BBLAM Weekly Investment Insights 19-23 กุมภาพันธ์ 2024

BBLAM Weekly Investment Insights 19-23 กุมภาพันธ์ 2024

Weekly Highlight

สิ่งที่ BBLAM คิด ใน Asset Allocation

“Reduced Volatilities” and “Moderate Returns”

By BBLAM

– Asset Allocation พอร์ตที่ BBLAM มองไว้ภายใต้แนวคิด “Reduced Volatilities” และ “Moderate Returns” น่าจะประกอบด้วย การลงทุนใน Global Fixed Income ด้านหุ้นก็มองไปที่ Global Equities  สหรัฐฯ อินเดีย และ เทคโนโลยี –

Market Outlook : มาดูตลาดกันก่อนว่า เป็นอย่างไรกันบ้าง

  • ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา สินทรัพย์หลักให้ผลตอบแทนไปในทิศทางที่แตกต่างกัน โดยตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนติดลบจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ไม่เร่งรีบที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และจะรอข้อมูลทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย 2% ได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นระหว่างเดือน และส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้โดยรวมติดลบ ในขณะที่ ตลาดหุ้นโดยรวมให้ผลตอบแทนเป็นบวก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแสดงความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำนวนตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่ และดัชนีการผลิตและบริการ ที่เปิดเผยออกมาในเดือนนี้ ส่งผลให้ตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (Soft Landing) และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้น
  • ดัชนี Bloomberg Barclays Global Aggregate Bond ให้ผลตอบแทนติดลบ -1.0% โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 และ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดระหว่างเดือน 16 และ 28 bps ตามลำดับ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ Fed หลายท่าน ได้ออกมาแถลงว่า ถึงแม้ Fed จะเริ่มมีความพอใจกับความคืบหน้าในการลดอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditure Inflation หรือ PCE) ที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.9% แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะลดดอกเบี้ยในขณะนี้ และจะต้องพิจารณาข้อมูลเงินเฟ้อให้มากขึ้น ก่อนที่อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.2% และ 3.9% ตามลำดับ ในช่วงสิ้นเดือน หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ปรับลดคาดการออกพันธบัตรเพื่อการกู้ยืมลง ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย มีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ทั้งอายุ 2 และ 10 ปี ปรับลดลง 10 bps จากเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัว และตามทิศทางตลาดต่างประเทศ
  • ในส่วนของทิศทางเศรษฐกิจ ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมายังอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีแรงซื้อในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยดัชนี MSCI World Index ปรับเพิ่มขึ้น 1.6% ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.1% นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเช่น NVIDIA ที่ยังคงปรับขึ้นโดดเด่นถึง 27% จากความคาดหวังการเติบโตของธุรกิจ Generative AI ที่จะมีการนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นในอนาคต
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนี TOPIX เพิ่มขึ้น 7.4% จากปัจจัยสนับสนุนด้านการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าแตะ 148 เยนต่อดอลลาร์ และเป็นผลบวกต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่น 
  • ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาปรับลดลง 4.8% นำโดยตลาดหุ้นจีนที่ดัชนี MSCI All China ปรับตัวลดลงถึง 9.3% เนื่องจากนักลงทุนยังคงมองว่า เศรษฐกิจจีนยังคงมีความเสี่ยงในด้านภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ โดยในเดือนที่ผ่านมา มีการประกาศล้มละลายของธุรกิจรายใหญ่สองราย ได้แก่ จงจื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นธนาคารเงารายใหญ่ และไชน่า เอเวอร์แกรนด์ ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อันดับสองของจีน 
  • ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 3.6% โดยมีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากความกังวลด้านเศรษฐกิจที่ยังคงมีหลายปัจจัยเสี่ยง เช่น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 34 เดือน การผิดนัดชำระหนี้ของผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ ความไม่แน่นอนของมาตรการแจกเงินดิจิทัล และแรงกดดันต่อการดำเนินนโยบายการเงิน เป็นต้น
  • สินทรัพย์ทางเลือก มีการเคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อนข้างแตกต่างกัน 
    • ตลาดทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Global REITs) ปรับตัวลดลง 3.7% จากการคาดการณ์แนวโน้มนโยบายการเงินของ Fed ที่ผ่อนคลายน้อยกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ซึ่งเป็นต้นทุนการเงินอ้างอิงปรับตัวเพิ่มขึ้น 
    • ทองคำปรับตัวลดลง 1.1% ตามการเคลื่อนไหวของดัชนีค่าเงินดอลลาร์ DXY ที่กลับมาฟื้นตัว 2.3% 
    • น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 8.6% โดยมีทั้งปัจจัยลบจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากเศรษฐกิจจีนรวมถึงการระบายสต็อกน้ำมันเพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ แต่ปัจจัยบวกที่ชดเชยมีอิทธิพลมากกว่า จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะในบริเวณทะเลแดงที่มีการโจมตีเรือสินค้า ส่งผลให้เรือเดิมสมุทรต้องเดินทางอ้อมแหลม Good Hope และเกิดภาวะอุปทานตึงตัว

Fixed Income : ตราสารหนี้ในพอร์ตเอาไงดี

Global Fixed Income

  • VIEW : SLIGHTLY OVERWEIGHT
  • FUND : B-DYNAMIC BOND
  • ตราสารหนี้ต่างประเทศคาดว่าจะให้ผลตอบแทนดี ทั้งจากเรื่องของระดับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และโอกาสที่ดอกเบี้ยจะปรับตัวลดลงจากเรื่องของ  (1) นโยบายการเงิน (2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และ (3) การคาดการณ์เงินเฟ้อ แต่อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องของความผันผวนโดยเฉพาะเมื่อการคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับขนาดและความรวดเร็วของการลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม หาก Yield มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จะเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ ค่าเงินบาทอาจมีทิศทางแข็งค่าในปีนี้ แต่คาดว่าน่าจะแข็งค่าได้จำกัด เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกน่าจะส่งผลโดยตรงต่อการส่งออก และแรงกดดันของเศรษฐกิจจีนน่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยว

Local Fixed Income

  • VIEW : NEUTRAL
  • FUND : BFIXED
  • ทิศทางผลตอบแทนจะมาจากการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นหลัก จากความเห็นที่ขัดแย้งกันในฝั่ง ธปท. และรัฐบาล โดยผู้เล่นตลาดยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ ขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศ แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาจากการประเมินด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed จาก Dot Plot ที่ว่า Fed อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปนี้ได้ประมาณ 3 ครั้ง ส่งผลให้การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนสหรัฐฯ จากระดับนี้ (4.1%) อาจเป็นไปอย่างจำกัด ทำให้ผลกระทบเชิง Sentiment ที่จะส่งต่อมายังตลาดพันธบัตรของไทยเป็นไปอย่างจำกัดเช่นกัน ขณะที่ประเด็นเรื่องของอุปทานพันธบัตรน่าจะส่งผลกระทบกับตลาดในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป

ตราสารหนี้ประเภท Investment grade และ High yield bond

  • VIEW : ตราสารหนี้ประเภท Investment grade : SLIGHTLY OVERWEIGHT / High yield bond : SLIGHTLY UNDERWEIGHT
  • FUND : B-HY (UH) AI B-HY(H75) AI
  • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Credit Spreads) ในกลุ่มพันธบัตรต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์แคบเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในระยะยาว แต่จากทิศทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่น่าจะค่อยๆ ชะลอตัวลง (Soft Landing) นั้นอาจจะทำให้ส่วนต่างกว้างมากขึ้น และอาจทำให้ลดทอนความน่าสนใจบางส่วนลง แต่ในภาพรวมยังคงคาดว่าจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก และกลุ่ม Investment Grade (IG) มีความน่าสนใจกว่า High Yield (HY) โดย Downside Risk ของกลุ่มนี้ คือ กรณีที่เศรษฐกิจชะลอตัวกว่าที่คาดไว้

Equities, Thematic Equities : จัดสรรหุ้น และสินทรัพย์อื่น ๆ ในพอร์ตแบบไหนดี

U.S. EQUITIES

  • VIEW : SLIGHTLY OVERWEIGHT
  • FUND : B-USALPHA
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีทิศทางชะลอตัวลง ถึงแม้ภาคการบริโภคยังแข็งแกร่ง แต่ตลาดแรงงานเริ่มมีตำแหน่งงานเปิดใหม่ลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ตลาดยังมีแนวโน้มผันผวนในปี 2024 จากปัจจัยด้านการคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยของตลาด ที่ยังคงมากกว่าการคาดการณ์ของ Fed รวมถึงความเสี่ยงด้านความขัดแย้งกับจีน และการเลือกตั้งในช่วงปลายปี สำหรับแนวโน้มการเติบโตของกำไรยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่ม Technology และ Healthcare ส่งผลให้ Valuation ของกลุ่มดังกล่าวอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้น แม้ในระยะยาวหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังน่าจะให้ผลตอบแทนได้ดี แต่อาจจะต้องรอให้ตลาดปรับฐานราคาก่อนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุน

JAPAN EQUITIES

  • VIEW : NEUTRAL
  • FUND : B-NIPPON
  • เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะข้างหน้า สอดคล้องกับวัฏจักร Late Cycle ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจาก BOJ ยังดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แต่อาจลดความผ่อนคลายลงในระยะข้างหน้า และผลจากการอ่อนค่าของเงินเยนในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ ตลาดหุ้นยังน่าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนต่อเนื่องจาก (1) Corporate Reform (2) มาตรการสนับสนุนการลงทุนภายในประเทศ เช่น การ Relaunch NISA Account (3) ทิศทางเงินเฟ้อและการออกจากนโยบายผ่อนคลายพิเศษ ในขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงยังเป็นเรื่องของการกลับด้านของเงินเยน โดยประเมินว่าอาจทำให้กำไรของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนลดลง 3-4% หากเงินเยนแข็งค่าราว 10%

CHINA EQUITIES

  • VIEW : NEUTRAL
  • FUND : B-CHINE-EQ
  • จีนมีแรงกดดันจากปัจจัยมหภาค โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงและมีความเสี่ยงด้านต่ำและปัญหาการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของครัวเรือน ทำให้กดดันต่อความเชื่อมั่นครัวเรือน รวมถึงภาคธุรกิจด้วย ในขณะที่ ปัญหาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นยังมีอยู่ และสุดท้ายเป็นปัจจัยด้านความไม่แน่นอนด้านนโยบายที่อาจเป็นไปได้ทั้งสองทาง แม้ในด้านระดับราคาอาจจะเป็นปัจจัยหนุน โดยระดับมูลค่าหุ้นของดัชนี CSI 300 (A-Share) และ HSCEI (H-Share) อยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต แต่อาจจะยังขาดปัจจัยหนุนที่สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ทำให้เรายังคงแนะนำให้ชะลอการลงทุนบนตลาดหุ้นจีน

INDIA EQUITIES

  • VIEW : SLIGHTLY OVERWEIGHT
  • FUND : B-BHARATA
  • เศรษฐกิจอินเดียมีทิศทางเติบโตได้ดีจากการบริโภคภายในประเทศ นโยบายการเงินที่หยุดเข้มงวด รวมถึงเงินเฟ้อที่มีทิศทางชะลอตัวลง ในขณะที่ เงินเฟ้อบางส่วนเกิดจากปัจจัยด้านอุปสงค์ ซึ่งสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดี ประกอบกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล เพื่อเป้าหมายเศรษฐกิจในระยะยาว และอินเดียกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงเดือน เม.ย. โดยคาดว่าพรรค BJP ภายใต้การนำขอรัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะได้รับชัยชนะอีกสมัย ซึ่งจะส่งเสริมความต่อเนื่องของนโยบาย นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Friend-Shoring) ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โดยอินเดียกำลังเป็นฐานการผลิตใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ จากกระแสเงินลงทุนต่างประเทศ (FDI) เข้ามาอย่างต่อเนื่องด้วย

VIETNAM EQUITIES

  • VIEW : SLIGHTLY OVERWEIGHT
  • FUND : B-VIETNAM
  • ปรับเพิ่มมุมมองเป็น Slightly Overweight โดยถึงแม้ GDP Growth ในปี 2023 ที่ 5.0% จะโตต่ำกว่าที่ตลาดคาด จากการชะลอตัวในภาคการผลิตและก่อสร้าง ตามแนวโน้มการชะลอตัวของภาคการผลิตของโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่ง จากตัวเลขการบริโภคที่เติบโตแข็งแกร่งถึง 9% จากทั้งกำลังซื้อในประเทศและการท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัว รวมถึงปัจจัยด้าน FDI ที่ยังคงเติบโตโดดเด่นถึง 24% โดยเฉพาะจากการลงทุนในภาคการผลิต  อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน จึงคาดว่า GDP Growth ในปี 2024 จะกลับมาเติบโตโดดเด่นที่ระดับประมาณ 6-6.5% ซึ่งจะสนับสนุนให้กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตประมาณ 17-19% ประกอบกับระดับ Valuation ทั้งด้าน P/E และ P/B Ratio ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 

THAI EQUITIES

  • VIEW : SLIGHTLY UNDERWEIGHT
  • FUND : BKA
  • ตลาดหุ้นไทยคาดว่าจะเคลื่อนไหว Sideway อยู่ในระดับปัจจุบัน เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยที่จะสนับสนุนให้ไปในทิศทางขึ้นหรือลงที่ชัดเจน นโยบายรัฐบาลที่เคยคาดว่าจะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจได้ยังคลุมเครือ ปัจจัยด้านการท่องเที่ยวยังคงดูทรงๆ ขณะที่ ผลประกอบการที่ประกาศออกมาในอุตสาหกรรมธนาคารมีสัญญาณอ่อนแอ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นให้ผลดีกับแค่บางบริษัท (PTTEP) ไม่ใช่ผลบวกต่อทั้งอุตสาหกรรมพลังงาน ปัจจัยบวก ได้แก่ ระดับมูลค่าหุ้น (PE 14x)  ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต โดยการลงทุนในหุ้นไทยยังคงต้องเป็นไปแบบ Selective

TECHNOLOGY

  • VIEW : SLIGHTLY OVERWEIGHT
  • FUND : B-INNOTECH
  • หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีคาดว่าจะยังได้รับแรงสนับสนุนในปี 2024 จากทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคอันเป็นผลของแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed และปัจจัยเชิงโครงสร้าง Structural Trend ที่ความต้องการใช้ประโยชน์ด้าน AI เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่ารายได้ของธุรกิจเทคโนโลยีจะเติบโตอย่างรวดเร็วในกลุ่มผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Cloud & Data Center) และกลุ่มผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ ที่จะเริ่มนำ AI ไปพัฒนา Solutions ต่างๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ คาดว่ากลุ่มธุรกิจ Cybersecurity ก็จะมีแนวโน้มรายได้เติบโตเพิ่มขึ้น ตามการเติบโตของข้อมูลที่ต้องมีการรักษาความลับมากขึ้น

HEALTHCARE

  • VIEW : SLIGHTLY OVERWEIGHT
  • FUND : BCARE
  • ถึงแม้จะได้รับผลกระทบในปีที่ผ่านมา จากแนวโน้มเงินเฟ้อที่มีผลต่อต้นทุนการให้บริการ รวมถึงการหดตัวอย่างรุนแรงของความต้องการวัคซีน COVID-19 แต่คาดว่ากลุ่มธุรกิจ Healthcare จะยังเติบโตในเชิงโครงสร้างอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนในระยะยาวจากแนวโน้ม Aging Population ขณะที่แนวโน้มระยะสั้นถึงกลางจะมีปัจจัยสนับสนุน ทั้งด้านการพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มโรคอ้วนและโรคมะเร็ง รวมถึงการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม AI ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อกลุ่ม Healthcare ในการพัฒนารูปแบบการรักษาคนไข้อย่างมีนัยสำคัญ

LUXURY GOODS

  • VIEW : SLIGHTLY UNDERWEIGHT
  • FUND : B-PREMIUM
  • ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยเฉพาะในกลุ่มเศรษฐกิจหลักและประเทศจีนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุปสงค์ของสินค้า Luxury รวมถึง ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนสินค้าปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นของกลุ่มสินค้า Luxury ได้ปรับตัวลงมาเพื่อรับกับแนวโน้ม EPS ที่อาจจะชะลอตัวลงแล้ว และในระยะยาวกลุ่มบริษัท Luxury คาดว่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนโดย Brand Loyalty ที่อยู่ในระดับสูงและความสามารถในการต่อรองทางด้านราคาของบริษัท

LOCAL REITs

  • VIEW : NEUTRA
  • FUND : B-IR-FOF
  • ภาพรวมในปี 2024 REITs น่าจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกในปีนี้จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่น่าจะลดความผันผวนลงได้จากการที่ตลาดเริ่มปรับมุมมองทางด้านอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับธนาคารกลาง 2.) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง (Dividend Yield ของไทยอยู่ที่ประมาณ 7.5%) 3.) การเติบโตของกำไรที่คาดว่าจะเข้าสู่ระดับปกติในช่วงปีนี้ที่ 1-3% นำโดยกลุ่มโรงแรม ขณะที่กลุ่ม Retail และ Industrial คาดว่าจะทรงตัว แต่อาจจะต้องรอให้ทิศทางดอกเบี้ยมีความแน่นอนมากกว่านี้

GOLD

  • VIEW : SLIGHTLY OVERWEIGHT
  • FUND : BGOLD
  • ราคาทองคำคาดว่าจะเคลื่อนไหวตามปัจจัยเรื่องของค่าเงินดอลล่าร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการคาดการณ์ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายของนักลงทุน ซึ่งจะยังคงส่งผลให้ราคาทองคำเคลื่อนไหวแบบผันผวนในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยทิศทางของนโยบายที่ไปในทางผ่อนคลาย รวมถึงการเข้าซื้ออย่างต่อเนื่องของธนาคารกลาง จะช่วยหนุนราคาทองคำในช่วงปีนี้ให้ยืนอยู่ในระดับสูงได้ ทั้งนี้ คาดการณ์ราคาทองคำในช่วงไตรมาส 1/2024 เคลื่อนไหวในกรอบ 1,950 – 2,150 $/oz.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/19-23-2024