กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของกองทุนบัวหลวง

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของกองทุนบัวหลวง

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)

BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES

“รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์”

  • บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นโลกผ่อนคลายมากขึ้น จากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่ตลาดจับตามองนั้น มีพัฒนาการออกมาในเชิงบวก ทั้งการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ใกล้จะบรรลุข้อตกลงเฟสแรกร่วมกันได้ และ Brexit ที่สามารถเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไปได้อีก 3 เดือน ทว่า ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกมาเพิ่มเติมนั้น ยังส่งสัญญาณชะลอตัวลง เช่น ดัชนี ISM ภาคการผลิตของสหรัฐฯที่ออกมาที่ 47.8 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และยูโรโซน PMI หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และ GDP ไตรมาส 3 ของจีนโต 6% ต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวอาจจะเป็นตัวชี้วัดที่ตามหลังภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ตลาดกำลังตั้งความหวังว่า การผ่อนคลายนโยบายการเงินลงรอบใหม่นี้จะเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้
  • ถ้าดูที่นโยบายการเงิน สภาพคล่องทางการเงินโลกที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนสินทรัพย์เสี่ยง และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐครั้งล่าสุดนั้น ก็ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามตลาดคาด อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งนี้ ถือเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเท่ากับจำนวนการลดดอกเบี้ยในช่วงกลางวัฏจักรเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว และถ้อยแถลงของ Fed หลังการประชุมก็ส่งสัญญาณว่า Fed มีแนวโน้มที่จะพักวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลังจากนี้ ดังนั้นการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปในอนาคตนั้นจึงสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเศรษฐกิจโลกปรับตัวฟื้นขึ้น หรือ Fed จะ ‘behind the curve’ อีกครั้ง
  • ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลก ส่วนหนึ่งจาก Fund Flow ต่างชาติที่ยังคงไหลออกอยู่ และอิทธิพลของการปรับสัดส่วน MSCI ที่เพิ่มน้ำหนักหุ้น A-Share โดยในเดือนพฤศจิกายน จะมีการเพิ่มเฟสสุดท้ายจาก 15% เป็น 20% ขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐาน คาดว่าผลประกอบการไตรมาสสามจะชะลอตัวลง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องและความกังวลว่าสงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากขึ้น โดยในเดือนตุลาคมนี้ตลาดปรับตัวลงประมาณ 2% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิประมาณ 7.8 พันล้านบาท เป็นการขายต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม แต่ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.17 หมื่นล้านบาท

มุมมองตลาดหุ้นไทย :

การลงทุนในช่วงปลายปีต่อต้นปีหน้ามีโอกาสเป็นเชิงบวกมากขึ้น หนุนโดยปัจจัยภายนอกที่ผ่อนคลายมากขึ้น และจากปัจจัยภายใน โดยคาดว่างบประมาณปี 2563 จะสามารถเบิกจ่ายได้ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2563 และการลงทุนภาคเอกชน จากการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC หลังรัฐบาลสามารถสร้างความคืบหน้าได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การลงทุนจะเป็นไปแบบ Selective มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เติบโตชะลอลง และยังคงมีความเปราะบางอยู่ จึงเชื่อว่า ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด และเลือกลงทุนหุ้นที่มีแนวโน้มธุรกิจดี ผลการดำเนินงานดี และมีระดับราคาเหมาะสมในการเข้าลงทุน
ทั้งนี้ เรายังคงกลยุทธ์พิถีพิถัน โดยต้องอาศัยความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนในช่วงสั้น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน

(+) ตัวเลขเศรษฐกิจจากภาคการท่องเที่ยวและส่งออกจะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงไฮซีซั่น โดยการส่งออกจะมีวงจร (Cycle) ช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ที่ทำให้ผู้ประกอบการจะเร่งส่งออกช่วงเดือน พ.ย. โดยฉพาะสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างไรก็ตามปีนี้อาจจะพิเศษกว่าทุกปีที่ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามต่อไป

(+) Down Side ตลาดหุ้นน่าจะจำกัด จากแรงซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่คาดว่าจะเริ่มเห็นทยอยลงทุนภายในระยะเวลาที่เหลือของปี (2 ปีที่ผ่านมาในช่วง Q4 มีเงินลงทุนผ่าน LTF ปี 2560: 33,625 ลบ. ปี 2561: 32,000 ลบ.) ทั้งนี้ ผู้ลงทุนบางส่วนก็เลือกที่จะซื้อในวันสุดท้าย เพราะฉะนั้นต้องรอติดตามว่าเงินจะเข้ามากระจุกตัวอยู่ในช่วงไหน

(+) รัฐบาลมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  เช่น กระตุ้นการท่องเที่ยว การบริโภค การลงทุน ต่อเนื่อง อีกทั้งการลงทุนภาคเอกชน จากการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC หลังรัฐบาลสามารถสร้างความคืบหน้าได้อย่างต่อเนื่อง จึงน่าที่จะเป็นปัจจัยบวกต่อกองทุนหุ้นไทย

(+/-) หลายประเทศดำเนินการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจภายในของแต่ละประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่การดำเนินนโยบายการคลัง ยังต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่เข้มข้นขึ้น อาทิ การลดดอกเบี้ย รวมถึงการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ ขณะที่ในประเทศ มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เช่นกัน โดยกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.25% และด้วยภาวะดอกเบี้ยระดับต่ำ สภาพคล่องส่วนเกินในโลกที่มีอยู่มากและยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนไปหาแหล่งที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงขึ้น เมื่อเทียบกับผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาล ทำให้ตลาดหุ้นจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในระยะถัดไป

(-)  ปัจจัยลบภายในประเทศจาก ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนงวดไตรมาส 3/2562 ที่ประกาศออกมา แม้ว่าจะยังประกาศออกมาไม่ครบแต่ก็แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการชะลอ จากผลกระทบจากสงครามการค้าและเงินบาทแข็งค่า อีกทั้งตลาดมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีปัจจัยบวกอย่างชัดเจน

(-)  แม้ว่าจะเริ่มมีความคืบหน้าของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ หลังสหรัฐฯ และจีนสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าบางส่วนในการเจรจา ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 10-11 ต.ค. 2562 ที่ผ่านมาได้ แต่จากการให้ข่าวของผู้นำ จึงยังมีความไม่แน่นอนสูง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน 

บัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงหุ้นระยะยาวอยู่ที่ 3.42% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 5.40% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม (ธุรกิจสัตว์บก ราคากลับมาฟื้นตัวได้ดี การแพร่ระบาดของโรค ASF ในจีนและเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสส่งออกได้มากขึ้น ส่วนกลุ่มเครื่องดื่ม เรื่องการขึ้นภาษีน้ำหวาน ไม่ได้กระทบอะไร เพราะกลุ่มนี้เตรียมรับมือมานานแล้ว) และ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและมีการขยายไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสเติบโต)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้างเล็กน้อย ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ เป็นต้น

บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 อยู่ที่ 3.01% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 5.4% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม (ธุรกิจสัตว์บก ราคากลับมาฟื้นตัวได้ดี การแพร่ระบาดของโรค ASF ในจีนและเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสส่งออกได้มากขึ้น ส่วนกลุ่มเครื่องดื่ม เรื่องการขึ้นภาษีน้ำหวาน ไม่ได้กระทบอะไร เพราะกลุ่มนี้เตรียมรับมือมานานแล้ว) และ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและมีการขยายไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสเติบโต)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้างเล็กน้อย ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น

บัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล อยู่ที่ -1.24% และเกณฑ์มาตรฐาน (80% ของ SET TRI และ 20% ของ MSCI World Net Total Return Index) อยู่ที่ 6.90% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม (ธุรกิจสัตว์บก ราคากลับมาฟื้นตัวได้ดี การแพร่ระบาดของโรค ASF ในจีนและเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสส่งออกได้มากขึ้น ส่วนกลุ่มเครื่องดื่ม เรื่องการขึ้นภาษีน้ำหวาน ไม่ได้กระทบอะไร เพราะกลุ่มนี้เตรียมรับมือมานานแล้ว) และพาณิชย์ (ความคาดหวังจากภาครัฐ ที่ออกมาตรการกระตุ้นรอบใหม่ จะช่วยดันเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวในไตรมาส 4/2562 เช่น โครงการ 100 เดียวเที่ยวไทย วันธรรมดาราคาช็อกโลก และ ชิมช้อปใช้ เฟส 1-3)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

บัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF) 

ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (มี.ค.-ต.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว อยู่ที่ 3.31% และและเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 0.33% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ ขนส่งและโลจิสติกส์ (ความต้องการเดินทาง ฟื้นตัวตามท่องเที่ยว ต้นทุนน้ำมันเริ่มผ่อนคลาย) และ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและมีการขยายไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสเติบโต)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ วัสดุก่อสร้าง ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย

ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ต.ค. 2562