World Bank ปรับลดคาดการณ์เติบโตของ ศก.ไทยปี 67 เหลือ 2.8%

World Bank ปรับลดคาดการณ์เติบโตของ ศก.ไทยปี 67 เหลือ 2.8%

สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) รายงานว่า ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2567 ลงเหลือ 2.8 เปอร์เซ็นต์ จากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่คาดว่าจะโต 3.2 เปอร์เซ็นต์ และปรับคาดการณ์การเติบโตของปี 2568 เหลือ 3.0 เปอร์เซ็นต์ จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ที่คาดว่าจะโต 3.1 เปอร์เซ็นต์ ธนาคารโลกกล่าวว่า การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตหลักของเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยในปี 2567 นี้จะเพิ่มขึ้นสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของระดับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่มา: รอยเตอร์

‘เวิลด์แบงก์’ หั่นคาดการณ์ GDP เอเชียเหลือโต 5% จีน-ไทย-เวียดนาม หนี้ภาคธุรกิจพุ่งเร็ว

‘เวิลด์แบงก์’ หั่นคาดการณ์ GDP เอเชียเหลือโต 5% จีน-ไทย-เวียดนาม หนี้ภาคธุรกิจพุ่งเร็ว

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตสำหรับประเทศเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยระบุถึง จีนและดีมานด์ทั่วโลกที่ซบเซา ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและการค้าที่ซบเซา เวิลด์แบงก์ กล่าวว่า ขณะนี้ คาดว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะเติบโต 5% ในปี 2566 ตามรายงานเดือนตุลาคม ซึ่งน้อยกว่าการคาดการณ์ 5.1% ในเดือนเมษายนเล็กน้อย สำหรับปี 2567 คาดว่าภูมิภาคนี้จะเติบโต 4.5% ลดลงจากการคาดการณ์ที่ 4.8% ในเดือนเมษายน ขณะเดียวกัน เวิลด์แบงก์คงการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับจีนในปี 2566 ไว้ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 5.1% แต่ได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 ลงเหลือ 4.4% จาก 4.8% โดยระบุถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างในระยะยาว ระดับหนี้ที่สูงขึ้นในเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นเหตุผลในการปรับลดอันดับ เวิลด์แบงก์ กล่าวว่า “แม้ว่าปัจจัยภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลเหนือการเติบโตในจีน แต่ปัจจัยภายนอกจะมีอิทธิพลที่แข็งแกร่งต่อการเติบโตในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาค” แม้ว่าเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่ฟื้นตัวจากเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ปี 2563 […]

‘เวิลด์แบงก์’ ปรับเพิ่มคาดการณ์ ‘เศรษฐกิจโลก’ ปีนี้โต 2.1%

‘เวิลด์แบงก์’ ปรับเพิ่มคาดการณ์ ‘เศรษฐกิจโลก’ ปีนี้โต 2.1%

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยปรับเพิ่มแนวโน้มการเติบโตทั่วโลกในปี 2566 เนื่องจากสหรัฐฯ จีน และประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ได้พิสูจน์แล้วว่า มีความยืดหยุ่นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้นจะส่งผลกระทบมากขึ้นในอนาคต เวิลด์แบงก์ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สู่ระดับ 2.1% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือน ม.ค.ที่ระดับ 1.7% แต่ต่ำกว่าการขยายตัวในปี 2565 ที่ระดับ 3.1% นอกจากนี้ ธนาคารโลกได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2567 สู่ระดับ 2.4% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนม.ค.ที่ระดับ 2.7% โดยอ้างถึงผลกระทบที่ล้าหลังของการคุมเข้มทางการเงินของธนาคารกลางและเงื่อนไขสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งลดการลงทุนทางธุรกิจและที่อยู่อาศัย ปัจจัยเหล่านี้จะชะลอการเติบโตต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 และในปี 2567 แต่ธนาคารได้ออกการคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกใหม่ในปี 2568 ที่ 3.0% Indermit Gill หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก กล่าวถึง การคาดการณ์ใหม่ที่น่าเศร้า โดยกล่าวว่าปี […]

‘เวิลด์แบงก์’ ชี้ 6 ประเทศในแปซิฟิกมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาหนี้สิน

‘เวิลด์แบงก์’ ชี้ 6 ประเทศในแปซิฟิกมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาหนี้สิน

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) รายงานว่า 6 ประเทศในแปซิฟิกมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาหนี้สิน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตโควิด-19 ตามรายงาน Raising Pasifika ระบุว่า การรวมบัญชีการเงินเป็นสิ่งจำเป็นในคิริบาส สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ซามัว ตองกา และตูวาลู เนื่องจากประเทศเหล่านี้ขาดตลาดตราสารหนี้ในประเทศและการเข้าถึงตลาดทุนระหว่างประเทศ ในบรรดาประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค วานูอาตูจัดอยู่ในอันดับความเสี่ยงปานกลาง ขณะที่ หนี้ของปาเลาและนาอูรูอยู่ในระดับที่ยั่งยืน “ในขณะที่ ระดับหนี้สาธารณะ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับปานกลางในพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่ภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจและฐานรายได้ที่ผันผวนของ PIC9 หมายความว่า ความเสี่ยงด้านหนี้สินยังคงเพิ่มสูงขึ้น” ทั้งนี้ หนี้เพิ่มขึ้นในภูมิภาคตั้งแต่ปี 2562 เนื่องจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการปิดพรมแดนของโควิด-19 การค้าได้รับผลกระทบจากความท้าทายด้านโลจิสติกส์และเหตุการณ์สภาพอากาศที่สร้างความเสียหาย เมื่อเดือนที่แล้ว ธนาคารโลก กล่าวว่า ฟิจิต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดภาระหนี้ สตีเฟน เอ็นเดกวา ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศปาปัวนิวกินีและหมู่เกาะแปซิฟิก […]

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ “เวิลด์แบงก์” เรียกร้องให้มีแนวทางใหม่ ในการจัดการ “วิกฤตหนี้”

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ “เวิลด์แบงก์” เรียกร้องให้มีแนวทางใหม่ ในการจัดการ “วิกฤตหนี้”

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า Indermit Gill หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เรียกร้องให้มีแนวทางใหม่ เพื่อจัดการกับวิกฤตหนี้ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งหลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาปัจจัยการกู้ยืมในประเทศในการประเมินความยั่งยืนของหนี้ของประเทศ Indermit Gill กล่าวกับรอยเตอร์ว่า กรอบร่วมที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก 20 แห่ง เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ยากจนที่สุดส่งผลให้มีความคืบหน้าเพียงด้านเดียว เนื่องจากไม่ได้คิดเป็น 61% ของหนี้ต่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาที่ถือโดยเจ้าหนี้เอกชน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่า ขณะที่มีเพียง 4 ประเทศ ได้แก่ แซมเบีย ชาด เอธิโอเปีย และกานา ที่ยื่นขอผ่อนปรนภายใต้กลไก G20 ที่ตั้งขึ้นในปลายปี 2563 ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จะประเมินว่าอีก 60% ของระดับต่ำสุดอยู่ในหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาหนี้สิน และมีเพียงชาดเท่านั้นที่บรรลุข้อตกลงปลดหนี้กับเจ้าหนี้ ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้นในสหรัฐ และประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าอื่นๆ จะทำให้เงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ได้ระยะหนึ่ง เช่นเดียวกับในช่วงปี 1980 […]

‘เวิลด์แบงก์’ ปรับเพิ่มคาดการณ์ ‘GDP ไทย’ ปีนี้โต 3.1% แรงหนุนการบริโภค-ส่งออก

‘เวิลด์แบงก์’ ปรับเพิ่มคาดการณ์ ‘GDP ไทย’ ปีนี้โต 3.1% แรงหนุนการบริโภค-ส่งออก

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ว่า ธนาคารโลก (World Bank) ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2565 เป็น 3.1%  สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมิถุนายนที่ 2.9%  ปัจจัยหนุนจากการบริโภคและการส่งออกของภาคเอกชน ขณะเดียวกันได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2566 ลดลงเหลือ 4.1% จากแนวโน้มก่อนหน้าที่ 4.3% แม้ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดการณ์ไว้ในปี 2566 จะกดดันความต้องการส่งออก แต่การผ่อนคลายของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน 8-10 ล้านคนในปีนี้  “เวิลด์แบงก์” ปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ “เอเชียตะวันออก-แปซิฟิก” เหลือ 3.2% เหตุจีนชะลอตัว ขณะเดียวกัน ธนาคารโลก ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วในปี 2565 แต่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2566 โดยคาดว่าการเติบโตในปี 2565 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก […]

บังกลาเทศ เตรียมขอเงินช่วยเหลือจาก “ธนาคารโลก-ADB” 2 พันล้านดอลลาร์

บังกลาเทศ เตรียมขอเงินช่วยเหลือจาก “ธนาคารโลก-ADB” 2 พันล้านดอลลาร์

บังกลาเทศ เตรียมขอเงินช่วยเหลือจาก “ธนาคารโลก-ADB” 2 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ว่า บังกลาเทศเตรียมขอเงินช่วยเหลือจากธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นวงเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ  และเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจรับมือกับผลกระทบจากสงครามในยูเครนและผลกระทบจากราคาพลังงาน รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในระบุว่า รัฐบาลบังกลาเทศได้ยื่นจดหมายถึงองค์กรด้านการเงินสองแห่ง คือ ธนาคารโลก และ ADB เพื่อขอเงินสนับสนุนแห่งละ 1 พันล้านดอลลาร์ รายงานดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่หนังสือพิมพ์เดลี สตาร์ของบังกลาเทศ รายงานว่า บังกลาเทศต้องการกู้ยืมเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รวมถึงความช่วยเหลือด้านงบประมาณและดุลการชำระเงิน   ส่วนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา IMF กล่าวว่ าจะหารือกับบังกลาเทศเรื่องคำร้องขอกู้ยืมเงิน อย่างไรก็ดี นายมุสตาฟา คามาล รัฐมนตรีคลังของบังกลาเทศ, ธนาคารโลก และ ADB ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวดังกล่าวในขณะนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ […]

ธนาคารโลก เพิ่มทุน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หวังแก้ปัญหาความยากจน

ธนาคารโลก เพิ่มทุน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หวังแก้ปัญหาความยากจน

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ธนาคารโลก (World Bank) ได้ประกาศแผนเพิ่มเงินทุนในวงเงิน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อวานนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนทั่วโลก แผนการดังกล่าวได้รับการเห็นชอบจากคณะผู้อภิปรายร่วม ซึ่งมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รวมอยู่ด้วย แผนเพิ่มเงินทุนนี้ประกอบด้วยเงินทุนที่ต้องชำระเบื้องต้น (paid-in capital) 7.5 พันล้านดอลลาร์แก่ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD) ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของธนาคารโลก และอีก 5.5 พันล้านดอลลาร์แก่บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) ซึ่งเป็นบรรรษัทด้านการลงทุนในเครือ โดยญี่ปุ่นจะให้ทุนสนับสนุนแผนการดังกล่าวประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์จากทั้งหมด ส่วนสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ที่ให้เงินสนับสนุนมากที่สุดของธนาคารโลก ได้แสดงความเห็นชอบต่อแผนการดังกล่าว แลกกับการปฏิรูปกิจการเงินกู้ นอกจากนี้ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาระหว่าง IMF กับธนาคารโลก ยังได้ตกลงที่จะแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นใน IBRD เพื่อเปิดทางให้ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วย จีน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสาม จะมีสิทธิ์ลงคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 5.71% จากเดิม 4.45% ขณะที่สหรัฐอเมริกาจะมีสิทธิ์ลดลงเป็น 15.87% จากเดิม 15.98% และญี่ปุ่นเหลือ 6.83% […]

ความมั่งคั่งทั่วโลกเพิ่มขึ้น แต่ยังไร้ความเท่าเทียม

ความมั่งคั่งทั่วโลกเพิ่มขึ้น แต่ยังไร้ความเท่าเทียม

เวิลด์แบงก์ เปิดเผยว่า ความมั่งคั่งทั่วโลกขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความไม่เท่าเทียมปรากฎให้เห็น รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก “Changing Wealth of Nations 2018” ของเวิลด์แบงก์ แสดงให้เห็นว่า ความมั่งคั่งทั่วโลก ซึ่งนับรวมต้นทุนทางสังคม, ทุนทางธรรมชาติ, ทุนมนุษย์ และสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธินั้น ขยายตัวขึ้น 66% สู่ระดับ 1,143 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 1995 จากระดับปี 2014 รายงานระบุว่า ความมั่งคั่งทั่วโลกระหว่างปี 1995-2014 เริ่มแพร่กระจายไปยังประเทศที่มีรายได้ในระดับปานกลาง เนื่องจากการเติบโตที่รวดเร็วของเอเชีย ขณะที่ประเทศในอันดับต้นๆของโลกที่มีรายได้สูงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศส่วนใหญ่มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นระหว่างปี 1995-2014 โดยรายได้ต่อหัวในประเทศที่มีรายได้ปานกลางนั้น มีการขยายตัวมากที่สุด รายงานดังกล่าวให้เหตุผลว่า ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการสั่งสมทุนมนุษย์ ซึ่งได้ประโยชน์จากการลงทุนมหาศาลเพื่อพัฒนาผลิตผลในด้านสุขภาพและการศึกษา อย่างไรก็ดี ความไม่เท่าเทียมกันยังคงมีปรากฎให้เห็นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว โดยรายงานพบว่าความมั่งคั่งต่อหัวในประเทศที่มีรายได้สูงขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) นั้น มากกว่าความมั่งคั่งในประเทศรายได้ต่ำถึง 52%

ธนาคารโลก ชี้หาก Brexit ไม่ราบรื่น เสี่ยงกระทบการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปปีนี้

ธนาคารโลก ชี้หาก Brexit ไม่ราบรื่น เสี่ยงกระทบการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปปีนี้

ธนาคารโลก (World Bank ) เตือนว่า หากสหราชอาณาจักรล้มเหล้วในการบรรลุข้อตกลงแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ด้วยกระบวนการที่ “ราบรื่น” แล้ว อาจสร้างความเสี่ยงอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจยุโรปที่กำลังฟื้นตัวในปี 2018 รายงานของธนาคารโลกฉบับล่าสุดซึ่งมีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ระบุว่า การเจรจา Brexit ที่ยืดเยื้อจะเป็นปัจจัยลบต่อการตัดสินใจลงทุนทั่วภูมิภาคยุโรป โดยที่ผ่านมานั้น กระบวนการ Brexit ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอังกฤษแล้ว นายฟรานซิสกา ไลเซลอตต์ ออห์นซอร์จ นักเศรษฐศาสตร์แห่งเวิลด์แบงก์ เตือนว่า “หากมีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นในกระบวนการ Brexit อาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปที่กำลังฟื้นตัวอย่างมั่นคง” เขาระบุว่า “ยุโรปยังคงเผชิญกับปัจจัยความไม่แน่นอนที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจทำลายความเชื่อมั่นและฉุดรั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ”