กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI) และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI) และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)

Highlight ประจำไตรมาส 4Q2020

  1. ผลตอบแทนตลาดตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์จะสร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 5.0-7.0% ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับระยะเวลาการลงทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้า
  2. ตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์จะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นสหรัฐฯ และพันธบัตรรัฐบาลในกรอบระยะเวลา 3-5 ปีถัดจากนี้ เพราะหุ้นสหรัฐฯมีระดับมูลค่าสูง ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลก็ให้ดอกเบี้ยต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์

สรุปภาวะตลาดและมุมมองตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์ในอนาคตอีก 12 เดือนข้างหน้า

ถ้าดูปีนี้ทั้งปี เฉพาะเดือน ส.ค. 2020 จะเป็นเดือนที่มีปริมาณตราสารหนี้ออกใหม่ออกมามากอย่างที่ผู้จัดการกองทุนหลักไม่เคยพบเจอมาก่อน ทั้งที่โดยปกติจะเป็นเดือนที่ตรงกับ summer holiday ของทางฝั่งประเทศสหรัฐฯ ผนวกกับแรงซื้ออย่างล้นหลามจากผู้ซื้อตราสารหนี้ในตลาดแรก ทำให้เป็นโอกาสที่ดีกับธุรกิจที่ต้องการออกตราสารหนี้มารีไฟแนนซ์หนี้เดิม เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับกิจการของตนเอง เป็นเรื่องแปลกของตลาดตราสารหนี้ไฮยิลด์สหรัฐฯ ภายใต้ภาวะที่เรียกว่า Technical negative ที่เห็น

  1. ตราสารหนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ถูกปรับลดอัตราความน่าเชื่อถือลงสู่ระดับต่ำกว่าระดับน่าลงทุน (Fallen angel) มูลค่ากว่า 150 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  2. นักลงทุนนำดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนกลับไปซื้อตราสารหนี้ยูเอสไฮยิดล์อีกครั้งหนึ่ง
  3. ธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้ามาแทรงแทรงตลาดด้วยการซื้อตราสารหนี้ ทั้งกลุ่มที่เพิ่งได้รับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือเข้าสู่กลุ่มต่ำกว่าระดับลงทุน (Fallen angels) และอีทีเอฟ (HY ETFs) ตั้งแต่เดือน มี.ค.เรื่อยมา

ด้านกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหลักจะ Overweight ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระหว่าง 0-2 ปี (ซึ่งเป็นกลุ่มมีความผันผวนต่ำ มีสภาพคล่องสูง) และหาผลตอบแทนจากการคัดเลือกหลักทรัพย์รายตัวของตราสารหนี้ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่ระดับ +9% ต่อปี ต้องเรียนกับผู้ถือหน่วยว่าผลตอบแทนที่ชนะตลาดของกองทุนหลักโดยปกติจะมาจากการคัดเลือกตราสารหนี้รายตัว โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่อยู่ในกลุ่ม CCC ซึ่งให้ผลตอบแทนระดับ +9%

กราฟ: แสดงกลยุทธ์ลงทุนของกองทุนหลัก AXA WF US HY Bond Fund

(ตารางด้านล่าง) โดยปกติแล้วกองทุนหลักจะบริหารพอร์ตตราสารหนี้ให้มีความผันผวนต่ำกว่าตลาด (ซึ่งก็คือดัชนี ICE BofA ML US HY Index) แต่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาด ท่านผู้ถือหน่วยจะสังเกตุเห็นได้จากผลตอบแทนช่วง 9 เดือนของปีนี้ข้อมูลสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2020

ซึ่งพบว่าตลาดตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์ทำผลตอบแทนได้เป็นบวก 5 เดือนติดต่อกัน ระหว่างเดือน เม.ย. – ส.ค. ในเดือนก.ย. กองทุนหลักบริหารได้ดีกว่าตลาด 72 bp กล่าวคือตลาดลดลง -104 bp กองทุนหลักลดลงเพียง -32 bp สำหรับผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี (2020 YTD) กองทุนหลักทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดถึง 303 bp ส่งผลให้เป็นกองทุนยูเอสไฮยิดล์ที่ดีที่สุดในปีนี้ นอกจากนี้ในตารางด้านขวาหากท่านผู้ถือหน่วยจะสังเกตได้ว่ากองทุนหลักยังสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปี 3 ปี 5 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุน

กราฟ: ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงของกองทุนหลักเทียบกับตราสารหนี้ประเภทอื่นๆของสหรัฐฯ

สิ้นเดือน ก.ย. 2020 ตราสารหนี้ในพอร์ตกองทุนหลักให้ผลตอบแทนประเภท Yield to worst 5.53% (vs index ที่ 5.76%) อายุคงเหลือเฉลี่ยของตราสารหนี้ 2.9 ปี (vs index ที่ 3.8 ปี) จำนวนตราสารหนี้ในพอร์ต 295 ตราสาร ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพราะกองทุนหลักเข้าซื้อตราสารหนี้ออกใหม่ในช่วงเดือนส.ค. ซึ่งช่วยในแง่การกระจายความเสี่ยง ตราสารหนี้ของบริษัท Solera มีสัดส่วนการถือครองสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดย Solera เป็นบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ให้ Coupon 10.5% อันดับความน่าเชื่อถือ CCC

ผู้จัดการกองทุนหลักชอบธุรกิจเทคโนโลยี (กองทุนหลัก 10.3% vs ดัชนี 5.0%) เนื่องจากได้รับผลกระทบน้อยจากสถานการณ์ COVID-19 มีโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ในขณะที่ตราสารหนี้กลุ่มพลังงาน (กองทุนหลัก 9.9% vs ดัชนี 13.0%) โดยเน้นบริษัทคุณภาพในกลุ่มท่อส่งแก๊สและน้ำมัน ให้น้ำหนักน้อยกับการลงทุนในตราสารหนี้ไฮยิดล์ของบริษัทผู้สำรวจและผลิตปิโตรเลียม โรงกลั่น หรือผู้ให้บริการทางด้านการสำรวจการผลิตปิโตรเลียม

ผู้จัดการกองทุนหลักมองตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์ในระยะเวลาอีก 12 เดือนข้างหน้าจะให้ผลตอบแทนระดับ 5-7% ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากผลตอบแทนของตราสารหนี้ในพอร์ตลงทุนประเภท Yield to worst (ผลตอบแทนกรณีใช้สิทธิ์ไถ่ถอนก่อนครบกำหนด) สิ้นเดือนก.ย. ที่ระดับ 5.53% นั้นมองว่าจะทรงตัวอยู่ในกรอบ 5.0-7.0% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า บนสมมติฐานว่าจะมีวัคซีน COVID-19 ใช้กัน ทำให้ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ยูเอสไฮยิดล์และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แคบลงจากระดับปัจจุบัน (Spread compression) อีกประมาณ 50-100 bps จากระดับปัจจุบันที่ 541 bps

นโยบายการลงทุนของ AXA WF US High Yield Bonds I USD

ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยคงที่และผันแปร โดยมีเป้าหมายในการบริหารกองทุนเพื่อให้ได้รายได้จากดอกเบี้ยในระดับสูงและสม่ำเสมอ

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: AXA WF US High Yield Bonds I USD

วัตถุประสงค์การลงทุน: แสวงหาผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์ในระยะยาว

วันจดทะเบียน: November 2006

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): BofA Merrill Lynch US High Yield Index.

Morningstar Category: Global Fixed Income

Bloomberg (A): AXUHYIU LX

Fund Size: USD 3,418.3 million (Increase from 3,384.7 million in June this year)

NAV: USD 262.28 (Up from 251.62 in June this year)

Number of holdings: 294 (Decrease from 295 in June this year)

ลักษณะสำคัญ: AXA IM Core HY Strategy และ เกณฑ์มาตรฐาน BofA Merrill Lynch US High Yield Index

ที่มา: https://www.bblam.co.th/application/files/6516/0316/4838/axa_b2b_AXA_WF_US_High_Yield_Bonds_I_USD_6905_en.pdf

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2020)

ประกาศการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI) และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต