Weekly Highlight |
LLMS – EV
2 เทคโนโลยีน่าลงทุน แห่งอนาคต
beartai X BBLAM Funds for Fun
– ทำไมบริษัท AI กลับประสบปัญหาในการทำกำไรทั้งที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และทำไมรถยนต์ไฟฟ้ายังนำเทรนด์ที่น่าลงทุนต่อเนื่อง –
BBLAM แนะนำกองทุน
กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ B-DYNAMICSSF
กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF
กองทุนลงทุนใน Asia Ex Japan : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF
กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF
กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯพื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF
ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF
ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF
ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และ B-TOP-THAIESG
Economic Insights |
U.S. / E.U.
By BBLAM
– GDP สหรัฐฯ ไม่ได้ดูแย่ ขณะที่ ECB ยังไม่คิดที่จะคุยกันเรื่องลดดอกเบี้ย พร้อมยืนดอกเบี้ยสูงไปก่อน –
GDP สหรัฐฯ ประจำไตรมาส 4/2023 ขยายตัวที่ 3.3% (QoQ saar) ดีกว่าตลาดคาดที่ 2% และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ 4.9% โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในทิศทางชะลอลง (2.8% QoQ saar เทียบกับ 3.1% ในไตรมาสที่ 3) จากการบริโภคสินค้า (3.8% เทียบกับ 4.9% ไตรมาสก่อน) ในขณะที่การบริโภคบริการเร่งขึ้น (2.4% เทียบกับ 2.2% ไตรมาสก่อน) นําโดยบริการอาหาร ที่พัก และการดูแลสุขภาพ ด้านการใช้จ่ายภาครัฐชะลอลง (3.3% เทียบกับ 5.8% ไตรมาสก่อน) ในทางกลับกันการส่งออกเร่งตัวขึ้น (6.3% เทียบกับ 5.4% ไตรมาสก่อน) และการนําเข้าชะลอลง(1.9% เทียบกับ 4.2%) สำหรับการลงทุนที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยปรับดีขึ้น (1.9% เทียบกับ 1.4% ไตรมาสก่อน) นําโดยการลงทุนในอุปกรณ์ (1% เทียบกับ -4.4% ไตรมาสก่อน) และผลิตภัณฑ์ทรัพย์สินทางปัญญาที่เพิ่มขึ้น (2.1% เทียบกับ 1.8% ไตรมาสก่อน) ในขณะที่การลงทุนในโครงสร้างชะลอลง (3.2% เทียบกับ 11.2% ไตรมาสก่อน) ด้านการลงทุนที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงเช่นกัน (1.1% เมื่อเทียบกับ 6.7% ไตรมาสก่อน) เมื่อพิจารณาทั้งปี 2023 เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโต 2.5% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2022 ที่ 1.9% และประมาณการของ Fed ที่ 2.6%
ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB มีมติเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลักสามตัวได้แก่ Main Refinancing Operations Rate ที่ 4.5%, Deposit Facility Rate ที่ 4.0%, และ Marginal Lending Facility ที่ 4.75% โดยมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับนี้ต่อไป (maintained for a sufficiently long duration) จนกว่าจะเห็นอัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่ระดับ 2.0% โดยยืนได้อย่างมีเสถียรภาพ ในระหว่าง Press Conf. ประธาน ECB ได้กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของยุโรปน่าจะยืนอยู่ระดับนี้ และยังเร็วไปที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากยูโรโซนยังเผชิญกับปัจจัยเชิง Geopolitics ที่กลุ่มฮูตีโจมตีเรือพาณิชย์ในทะเลแดง (Red Sea Blockade) มีส่วนกดดันระดับราคาในขณะนี้
China
By BBLAM
– ธนาคารกลางจีนกล่าวว่ายังมี Policy Space อีกมากสำหรับผ่อนคลายเศรษฐกิจ การปรับลด RRR จะเป็นการเพิ่มการใช้จ่ายผ่านการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น –
Key Event
ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลด RRR (Required Reserved Ratio) ลง 50 bps eff. วันที่ 5 ก.พ.เป็นต้นไป ส่งผลต่อสภาพคล่องระยะยาว (Long-term Capital) เพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านหยวน โดยธนาคารกลางจีนกล่าวว่ายังมี Policy Space อีกมากสำหรับผ่อนคลายเศรษฐกิจ การปรับลด RRR จะเป็นการเพิ่มการใช้จ่ายผ่านการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น การปรับเพิ่ม RRR นี้เป็นครั้งแรกของปีหลังจากที่ปรับลด RRR ไปสองครั้ง (ครั้งละ 25 bps) ปีก่อน
พร้อมกันนี้ ทางการจีนได้ทยอยออกนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2024 เน้นเพิ่มความมั่นใจในตลาดทุน สร้างเสถียรภาพของราคาในตลาด และออกเกณฑ์กระตุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น AI , EV และ 5G พร้อมทั้งกำลังที่จะออกแผนเศรษฐกิจมุ่งเน้นกลุ่ม Silver Economy ดังแสดงในตาราง
ซึ่งแม้ว่า ผู้นำจีนจะยังคงยืนยังว่าจะไม่กระตุ้นเศรษฐกิจแบบโปรยเงิน (Massive Stimulus) แต่ด้วยท่าทีที่มีความผ่อนปรนในเชิงนโยบายตั้งแต่เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ก็สะท้อนว่าจีนเริ่มหันมาให้ความใส่ใจกับนโยบายเชิง Tactic เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นทำนโยบายเชิง Structure เป็นหลัก
วันที่ | นโยบาย |
08/01/2024 | ปธน. Xi ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการ “อย่างไม่ปราณี” (No Mercy) ในการปราบปราบการคอรัปชั่นใน Sector สำคัญ ได้แก่ กลุ่ม Finance, Energy, Pharmaceuticals, และ Infrastructure |
11/01/2024 | จีนผ่อนคลายเกณฑ์ Visa on Arrival หวังเพิ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้เข้ามาในจีน โดยปรับเกณฑ์ให้ง่ายขึ้นสำหรับ นักธุรกิจ นักเรียน และนักท่องเที่ยว |
12/01/2024 | CSRC กำลังพิจารณากลไกการทำ Counter-cyclical Investment สำหรับหุ้นในประเทศ โดยมุ่งเป้าไปที่ผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนสถาบันในประเทศ |
14/01/2024 | CSRC หรือกลต.ของจีนกล่าวว่า “จะไม่อดทน” (Zero Tolerance) กับพฤติกรรมการลงทุนที่ไม่ชอบมาพากลในตลาดหุ้นจีน และจะเอาโทษให้ถึงที่สุด โดยกล่าวว่าผู้ที่กระทำผิดจะต้องชดใช้อย่างเจ็บปวด (Pay at Painful Price) |
17/01/2024 | ทางการจีนเผยแผนเศรษฐกิจมุ่งเน้นกลุ่มสูงวัยหรือ “Silver Economy” หวังสร้างมูลค่าทางธุรกิจกว่าล้านล้านดอลลาร์ฯ มุ่งเน้นธุรกิจ Nursing Home , Entertainment, และ Home Delivery |
18/01/2024 | นายก หลี่เฉียงกล่าวในงาน Davos 2024 ว่าจีนสามารถบรรลุเป้าหมาย GDP Growth ที่ 5% เมื่อปี 2023 โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจปริมาณมาก (Huge Stimulus) |
18/01/2024 | จีนเร่งออกมาตการการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี 5G พร้อมเตรียมผลักดันให้มีการใช้งานจริงเพิ่มขึ้น |
Thailand
By BBLAM
– ส่งออกไทยตีตื้น 5 เดือนต่อเนื่องมาติดลบเบาๆ ทั้งปี 2023 ที่ -1.0% ก.พาณิชย์คาดปีหน้ายืนบวก 1.99% –
การส่งออกไทยประจำเดือนธ.ค.อยู่ที่ 22,791.6 ล้านดอลลาร์ฯขยายตัว 4.7% YoY เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ด้านการนำเข้า มีมูลค่า 21,818.8 ล้านดอลลาร์ฯ หรือหดตัว-3.1% ส่วนดุลการค้าในเดือน ธ.ค. เกินดุล 972.8 ล้านดอลลาร์ฯ
ภาพรวมของปี 2023 การส่งออก มีมูลค่า 284,561.8 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -1.0% การนำเข้า มีมูลค่า 289,754.3 ดอลลาร์ฯ หรือ หดตัว -3.8% ดุลการค้า ทั้ง ปี 2023 ขาดดุล -5,192.5 ล้านดอลลาร์ฯ
แนวโน้มการส่งออกในปี 2024กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายการทำงานไว้ที่ขยายตัว 1.99 % คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 290,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ 10 ล้านล้านบาท
ส่งออกไทยเริ่มตีตึ้นขึ้นมาได้หลังจากหักหัวดิ่งในเดือนมิถุนายน
ในรายองค์ประกอบ
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว -3.2 % YoY กลับมาหดตัว ในรอบ 4 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่
- ข้าว 27.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน
- ยางพารา ขยายตัว 13.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
- อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 8.5 %ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน
- ไก่แปรรูป ขยายตัว 0.9% กลับมาขยายตัวในรอบ 13 เดือน เครื่องดื่ม ขยายตัว 6.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน
- น้ำตาลทราย ขยายตัว 43.2% กลับมาขยายตัว ในรอบ 3 เดือน
- สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัว 16.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน
- ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว 19.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน
- กุ้งต้มสุกแช่เย็น ขยายตัว 127.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ
- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัว – 27.9% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 13.3 %
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัว -51.2% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัว -40.8% หดตัว ต่อเนื่อง 2 เดือน
- ทั้งปี 2023 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว -0.7 %
- มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 5.0 % YoY ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน
สินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ
- รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 4.3% กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัว ในเดือนก่อนหน้า
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว % 2.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
- ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 3.9 % ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน
- เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ขยายตัว 25.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน
- อัญมณีและ เครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)ขยายตัว 6.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน
- ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ขยายตัว 22.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ
- เคมีภัณฑ์หดตัว – 6.5% หดตัวต่อเนื่อง 20 เดือน
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัว- 12.2% หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน
- รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัว- 27.2% หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน
ทั้งนี้ ปี 2023 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว- 1.0%
ข้อมูลในบทความนี้เป็นข้อมูลที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งนักลงทุนสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป และเป็นข้อมูลที่เชื่อว่าน่าจะเชื่อถือได้ แต่ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (“บริษัท”) มิได้ยืนยันหรือรับรองถึงความถูกต้อง หรือสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวแต่อย่างใด ความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอในมุมมองของบริษัท และเป็นความคิดเห็น ณ วันที่ปรากฏในบทความเท่านั้น ซึ่งอาจ เปลี่ยนแปลงได้ภายหลังวันดังกล่าว โดยบริษัทไม่จำเป็นต้องแจ้งสาธารณชน หรือผู้ลงทุนทราบ บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น บริษัทไม่รับผิดชอบต่อการนำข้อมูลหรือความคิดเห็นใดๆไปใช้ในทุกกรณี ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณาเนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ผู้ลงทุน ควรศึกษาคู่มือการลงทุนรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในรายละเอียดด้วย กองทุนที่มีการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง จะมีผลทําให้มูลค่าหน่วยลงทุนผันผวน และอาจทําให้เกิดกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ ส่วนกองทุนที่มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น สัญญาสวอป หรือสัญญาฟอร์เวิร์ด เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ในบางกรณีอาจทําให้กองทุนเกิดการขาดทุนหรือเพิ่มความผันผวนให้กองทุน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนตํ่ากว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ เนื่องจากกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงที่ทางการของ ต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติทําให้กองทุนไม่สามารถนําเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับ คืนเงินตามระยะเวลาที่กําหนด สำหรับกองทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหลักๆ อาจลงทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารการลงทุน หรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อให้กองทุนได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด กองทุนเหล่านี้จึงอาจมีความเสี่ยง มากกว่ากองทุนรวมอื่น จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงและสามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ลงทุนทั่วไป ในส่วนของข้อมูลผลการดำเนิน งานของกองทุนรวม ผู้ลงทุนควรตระหนักว่าผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมใดๆ/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต อนึ่ง การวัดผลการดำเนินงานของกองทุน ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัด ผลการดำเนินงานที่กำหนดโดยสมาคม กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยที่สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า Investment Grade เสนอขายเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภท Accredited Investors (AI) เท่านั้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/29-2-2024