กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)

สรุปประเด็นเด่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตร จะมีความผันผวนตามปัจจัยอื่นมากขึ้น ส่วนตราสารหนี้ภาคเอกชน จะมีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น กองทุนเน้นลงทุนโดยคัดเลือกผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบด้านกระแสเงินสดในระดับต่ำ และมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับภาระหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการระดมทุนเพื่อต่ออายุหุ้นกู้ แนวโน้มการลงทุนในตราสารทุนอยู่ที่การฟื้นตัวทางปัจจัยพื้นฐานว่าจะฟื้นขึ้นเร็วมากน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้กองทุนลงทุนแบบ Selective เน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เห็นสัญญาณของรายได้กลับมาในเวลาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ สรุปภาพรวมตลาดตราสารหนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มิ.ย. ปรับตัวในทิศทางที่ชันขึ้นเล็กน้อยจากเดือน พ.ค. โดยอัตราผลตอบแทนสำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี ลงมาปรับตัวลดลง 1-11 bps จากการที่นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิเป็นครั้งแรกนับจากเดือน ก.พ. เนื่องด้วยประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ต่ำ สนับสนุนให้มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายล็อคดาวน์ได้เร็ว จึงมีการเข้ามาเก็งกำไรผ่านการซื้อพันธบัตร ในขณะเดียวกัน นักลงทุนในประเทศยังมีการคาดการณ์ถึงการทำ Bond Switching ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ จำนวนประมาณ 1-1.2 แสนล้านบาท โดยมี Source Bond เป็นพันธบัตรในกลุ่มอายุไม่เกิน 4 ปี ส่งผลให้พันธบัตรในช่วงอายุดังกล่าวมีแรงซื้อจำนวนมาก ขณะที่แรงซื้อในพันธบัตรระยะยาวมีปริมาณที่เบาบาง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาอยูที่ระดับ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)

สรุปภาพรวมตลาดตราสารทุน ภาพรวมการลงทุนในไตรมาสแรกของปีนั้น เต็มไปด้วยความผันผวน โดยหลังจากที่ตลาดหุ้นโลกได้ทำจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือน ก.พ. แล้วปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลงไปทำจุดต่ำสุดที่ประมาณ -30% นับจากต้นปี จนถึงเดือน มี.ค. และเป็นการเข้าสู่ตลาดหมีหรือเป็นการลดลงจากจุดสูงสุดมากกว่า 20% ที่เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้กลายเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ทุกประเทศต้องใช้มาตรการต่างๆ ในการรับมือ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทางและการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงัน และมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแน่นอนแล้ว ในปีนี้ ซึ่งความต้องการบริโภคที่หายไปอย่างกะทันหันเช่นนี้ ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงกว้าง รวมถึงสงครามราคาน้ำมันระหว่าง บรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักที่ไม่สามารถเจรจาลดกำลังผลิตได้ ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงแรง ภาวะดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่เศรษฐกิจของทั่วโลกนั้นมีการเชื่อมโยงกันสูง ทำให้เกิด ผลกระทบค่อนข้างมาก การตอบสนองของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกในเวลานี้ จึงมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน โดยผู้ที่มีอิทธิพลหลักอย่าง เฟด ได้ลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วจนใกล้ศูนย์ เป็นการลดที่เร็วกว่าการถดถอยครั้งไหนๆ รวมทั้งใช้การอัดฉีด สภาพคล่องเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จากภาครัฐบาล ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ซึ่งช่วยลดความกลัวของนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการล้มละลายของบริษัทจำนวนมากลงไปได้ ด้านตลาดหุ้นไทยในปี 2020 นี้ ปรับตัวลงมาแล้วราว 30% YTD […]