนโด่งดัง มีแนวคิดลงทุนแบบเน้นคุณค่า มากกว่าราคา อย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ยังตัดสินใจเข้ามาลงทุนเพิ่มสัดส่วนลงทุนในบริษัทเทรดดิ้งชั้นนำญี่ปุ่น หนุนราคาหุ้นกระโดดขึ้นเพิ่มเป็น 2 เท่า

เราจึงมองการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น เสมือนเป็น “การมองหาขุมทรัพย์” ที่นักลงทุนควรกลับไปพิจารณา เพราะในโลกการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป มูลค่าหุ้นญี่ปุ่น ได้รับการถูกปลดล็อกมากขึ้น จะทำให้การลงทุนหุ้นญี่ปุ่น มีผลตอบแทนคุ้มค่าชัดเจนมากขึ้นเช่นกัน

ดังนั้น มุมมองกลยุทธ์ลงทุน “ราคา คือ สิ่งที่ต้องจ่าย และมูลค่า คือ สิ่งที่จะได้” หากลงทุนหุ้นญี่ปุ่นในปัจจุบันที่พีอียังน้อยกว่า 20 เท่า คาดว่าจะสามารถให้ ROE 12% หรือสูงกว่าในระยะข้างหน้า นับว่า การให้ผลตอบแทนหุ้นญี่ปุ่น สามารถเทียบเท่าดัชนี SP 500 สหรัฐฯ ด้วยราคาหุ้นญี่ปุ่นถูกกว่ามาก

“หุ้นอาเซียน” ไม่ควรมองข้าม 

“ดนัย อรุณกิตติชัย” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ BBLAM กล่าวถึง Finding Investment Opportunities in Asian Equities ว่า ท่ามกลางแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศหลังในปี 2024 “เศรษฐกิจอาเซียน” ยังค่อนข้างมีเสถียรภาพมากกว่า และในสถานการณ์ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศ ฝั่งอาเซียนยังได้ประโยชน์ มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงเข้ามากระจายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลง

แม้ปัจจุบัน “หุ้นอาเซียน” ยังทำผลตอบแทนไม่ดี หรือไม่หวือหวาในปีนี้ แต่ระยะยาวยังคงมีความน่าสนใจ และระดับมูลค่าหุ้นในปัจจุบันที่ถูก โดยดัชนีหลัก ๆ อย่างเวียดนาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีผลตอบแทนใกล้เคียงหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่น 

กลยุทธ์ลงทุนหุ้นอาเซียน เน้นเฟ้นหาธุรกิจที่ได้ประโยชน์ จากแนวโน้มการใช้โมบายแบงก์กิ้งเพิ่มขึ้นของคนในอาเซียน และการย้ายฐานการผลิตมาในอาเซียน 

มีมุมมองปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุน ในหุ้นอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย กลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มแบงก์  เทเลคอม ขณะที่ปรับลดน้ำหนักลงทุน ในหุ้นมาเลเซีย เพราะมีเศรษฐกิจเติบโตช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน  

พิจารณาการลงทุนระยะ 1-3 ปีข้างหน้า สามารถสร้างผลตอบแทนมากกว่าตลาด อย่างกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) ทำผลตอบแทน (YTD) 4.2% มากกว่าดัชนีอ้างอิงที่ 2.1% กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนาม (B-VIETNAM) ทำผลตอบแทน (YTD) 15.3% มากกว่าดัชนีอ้างอิงที่ 12.4% (ข้อมูล ณ สิ้นกันยายน 2566)

ติดตาม VDO ในแต่ละช่วงของงานได้ที่นี่ 

BBLAM แนะนำกองทุน 

ลงทุนหุ้น ASIA – Ex Japn : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF

ลงทุนหุ้นจีน : B-CHINE-EQ หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-CHINAARMF และ B-CHINESSF

ลงทุนหุ้นอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF

ลงทุนหุ้นอาเซียน : B-ASEAN หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASEANRMF

ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF

ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF 

ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF

U.S.

By BBLAM

“อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง”

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ เมื่อเทียบรายปี ชะลอตัวลงมาที่ 3.2% YoY ในเดือนตุลาคม จาก 3.7% สองเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 3.3% ในรายสินค้า ต้นทุนพลังงานลดลง -4.5% (เทียบกับ -0.5% เดือนก่อน) โดยน้ํามันเบนซินลดลง -5.3% บริการก๊าซสาธารณูปโภค (ทางท่อ) ลดลง -15.8% และน้ำมันเชื้อเพลิง -21.4% นอกจากนี้ ราคาอาหารชะลอลง (3.3% เทียบกับ 3.7% เดือนก่อน) เช่นเดียวกับที่อยู่อาศัย (6.7% เทียบกับ 7.2%เดือนก่อน) และรถยนต์ใหม่ (1.9% เทียบกับ 2.5% เดือนก่อน) ด้านราคารถยนต์และรถบรรทุกมือสองหดตัวต่อเนื่องที่ -7.1% ในทางกลับกันสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นเร็วได้แก่เครื่องแต่งกาย (2.6% เทียบกับ 2.3% เดือนก่อน) สินค้าดูแลทางการแพทย์ (4.7% เทียบกับ 4.2%เดือนก่อน) และบริการขนส่ง (9.2%เทียบกับ 9.1%เดือนก่อน) เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน CPI ไม่เปลี่ยนแปลงหรือ 0% MoM เป็นการเปลี่ยนแปลงราคารายเดือนในอัตราต่ำสุดในรอบสิบห้าเดือนและต่ำกว่าการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น 0.1% เนื่องจากราคาน้ํามันเบนซินที่ลดลง (-5%) ชดเชยการเพิ่มขึ้นของราคาที่พักพิง (0.3%) ก๊าซธรรมชาติ (1.2%) และอาหาร (0.3%) 

ทั้งนี้ ดัชนี CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้น 4% YoY และ 0.2% MoM ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 4.1% และ 0.3% ตามลําดับ 

สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2023 ตลาดคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 4.2% ก่อนจะลดระดับลงมาที่ 2.7% ในปี 2024 สำหรับความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยปรับตัวลงมา จากเดิมที่ตลาดมองว่าเกิน 60% เป็น 55%

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/20-24-2023