กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)

เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นจีน

ตลาดหุ้นจีนช่วงที่ผ่านมาเผชิญกับภาวะการขายโดยใช้อารมณ์จากนักลงทุนรายย่อยที่มองตลาดทุนเป็นเครื่องมือสำหรับการทำกำไรระยะสั้น (Short term Focus) และมีพฤติกรรมซื้อขายหลักทรัพย์โดยดูจากโมเมนตัมเป็นหลัก นักลงทุนกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 85% ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์รายวัน (Daily Market turnover) ปัจจัยระยะสั้นที่ว่านี้กระทบต่อจิตวิทยาของนักลงทุนรายย่อยจีนเนื่องจากกังวลสงครามการค้าและเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่มีการลดหนี้ (De-leveraging) ว่าอาจทำให้เครื่องยนต์ที่เคยใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลายปีที่ผ่านมาจะหยุดชะงักลง ด้วยเหตุที่ว่านี้ราคาหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศจึงลดลงมากกว่าราคาหุ้นจีนที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในต่างประเทศอาทิ ฮั่งเส็ง และแนสแดก

การเคลื่อนไหวด้านพอร์ตโฟลิโอของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) เล็งเห็นโอกาสในช่วงที่ราคาหุ้นลดลงจึงเพิ่มสัดส่วนถือครองหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และวัสดุ ตัวอย่างการลงทุนที่เห็นได้ชัดคือ บริษัท Hua Hong Semiconductor ผู้ผลิตชิปเทคโนโลยีชั้นสูงประเภท 8 inch wafers กองทุนถือครองหุ้นดังกล่าวอยู่ในอันดับ 7 ของพอร์ตลงทุนในสัดส่วน 3.1% หุ้นดังกล่าวสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตมากที่สุด (Top Positive Contributor) โดยนับตั้งแต่วัดจัดตั้งกองทุน B-CHINE-EQ  ราคาหุ้นบริษัท Hua Hong เพิ่มขึ้นถึง 67% หากมองย้อนหลัง 1 ปีราคาหุ้นเพิ่มถึง 170% เนื่องจากยอดขายสินค้าบริษัทประเภทชิปของบริษัทได้รับความต้องการจากผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า จึงดันยอดขายและกำไรสุทธิเติบโตสูงสุด

ในทางตรงข้ามหุ้นลงทุนในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ของพอร์ตลงทุนสร้างผลตอบแทนไม่ดีเพราะปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนรายย่อยเบาบางจากกความกังวลการค้ากับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามกองทุนให้น้ำหนักกับบริษัทในกลุ่มดังกล่าวน้อย โดยเลือกที่จะถือครองบริษัทหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพ มีส่วนแบ่งตลาดสูง มีการขยายธุรกิจไปยังดิจิทัลเทรด มีรายได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน และวานิชธนกิจ

ที่มา: Allianz Global Investor

มุมมองต่อตลาดหุ้นและกลยุทธ์การลงทุน

การรวมหุ้นจีนเข้าในดัชนี MSCI Emerging Market เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2018 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโครงสร้างตลาดทุนจีนในสายตาของนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากมูลค่าตลาดหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศ (Onshore) ที่มีมูลค่าสูงถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตลาดทุนโลกสัดส่วนของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศที่เหมาะสมควรอยู่ที่สัดส่วนมากกว่า 18% ใน MSCI EM Index ปัจจุบันมีเพียง 0.73%

การปรับตัวลดลงของตลาดที่ผ่านทำให้เกิดความวิตกว่าหุ้นจีนจะร่วงซ้ำรอยเหมือนปี 2015 หรือไม่ พิจารณาแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เนื่องจาก

  1. เศรษฐกิจมหภาคและพื้นฐานบริษัทแข็งแกร่งกว่า 3 ปีก่อนเห็นได้จากดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ เช่น Purchasing Manager Index (PMI) และ Industrial Profit Growth สูงกว่าปี 2015 อยู่มาก
  2. กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตได้ตามที่ตลาดคาดแม้จะอยู่ในช่วงที่มีความขัดแย้งการค้ากับสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงปัจจัยภายนอก (External Factor) ที่จีนเผชิญและส่งผลเชิงลบต่อการลงทุนระยะสั้น
  3. ระดับราคาหุ้นในดัชนี MSCI All China ปัจจุบันซื้อขายที่ 11.5 X Forward P/E เนื่องจากหุ้นบางตัวในดัชนีถูกแรงเทขายอย่างขาดการพิจารณาในช่วงที่ข่าว Trade War สะพัด ช่วงดังกล่าวผู้จัดการลงทุนในต่างประเทศของกองทุน B-CHINE-EQ ได้เพิ่มหุ้นคุณภาพเข้าพอร์ตในช่วงที่ตลาดย่อลง โดยเข้าไปเก็บบริษัทดีๆ ในกลุ่มธุรกิจระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (Industrial Automation) ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภท Smart Device บริษัทในกลุ่มเกษตรกรรม ท่องเที่ยวและบันเทิง

จุดเด่นกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)

โอกาสการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศ (Onshore) และต่างประเทศ (Offshore) เรียกได้ว่าเป็น One Stop Shop” (ดูได้จากกราฟ 1)

ปัจจัยบวกและลบต่อตลาดหุ้นจีนในระยะถัดไป

(+) ท่ามกลางสงครามการค้า กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี MSCI All China ในไตรมาส 2Q2018 ยังเติบโตได้ระดับ 11-13% ต่อปี ซึ่งถือว่าเท่ากับ/สูงกว่าที่ตลาดคาดภายหลังเกิดสงครามการค้า [กราฟ 2 แสดงให้เห็นว่าระดับ Valuation ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี (สำหรับหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศ) และใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 10 ปี (สำหรับหุ้นจีนที่จดทะเบียนต่างประเทศ)] เมื่อใดก็ตามที่ความกังวลการค้ายุติลงมีโอกาสที่หุ้นจะเพิ่มขึ้น (Re-Rating) ภายหลังจากที่ถูกแรงขายจากนักลงทุนรายย่อยในช่วงก่อนหน้านี้

(+) โครงการเชื่อมโยงระหว่างตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง (Shanghai HK และ Shenzhen HK Stock Connect) ช่วยพัดพากระแสเงินลงทุนต่างชาติเข้าตลาดจีน Mainland ปัจจุบันสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติในตลาด A-Shares มีสัดส่วนเพียง 5.4% ของ Free float Market Cap (หรือ 2.1% ของ Full Market cap) การเข้ามาของ flow ต่างชาติ จะช่วย “ปลดล็อค” มูลค่าของหุ้นจีน ซึ่งยังซื้อขายใน valuation ที่ต่ำ

(+/-) ความเสี่ยงในภาคสินเชื่อจีนไม่ได้สร้างปัญหาให้กับตลาดหุ้นจีน เนื่องจากเป็นหนี้จำนวนมหาศาลนั้น เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจที่แทบจะไม่ได้มีความได้เปรียบในการแข่งขันหรือจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจดีๆ ในระบบที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพในการทำกำไรและมีงบการเงินแข็งแกร่ง

Key questions and answers จากผู้จัดการกองทุน Allianz All China Fund ซึ่งที่ทำหน้าที่บริหารการลงทุนในต่างประเทศ (Outsource Fund Manager) ให้กับกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)

  1. สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน (Trade war) ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทจดทะเบียนมากน้อยเพียงไหน

ส่งผลกระทบน้อยมากต่อกำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนในพอร์ตลงทุนใน 2Q2018 หรือแทบจะไม่กระทบ เนื่องจากหุ้นที่ถือครองมีความสัมพันธ์กับการบริโภคในประเทศตามการวางกลยุทธ์จัดพอร์ตของผู้จัดการกองทุน

  1. อัพเดทความเคลื่อนไหวของหุ้นสำคัญๆ ในพอร์ตกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)30 มิ.ย. 2018
  • China International Travel (หุ้นอันดับ 3 น้ำหนักลงทุนในพอร์ต 1%, ) ราคาขึ้นมา New High ทำให้ P/E สูงขึ้น ผู้จัดการกองทุนจึงเริ่มหาไอเดียใหม่ๆ ด้วยการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นขนาดเล็ก-ขนาดกลางที่ทำธุรกิจคล้ายกันแทน
  • Angle yeast (หุ้นอันดับ 5 น้ำหนักในพอร์ต 4%) รายได้บริษัทกว่า 1 ใน 3 มาจากต่างประเทศ การที่เงินหยวนอ่อนค่าตั้งแต่ต้นปีส่งผลบวกต่อกำไร เนื่องจากรายได้ในต่างประเทศที่มาจากยอดขายในยุโรปตะวันออกและแอฟริกาเหนือ เมื่อบันทึกแปลงกลับมาเป็นหยวนจึงได้มากขึ้น บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าเนื่องจากไม่ได้ส่งสินค้าไปขายยังสหรัฐฯ ราคาหุ้นที่ลดลงจาก Sentiment ผู้จัดการกองทุนจึงใช้โอกาสนี้ในการสะสมหุ้นเข้าในพอร์ต
  • Wuliangye Yibin (หุ้นอันดับ 6 น้ำหนักลงทุนในพอร์ต 1%) มี Earning Growth เติบโตมาก ทำให้ราคาหุ้น Outperform ตลาด กองทุนเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นเนื่องจากเชื่อมั่นต่อการเติบโต
  • ภาพรวมกองทุนเน้น Overweight หุ้นกลุ่ม Domestic consumption เช่น Consumer discretionary และ Consumer Staple รวมถึงกลุ่ม Industrial เนื่องจากมีแนวโน้มการเติบโตสูง
  • นอกจากนี้หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ซึ่งเป็น Best performing sector ของหุ้นจีนใน 2Q2018 และราคาหุ้นกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นกว่า 10% ทั้งที่ตลาดร่วง YTD ในระยะหลังราคาหุ้นอาจลดลงบ้างจากประเด็นที่ทางการเข้ามาสอบสวนคุณภาพของผู้ผลิตยาและวัคซีน (Safety of Vaccine) ให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้นราคาหุ้นจึงร่วงลงในช่วงท้าย ทั้งนี้กองทุนจะรอจนราคาลดลงมากกว่านี้และจะกลับมา Overweight ณ Good Entry point เนื่องจากมองว่าเป็น Secular Growth Sector ของหุ้นจีนไปอีกยาวไกล อีกทั้งยังมี Innovative Drug maker (อาทิบริษัท Hua tong Pharmaceutical), Healthcare Service provider และ Gene Testing Service เนื่องจากเป็น Growth sector ที่มีกำไรเติบโตกว่า 60% ต่อปีในไตรมาสที่ผ่านมา

กลยุทธ์พอร์ตลงทุนยังคงเน้นบริษัทในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จาก

  1. การบริโภคในประเทศจีน (Higher Purchasing power) – สัดส่วน Export to GDP ลดลงจาก 35% ในปี 2007 เหลือ 19% ในปี 2018, รายได้ต่อหัวของคนจีน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 11,000 ดอลลาร์ (อาทิ Wuliangye Yibin ผลิตสุราขาวพรีเมี่ยม)
  2. การใช้จ่ายด้านเฮลธ์แคร์ที่สูงขึ้น (อาทิ บริษัทที่ลงทุน Jiangsu Hengrui Medicine, Aier Eye Hospital Group)
  3. นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า (อาทิ บริษัทที่ลงทุน Midea Group ซึ่งใช้หุ่นยนต์ AI ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, บริษัท Han’s Laser Technology ทำธุรกิจเลเซอร์ตัดโลหะโดยใช้เลเซอร์)