Key Takeaway
- ระดับมูลค่าตลาดจีน A-Shares ในตอนนี้เมื่อวัดจาก FW P/E 16.7 x สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ระดับ 14 x อาจดู Premium แต่ยังเหมาะสมที่ท่านผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะลงทุนเพราะแม้ไม่ได้ถูกเท่าช่วงไตรมาส 1Q2020 แต่เป็นการมองตัวเลขในกรอบระยะเวลาหรือสถานการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือตลาดตอนนี้เป็นห้วงเวลาที่บริษัทจดทะเบียนล้วนเผชิญกับการปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิลงจากสถานการณ์ COVID-19 ท่ามกลางการบริโภคในประเทศฟื้นตัวตั้งแต่ครึ่งปีหลังทำให้ได้รับการคาดหวังว่าเศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ในอัตรา 3% ต่อปี และในปีหน้า ค.ศ. 2021 ผู้จัดการมองอัตราการเติบโตกำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนระดับ 8-10% จากผลของ Low base ในปีนี้ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ FW P/E multiple จะเทรดในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตและจากสภาพคล่องที่เพิ่มเติมเข้ามาในตลาด Onshore หลังการเสนอขายหน่วยลงทุนกองทุนเปิดหุ้นจีนจำนวนมากเพื่อเป็นทางเลือกการออมการลงทุนระยะยาวให้กับคนจีน จากบลจ.สัญชาติจีนแผ่นดินใหญ่หลายแห่ง ตัวอย่าง Ping An ฯลฯ จากปัจจัยที่กล่าวมาจะเข้ามาสนับสนุนสภาพคล่องและกระแสเงินที่รอจ่อซื้อหุ้นจีน Onshore จากนักลงทุนสถาบันในประเทศ
- นโยบายของไบเดนไม่ได้มีนัยสำคัญต่อนโยบายทางด้านต่างประเทศต่อจีนจากเดิม เพราะไม่ว่าพรรคไหนจะเข้ามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็ไม่มีทางจะกลับมาเหมือนช่วงก่อนที่ทรัมป์จะเข้ามา จีนเข้าใจสถานการณ์ดีจึงหันมาสร้างนวัตกรรมและการบริโภคในประเทศของตัวเองขึ้นมา
- เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า MSCI จะพิจารณาเพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน A-Shares ในดัชนีเมื่อไหร่ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ ก้าวของการเปิดเสรีทางการตลาด การยกเลิกข้อจำกัดด้านการลงทุน การเพิ่มโควตาการถือครองตราสารในตลาดเงินตลาดทุน ในเวลาเดียวกันพบนักลงทุนทางฝั่งยุโรป อเมริกา ต่างเข้ามาซื้อหุ้นจีนไว้ล่วงหน้าโดยที่ไม่ได้รีรอการเพิ่มน้ำหนักของหุ้นจีนในดัชนี MSCI EM
- บัญชีมาร์จิ้นซื้อขายหลักทรัพย์ ไม่น่ากังวล โดย ณ ปัจจุบันทรงตัวอยู่ระดับ 10% ของปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนหุ้นรายวัน นับตั้งแต่คณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์จีน (CSRC) ออกโรงเตือน (Soft warning) ในเดือน ก.ค. ที่เคยแตะระดับ 20%
- อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์จีนที่อยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลภาครัฐ ส่วนที่เป็นเอกชนมีจำนวนน้อยโดยจะเป็นโรงพยาบาลที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนเพราะมีกำไรสุทธิเติบโตระดับ 30% และได้รับประโยชน์จากอำนาจซื้อของคนจีนที่ต้องการจ่ายเพื่อให้ตนเองได้รับการรักษาระดับพรีเมี่ยม ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตยาไบโอเทค มีจำนวนยาที่อยู่ในระยะทดลองเพิ่มขึ้นระดับ 28% ต่อปี จาก 744 โมเลกุล (ในปี 2017) เป็น 938 โมเลกุล (ในปี 2018) และ 1,200 โมเลกุล (ในปี 2019) ยาส่วนใหญ่ 49% อยู่ในการทดลองทางคลีนิคระยะแรก ยาดังกล่าวจะเข้าสู่การทดลองระยะสองและสามในอีก 3 ปี ทำให้คาดว่าจะมียานวัตกรรมได้รับการอนุมัติในอนาคต โดยสรุปโครงสร้างจะคล้ายกับสหรัฐฯที่มีองค์การอาหารและยา (FDA) เป็นผู้อนุมัติตัวยา โดย FDA จีนยอมรับกระบวนการที่สหรัฐฯใช้ในปี 2018
- หากบริษัท Ant group ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท Alibaba กลับมา IPO ในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ได้สำเร็จจะมีสัดส่วนประมาณ 0.50% ของดัชนี MSCI China A Shares การเลื่อนวัน IPO ออกไปไม่ได้ส่งผลต่อกองทุนโดยตรงเพราะหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz China A Shares เพราะไม่ได้ลงทุนในบริษัท Alibaba ซึ่งจดทะเบียนในตลาดฮ่องกง ขณะที่หน่วยลงทุนของกองทุน Allianz All China Equity ได้รับผลกระทบเชิง Sentiment จากมุมมองของนักลงทุนรายย่อยในช่วงที่ผ่านมาเพราะนักลงทุนมองว่าบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ Regulator ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังไม่ชัดเจนว่าบริษัท Ant Group จะจดทะเบียนเมื่อไหร่ อาจทำให้เม็ดเงินที่รอซื้อหุ้น IPO หมุนไปลงทุนหุ้นเติบโตในกลุ่มเทคโนโลยีจีนก่อนก็เป็นได้
ความขัดแย้งทางการค้าที่ตึงเครียดต่อเนื่องทำให้บริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดของสหรัฐฯ หันกลับมาจดทะเบียนในตลาดฮ่องกงเพราะต้องการลดความไม่แน่นอนของตัวเอง ซึ่งส่งผลดีเพราะเกือบทั้งหมดเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพสูงซึ่งจะได้รับประโยชน์จากโครงสร้างระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจจีน ในอีกมุมหนึ่งการที่บริษัทเหล่านี้หันกลับมาจดทะเบียนในบ้านเกิดของตัวเอง ก็อาจได้รับความสนใจจากนักลงทุนในประเทศทั้งรายย่อยและสถาบัน ที่ต้องการขยายกรอบการลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ โดยจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนที่ออกโดยบริษัทจีนได้ทุกตลาด กองทุนได้มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited เป็นผู้รับดำเนินการในต่างประเทศ (Outsourced Fund Manager)
ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2020 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน มีรายละเอียดการลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุน Allianz China A Shares 43.57% และหน่วยลงทุนกองทุน Allianz All China Equity 35.83% ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในบริษัทรายตัว ได้แก่
สำหรับกระบวนการลงทุนของ Allianz Global Investor Fund – All China Equity and China A Shares ดังนี้
ดังนั้นหุ้น High Conviction ที่คัดสรรนั้นได้ผ่านกระบวนการ ดังนี้
- คัดสรรหลักทรัพย์จากปัจจัยสามด้านคือต้องเป็นทั้งหุ้นเติบโต (Growth) หุ้นคุณภาพ (Quality) และหุ้นที่มีระดับมูลค่าเหมาะสม (Valuation) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ลงทุน 40-60 บริษัท
- ทีมงานวิจัยภาคสนาม (Grass roots research) ลงไปสำรวจบริษัทนั้นๆ ตั้งแต่แหล่งที่มาของรายได้ แหล่งที่มาของต้นทุน ทิศทางอุตสาหกรรม ทั้งจากผู้ประกอบการ ตัวแทนขาย ลูกค้า
- วิเคราะห์ติดตามความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง (Ongoing Basis) ว่าเป็นไปตามแนวทางการลงทุน (Client guideline) ความเสี่ยงจะถูกประเมินทั้งระดับพอร์ตโฟลิโอ ประเทศ อุตสาหกรรม สไตล์ และรายหลักทรัพย์ โดยใช้ตัวชี้วัดมาตรฐานเช่น Tracking Error, Sharpe Ratio, Information Ratio, Volatility และ Portfolio Beta
สัดส่วนการลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน ณ วันที่ 30 ต.ค. 2020
สัดส่วนการลงทุนตามประเภทการลงทุน (% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ)
- ตราสารหนี้ 0.48%
- ตราสารทุน 96.38%
- เงินฝาก/บัตรเงินฝาก 0.48%
- อื่นๆ 3.14%
ตราสารที่มีการลงทุน 3 อันดับแรก (% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ):
- Allianz China A Shares – PT 43.57%
- Allianz Global Investors Fund – Allianz All China EQ – PT 35.83%
- Alibaba Group Holdings 4.17%
ผลการดำเนินงานกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน ณ วันที่ 30 ต.ค. 2020
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต