BBLAM Weekly Investment Insights 18-22 ธันวาคม 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 18-22 ธันวาคม 2023

2023 – The Rise of Asia

INVESTMENT STRATEGY

By BBLAM

“5 เทรนด์เทคโนโลยีปี 2024 ที่นักลงทุนต้องรู้”

BBLAM แนะนำกองทุน 

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF 

กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF

กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯ พื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF

ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF

ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF 

ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และกองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่  ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดอีก 1 แสนบาท ได้แก่ B-TOP-THAIESG

Market & Economy

U.S.

By BBLAM

“ตลาดปรับความคาดหวังที่มีต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯลงอีกภายหลังจากที่ FOMC เผย Dot Plot ล่าสุด โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้าจะลดระดับลงมาอยู่ที่ 4.1%”

คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25%-5.5% เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ทั้งนี้ FOMC ได้ส่งสัญญาณผ่าน Dot Plot ล่าสุดว่ามีมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ว่าจะลดระดับลงมา  75 bps สู่กรอบ 4.5-4.75% 
Minute การประชุมระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจสะท้อนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯชะลอตัว ส่วนการจ้างงานยังเพิ่มขึ้นในระดับที่แข็งแกร่งแต่อัตราที่เพิ่มขึ้นนั้นอยู่ใน Moderate Pace คือขยายตัวปานกลาง ด้านอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ สำหรับอัตราเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลงในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง
พร้อมกันนี้ FOMC ยังได้เผยแพร่การคาดการณ์เศรษฐกิจใหม่โดยมองว่า GDP Growth ปี้นี้จะอยู่ที่ 2.6% (เทียบกับ 2.1% ในการคาดการณ์เดือนก.ย.) และปรับ GDP Growth ลงเล็กน้อยในปี 2024 (1.4% เทียบกับ 1.5%) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อ PCE ยังปรับลดลงทั้งปี 2023 (2.8% เทียบกับ 3.3%) และปี 2024 (2.4% เทียบกับ 2.5%) รวมถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน PCE ซึ่งอยู่ที่ 3.2% ในปี 2023 (เทียบกับ 3.7%) และ 2.4% (เทียบกับ 2.6%) ในปี 2024 ประมาณการการว่างงานอยู่ที่ 3.8% สําหรับปี 2023 และ 4.1% สําหรับปีหน้า

Market Reaction
ตลาดปรับความคาดหวังที่มีต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯลงอีกภายหลังจากที่ FOMC เผย Dot Plot ล่าสุด โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้าจะลดระดับลงมาอยู่ที่ 4.1%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับลดลงในช่วงอายุ 2-10 ปี โดยช่วงอายุ 10 ปีมาอยู่ที่ 3.98

Fixed Income

ความเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้ พฤศจิกายน 2023

By BBLAM

“ตลาดเริ่มให้น้ำหนักที่ FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในครึ่งปีแรกของปี 2024 ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ตลาดมีความกังวลเรื่องปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการแจกเงินดิจิตอลของรัฐบาลได้ผ่อนคลายลงหลังมีการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขมาตรการใหม่”

ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุประมาณ 0.05% – 0.40% จากเดือนก่อน เป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีที่ปรับลดลงกว่า 0.60% ในเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ระดับ 4.32% โดยตลาดตราสารหนี้ได้รับปัจจัยบวกจากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯที่ส่งสัญญาณถึงการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้  ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาในเดือนพฤศจิกายนส่งสัญญาณที่ชะลอตัวลงทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ และอัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมที่ลดลงมาอยู่ที่ 3.2% จาก 3.7% ในเดือนก่อน ส่งผลให้ตลาดเริ่มให้น้ำหนักที่ FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในครึ่งปีแรกของปี 2024 ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ตลาดมีความกังวลเรื่องปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการแจกเงินดิจิตอลของรัฐบาลได้ผ่อนคลายลงหลังมีการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขมาตรการใหม่  ทำให้จะใช้วงเงินงบประมาณลดลงเหลือ 500,000 ล้านบาท และรัฐบาลมีแผนที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาผ่านรัฐสภา  ซึ่งจะทำให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ล่าช้าออกไปจากแผนเดิม    

สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยในวันที่ 29 พฤศจิกายมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% โดยกนง.ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว  แต่ภาคการส่งออกอาจจะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก  พร้อมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2023 และ 2024 ลงเหลือ +2.4% และ +3.2% จากเดิม +2.8% และ +4.4%   ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนของไทยอยู่ที่  -0.44%  ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 33 เดือนโดยมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ทำให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานปรับลดลงถึง -4.74% 

สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ  แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯและการประชุมของ FED ในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่จะส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วภายในครึ่งปีแรกของปี 2024  ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้หรือไม่  ซึ่งหาก FED ยังกังวลต่อทิศทางเงินเฟ้อ และยืนยันการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป  อาจทำให้ตลาดปรับเปลี่ยนมุมมองทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯกลับมาผันผวนในทิศทางขาขึ้นได้     สำหรับปัจจัยภายในประเทศ   ตลาดยังคงต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และมาตรการลดค่าครองชีพต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการขาดดุลการคลังและส่งผลต่อปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/18-22-2023-1