GDP 2Q/2019 2 โต 2.3% YoY จาก 2.8% ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอตัวของ GDP ที่ต่ำสุดตั้งแต่ 3Q/2014

GDP 2Q/2019 2 โต 2.3% YoY จาก 2.8% ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอตัวของ GDP ที่ต่ำสุดตั้งแต่ 3Q/2014

BF Economic Research   GDP 2Q/2019 2 โต 2.3% YoY จาก 2.8% ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอตัวของ GDP ที่ต่ำสุดตั้งแต่ 3Q/2014 ทั้งนี้ เมื่อเทียบ QoQ เศรษฐกิจไทยขยายตัว +0.6% QoQ sa จากไตรมาสแรกที่ 1.0% QoQ sa สะท้อนโมเมนตัมที่แผ่วลง ด้านการใช้จ่าย อุปสงค์ในประเทศ: การบริโภคภาคเอกชนชะลอ4.4% YoY (vs. 4.9% ใน 1Q19) ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทนและบริการ ด้านการลงทุนโดยรวมชะลอลงเป็น 2.0% (vs. 3.2% ใน 1Q19) ตามการแผ่วลงของการลงทุนภาคเอกชน (2.2% vs. 4.4% ใน 1Q19) […]

BRRGIF ประกาศจ่ายปันผล 0.12318 บาทต่อหน่วย พร้อมเงินลดทุน 0.22 บาทต่อหน่วย วันที่ 6 ก.ย. นี้

BRRGIF ประกาศจ่ายปันผล 0.12318 บาทต่อหน่วย พร้อมเงินลดทุน 0.22 บาทต่อหน่วย วันที่ 6 ก.ย. นี้

นายพรชลิต พลอยกระจ่าง รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือกองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงในฐานะบริษัทจัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ (BRRGIF) กำหนดการจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 6 จากผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2562 และกำไรสะสม ในอัตราหน่วยลงทุนละ 0.12318 บาท (คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 43.113 ล้านบาท) พร้อมกันนี้ยังกำหนดการลดเงินทุนจดทะเบียนครั้งที่ 2 หน่วยละ 0.22 บาท โดยการลดมูลค่าที่ตราไว้ จากหน่วยละ 9.70 บาท เหลือหน่วยละ 9.48 บาท โดยการลดทุนครั้งนี้ บริษัทจัดการไม่ได้หักเงินเฉลี่ยคืนจากกำไรสะสมของกองทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน เพื่อกำหนดสิทธิในการรับเงินปันผลและสิทธิในการรับเงินลดทุน วันที่ 23 ส.ค. นี้ พร้อมกำหนดจ่ายเงินปันผลและเงินลดทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่ 6 ก.ย. […]

รายงานเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.

รายงานเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงตอเนื่องจากไตรมาสกอนตามอุปสงคตางประเทศโดยการสงออกสินคาหดตัวตอเนื่อง สอดคลองกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัว ขณะที่ภาคการทองเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากจํานวนนักทองเที่ยวจีนที่ยังหดตัวต่อเนื่อง อุปสงคในประเทศโดยรวมชะลอตัวลงในเกือบทุกหมวด ยกเวนในหมวดสินคาไมคงทน ดานเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวทั้งหมวดกอสรางและหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 100.49 จุด ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ระดับ -5.5% YoY (vs. -3.4% YoY เดือนก่อน) โดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้กระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้า ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต (ปรับฤดูกาล) อยู่ที่ 65.8% แผ่วลงจาก 67.1% เดือนก่อน ทั้งนี้ MPI ในไตรมาสสองหดตัว -2.6% YoY (vs. -1.2% YoY ไตรมาสก่อน) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ฉุด MPI ในเดือน มิ.ย. ได้แก่ ยานยนต์ (-8.3% YoY) ผลิตภัณฑ์ยาง […]

การส่งออกไทยเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 21,409.30 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.15% YoY

การส่งออกไทยเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 21,409.30 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.15% YoY

BF Economic Research การส่งออกไทยเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 21,409.30 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.15% YoY (vs prev -5.8% YoY) ส่วนการนำเข้า อยู่ที่ 18,197.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -9.44% (vs prev -0.6% YoY) ดุลการค้า มิ.ย. เกินดุล 3,212 ล้านดอลลาร์ฯ (181.5 ล้านดอลลาร์ฯ) สำหรับตัวเลข YTD 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 122,970.70 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.91% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 119,027.40 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.41%YoY ดุลการค้าหกเดือนเกินดุล 3,943 ล้านดอลลาร์ฯ (เมื่อเทียบกับหกเดือนปีที่แล้วเกินดุล 4,263.9 […]

ธนาคารโลกมองเศรษฐกิจไทยเริ่มโตช้าลงผลพวงเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ธนาคารโลกมองเศรษฐกิจไทยเริ่มโตช้าลงผลพวงเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ธนาคารโลกเปิดตัวรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุด พบว่า ต้นปีนี้เศรษฐกิจไทยเริ่มเติบโตช้าลงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตชะลอลงจากร้อยละ 4.1 เมื่อปี 2018 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5  ปี 2019 การส่งออกหดตัวเหลือร้อยละ 4 ในไตรมาสแรกของปี 2019 นับเป็นการหดตัวไตรมาสแรกในรอบสามปี การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคของครัวเรือนยังเติบโตใกล้เคียงกับระดับสูงสุดที่เคยมีมาในรอบสามปีที่ผ่านมาโดยได้รับปัจจัยด้านบวกจากอัตราเงินเฟ้อต่ำ การเพิ่มการจ้างงาน และการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่ การลงทุนภาครัฐลดลงเนื่องจากการดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ชะลอตัว จากการเลือกตั้งล่าช้า มีผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงที่ร้อยละ 2.8 ในไตรมาสแรกปีนี้ ซึ่งเป็นการเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 3 ครั้งแรกนับจากกลางปี 2015 ทั้งนี้ ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตสูงขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในปี 2019 เป็นร้อยละ 3.6 และ 3.7 ในปี 2020 และ 2021 ตามลำดับ และคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะต่อเนื่องด้วยดี การลงทุนภาครัฐจะมีเร่งดำเนินงานมากขึ้น “ความต่อเนื่องของนโยบายและการดำเนินการโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐตามที่ได้วางแผนไว้ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น และใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ให้มากขึ้นเพื่อสนับสนุนการค้าและการบริการ” […]

เงินเฟ้อไทยชะลอที่ 0.87% น้ำมันเป็น key drag

เงินเฟ้อไทยชะลอที่ 0.87% น้ำมันเป็น key drag

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 102.94 ขยายตัว 0.87% (vs prev 1.15% YoY) หรือลดลง -0.36% MoM (vs prev 0.48% MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) ขยายตัวเฉลี่ย 0.92% ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่หนุนให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ สินค้ากลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ข้าวสาร และเนื้อสุกร ส่วนปัจจัยลบที่กดดันให้เงินเฟ้อชะลอตัว คือ สินค้ากลุ่มพลังงานที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ในตลาดโลก จากผลกระทบความไม่สงบในตะวันออกกลาง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือน มิ.ย.62 อยู่ที่ 102.55 ขยายตัว 0.48% […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจไทย

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจไทย

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับแรงส่งจากการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหนุนจากยอดขายรถยนต์ที่ทำ New High ทุกเดือน (ยอดขายรถยนต์ YTD อยู่ที่ 4.37 แสนคันทำลายสถิติยอดขายรถยนต์ในช่วงเดียวกันในรอบหลายปี) มีส่วนช่วยหนุน GDP ในไตรมาส 1/2019 (2.8% YoY vs prev 3.6% YoY) ค่อนข้างมาก ส่วนการบริโภครายสินค้าอื่นๆ นั้น ไม่มีรูปแบบการขยายตัวที่ชัดเจน ซ้ำยังเห็นการหดตัวของการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนในบางเดือน เป็นการสะท้อนถึงการแตกแยกของการใช้จ่ายของคนไทย กล่าวคือกลุ่มคนรายได้สูงมีอำนาจการซื้อมากขึ้นแต่คนรายได้ต่ำกลับลดการบริโภค ด้านการลงทุนภายในประเทศนั้น เราพบการลงทุนในภาคเอกชนที่ชะลอลงและการลงทุนภาครัฐหดตัว แสดงให้เห็นว่านักลงทุนรอความชัดเจนด้านการเมือง ส่วนการส่งออกของประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2018 ถึงเดือน พ.ค. ได้หดตัวต่อเนื่องในเกือบทุกรายสินค้าสำคัญอันเป็นผลจากฐานสูงปีก่อนและผลจากสงครามการค้าส่งผลให้การส่งออกไปจีนหดตัวในหลายรายการ เช่น ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง, เคมีภัณฑ์, ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์ไทยทำสถิติสูงสุดทุกเดือน (คัน) ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 ความเสี่ยงและแนวทางด้านนโยบาย เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าปีก่อนจากการส่งออกสินค้า […]

‘SUPEREIF’ แจ้งผลคืบหน้าใบรับรองก่อสร้างอาคาร 2 โรงไฟฟ้า คาดเรียบร้อยใน มิ.ย. พร้อมเดินหน้าขายกองทุน

‘SUPEREIF’ แจ้งผลคืบหน้าใบรับรองก่อสร้างอาคาร 2 โรงไฟฟ้า คาดเรียบร้อยใน มิ.ย. พร้อมเดินหน้าขายกองทุน

นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SUPER ได้แจ้งความคืบหน้าของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้า ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (SUPEREIF) ว่า บริษัทได้แจ้งผลการอนุมัติการจัดตั้งกองทุนรวม SUPEREIF แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้สามารถเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้ต่อเมื่อโครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการ ที่กองทุนฯ จะลงทุนในสิทธิรายได้สุทธิ ได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว แต่ต่อมาแขวงการทางได้มีหนังสือขอเวนคืนที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโครงการบางส่วนเพื่อทำการก่อสร้างถนน เป็นผลทำให้ต้องมีการปรับพื้นที่ของทั้ง 2 โครงการ บริษัทมีความจำเป็นต้องยื่นคำขอแก้ไขใบอนุญาตที่สำคัญรวม 5 ฉบับ จึงขอแจ้งความคืบหน้าของการได้รับใบอนุญาตของโครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการ ดังนี้ 1.ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (อ.1) ได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว 2.ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน […]

การส่งออกเดือนเม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY

การส่งออกเดือนเม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY

BF Economic Research ภาพรวม การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY การนำเข้าเดือน เม.ย. มีมูลค่า 20,013 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -0.7% YoY (vs prev -7.6% YoY) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันขยายตัว 0.4% YoY รวม 4 เดือนแรก การส่งออกมีมูลค่า 80,543 ล้านดอลลาร์ฯ (ลดลง-1.9% YoY) การนำเข้ามีมูลค่า 79,973 ล้านดอลลาร์ฯ (ลดลง-1.1% YoY) และการค้าเกินดุล 550 […]

GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง

GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง

BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของเอกชนไทย ขยายตัว 4.6% YoY (vs prev 5.4% YoY) โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะในส่วนของวงเงิน ค่าซื้อสินค้าอุปโภคที่จำเป็นในไตรมาสนี้ การใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทน โดยเฉพาะการใช้จ่ายในการซื้อยานพาหนะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง กลุ่มสินค้าไม่คงทนขยายตัวดีทั้งในหมวดอาหารและสินค้าไม่คงทนอื่นๆ แต่กลุ่มสินค้ากึ่งคงทนและบริการสุทธิชะลอลง รายจ่ายรัฐบาล ขยายตัว 3.3% YoY vs prev 1.4% YoY หนุนจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการของรัฐขยายตัว 5.6% YoY และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมขยายตัว 5.0 % YoY การลงทุน การลงทุนรวม ขยายตัว 3.2% YoY vs […]