การออมสำคัญอย่างไร

การออมสำคัญอย่างไร

โดย…กรวิภา วรรณแสวง กองทุนบัวหลวง เงินออมของที่เก็บออมไว้เพื่อใช้ส่วนตัว หรือการออมเพื่อวางแผนการเกษียณ ไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่ว่าในรูปแบบการออมใดก็ตาม ไม่ได้สำคัญแค่ชีวิตส่วนตัวของทุกท่านเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศด้วย ตัวอย่างเช่น การออมในบัญชีเงินฝากธนาคาร ทางธนาคารที่รับฝากเงินจะนำเงินของเราไปปล่อยกู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อนำไปขยายธุรกิจ เพื่อผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต การขยายธุรกิจ ยังช่วยสร้างรายได้แก่เจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น จากธุรกิจก่อสร้างสู่ธุรกิจเครื่องมืออุปกรณ์ ผู้ผลิตเหล่านั้นจะสามารถขยายธุรกิจตัวเองต่อไปได้อีก และธุรกิจที่ขยายใหญ่ขึ้น ช่วยสร้างงานมากขึ้น รายได้ของลูกจ้างจะไหลไปสู่กิจการในชุมชนผ่านการจับจ่ายใช้สอย รายได้ของลูกจ้างยังไหลเข้าสู่ธนาคารจากการออมของลูกจ้างแต่ละราย ธนาคารก็จะใช้เงินจำนวนนี้เพื่อไปปล่อยกู้ต่อ ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไป ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินออมจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราผ่านพ้นวิกฤติการเงินในชีวิตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นเพื่อเตรียมตัวหากเกิดกรณีฉุกเฉินต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน จึงควรมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย 6 เท่าของรายได้ประจำต่อเดือน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ในกรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัว หรือมีความเสี่ยงด้านความมั่งคงทางรายได้ อาจต้องเตรียมเงินสำรองสูงมากกว่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี เคยลองจินตนาการถึงการใช้ชีวิตในช่วงวัยเกษียณหรือไม่ อาจจะดูไกลตัวสำหรับผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา หรือเพิ่งก้าวเข้าสู่วัยทำงาน แต่หากเราเริ่มมองไปข้างหน้า จะเห็นว่า ปัจจุบันที่เราทำงานหารายได้และเก็บออมเงินอยู่ในตอนนี้ ก็เป็นเพื่อการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณนั่นเอง อีกทั้งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีการแพทย์พัฒนา ช่วยให้คนในยุคปัจจุบันอายุยืนยาวขึ้น ยิ่งต้องมีเงินออมในจำนวนที่วางแผนแล้วว่า […]

การจัดพอร์ตลงทุนในยุคเศรษฐกิจถดถอย

การจัดพอร์ตลงทุนในยุคเศรษฐกิจถดถอย

โดย… วรวรรณ  ธาราภูมิ และ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® กองทุนบัวหลวง ปีที่ผ่านมา คงเป็นปีที่ไม่สวยงามเท่าไรในแง่ความรู้สึก ความกังวลและตัวเลขทางเศรษฐกิจ แม้ผลตอบแทนจากการลงทุนหลายอย่าง จะไม่ได้แย่ตามความรู้สึก แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผลตอบแทนที่ได้จากการวัดแบบปีต่อปี มาจากฐานที่ต่ำของปลายปีที่แล้ว ทำให้ปีก่อน ผลตอบแทนในหลายๆ ส่วน อาจดูสวยขึ้นมา แต่ต้องยอมรับความจริงว่า แก่นแท้ของเศรษฐกิจยังมีปัญหา การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทำให้เกิดการเกิดใหม่และล้มตายทางเศรษฐกิจ  หากอยากอยู่รอด ก็ต้องปรับตัว ในวาระขึ้นปีใหม่นี้ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้ทุกท่าน มีความสุข มีสติ รอบคอบ ไม่ประมาท ทั้งการใช้ชีวิตและการลงทุน แม้ว่า ปีที่ผ่านมา ผ่านพ้นไปได้ โดยไม่ได้แย่นักในแง่ของการลงทุน แต่ต้องยอมรับว่า ภาพรวมทางเศรษฐกิจไม่ได้สวยงามแต่อย่างใด การลงทุนในปี 2563 นี้ จำเป็นต้องตั้งอยู่บนความไม่ประมาท รอบคอบและพึงระลึกถึงความเสี่ยงความไม่แน่นอนอยู่เสมอ ควรตั้งอยู่บนความไม่ประมาทในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ หลักของการลงทุนใหญ่ๆ ของบุคคล ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากพื้นฐานทั่วไปที่เรารู้กันดี นั่นคือ การจัดพอร์ตลงทุน […]

การจัดสรรเงินลงทุนในระยะยาวโดยมีเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวคู่กัน (A strategic asset allocation for balancing short-term and long-term dual goals)

การจัดสรรเงินลงทุนในระยะยาวโดยมีเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวคู่กัน (A strategic asset allocation for balancing short-term and long-term dual goals)

By…พิชญ ฉัตรพลรักษ์ Portfolio Solutions มีบ่อยครั้งที่นักลงทุนมีเป้าหมายในการลงทุนหรือมีความต้องการในการใช้เงินมากกว่า 1 อย่างขึ้นไป เช่น ซื้อรถ เก็บเงินเพื่อค่าเล่าเรียนบุตร หรือ ผ่อนบ้าน เป็นต้น การจัดสรรเงินลงทุนโดยแบ่งก้อนเงินลงทุนออกตามวัตถุประสงค์ในการใช้เงินเป็นอย่างๆ ไป ก็ดูน่าจะเป็นการง่าย แต่หากนักลงทุนต้องการมองภาพรวมทั้งพอร์ตการลงทุนโดยต้องการสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายการลงทุน ทั้งระยะสั้น เช่น ต้องการเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายบางส่วน และเป้าหมายระยะยาว เช่น การสะสมมูลค่าเงินลงทุนและรักษาอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยในอนาคต ควบคู่ไปด้วยกันนั้นสามารถทำได้หรือไม่และมีปัจจัยอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง คำตอบคือสามารถพิจารณาจัดพอร์ตการลงทุนเช่นว่านั้นได้ ทีนี้เรามาดูกันว่ามีปัจจัยตัวแปรและความเสี่ยงอะไรบ้าง และวัดค่ากันอย่างไร จากงานวิจัยของ Elisabetta B. (2017) ประเภทสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนประกอบด้วย ตราสารทุน (MSCI ACWI) ตราสารหนี้ (Barclays US Aggregate) และอสังหาริมทรัพย์ (MSCI Global REIT) ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือ ETF ได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงระยะสั้นได้แก่ จำนวนเงินขาดทุนสะสมของพอร์ตการลงทุนในแต่ละปี (annual […]

Stay invested matters

Stay invested matters

By…กมลวรรณ ชัยรักษ์วัฒนา Portfolio Solutions  เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีกันแล้ว หลายท่านน่าจะเริ่มทบทวนผลตอบแทนการลงทุนตั้งแต่ต้นปีว่าเป็นอย่างไรบ้าง ในขณะเดียวกัน หลายท่านก็คงเริ่มวางแผนการลงทุนสำหรับปีหน้ากันแล้ว ถ้าพูดถึงปีที่กำลังจะผ่านไป นักลงทุนหลายท่านที่ลงทุนในตลาดหุ้นไม่ว่าจะหุ้นไทย หุ้นเทศ คงจะเผชิญกับความผันผวนกันถ้วนหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่แล้วที่จะต้องเจอกับความผันผวนบ้าง ไม่ต่างอะไรกับการแล่นเรือออกไปกลางทะเลที่ต้องเจอลมมรสุม คลื่นลมแรงบ้างเป็นบางคราว การจัดพอร์ตลงทุนเป็นแนวคิดที่ทางกองทุนบัวหลวงเน้นย้ำกับนักลงทุนเสมอ ด้วยแนวคิดดังกล่าวเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน พร้อมกับช่วยลดความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์ไปได้ในคราวเดียวกัน โดยการจัดพอร์ตลงทุนนั้นควรจะสอดคล้องกับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ และวัตถุประสงค์การลงทุนของแต่ละคนด้วย เมื่อเราเริ่มต้นลงทุนตามแผนการลงทุนที่ผ่านการคิดมาอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ในระหว่างทางที่ต้องพบเจอกับมรสุมคลื่นลมแรง ก็อยากขอให้นักลงทุนทุกท่านอย่าเพิ่งหวั่นไหวไปตามอารมณ์ความรู้สึกที่มักจะเข้ามามีอิทธิพลในการตัดสินใจอยู่เสมอ ทำให้หลายท่านมักจะกระโดดหลบข้อถูกเป็นประจำ ด้วยการกระโดดเข้ามาซื้อในจังหวะที่สินทรัพย์ราคาแพง และเทขายด้วยความตกใจเมื่อเห็นราคาตกลงมาอย่างรวดเร็ว จากผลการศึกษาการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระยะเวลา 10 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 8.05% ในขณะที่นักลงทุนที่พลาดช่วงที่ตลาดเพิ่มขึ้นสูงสุด 10 วันจะได้ผลตอบแทนเพียงแค่ 3.09% ซึ่งโดยปกติวันที่ตลาดขึ้นไปทำจุดสูงสุดมักเกิดขึ้นหลังจากที่ตลาดร่วงลงมาแรงเพียงไม่กี่วัน เช่น ในปี 2008 วันที่ SET ขึ้นไปสูงสุดคือวันที่ 13 ตุลาคมซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก SET ร่วงลงไปต่ำสุดในวันที่ 10 ตุลาคมเพียง 2 วันเท่านั้นเอง […]

ธรรมะกับการออม

ธรรมะกับการออม

บัญชา ตรีบวรสมบัติ Portfolio Solutions จากธรรมะกับการออมตอนที่ผ่านมา คือ การขยันหาทรัพย์ ซึ่งตรงกับธรรมะที่ว่า หลักสันโดษ หลักหัวใจเศรษฐี หลักความสุขของคฤหัสถ์ 4 ซึ่งเน้นเรื่อง การขยันหาทรัพย์ วิธีการจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่าย เข้าใจจัดการ โดยมีสติปัญญาในการจัดการใช้ทรัพย์ว่า ควรจะใช้เท่าใด จะทำทุนเท่าใด เก็บไว้สำรองเท่าใด รวมถึงการประหยัด รู้จักออม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ สำหรับธรรมะกับการออมตอนนี้ จะขอขยายความสุขอันเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ไม่ต้องทุกข์ใจ เป็นกังวลใจเพราะมีหนี้สินติดค้างใคร แม้นมีหนี้ ก็เป็นหนี้ที่สามารถจัดการบริหารได้ ไม่ได้มีหนี้ล้นพ้นตัว จนเกินกำลังนั่นเอง “การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก – อิณาทานัง ทุกขัง โลเก” ธรรมะสุภาษิตยังกล่าวไว้ถึงความไม่พึงปรารถนาของความเป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ จะทำอะไรก็รู้สึกเครียด อึดอัดไปหมด แน่นอนครับว่า ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แล้วเราจะมีวิธีปลดหนี้อย่างไรให้ได้ผลอย่างยั่งยืน โดยไม่กลับมาเป็นหนี้อีก ตามมาครับ เริ่มจากการตั้งสติและพยายามรวมรวมข้อมูลสถานะการเงินในปัจจุบันของเรา […]

พอร์ตโฟลิโอแบบสมดุลย์ความเสี่ยงในแต่ละภาวะเศรษฐกิจ (Risk parity portfolio)

พอร์ตโฟลิโอแบบสมดุลย์ความเสี่ยงในแต่ละภาวะเศรษฐกิจ (Risk parity portfolio)

By…พิชญ ฉัตรพลรักษ์ Portfolio Solutions สำหรับการลงทุนในระยะยาวนั้น นักลงทุนโดยทั่วไปมักต้องการความมั่นใจที่ว่า สินทรัพย์ที่ลงทุนไว้สามารถให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้จากเงินสด ความเสี่ยงจากการลงทุนต้องสะท้อนถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงที่สามารถรับรู้และคาดการณ์ได้ และการจัดสรรน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่ดีและมีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี นักลงทุนกลับต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่มีการปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีความไม่แน่นอน และคาดเดาทิศทางได้ยาก ทำให้อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงที่คาดไว้อาจไม่ได้รับผลตามที่ต้องการ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ ผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อว่านาย Ray Dalio ได้คิดค้นกลยุทธ์ที่เรียกว่า All Weather Portfolio ที่สามารถจัดสรรน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ของพอร์ตโฟลิโอโดยที่ไม่ต้องกังวลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนได้ หรือกลยุทธ์การจัดพอร์ตโฟลิโอที่มีความสมดุลย์ความเสี่ยงในแต่ละภาวะเศรษฐกิจนั่นเอง (Risk Parity) สำหรับแนวคิดที่มาของ All Weather นั้น นาย Ray ได้แบ่งภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมดออกเป็น 4 สภาวะซึ่งถูกกำหนดโดย 2 ปัจจัยคือ อัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ในแต่สภาวะจะมีสินทรัพย์เพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนที่ดีได้ และจะกำหนดให้น้ำหนักความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอที่เกิดขึ้นจากกลุ่มหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ชนะ (Winner) ในแต่ละสภาพเศรษฐกิจให้มีน้ำหนักเท่ากัน ได้แก่ 1) อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ (Inflation) ให้ลงทุนใน พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ สินค้าโภคภัณฑ์ […]

การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน (Rebalancing)

การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน (Rebalancing)

By… พิชญ ฉัตรพลรักษ์ Portfolio Management สำหรับนักลงทุนที่คุ้นเคยกับการจัดสรรเงินลงทุนมาบ้างแล้วมักจะได้ยินคำว่า พอร์ตการลงทุนนั้นต้องมีการปรับสมดุลตามมาด้วย คำว่าสมดุลที่ว่านั้นหมายถึงสมดุลตามอัตราผลตอบแทนที่ต้องการหรือความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนมักจะเกิดขึ้นเมื่อสัดส่วนน้ำหนักของสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้มีความแตกต่างไปจากสัดส่วนการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) เพื่อให้สัดส่วนการลงทุนกลับมาสู่สมดุลตามรูปแบบเดิมที่กำหนด ข้อดีของการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนได้แก่ การทำให้ความเสี่ยงจากเงินที่ลงทุนไว้ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป เช่น กรณีตลาดมีการปรับฐานลงอย่างรุนแรงจากวิกฤตการทางการเงิน จะทำให้มูลค่าของเงินที่ลงทุนไว้นั้นลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนก็คือการลดความผันผวนให้อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้นั่นเอง ระยะเวลาที่นักลงทุนควรทำการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนได้แก่ เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เช่น ทุกๆรอบ ไตรมาส ครึ่งปี หรือ รายปี แต่ไม่ควรถี่หรือบ่อยนักเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่อาจไม่คุ้มค่า หรือ เมื่อสัดส่วนการลงทุนเปลี่ยนไปจนแตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนด (Threshold) เช่น มากกว่าหรือน้อยกว่า 5%ทั้งนี้ระดับของสัดส่วนที่ตั้งไว้อย่างน้อยก็ต้องมากกว่าค่าใช้จ่ายในการปรับสัดส่วนในแต่ละครั้ง และไม่ควรกำหนดให้กว้างเกินไป เนื่องจากจะทำให้ความผันผวนของพอร์ตการลงทุนสูงขึ้นจนคล้ายกับว่าไม่ได้ทำการปรับสมดุลเลย หรือ เมื่อนักลงทุนมีการยอมรับความเสี่ยงหรืออัตราผลตอบแทนเปลี่ยนไป เช่น อายุมากขึ้นและเริ่มรับความผันผวนได้น้อยลง หรือมีเป้าหมายการลงทุนเปลี่ยนไป อย่างไรก็ดีอัตราผลตอบแทนจากการไม่ปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนเลยมักจะให้ผลลัพธ์ที่สูงกว่า ถ้าหากสินทรัพย์เสี่ยงมีมูลค่าและสัดส่วนปรับขึ้นมามาก (พร้อมกับความผันผวนที่จะสูงกว่าตามมาด้วย) ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนพึงระลึกก่อนการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานของสินทรัพย์นั้น หากนักลงทุนพิจารณาแล้วว่าสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนนั้นยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคงหรือเพิ่มขึ้น รวมถึงมูลค่าหรือราคามีมีศักยภาพที่จะเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นที่มีสัดส่วนหรือมูลค่าลดลงก็อาจยังไม่ควรทำ […]

ตกใจง่าย ทยอยลงทุนช่วยได้

ตกใจง่าย ทยอยลงทุนช่วยได้

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมักถามกันเสมอ คือ จะนำเงินก้อนหนึ่งมาลงทุนทีเดียวดี หรือจะทยอยลงทุน (DCA- Dollar Cost Average) เมื่อครั้งที่มีงาน Mutual Fund Day ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ภายใต้แนวคิด “วางแผนลงทุนเพื่อชีวิตดี๊ดีวัยเกษียณสุข” และมีสัมมนาหัวข้อ “วัยเก๋าอยากสบาย ต้องรู้จักเลือกสไตล์ลงทุน” คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution กองทุนบัวหลวง หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ได้ให้ข้อแนะนำที่น่าสนใจไว้ว่า จะเลือกทางไหนก็ล้วนดีหมด อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ลงทุนเลยแน่นอน อย่างไรก็ดี แนวคิดของการทยอยลงทุนหรือลงทุนครั้งเดียวด้วยเงินก้อนใหญ่ก็มีข้อดีที่แตกต่างกันไป การลงทุนในกองทุนรวมรูปแบบทยอยลงทุน แนวคิด คือ ค่อยๆ ลงทุนไปเรื่อยๆ ข้อดีคือ เมื่อเราทยอยลงทุน ความเสี่ยงก็จะลดลง โดยเฉพาะคนที่กังวลใจง่าย ตกใจง่าย ทางนี้น่าจะเหมาะสม เพราะการทยอยลงทุนช่วยลดความกังวลของเราลงได้ ไม่ต้องมานั่งตกใจว่า ฉันซื้อกองทุนช่วงที่ราคาสูงแล้วราคาก็ลงเอาๆ […]

การลงทุนมีความเสี่ยง แต่จะเสี่ยงกว่าถ้าหากไม่ลงทุน

การลงทุนมีความเสี่ยง แต่จะเสี่ยงกว่าถ้าหากไม่ลงทุน

By…ออมก่อน รวยกว่า กองทุนบัวหลวง ผู้อ่านหลายๆท่าน คงจะเคยได้ยินข้อความข้างต้นกันมาบ้างแล้ว หลายท่านอาจจะเข้าใจ แต่ยังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจว่าการไม่ลงทุนมันจะกลายเป็นความเสี่ยงได้อย่างไร ? ท่านผู้อ่านเคยเห็นไหมคะ คนที่ทำงานจนไม่ได้สัมผัสชีวิตหลังเกษียณ หรือคนที่เกษียณแล้วกลับไม่มีเงินที่เพียงพอจะใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายได้ หรือแม้กระทั่งคนที่เป็นภาระของลูกหลานไปตลอด เหล่านี้ล้วนเป็นคำตอบของการไม่ลงทุนตั้งแต่วัยทำงานทั้งสิ้น หลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ มักละเลยเรื่องชีวิตวัยเกษียณ เพราะมันดูเนิ่นนานและห่างไกล ราวกับไม่รู้ว่าจะมาถึงเมื่อไหร่ จึงปล่อยชีวิตอยู่บนความเสี่ยงไปเรื่อยๆ มารู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว หากเราไม่อยากให้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยงเช่นนี้ ก็ควรเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วันนี้ !!! เพราะยิ่งเริ่มเร็วก็ยิ่งได้เปรียบกว่า ลองมาดูตัวอย่างกัน สมมติตั้งเป้าหมายว่าตอนอายุ 60 ปี อยากมีเงิน 10 ล้านบาท เห็นไหมว่า ยิ่งเริ่มช้าเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องการเงินออมต่อเดือนมากขึ้นเท่านั้น จะดีกว่าไหม ถ้าเราเริ่มสะสมแล้วก็ลงทุนกันตั้งแต่วันนี้ นอกจากเรื่องอายุในการเริ่มต้นลงทุน ที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดเงินออมต่อเดือนแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ ผลตอบแทนเฉลี่ย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า เราเอาเงินของเราไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด ถ้าสินทรัพย์นั้นความเสี่ยงต่ำ ก็มักจะให้ผลตอบแทนที่น้อยตามไปด้วย ดังนั้น เราไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เป้าหมายเงิน 10 ล้านบาทของเรามาถึงช้า หรืออาจจะไม่มีวันมาถึงเลย หรือจำเป็นที่ต้องเพิ่มเงินออมต่อเดือนมากขึ้นจนอาจไม่มีเหลือไปใช้หาความสุขอย่างอื่นเลยก็ได้ […]

Home Bias

Home Bias

By…พิชย ฉัตรพลรักษ์  BF Knowledge Center  นักลงทุนคงเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้งที่ว่า การกระจายเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่มีความหลากหลายจะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนลง ทั้งหมดนี้ ฟังดูดีในทางทฤษฎี แต่ว่า เราเห็นการใช้งานในชีวิตจริงน้อยมาก สาเหตุหนึ่งคือ ความอคติใน “ความติดบ้าน” (Home Bias) นั้นมีอยู่จริงและแทรกซึมเข้าไปในทุกประเภทของนักลงทุน ทั้งที่เป็นประเภทบุคคลและไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนประเภทสถาบันที่จัดอยู่ในกลุ่มนักลงทุนที่มีการรับรู้ข้อมูล (informed investors) ก็ตาม การกระจายเงินลงทุนมีข้อดีอยู่ 2 ข้อหลักๆ คือ นักลงทุนมีโอกาสที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ (ต่อข้อมูลข่าวสาร) มากขึ้น และจะช่วยลดความเสี่ยงที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นความเสี่ยงแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ความเสี่ยงที่ยึดติดกับด้านภูมิศาสตร์ใดหรือประเภทของสินทรัพย์ใด เพียงอย่างเดียว ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) นักลงทุนพึงพิจารณาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนระหว่างประเภทสินทรัพย์ โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เป็นตัววัด ควบคู่ไปกับอัตราผลตอบแทนและความผันผวนด้วย เนื่องจากความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนระหว่างประเภทสินทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อความผันผวนปรับเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างหมวดสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการพิจารณาจัดสรรพอร์ตโฟลิโอ และพึงปรับเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนให้สอดคล้องกับค่าคาดการณ์ต่างๆ ของตลาด ผลตอบแทน นักลงทุนส่วนใหญ่ตระหนักดีว่า การกระจายความเสี่ยงเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารเงินลงทุนให้แก่พอร์ตโฟลิโอ อย่างไรก็ตาม บางครั้งนักลงทุนกลับเลือกที่จะยึดติดการลงทุนอยู่กับตลาดในบ้านตัวเอง เนื่องจากเป็นทางออกที่เรียบง่ายและสะดวกสบาย […]