นักวิทย์เผยภาวะโลกร้อนทำปริมาณน้ำฝนผันผวน พายุไต้ฝุ่นรุนแรงขึ้น

นักวิทย์เผยภาวะโลกร้อนทำปริมาณน้ำฝนผันผวน พายุไต้ฝุ่นรุนแรงขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ระบุในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวันนี้ (26 ก.ค.) ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลให้รูปแบบปริมาณน้ำฝนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพายุไต้ฝุ่นและพายุเขตร้อนอื่น ๆ มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วย สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ในสัปดาห์นี้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และจีน ต้องเผชิญกับไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของปีนี้ ส่งผลให้โรงเรียน ธุรกิจ และตลาดการเงินต้องปิดทำการ เนื่องจากความเร็วลมพุ่งสูงถึง 227 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประชาชนหลายแสนคนตามแนวชายฝั่งตะวันออกของจีนต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อนที่พายุจะพัดขึ้นฝั่งในวันพฤหัสบดี (25 ก.ค.) นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า พายุเขตร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทีมนักวิจัย นำโดยจาง เหวินเสีย จากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ได้ศึกษาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในอดีต พบว่าประมาณ 75% ของพื้นที่บนบกทั่วโลกมี “ความแปรปรวนของหยาดน้ำฟ้า” เพิ่มสูงขึ้น หรือมีความแปรปรวนระหว่างช่วงฝนตกกับช่วงแห้งแล้งมากขึ้น นักวิจัย กล่าวในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ว่า อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทำให้ชั้นบรรยากาศสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำฝนผันผวนมากขึ้น “(ความแปรปรวน) เพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ รวมถึงออสเตรเลีย ซึ่งหมายถึงช่วงหน้าฝนจะมีฝนตกชุกขึ้นส่วนช่วงหน้าแล้งก็จะแห้งแล้งกว่าเดิม” นายสตีเวน เชอร์วูด […]

หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ทำพิษ

หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ทำพิษ

การร่วงลงของหุ้นยักษ์ใหญ่หลายบริษัทที่ก่อนหน้านี้เป็นตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้นให้เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทต่อจุดอ่อนในการซื้อขายหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และทำให้เกิดความกังวลว่าหุ้นหลายตัวที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไปจะเผชิญกับความผันผวนที่มากขึ้น รายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่น่าผิดหวังจากเทสลา (Tesla) และอัลฟาเบท (Alphabet) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล (Google) จุดชนวนให้เกิดการเทขายหุ้นในตลาดอย่างรุนแรงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (24 ก.ค.) โดยดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นบริษัทด้านเทคโนโลยีร่วงลง 3.6% ซึ่งเป็นการปรับลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ปี 2565 ส่วนดัชนี S&P 500 ปรับลดลง 2.3% โดยรายงานผลประกอบการก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่กำลังจะเปิดเผยจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ โทมัส มาร์ติน (Thomas Martin) ผู้จัดการกองทุนอาวุโสของบริษัท โกลบอลท์ (GLOBALT) กล่าวว่า “นี่เป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่ได้ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศและบริษัทที่มุ่งเน้นการเติบโตจำนวนมากเกินไป และกลยุทธ์ในการเทรดคือ จะต้องกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลายมากขึ้น” ความอลหม่านเกิดขึ้นหลังจากการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กระตุ้นให้เกิดการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเวลานานหลายเดือนในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์ใหญ่และบริษัทที่เติบโตสูงจำนวนหนึ่ง รวมถึงผู้ผลิตชิปอย่าง เอนวิเดีย (Nvidia), ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และแอมะซอน (Amazon) ที่ผลักดันให้ดัชนี […]

Barclays ปรับเพิ่มเป้าหมาย ‘ดัชนี S&P 500’ แตะ 5,600 จุด ในปี 2567

Barclays ปรับเพิ่มเป้าหมาย ‘ดัชนี S&P 500’ แตะ 5,600 จุด ในปี 2567

Barclays ปรับเพิ่มเป้าหมาย ‘ดัชนี S&P 500’ แตะ 5,600 จุด ในปี 2567 เพิ่มคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) สำหรับบริษัทดัชนีเป็น 241 ดอลลาร์ จาก 235 ดอลลาร์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า Barclays ธนาคารใหญ่ของอังกฤษ ปรับเพิ่มเป้าหมายดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้นจาก 5,300 จุด เป็น 5,600 จุด ในปี 2567 โดยคาดว่า กำไรของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่จะมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง Barclays มีมุมมองเช่นเดียวกับ Citigroup และ Goldman Sachs ในการปรับเพิ่มเป้าหมายประจำปีสำหรับดัชนี S&P 500 โดยมีความหวังว่า ดัชนีในสหรัฐฯ […]

อินเดียลุยต่อ งบฯ ปี 67-68 คงเป้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 11.11 ล้านล้านรูปี

อินเดียลุยต่อ งบฯ ปี 67-68 คงเป้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 11.11 ล้านล้านรูปี

รัฐบาลอินเดียประกาศในวันนี้ (23 ก.ค.) ว่า จะเดินหน้าใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลถึง 11.11 ล้านล้านรูปี (1.3285 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2568 โดยมีเป้าหมายกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับประเทศอินเดียที่มีประชากรมากที่สุดในโลก สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า แผนการใช้จ่ายดังกล่าวยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากงบประมาณชั่วคราวที่นำเสนอในเดือนก.พ.ก่อนการเลือกตั้งทั่วไประดับชาติ “เม็ดเงินนี้คิดเป็น 3.4% ของ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ของเรา” นางนิรมาลา สิธารามาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดีย กล่าวในระหว่างการแถลงงบประมาณของรัฐบาลกลาง สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน รัฐบาลได้จัดสรรเงิน 1.5 ล้านล้านรูปีเป็นเงินกู้ระยะยาวแก่รัฐต่างๆ เพื่อนำไปใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียได้เพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็น 2 เท่า เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนระยะยาวต่อ GDP คิดเป็น 3.4% ในปีปัจจุบัน เพิ่มขึ้นจาก 1.7% ในปี 2562-2563 นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier […]

บริการทั่วโลกฟื้นหลังไอทีล่ม หุ้น ‘คราวด์สไตรก์’ ร่วง 12%

บริการทั่วโลกฟื้นหลังไอทีล่ม หุ้น ‘คราวด์สไตรก์’ ร่วง 12%

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. สำนักข่าวบีบีซีและรอยเตอร์ รายงานว่า ธุรกิจและบริการต่างๆ ทั่วโลกเริ่มทยอยกลับมาดำเนินตามปกติอีกครั้ง ภายหลังการล่มของระบบไอทีทั่วโลกที่กินเวลาหลายชั่วโมง ในวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่เป็นผลมาจากการอัพเดตซอฟต์แวร์ที่ผิดพลาดของคราวด์ สไตรก์ บริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์ที่ส่งผลให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของบริษัท ไมโครซอฟท์ล่ม การให้บริการสายการบินบางส่วนเริ่มกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง หลังเที่ยวบินหลายพันเที่ยวบินถูกยกเลิกจากปัญหาด้านระบบไอทีที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ทางสายการบิน คาดว่า เที่ยวบินอาจล่าช้า หรือยกเลิกต่อเนื่องไปตลอดช่วงสุดสัปดาห์นี้ ด้านธุรกิจต่างๆ กำลังรับมือกับการรับคำสั่งซื้อที่ตกหล่นและติดค้างซึ่งอาจใช้เวลาแก้ไขหลายวัน นอกจากนั้นแล้ว การล่มของระบบไอทีอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อบริษัทต่างๆ ที่จ่ายเงินค่าจ้างให้กับพนักงาน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ด้านการเดินทางทางรางอาจเจอกับความล่าช้า รวมถึงสถานีโทรทัศน์สกายนิวส์ของอังกฤษและเอบีซีของออสเตรเลียที่มีปัญหาในการออกอากาศได้เริ่มกลับมาออกอากาศอีกครั้งเช่นกัน นายพีต บูติเจิจ รัฐมนตรีคมนาคม สหรัฐฯ กล่าวว่า ปัญหาของระบบไอทีดูเหมือนว่าจะได้รับการแก้ไขแล้ว และการคมนาคมอาจกลับมาเป็นปกติอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค. ปัญหาของระบบไอทีครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในเวลา 19.00 น. ตามเวลากรีนิช ของวันที่ 18 ก.ค. ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ CrowdStrike Falcon จนต่อมาปัญหาดังกล่าวเริ่มส่ง ผลกระทบเป็นวงกว้างในวันที่ […]

สหรัฐฯ เปิดเผยแผนเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในทวีปอเมริกา

สหรัฐฯ เปิดเผยแผนเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในทวีปอเมริกา

นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ เปิดเผยในวันพุธ (17 ก.ค.) เกี่ยวกับแผนการใหม่สำหรับประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกา ที่จะเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีความสำคัญในเกือบทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมสมัยใหม่และเป็นภาคส่วนที่จีนควบคุมอยู่ “แผนการนี้จะเพิ่มศักยภาพของประเทศต่างๆ ในการประกอบ ทดสอบและบรรจุเซมิคอนดักเตอร์ โดยเริ่มจากเม็กซิโก ปานามา และคอสตาริกา” นายบลิงเกนกล่าว ขณะที่เขาเปิดการประชุมกับ 11 ประเทศในลาตินอเมริกา นายบลิงเกน กล่าวว่า ทวีปอเมริกาควรมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เซมิคอนดักเตอร์กับสิ่งต่างๆ ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงตู้เย็นและระบบอาวุธ นายบลิงเกน ยังเรียกร้องให้มีการลงทุนมากขึ้นในทวีปอเมริกา เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และระบุย้ำว่า เป้าหมายของ 12 ประเทศในการประชุมครั้งนี้ คือ การจัดสรรเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งนี้ จัดขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมืออเมริกาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเปิดตัวเมื่อ 2 ปีก่อน สำหรับการประชุมสุดยอดครั้งต่อไปนั้นมีกำหนดจัดขึ้นในปีหน้าในประเทศคอสตาริกา ที่มา: เอเอฟพี

‘ทองคำ’ พุ่งทำนิวไฮ แตะ 2,482 ดอลลาร์/ออนซ์ รับความหวังเฟดลด ‘ดอกเบี้ย’

‘ทองคำ’ พุ่งทำนิวไฮ แตะ 2,482 ดอลลาร์/ออนซ์ รับความหวังเฟดลด ‘ดอกเบี้ย’

‘ทองคำ’ พุ่งทำนิวไฮ แตะ 2,482 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รับความคาดหวังเฟดลด ‘ดอกเบี้ย’ หลัง ‘เจอโรม พาเวล’ ไม่รอเงินเฟ้อลงสู่เป้า 2% นักวิเคราะห์ชี้แนวรับถัดไป 2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานความเคลื่อนไหว ราคาทองคำวันนี้ (17 ก.ค.) ราคาทองคำสปอตเพิ่มขึ้น 0.2% เคลื่อนไหวที่ 2,482 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ ราคาทองคำฟิวเจอร์สเพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 2,478.4 ดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากความหวังในการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในเดือนก.ย. หลัง “เจอโรม พาเวล” มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยก่อนที่เงินเฟ้อจะลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% ทิม วอเทอเรอร์ หัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดของ KCM Trade กล่าวว่า “ทองคำแตะระดับสูงสุดใหม่ ขณะที่นักลงทุนเตรียมพร้อมสำหรับดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์  และถ้ามีแรงส่งแบบในปัจจุบันอาจเห็นราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นไปอีก” ทั้งนี้ วอเทอเรอร์ […]

‘เทมาเส็ก’ ของสิงคโปร์วางแผนลงทุน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในอินเดีย

‘เทมาเส็ก’ ของสิงคโปร์วางแผนลงทุน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในอินเดีย

ผู้บริหารระดับสูงของเทมาเส็ก (Temasek) ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยเมื่อวานนี้ (15 ก.ค.) ว่า บริษัทวางแผนที่จะลงทุนระยะ 3 ปีในอินเดียเป็นเงิน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในธุรกิจต่างๆ อาทิ บริการด้านการเงินและเฮลท์แคร์ โดยเลือกที่จะลงทุนในอินเดีย ขณะที่มีความระมัดระวังเกี่ยวกับการลงทุนในจีน โมหิต บันดารี กรรมการผู้จัดการด้านการลงทุน ของเทมาเส็ก ระบุว่า เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวขึ้นอย่างมาก และตลาดหุ้นปรับตัวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางการขยายตัวของการทำ IPO และการทำข้อตกลงธุรกิจ โดยอินเดียคิดเป็นสัดส่วน 7% ของการลงทุนทั่วโลกของเทมาเส็กซึ่งต้องการที่จะลงทุนเพิ่มอีก สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เทมาเส็กวางแผนมาตั้งแต่ปีที่แล้วที่จะลงทุนประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในระยะ 3 ปี และมีแนวโน้มที่จะดำเนินการดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเศรษฐกิจเชิงบวกโดยรวม “เราเชื่อมั่นในอินเดียในระยะยาว” นายบันดารี ระบุในการให้สัมภาษณ์ที่สำนักงานของเทมาเส็กในเมืองมุมไบ ที่มา: รอยเตอร์

จีนเผยจีดีพี Q2/67 โต 4.7% ต่ำกว่าคาดการณ์ – ยอดค้าปลีกมิ.ย.โตเพียง 2%

จีนเผยจีดีพี Q2/67 โต 4.7% ต่ำกว่าคาดการณ์ – ยอดค้าปลีกมิ.ย.โตเพียง 2%

สำนักข่าว CNBC รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ประจำไตรมาส 2 ปีนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น  4.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่ 5.1% ขณะที่ยอดค้าปลีกในเดือนมิ.ย. โตเพิ่มเพียง 2% น้อยกว่าคาดการณ์ที่ 3.3% เช่นกัน Oxford Economics คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2567 อยู่ที่ 4.8% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ในเดือนธ.ค. 2566 ที่ 4.4% ขณะที่การเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 5.3% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าคาดการณ์ของรอยเตอร์ที่ 5% โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 8.8% ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตเมือง ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าเพิ่มขึ้น 3.9% ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการผลิตชะลอตัวลง เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิ.ย. ขณะที่การลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ลดลงในอัตรา […]

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำยอดประชากรสหภาพยุโรปเพิ่ม 2 ปีติด

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำยอดประชากรสหภาพยุโรปเพิ่ม 2 ปีติด

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม สหภาพยุโรป (อียู) ได้เปิดเผยข้อมูลยอดการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ประเทศอียู โดยข้อมูลชี้ว่า ประชากรของอียูโดยรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้นในปี 2023 แม้ว่ายอดการเกิดของประชากรในอียู จะะยังคงน้อยกว่ายอดคนเสียชีวิตในแต่ละปีก็ตาม โดยหลังจากที่ยอดจำนวนประชากรของอียู ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ ลดลงในปี 2020 และ 2021 ติดต่อกัน อันเนื่องมาจากผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แต่ยอดของประชาการอียูในปี 2023 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันจาก 447.6 ล้านคน เป็น 449.2 ล้านคน Eurostat องค์กรด้านสถิติของอียู ให้ข้อมูลว่า ยอดของการอพยพเข้ามาในอียูที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นี้ รวมถึงยอดการอพยพของผู้พลัดถิ่นจากยูเครนที่หลบหนีสงครามกับรัสเซียด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้านำอัตราการเกิดของประชากรในยุโรปที่ลดลง มาเปรียบเทียบกับยอดการเสียชีวิต จะพบว่า ยอดผู้เสียชีวิตมีมากกว่าการเกิดมาตั้งแต่ปี 2012 เมื่อนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้อียูเกิดความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงาน และการจัดหาเงินทุนของรัฐเพื่อนำไปเป็นสวัสดิการของชาติในอนาคต ที่มา: รอยเตอร์