Weekly Highlight |
เทคฯ AI ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
By BBLAM
– ในยุคที่ AI เติบโตอย่างก้าวกระโดด Generative AI เก่งวันเก่งคืน การเข้ามาของเทคโนโลยี AI จะส่งผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมต่างๆ บ้าง ในปีนี้ มาดูกันว่าแนวโน้มในอุตสาหกรรมไหนกำลังโต และน่าลงทุนตาม
BBLAM แนะนำกองทุน
กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ B-DYNAMICSSF
กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF
กองทุนลงทุนใน Asia Ex Japan : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF
กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF
กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯพื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF
ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF
ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF
ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และ B-TOP-THAIESG
Economic Insights |
Thailand
By BBLAM
– แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2024 สภาพัฒน์ฯ คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.2 – 3.2% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้า ตามการฟื้นตัวของการค้าโลก การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
GDP
GDP ไทยไตรมาส 4/2023 ขยายตัว 1.7% (vs. prev. 1.4%) เมื่อเทียบรายไตรมาส หดตัวเป็นครั้งแรก (ตั้งแต่ไตรมาส 4/2022) ที่ -0.6% (%QoQ_SA) รวมทั้งปี 2023 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9% (vs.prev. 2.5%) ด้านการใช้จ่ายการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการ ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภคภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง ขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม และสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2024 สภาพัฒน์ฯคาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.2 – 3.2% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.9 – 1.9% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4% ของ GDP
รายละเอียดอื่นๆ
C: การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 4/2023 ขยายตัว 7.4% YoY (vs.prev. 7.9%)
- การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัว 12.8% ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร
- การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัว 4.5% (vs.prev. 4.3%) เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 37 ไตรมาส ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
- การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนกลับมาขยายตัว 3.6% (vs.prev. -0.1%) และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส สอดคล้องกับการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ
- การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนติด flat ที่ 0.3% (vs.prev. 1.2%) ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า
- รวมทั้งปี 2023 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 7.1% (vs.prev. 6.2%)
G: การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลไตรมาส 4/2023 หดตัว -3.0% YoY (vs.prev. -5.0%) รวมทั้งปี 2023 การอุปโภคของรัฐบาลหดตัว -4.6% (vs.prev. 0.1 %)
I: การลงทุนรวมไตรมาส 4/2023 หดตัว -0.4% YoY (vs.prev. 1.5%) ในรายองค์ประกอบ
- Public I: การลงทุนภาครัฐ หดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ -20.1% (vs.prev. -3.4%) จากการลดลงของการลงทุนรัฐบาล -33.5% เนื่องจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2024 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัว 7.0% สำหรับอัตราการเบิกจ่าย งบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาส4/2023 อยู่ที่ 7.2% (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่าย ไตรมาสก่อนหน้าที่ 20.9% และไตรมาสเดียวกันปีก่อนที่ 20.1%
Private I: การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 5.0% เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 3.5% เป็นอัตราการขยายตัวสูงสุด ในรอบ 5 ไตรมาส โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัว 5.2% (vs.prev. 3.5%) ด้านการลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัว 3.4% (vs prev 3.8%) รวมทั้งปี 2023 การลงทุนรวมขยายตัว 1.2% (vs prev 2.3%) เป็นการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว 3.2% (vs. prev. 4.7%) ส่วนการลงทุนภาครัฐหดตัว -4.6% (vs prev -3.9%)
การส่งออกสินค้าไตรมาส 4/2023 มีมูลค่า 68,822 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว 4.6% YoY กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส เป็นการขยายตัวในฝั่งปริมาณ 3.2% ขณะที่ฝั่งราคาเพิ่มขึ้น 1.4%
- กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว ยางพารา คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง อาทิ ทุเรียน ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ และรถยนต์นั่ง
รวมทั้งปี 2023 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 280,209 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง -1.7% (vs. prev. 5.4%) โดยปริมาณส่งออกลดลง -2.9%
ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 1.2% การขยายตัวของธุรกิจที่สำคัญ
- โรงแรมและบริการอาหาร สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารไตรมาส 4/2023 ขยายตัว 10.0% (vs.prev. 15.0%) สอดคล้องกับการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวในประเทศ (ไทยเที่ยวไทย)
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 8.095 ล้านคน เพิ่มขึ้น 49.1% ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 2.77 แสนล้านบาท ขยายตัว 34.8% (vs. prev. 76.8%)
- นักท่องเที่ยวชาวไทย (ไทยเที่ยวไทย) มีจำนวน 66.70 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัว 14.3% สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 2.35 แสนล้านบาท ขยายตัว 26.4% (vs. prev. 29.0%) รายรับรวมจากการท่องเที่ยวไตรมาส 4/2023 อยู่ที่ 5.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.8%
อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาส 4/2023 อยู่ที่ 73.55% (vs. prev. 66.16%) และสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 62.64% รวมทั้งปี 2023 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัว 18.0% (vs. prev. 34.5%) โดยตัวเลขทั้งปีจำนวน นักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 28.150 ล้านคน ส่งผลให้รายรับรวมจากการท่องเที่ยวมีมูลค่า 1.892 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.0% สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยปี 2023 อยู่ที่ 69.22% เป็นอัตราสูงสุดในรอบ 4 ปี
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2024 สภาพัฒน์ฯ คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.2 – 3.2% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้า ตามการฟื้นตัวของการค้าโลก การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.0% และ 3.5% ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกในรูป ดอลลาร์ฯ ขยายตัว 2.9% ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.9 – 1.9% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4% ของ GDP
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/26-1-2024