BBLAM Weekly Investment Insights 15-19 มกราคม 2024

BBLAM Weekly Investment Insights 15-19 มกราคม 2024

Weekly Highlight

B-SELECT Q1 2024

By BBLAM

  • B-DYNAMIC BOND โอกาสที่มากับดอกเบี้ยขาลง   
  • B-BHARATA ใช้เป็น Hedge Position      
  • B-GLOBAL กระจายลงทุนในหุ้นทั่วโลก      
  • B-INNOTECH กระจายลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี

BBLAM แนะนำกองทุน 

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF 

กองทุนลงทุนใน Asia Ex Japan : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF

กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF

กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯพื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF

ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF

ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF 

ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และ B-TOP-THAIESG

Investing in Fixed Income

มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund comment by BBLAM

– ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุเป็นทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ต้องติดตามคือ  ความคาดหวังของตลาดและ FED ที่ยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก   โดยตลาดคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่รวดเร็วภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2024  และคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ถึง 4-5 ครั้ง

ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุประมาณ 0.10% – 0.30% จากเดือนก่อน   ยังคงเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับลดลงกว่า 0.45% มาอยู่ที่ระดับ 3.88%   เป็นผลมาจากตลาดตราสารหนี้ที่ให้น้ำหนักต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เร็วขึ้นเป็นภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2024  ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาในเดือนธันวาคมยังส่งสัญญาณที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤศจิกายนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 3.1% จาก 3.2% ในเดือนก่อน และการรายงานตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) ในไตรมาส 3 ที่มีการขยายตัว 4.9% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 5.1%    

ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ  ตลาดเริ่มให้น้ำหนักต่อโอกาสที่ธปท.อาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 มากขึ้น   หลังอัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนพ.ย.ยังคงปรับลดลงมาอยู่ที่ -0.44% เป็นระดับติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันจากมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ของภาครัฐ   

สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% – 5.50%  ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้   โดย FED ยังได้ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2024 ลงเล็กน้อยเหลือ 1.4% จากเดิม 1.50% และปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2024 เป็น 2.4% จากเดิม 2.50%   พร้อมทั้งยังส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายผ่าน Dot plot โดย FED ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 3 ครั้งในปี 2024 สู่ระดับ 4.50% – 4.75% 

สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ  ความคาดหวังของตลาดและ FED ที่ยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก   โดยตลาดคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่รวดเร็วภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2024  และคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ถึง 4-5 ครั้งในปีหน้า   ขณะที่ Dot plot ล่าสุดของ FED บ่งชี้ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 3 ครั้งเท่านั้น  ซึ่งความเห็นที่แตกต่างกันดังกล่าวจะทำให้ตลาดเกิดความผันผวนต่อไปในอนาคต                                                  

ส่วนปัจจัยภายในประเทศ   ตลาดยังคงต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทย และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับติดลบอย่างต่อเนื่อง   รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆที่จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยและปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเข้าสู่ตลาดในอนาคต       

Investing in Equity

มุมมองตลาดตราสารทุน

Fund comment by BBLAM

– ภาพรวมแล้วตลาดหุ้นโลกในปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่ให้ผลตอบแทนได้ดี โดยดัชนี MSCI World ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 21.8% และดัชนีที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด คือ ดัชนี NASDAQ ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดกว่า 43.4% จากการที่หุ้นกลุ่ม Technology ได้กระแสตอบรับจากความก้าวหน้าทางด้าน AI พัฒนาการที่ดีขึ้นของการใช้จ่ายทางด้าน Cloud และการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม Semiconductor ในทางกลับกันหุ้นในกลุ่ม Consumer Staple ให้ผลตอบแทนติดลบจากแรงกดดันของอัตรากำไรที่ต่ำลง โดยในปัจจุบันการปรับตัวขึ้นของตลาดสหรัฐฯ ทำให้มี Valuation อยู่ในระดับที่ตึงตัว จึงมีโอกาสเห็นเม็ดเงิน flow ไปยังตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่นได้ในอนาคต –

ตลาดหุ้นโลกในเดือนธันวาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 4.8% จากเดือนที่มา โดยได้รับแรงหนุนจากผลการประชุมของเฟดที่คงดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 นอกจากนี้ยังมีการปรับลด Dot Plot ลงจากการประชุมครั้งก่อนหน้า โดยได้คาดการณ์ว่าในปี 2567 อัตราดอกเบี้ยคาดการณ์จะอยู่ที่ 4.6% ลดลงจากเดิมที่ 5.1% และในปี 2568 จะปรับลดลงเหลือ 3.6% จากเดิมที่ 3.9% ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีทิศทางในเชิงบวก หลังจากที่เงินเฟ้อมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะมีการชะลอตัวลงแบบ Soft Landing ซึ่งดีกว่าที่ตลาดเคยกังวลในช่วงก่อนหน้า ในทางกลับกันตลาดหุ้นในฝั่งเอเซียนำโดยตลาดจีนปรับตัวลดลงในเดือนธันวาคม จากความกังวลต่อภาพของเศรษฐกิจที่ยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว โดยล่าสุดทาง Moody’s ได้ออกมาลดลงมุมมองของอันดับความน่าเชื่อถือของจีนลงสู่ระดับ Negative เนื่องจากปริมาณหนี้มหาศาลในจีน ประกอบกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของประเทศในระยะกลางถึงระยะยาว ทำให้มีโอกาสเห็นทางรัฐบาลกลางจะออกมาสนับสนุนทางการเงินอย่างการออกตราสารหนี้ให้กับรัฐบาลท้องถื่นมากขึ้น เพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งทางการคลังของประเทศในอนาคต นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ทางภาครัฐบางจีนกลับมาคุมเข้มอุตสาหกรรมเกมออนไลน์อีกครั้ง ด้วยปัจจัยข้างต้นจึงทำให้ตลาดหุ้นจีนได้รับ Sentiment เชิงลบอย่างต่อเนื่อง

ภาพรวมแล้วตลาดหุ้นโลกในปี 2566 ถือเป็นปีที่ให้ผลตอบแทนได้ดี โดยดัชนี MSCI World ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 21.8% และดัชนีที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดคือดัชนี NASDAQ ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดกว่า 43.4% จากการที่หุ้นกลุ่ม Technology ได้กระแสตอบรับจากความก้าวหน้าทางด้าน AI พัฒนาการที่ดีขึ้นของการใช้จ่ายทางด้าน Cloud และการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม Semiconductor ในทางกลับกันหุ้นในกลุ่ม Consumer Staple ให้ผลตอบแทนติดลบจากแรงกดดันของอัตรากำไรที่ต่ำลง โดยในปัจจุบันการปรับตัวขึ้นของตลาดสหรัฐฯ ทำให้มี Valuation อยู่ในระดับที่ตึงตัว จึงมีโอกาสเห็นเม็ดเงิน flow ไปยังตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่นได้ในอนาคต

สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือนธันวาคมปรับตัวสูงขึ้น 2.58% จากเดือนที่ผ่านมา โดยในครึ่งแรกของเดือนมีการปรับตัวลดลงก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นในครึ่งหลังของเดือน โดยมีแรงหนุนจากปัจจัยภายนอกจากมุมมองว่า FED ที่มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาด ในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ แม้จะยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ในระยะสั้น แต่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยน่าจะไม่แย่กว่าช่วงที่ผ่านมา และยังคงมีความคาดหวังต่อเศรษฐกิจในปี 2567 ที่มีโอกาสฟื้นตัวสูงที่ 3.2% อยู่ โดยมาจากภาคการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ตลาดหุ้นไทยยังคาดว่าจะเห็น Sentiment เชิงบวกจากมาตรการต่างๆจากทางภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น Easy E-Receipt การตรึงราคาพลังงาน การสนับสุนการลงทุนจากต่างประเทศ และการผ่านร่างงบประมาณปี 2567 ที่จะช่วยผลักดันการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐให้ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้ตลาดหุ้นไทยน่าจะทยอยดีขึ้นต่อจากนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/15-19-202