BBLAM Weekly Investment Insights 18-22 มีนาคม 2024

BBLAM Weekly Investment Insights 18-22 มีนาคม 2024

Weekly Highlight

Asset Allocation Outlook – March 2024

By BBLAM

– BBLAM แนะนำพอร์ตควรลงทุนสะสมใน 

Fixed Income : Investment grade bond Equity : Global / U.S. / India / Vietnam / Technology / Environment & Clean power Other : Gold  

BBLAM แนะนำกองทุน 

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF 

กองทุนลงทุนหุ้นสหรัฐฯ : B-USALPHA และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-USALPHARMF และ  B-USALPHASSF

กองทุนลงทุนใน Asia Ex Japan : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF

กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF

กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯพื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF

ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF

ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF 

ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และ B-TOP-THAIESG

ลงทุนทองคำ : BGOLD หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BGOLDRMF

Economic Insights

U.S.

By BBLAM

– Update สถานการณ์ Commercial Real Estate ในสหรัฐฯ –

อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Real Estate) ทั่วโลกเผชิญแรงกดดันอย่างหนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา  โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบว่าราคาทรัพย์สินร่วงลง 11% นับตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2022 ส่งผลให้ Upside จากราคาทรัพย์สินที่เคยเพิ่มขึ้นในช่วงสองปีก่อนหน้านั้นหายไปหมด

  • ในอดีตราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงทรงตัวหรือมีการลดลงเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับวัฏจักรรอบนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินที่รวดเร็วเป็นผลให้ Mortgage Rate ทะยานสูงตามไปด้วย และกระทบถึงสเปรดตราสารหนี้จำนองที่รองรับด้วยอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (CMBS) นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อการระดมทุนของ Private Equity ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญสำหรับธุรกิจนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
  • แม้ว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะเริ่มทยอยปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนต.ค. 2023  แต่ต้นทุนการเงินก็ยังถือว่าสูงเพราะดอกเบี้ยปรับขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2022 ส่งผลกดดันราคาอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่ ความต้องการใช้พื้นที่ของออฟฟิสได้ปรับตัวลดลงภายหลังจาก Covid-19
  • Mortgage Bankers Association ของสหรัฐฯ ได้ประมาณการว่า มีหนี้สินอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ในสหรัฐฯ มีมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ที่จะครบกำหนดชำระคืนในอีกสองปีข้างหน้า ประมาณ 25% เป็นสินเชื่อสำหรับอาคารสำนักงานและอาคารพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่ถือโดยธนาคารพาณิชย์และตราสารหนี้จำนองที่รองรับด้วยอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (CMBS)

มองไปข้างหน้าแนวโน้มของภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ยังคงมีความท้าทาย สถาบันการเงินและนักลงทุนที่มีสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์จำนวนมาก เผชิญกับความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้น ธนาคารขนาดเล็กและธนาคารท้องถิ่นของสหรัฐฯอาจจะอ่อนไหวต่อสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ เนื่องจากมี Exposure ต่อกลุ่มธุรกิจนี้มากกว่าธนาคารขนาดใหญ่เกือบ 5 เท่า

JAPAN

– ตลาดตกใจ ตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2023 revised up สะท้อนเศรษฐกิจของญี่ปุ่นรอดพ้น Recession –

ตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2023 (เป็นประมาณการครั้งสุดท้าย (Final Estimation)) สะท้อนเศรษฐกิจของญี่ปุ่นรอดพ้นจากภาวะถดถอยในช่วงปลายปีที่แล้ว หนุนจากการใช้จ่ายที่แข็งแกร่งของภาคธุรกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.4% QoQ saar (ตลาดคาดว่าจะโต 1.1%) ได้รับการ Revised Up จากประมาณการครั้งก่อนที่หดตัว -0.4% สะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนการประชุมนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นในสัปดาห์หน้า โดยตัวเลข GDP ทั้งปีอยู่ที่ 1.9% (ปีก่อนอยู่ที่ 1.0%)

เงินเยนและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น เหตุจากตลาดมองว่า BoJ ใกล้จะยุติการใช้อัตราดอกเบี้ยติด

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

การใช้จ่ายภาคเอกชน ลดลง -0.3% จากตัวเลขประมาณการณ์เบื้องต้นที่ -0.2%
การใช้จ่ายภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้น 2% จากตัวเลขประมาณการณ์เบื้องต้นที่ -0.1%
รายได้สุทธิจากการส่งออก (คิดเป็นสัดส่วน) เพิ่มขึ้น 0.2% ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขประมาณการณ์เบื้องต้น
การสะสมสินค้าคงเหลือภาคเอกชน ลดลง 0.1% จากตัวเลขประมาณการณ์เบื้องต้นที่ 0.0%
มองไปข้างหน้าต้องจับตา เรื่องการเจรจาค่าแรงประจำปีระหว่างบริษัทต่างๆ กับสหภาพแรงงาน โดยสหภาพแรงงานใหญ่อาทิเช่น Rengo จะเผยออกมา ในวันที่ 15 มี.ค. ก่อนการประชุม ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) สองวัน

ทั้งนี้ Rengo เรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงโดยเฉลี่ยสูงสุดตั้งแต่ปี 1993 ที่ 5.85% เมื่อเทียบกับการเรียกร้องขึ้นเงินเดือน 4.49% เมื่อปีที่แล้ว

Investment Insights – Fixed Income

มุมมองตลาดตราสารหนี้

By BBLAM

– ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ตลาดเริ่มคาดว่า FED จะไม่ปรับดอกเบี้ยแรงอย่างที่คาดไว้ ส่วนในประเทศ ตลาดยังคงต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทย และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับติดลบอย่างต่อเนื่อง –

ในเดือนก.พ. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวลดลง 0.01-0.08% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับลดลง 0.08%-0.14% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.19% มาอยู่ที่ 4.25% จากตัวเศรษฐกิจสหรัฐ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2023 ขยายตัวที่ 3.3% (QoQ saar) ดีกว่าตลาดคาดที่ 2% และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ 4.9% รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ ชะลอลง 3.1% YoY ในเดือนม.ค. 2024 จากเดือนก่อนที่ 3.4% เดือนก่อน แต่สูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% ทำให้ตลาดเริ่มคาดว่าการลดดอกเบี้ยจะชะลอจากเดือนมีนาคม ขณะที่ปัจจัยในประเทศตลาดเริ่มให้น้ำหนักต่อโอกาสที่ธปท.อาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 มากขึ้น จากแรงกดดันจากรัฐบาล รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนม.ค. 2024 ลดลง -1.11% (YoY) เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี และตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัว 1.7% YoY ในไตรมาสที่ 4/2023 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยในเดือนก.พ. ที่ผ่านมา มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดยมี 2 เสียงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ต่อปี โดยรวม ธปท.มองเศรษฐกิจไทยอ่อนแอ เนื่องจากอุปสงค์โลกและปัญหาเรื่องโครงสร้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อต่ำส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐ แต่การบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้ดี

สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ตลาดเริ่มคาดว่า FED จะไม่ปรับดอกเบี้ยแรงอย่างที่คาดไว้ โดย Dot plot ล่าสุดของ FED บ่งชี้ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งจากความไม่แน่นอนดังกล่าวจะทำให้ตลาดเกิดความผันผวนต่อไปในอนาคต สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ตลาดยังคงต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทย และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับติดลบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ที่จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยและปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเข้าสู่ตลาดในอนาคต

Mutual Fund Insights : Innovation

FINTECH

Mutual Fund :  B-FINTECH

BBLAM X BlackRock

– B-FINTECH ให้ผลการดำเนินงานดีในช่วงที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค (ConsumerFinance) และซอฟต์แวร์ (Software) –

กองทุนหลักของ B-FINTECH ให้ผลการดำเนินงานดีในช่วงที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค (ConsumerFinance) และซอฟต์แวร์ (Software) ขณะที่หุ้นกลุ่มตลาดทุน (Capital Markets) และธนาคาร (Banks) กดดันผลการดำเนินงานกองทุน

หุ้นที่หนุนผลการดำเนินงานกองทุน ได้แก่ Fiserv ผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านการจัดการข้อมูลและระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการทางการเงิน และ Wex ผู้ให้บริการโซลูชั่นการชำระเงินระดับองค์กรชั้นนำที่มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง รวมถึงกลุ่ม Fintechโดยเฉพาะ Payment ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หุ้น Live Oak Bancshares ธนาคารในสหรัฐฯ ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากผลประกอบการไตรมาส 4 ที่ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ รวมถึงหุ้น Nuvei ผู้ประมวลผลการชำระเงินของแคนาดาที่ดำเนินงานในตลาดทั่วโลกมากกว่า 200 แห่งและ 150 สกุลเงิน จากผลการดำเนินงานไม่ดีนักจึงกดดันผลการดาเนินงานกองทุน

ทั้งนี้ผู้จัดการกองทุนมองว่า นักลงทุนยังคงจับตาระดับเงินเฟ้ออยู่ และมองว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลง ซึ่งจะส่งผลให้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราลงตามด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/18-22-2024