Weekly Highlight |
Asset Allocation Outlook – Feb.2024
By BBLAM
- ตราสารหนี้ : A good timing to add duration
- หุ้นสหรัฐฯ : Remain favorable among Developed market
- หุ้นญี่ปุ่น : Continued recovery
- หุ้นจีน : Macro economic factors were key driver in recent slump
- หุ้นอินเดีย : Strong growth amid global uncertainties
BBLAM แนะนำกองทุน
กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ B-DYNAMICSSF
กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF
กองทุนลงทุนใน Asia Ex Japan : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF
กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF
กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯพื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF
ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF
ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF
ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และ B-TOP-THAIESG
Economic Insights |
Thailand
By BBLAM
– อัตราเงินเฟ้อมกราคม 2024 ลดลง -1.11% (YoY) เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี ส่วนกนง.เสียงแตก 5 ต่อ 2 ให้คงดอกเบี้ย ตลาดมีความหวังลดดอกในระยะข้างหน้า –
สาเหตุสำคัญมาจากการที่ภาครัฐมีมาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงานให้กับประชาชน โดยเฉพาะการตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร และการลดราคาค่ากระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนบางส่วน ส่งผลให้ค่ากระแสไฟฟ้าราคายังคงลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดยังคงลดลง โดยเฉพาะผักสดและเนื้อสุกร เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งฐานราคาของปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ลดลงค่อนข้างมาก และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 0.02% (MoM)
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 0.52% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้น 0.02% (MoM)
MPC Meeting (วันที่ 7 ก.พ.)
คณะกรรมการนโยบายการเงินของธปท. หรือ กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดย 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี โดยรวมธปท.มองเศรษฐกิจไทยอ่อนแอเนื่องจากอุปสงค์โลก และปัญหาเรื่องโครงสร้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อต่ำส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐ แต่การบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้ดี โดยประเมินภาพเศรษฐกิจไทยขณะนี้
- มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิต เนื่องจากอุปสงค์โลกและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ มีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้
- คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลง ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งจากภาคต่างประเทศและผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง แต่การบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้ดี
และมีการประมาณการเศรษฐกิจไทย
- เศรษฐกิจไทยในปลายปี 2023 ขยายตัวชะลอลงกว่าคาดจากการส่งออกสินค้าและการผลิตที่ฟื้นตัวช้าตามภาวะการค้าโลกและสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2024 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 2.5-3% โดยการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ขณะที่การส่งออกและการผลิตมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- ปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะด้านความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะเป็นอุปสรรคมากขึ้น หากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
ประเมินภาพอัตราเงินเฟ้อ
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับลดลงกว่าที่ประเมินไว้จากปัจจัยด้านอุปทาน ทั้งราคาอาหารสดและราคาพลังงาน รวมทั้งการขยายมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำในปัจจุบันไม่ได้บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอ โดยราคาสินค้าไม่ได้ปรับลดลงเป็นวงกว้างแต่สะท้อนปัจจัยเฉพาะในบางกลุ่มสินค้า และหากหักผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงเป็นบวก
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2024 มีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียง 1% และค่อยทยอยปรับขึ้นในปี 2025
มองภาพตลาด
กนง. เสียงแตกทำให้ตลาดมีความหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป ด้านปัจจัยทางการเมืองยังคงกดดันให้ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
Next Event ประกาศ GDP ไตรมาส 4/2023 (19 ก.พ.)
ประกาศ GDP ไตรมาส 4/2023 (19 ก.พ.) ตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ 2.1% เราคาดว่า GDP ในไตรมาส 4/2023 น่าจะออกมาในกรอบ 1.9-2.1% เป็นผลให้ GDP ไทยปี 2023 น่าจะอยู่ในกรอบ 1.8-2.0% (ธปท คาด 2.4% , IMF คาด 2.5% )
Economic Update |
By BBLAM
U.S.
วุฒิสมาชิกทั้งสองพรรคมีมติร่วมกันออกร่างพรบ. Bipartisan Border Security มูลค่า 118 แสนล้านดอลลาร์ฯ ว่าด้วยเกณฑ์ข้ามพรมแดน และการให้เงินช่วยเหลือประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม แต่ร่างดังกล่าวได้รับการปฏิเสธอย่างรุนแรงจากสภาผู้แทนราษฎร โดย House Speaker กล่าวว่าร่างดังกล่าวจะ “Dead on Arrival” หากร่างดังกล่าวมาถึงสภาล่าง เนื่องด้วย สส. บางส่วนโดยเฉพาะกลุ่ม Right Wing กล่าวว่าหากร่างดังกล่าวได้รับการอนุมัติจะทำให้ มีคนเข้าประเทศใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเดินทางข้ามแดนเพิ่มขึ้นวันละ 5 พันคน รัฐ Texas แสดงความไม่พอใจอย่างมาก โดยผู้ว่าการรัฐ Greg Abbot พยายามจะใช้อำนาจทางกฎหมายของรัฐ ในการบริหารจัดการคนข้ามแดน
- สถานการณ์การเลือกตั้งในสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยคะแนนความนิยมของ Biden ลดต่ำลงอย่างมากจากการที่ประชาชนบางส่วนไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ Biden ที่มีต่อประเด็นเรื่องสงคราม ในขณะที่ Trump เอง ยังคงเผชิญกับการต่อสู้คดีความในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดย Trump จะต้องต่อสู้กับคดีอาญาทั้งสิ้น 91 คดี ใน 4 รัฐ ทั้งนี้ 50% ของผู้โหวตที่อาศัยใน Swing State ทั้ง 7 กล่าวว่าจะไม่โหวตให้หาก Trump ถูกพิจารณาว่ามีความผิด
- ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตัดสินใจระงับการส่งออก LNG (LNG Export Ban) เป็นผลให้ พรรค Democrat ฝั่ง Moderate ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจดังกล่าว
- ประธาน Fed ให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 Minutes ในช่อง CBS โดยกล่าวว่า Fed จะตัดสินใจอย่างระมัดระวังต่อประเด็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ Powell กล่าวว่าคณะกรรมการจะต้องมั่นใจก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาลง Powell มีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจในประเทศพร้อมกล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความยืดหยุ่นต่อ Shock และเป็นเหตุให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถขยายตัวได้ดี แม้ว่าจะเข้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาขึ้นก็ตาม
EU
รัฐบาลเยอรมนีนำโดยนายกรัฐมนตรี Olaf Scholz เห็นชอบที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินในการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติกำลังการผลิต 10 gigawatts หรือราวๆ 15-20 โรง ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทผู้ก่อสร้างจะต้องเปลี่ยนโรงงานดังกล่าวเป็นพลังงานไฮโดรเจนในอนาคตภายในกรอบเวลา 2035-2040 อีกทั้งเปิดโอกาสให้บริษัทดังกล่าวสามารถที่จะพิจารณาพัฒนาเทคโนโลยี Carbon Capturing และ Storage Technology ได้ในอนาคต การสนับสนุนทางการเงินดังกล่าวน่าจะอยู่ในกรอบ 1.5-2.0 หมื่นล้านยูโรในระยะเวลาอีก 20 ปีข้างหน้า
- แผนการดังกล่าวจะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่กำลังมองว่าโครงการดังกล่าวมีความหมิ่นเหม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการใช้ Fossil Fuels หรือไม่
JAPAN
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Fumio Kishida กล่าวขอโทษในการเปิดประชุมสภาเมื่อวันจันทร์ (5 กุมภาพันธ์) ว่าจะพยายามทำทุกทางเพื่อสะสางประเด็นเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับแหล่งเงินและการระดุมทุนของพรรค LDP ที่มีความเชื่อมโยงกับการคอรัปชั่นภายในพรรค โดยไม่ได้อธิบายสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านคาใจถึงแหล่งที่มาของเม็ดเงิน ทั้งนี้แม้การกระทำดังกล่าวจะไม่สามารถดึงความมั่นใจที่ของประชาชนในประเทศ (คะแนนความนิยมลดต่ำลงสู่ 24.5%) ทั้งนี้นายกฯญี่ปุ่นจะยังคงมีภารกิจที่จะไปสหรัฐฯเพื่อต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯหรือที่เรียกว่า Lynchpin of Japan’s Diplomatic Policy โดยจะไปพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนเมษายนนี้
CHINA
ทางการจีนให้คำมั่นจะรักษาเสถียรภาพของตลาดทุนในประเทศ พร้อมทำทุกวิถีทางออกทุกเกณฑ์ที่ป้องกันพฤติกรรมการเทรดที่ทำให้ตลาดเคลื่อนไหวผันผวนผิดปกติ นอกจากภาครัฐกำลังหาช่องทางที่จะเพิ่มการลงทุนผ่านการใช้เม็ดเงินของรัฐบาลกลาง เป็นการส่งสัญญาณว่าจะออกมาตรการอุดหนุนทางการคลังเพิ่ม นอกจากนี้ ทางการจีนที่ควบคุมสถาบันการเงินเตรียมปรับเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) , การปล่อยสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อสำหรับการซื้อสินทรัพย์ถาวร ทั้งนี้เพื่อหนุนความแข็งแกร่งให้ระบบธนาคารพาณิชย์ในการบริหารจัดการสินเชื่อ
- ด้านข้อมูล High Frequency Data จัดเก็บโดย Bloomberg สะท้อนว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนในฝั่ง Supply-side ประกอบไปด้วยการผลิตและการก่อสร้าง เริ่มปรับตัวดีขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/12-16-2024