เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาส 3 ยังไม่ถึงขั้นถดถอย ลุ้นกลับมาฟื้นตัวจากนี้ถึงปี 2020

เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาส 3 ยังไม่ถึงขั้นถดถอย ลุ้นกลับมาฟื้นตัวจากนี้ถึงปี 2020

BF Asean Corner สิงคโปร์เพิ่งจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ออกมา โดยตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจเมื่อเทียบไตรมาสที่ 3 ปีนี้ กับไตรมาสที่ 3 ปี 2018 เติบโต 0.1% ถือว่าดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่า ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะเผชิญกับภาวะถดถอยทางเทคนิค เมื่อไปดูตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 เทียบกับไตรมาสที่ 2 จะเติบโตอยู่ที่ 0.6% จากที่ไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาสแรก หดตัวไป 2.7% ก็ทำให้ตลาดรู้สึกคลายความกังวลใจที่มีต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์ เนื่องจากยังไม่ได้เกิดภาวะถดถอยอย่างเช่นที่เคยคาดการณ์ หากย้อนไปดูตัวเลขครึ่งปีแรกของปีนี้ เทียบกับครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.4% จะพบว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก อันเป็นผลมาจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ประกอบกับสิงคโปร์พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การค้าโลกชะลอตัว จึงได้รับผลกระทบมากที่สุด อย่างไรก็ดี เมื่อดูรายอุตสาหกรรม จะพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ฉุดรั้งจีดีพีของสิงคโปร์ไว้จะเกี่ยวข้องกับการส่งออก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ […]

เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดี แล้วเหตุใดเวียดนามจึงลดดอกเบี้ย ?

เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดี แล้วเหตุใดเวียดนามจึงลดดอกเบี้ย ?

BF Asean Corner ธนาคารกลางเวียดนาม เพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับตลาด เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่าเวียดนามจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีอยู่ หากถามเหตุผลว่า ทำไม เวียดนามจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6.25% เป็น 6% มีอยู่ 2 เหตุผลหลัก ได้แก่ 1.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศเอาไว้ 2.ขณะนี้อยู่ในวงจรที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างกลับมาปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง ทำให้เวียดนาม ไม่ต้องการ behind the curve หรือปรับดอกเบี้ยช้าเกินไป จึงเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามเช่นกัน ทั้งนี้ มี 2 ปัจจัยสนับสนุนให้เวียดนามสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ โดยปัจจัยแรก ก็คือ อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก คือ ต่ำกว่า 3% อีกปัจจัยคือ ค่าเงินดองค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา เวียดนามเป็นประเทศที่ใช้นโยบายการเงินต่างจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่จะใช้การเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเป็นหลักเพื่อไปกระทบกับอัตราเงินเฟ้อ อย่างเช่น ไทย อินโดนีเซีย […]

เจาะลึกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซียของ โจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ผ่านร่างงบประมาณปี 2020

เจาะลึกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซียของ โจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ผ่านร่างงบประมาณปี 2020

โจโค วิโดโด หรือโจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของอินโดนีเซีย จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน ต.ค. นี้ ซึ่งเขาเสนอร่างแผนงบประมาณประจำปี 2020 มูลค่า 2,500 ล้านล้านรูเปียห์ ไปเมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา งบนี้จะอนุมัติในเดือน ต.ค. มีเป้าหมายหลักเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซีย สำหรับการดำเนินงานของโจโควีในสมัยที่ 2 นี้ ยังเน้นเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับช่วงที่เป็นประธานาธิบดีสมัยแรก แต่เพิ่มเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพมากขึ้นเข้าไป เพื่อสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมในประเทศให้เติบโต ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้เข้ามามากขึ้น นอกจากนี้โจโควีมีนโยบายปฏิรูปภาษี โดยภาษีสำคัญอย่างหนึ่งคือ ภาษีรายได้นิติบุคคล ที่จะลดลงจาก 25% เหลือ 20% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาค ประเด็นเหล่านี้ให้ประโยชน์กับภาคธุรกิจใดบ้าง ติดตามได้จากคลิปวิดีโอนี้

สิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น เฟดส่งซิกผ่อนคลายนโยบายการเงิน คาดอาเซียนดำเนินรอยตาม

สิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น เฟดส่งซิกผ่อนคลายนโยบายการเงิน คาดอาเซียนดำเนินรอยตาม

BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้มีท่าทีผ่อนคลายในการดำเนินนโยบายทางการเงินมากขึ้น ทำให้ตลาดคาดการณ์กันว่าอาจสิ้นสุดรอบอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ขณะที่แนวโน้มของธนาคารกลางแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนน่าจะดำเนินรอยตาม ด้วยการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเช่นเดียวกับเฟด ส่วนรายละเอียดของแต่ละประเทศอาเซียนจะเป็นอย่างไร สามารถรับฟังความคิดเห็นของ Macro Analyst ของกองทุนบัวหลวงได้ในคลิปวิดีโอนี้

เศรษฐกิจอาเซียนในระยะข้างหน้าน่าจะเร่งขึ้นจากแรงส่งของอุปสงค์ภายในประเทศ

เศรษฐกิจอาเซียนในระยะข้างหน้าน่าจะเร่งขึ้นจากแรงส่งของอุปสงค์ภายในประเทศ

BF Asean Corner ผ่านมาเกือบครึ่งปีแล้วสำหรับปี 2019 สำหรับเศรษฐกิจของอาเซียนในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ยังคงมีโมเมนตัมที่สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและมาเลเซียขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่นับว่าดูดีเลยทีเดียวท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนในขณะนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์และสิงคโปร์จะขยายตัวได้น่าผิดหวังเล็กน้อย แต่ก็มีปัจจัยเฉพาะที่สามารถอธิบายได้คือ ฟิลิปปินส์เป็นผลจากความล่าช้าในการผ่านร่างนโยบายงบประมาณ สำหรับสิงคโปร์เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก ก็ย่อมได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้า รวมถึงเป็นผลของฐานที่สูงของช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมาอีกด้วย แต่อย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจอาเซียนในไตรมาสแรกของปี สามารถทำให้เติบโตได้ดี คืออุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ขณะที่ การบริโภคภาครัฐบาลในบางประเทศ และการลงทุนในทุกประเทศอาเซียนยังไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร สำหรับในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจของประเทศอาเซียนน่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุน อย่างแรกคือการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ หลังการเลือกตั้งของอินโดนีเซียท่ามกลางชัยชนะของโจโควีที่ได้ก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่เพิ่งผ่านพ้นการเลือกตั้งกลางเทอมเมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคของรัฐบาลภายใต้การนำของดูเตอร์เต้ได้กวาดชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ความต่อเนื่องนโยบายของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานน่าจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพ ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของมหาเธร์ ก็น่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทบทวนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อันที่ 2 คือ การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังการเลือกตั้งของประเทศอาเซียนซึ่งมีเสถียรภาพ จะส่งผลให้การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ การลงทุนภาคการก่อสร้างของสิงคโปร์ที่มีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อดึงดูดการลงทุน อีกอันที่สำคัญคือการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งประเทศที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วคือมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนอินโดนีเซียก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดเช่นกัน ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นอีกหนึ่งแรงส่งสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านต้นทุนทางการเงินที่ลดลง […]

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ทำต่างชาติย้ายฐานผลิตเข้าเวียดนาม

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ทำต่างชาติย้ายฐานผลิตเข้าเวียดนาม

BF Asean Corner ประเด็น Trade tension ที่ยืดเยื้อตั้งแต่ปี 2018 แม้ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอลง เนื่องจากสหรัฐและจีน เป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ แต่ท่ามกลางความท้าทายนี้ เราจะเห็นสัญญาณการย้ายฐานผลิตมาประเทศแถบอาเซียนมากขึ้นโดยเฉพาะเวียดนาม เห็นได้จากตัวเลขเศรษฐกิจ 2 รายการของเวียดนาม ที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ คือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการส่งออกของเวียดนามไปยังสหรัฐ 1) ตัวเลขการขอลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI Register) ของเวียดนาม 2 เดือนแรก ขยายตัว 58% โดยจากจีนขยายตัวสูงสุด 46% บ่งบอกภาพการย้ายฐานผลิตของบริษัทจากต่างชาติมาเวียดนามชัดเจนมาก โดยเวียดนามเป็นฐานผลิตสำคัญของอาเซียน เพราะเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีแรงงานวัยหนุ่มสาวมากกว่า 55 ล้านคน 5 ปีที่ผ่านมายอดลงทะเบียน FDI ไหลเข้าเพิ่มเป็น 2 เท่า ส่วนยอดลงทุนจริงขยายตัวเฉลี่ย 8-10% ต่อเนื่องทุกปี ทำให้ปัจจุบันยอดส่งออกเวียดนามกว่า 70% มาจากบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาตั้งฐานผลิตในเวียดนาม พลิกโฉมเวียดนามจากประเทศขาดดุลการค้าเป็นเกินดุลการค้า […]

โอกาสและความท้าทายของธุรกิจการบินในเวียดนาม

โอกาสและความท้าทายของธุรกิจการบินในเวียดนาม

By…เมธา พีรวุฒิ Research, Fund Management  อุตสาหกรรมการบินในเวียดนามเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่น่าจับตามองจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงสุดในภูมิภาคอาเซียนและเป็นอันดับต้นๆของโลก ด้วยการเติบโตเฉลี่ยราว 20% ต่อปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ แรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจการบินในเวียดนามคึกคัก ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจที่เติบโตดีสะท้อนจากรายได้ต่อหัวประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเท่านั้น สาเหตุหลักอีกประการหนึ่งเกิดจากการมีกำลังซื้อของตลาดในประเทศขนาดใหญ่ ด้วยจำนวนประชากรกว่า 96 ล้านคน ที่ราวๆ 15% จัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางที่มีการจับจ่ายใช้สอยในระดับสูงและนับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในลักษณะแนวเป็นทิวเขาทอดเป็นแนวยาว จึงเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางบก โดยการเดินทางด้วยรถไฟระหว่าง นครโฮจิมินห์  กับ เมืองฮานอย ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์หลักต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น จะต้องกินเวลานานกว่า  36 ชั่วโมง เทียบไม่ได้กับการเดินทางโดยเครื่องบินที่ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้นเอง ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นแรงกระตุ้นให้อุตสาหกรรมการบินเร่งพัฒนาและแสวงหาโอกาสเพื่อตอบสนองความต้องการการเดินทางในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น เวียดนามยังคงเป็นจุดหมายที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ จากศักยภาพของภูมิประเทศที่สวยงามโดดเด่นทั้งภูเขาและท้องทะเลที่เป็นแหล่งมรดกโลก รวมถึงอาหารการกินที่มีรสชาติดี จึงเปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดยในปีที่ผ่านมา เวียดนามมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศ เกือบ 13 ล้านคน หรือเติบโตกว่า 30% ในปีที่ผ่านมา นำโดยนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นมากกว่า […]

เกาะกระแสกับ Premiumization

เกาะกระแสกับ Premiumization

By…รุ่งนภา เสถียรนุกูล Portfolio Management แนวคิดเรื่อง Urbanization หรือ การขยายตัวของสังคมเมือง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน Mega Trend ที่สำคัญของโลก สาเหตุที่สังคมเมืองขยายตัวออกไปนั้น เกิดจากการรวมตัวของผู้คนจำนวนมากจนกลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่หรือเกิดจากการกระจายความเจริญของเมือง จากเมืองศูนย์กลางออกไปยังเมืองอื่นๆ ผลที่ตามมา คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่ตามมาพร้อมกับ Urbanization คือ พฤติกรรมผู้บริโภคถูกยกระดับไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของมนุษย์ เมื่อคนเรามีรายได้ที่ดีขึ้น เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อของโลกดิจิตอล ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้บริโภคจึงกล้าที่จะจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการในระดับที่สูงขึ้น ทำให้เกิดเป็น Trend ที่เรียกว่า Premiumization ถ้าพูดถึงคำว่า Premiumization ในแง่ของการบริโภค จะไม่ได้หมายถึงสินค้าที่มีราคาแพงเพียงอย่างเดียว แต่ในที่นี้จะหมายถึง การยกระดับการบริโภคที่เน้นเรื่องของความทันสมัย สะดวกสบาย มีนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านฟังก์ชั่น หรือดีไซน์ ถึงแม้ว่าระดับราคาสินค้าอื่นอาจจะสูงขึ้นไปกว่าสินค้าโดยทั่วไป ผู้ผลิตสินค้าและบริการ จะต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการขยายมูลค่า (Drive […]

“ดิจิทัลเฮลท์แคร์” ยกระดับบริการสุขภาพอาเซียน

“ดิจิทัลเฮลท์แคร์” ยกระดับบริการสุขภาพอาเซียน

By…เต็มเดือน  พัฒจันจุน Fund Management เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวเข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตของผู้คน ตลอดจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจต่างๆ รวมถึงธุรกิจเฮลท์แคร์ (Healthcare) หรือบริการด้านสุขภาพนับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามองท่ามกลางกระแสนี้ เนื่องจากหลายธุรกิจอาจได้รับผลกระทบที่เกิดการเปลี่ยนแปลง (Disrupt) และก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากธุรกิจเดิมอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ดีการเข้ามาของเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนธุรกิจเฮลท์แคร์ และช่วยยกระดับบริการด้านสุขภาพรูปแบบเดิมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนที่ประชากรยังไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาบริการด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้ ธุรกิจเฮลท์แคร์ในอาเซียนมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ จากรายงานของ Asian Development Bank (ADB) คาดการณ์ว่าในปี 2050 ประชากรของอาเซียนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 15% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มประมาณ 3 เท่าตัวจากปี 2010 ที่มีเพียง 4.8% เท่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่าอาเซียนมีแนวโน้มเข้าสู่ความเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุอีกว่าประชากรของบางประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นอีก 40% ภายในปี […]