‘โกลด์แมน แซคส์’ คาดแผนปฏิรูปภาษี ’แฮร์ริส’ ฉุดรายได้บริษัท S&P 500 ดิ่ง 5%
‘โกลด์แมน แซคส์’ คาดแผนปฏิรูปภาษี ’แฮร์ริส’ เสนอให้เพิ่มอัตราภาษีนิติบุคคลจาก 21% เป็น 28% ฉุดรายได้บริษัท S&P 500 ดิ่ง 5% สำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า นักวิเคราะห์จาก “โกลด์แมน แซคส์” ระบุว่า ข้อเสนอขึ้นภาษีนิติบุคคลของ “คามาลา แฮร์ริส” รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต อาจทำให้ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 ลดลงประมาณ 5% เมื่อเดือนที่แล้ว แฮร์ริสเสนอให้เพิ่มอัตราภาษีนิติบุคคลจาก 21% เป็น 28% และรับรองว่า “บริษัทขนาดใหญ่จ่ายภาษีในส่วนที่เป็นธรรม” หากเธอชนะการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งอย่าง “โดนัลด์ ทรัมป์” จากพรรครีพับลิกัน โกลด์แมน แซคส์ ประมาณการว่า การปรับขึ้นอัตราภาษีให้สูงขึ้นเป็น 28% จะส่งผลให้รายได้ของบริษัทที่อยู่ในดัชนี S&P 500 ลดลงประมาณ 5% […]
เฟดกำหนดระดับทุนสำรองใหม่ของแบงก์สหรัฐฯ มีผล 1 ต.ค.นี้
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศในวันพุธ (28 ส.ค.) ว่า ได้กำหนดระดับเงินทุนสำรองล่าสุดสำหรับธนาคารขนาดใหญ่หลังจากการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Tests) ประจำปีในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ได้ตกลงที่จะลดระดับเงินทุนสำรองของโกลด์แมน แซคส์ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ระดับเงินทุนสำรองใหม่ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้นั้น ส่วนใหญ่จะคล้ายกับที่เฟดกำหนดไว้เริ่มแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบสถานะการเงินประจำปีของธนาคารขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม เฟดระบุในแถลงการณ์ว่า ได้ปรับลดระดับเงินทุนสำรองพิเศษของโกลด์แมน แซคส์ลง หลังจากที่บริษัทได้ขอให้เฟดทำการทบทวนใหม่ โดยในขณะนี้ โกลด์แมน แซคส์ ต้องถือครองเงินทุนสำรองเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตที่ระดับ 6.2% ลดลงจาก 6.4% ที่แนะนำไว้ในการทดสอบ เฟดเปิดเผยว่า ได้ตกลงเปลี่ยนแปลงระดับเงินทุนสำรอง หลังจากได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากโกลด์แมน แซคส์ และระบุเสริมว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่จะปรับวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในการทดสอบภาวะวิกฤต นอกจากนี้ เฟดระบุเสริมว่า จะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงวิธีการรายงานข้อมูลของธนาคารต่างๆ เพื่อปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลของเฟด และอาจปรับเปลี่ยนโมเดลการทดสอบภาวะวิกฤตภายในของเฟดด้วย ที่มา: รอยเตอร์
สหรัฐฯ เล็งใช้มาตรการคุมเข้มซอฟต์แวร์ยานยนต์จีน หวั่นข้อมูลความมั่นคงรั่วไหล
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯ มีแผนเสนอข้อจำกัดการขายซอฟต์แวร์ยานยนต์จากจีนในสหรัฐฯ ซึ่งอาจมีผลบังคับใช้ภายในเดือนนี้ โดยถือเป็นมาตรการที่มุ่งจัดการกับข้อกังวลด้านความปลอดภัยที่เกิดจากรถยนต์อัจฉริยะรุ่นใหม่ โดยจะรวมถึงการจำกัดการใช้งานและการทดสอบเทคโนโลยีของจีน สำหรับยานยนต์ไร้คนขับและรถยนต์ในปัจจุบันที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้า ที่ติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ที่อาจทำให้ผู้ใช้งานตกเป็นเป้าหมายการถูกแฮ็กข้อมูลได้ ปัจจุบัน รถยนต์จำนวนมากทั้งที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้า ล้วนติดตั้งอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้รถยนต์เหล่านี้อาจตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮ็กเกอร์ในการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยมาตรการครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการสืบสวนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากซอฟต์แวร์รถยนต์ของจีน ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ปัจจุบัน จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านรถยนต์ไฟฟ้าและส่วนประกอบสำหรับรถยนต์อัจฉริยะ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลให้เงินอุดหนุนและสนับสนุนอย่างกว้างขวาง โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 บริษัท BYD ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของจีน สามารถทำยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าได้มากกว่า Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกก็หันมาพึ่งพาซัพพลายเออร์จากจีนมากขึ้น สำหรับเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับรถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต หรือ Connected vehicle ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของจีน เช่น BYD มีบทบาทอย่างจำกัดในสหรัฐฯ เนื่องจากมีการใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้า 27.5% ในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทั้งยังถูกประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศเพิ่มอัตราภาษีเป็นมากกว่า 100% […]
กังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย หุ้นร่วงเกือบทุกตลาดทั่วโลก
ดัชนีตลาดหุ้นเกือบทุกตลาดทั่วโลกร่วงลง ขณะที่ราคาพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากมีความกังวลเพิ่มขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่งผลให้นักลงทุนโยกเงินออกจากสินทรัพย์เสี่ยง วันที่ 5 สิงหาคม 2024 รอยเตอร์ (Reuters) รายงาน ณ เวลา 12.55 น. (เวลาไทย) ว่า ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงและราคาพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่งผลให้นักลงทุนรีบโยกเงินออกจากสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่มีการเดิมพันว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะถูกปรับลดลงอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจ นักลงทุนเริ่มโยกเงินจากหุ้นหลังปิดตลาดวันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม ทำให้ดัชนีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแนสแดค (Nasdaq Futures) ร่วงลง 4.7% ในขณะที่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเอสแอนด์พี 500 (S&P 500 Futures) ลดลง 1.41% สัญญาซื้อขายล่วงหน้ายูโรสต็อกซ์ 50 (EUROSTOXX 50 Futures) ลดลง 2.1% และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเอฟทีเอสอี 100 […]
หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ทำพิษ
การร่วงลงของหุ้นยักษ์ใหญ่หลายบริษัทที่ก่อนหน้านี้เป็นตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้นให้เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทต่อจุดอ่อนในการซื้อขายหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และทำให้เกิดความกังวลว่าหุ้นหลายตัวที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไปจะเผชิญกับความผันผวนที่มากขึ้น รายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่น่าผิดหวังจากเทสลา (Tesla) และอัลฟาเบท (Alphabet) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล (Google) จุดชนวนให้เกิดการเทขายหุ้นในตลาดอย่างรุนแรงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (24 ก.ค.) โดยดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นบริษัทด้านเทคโนโลยีร่วงลง 3.6% ซึ่งเป็นการปรับลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ปี 2565 ส่วนดัชนี S&P 500 ปรับลดลง 2.3% โดยรายงานผลประกอบการก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่กำลังจะเปิดเผยจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ โทมัส มาร์ติน (Thomas Martin) ผู้จัดการกองทุนอาวุโสของบริษัท โกลบอลท์ (GLOBALT) กล่าวว่า “นี่เป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่ได้ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศและบริษัทที่มุ่งเน้นการเติบโตจำนวนมากเกินไป และกลยุทธ์ในการเทรดคือ จะต้องกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลายมากขึ้น” ความอลหม่านเกิดขึ้นหลังจากการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กระตุ้นให้เกิดการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเวลานานหลายเดือนในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์ใหญ่และบริษัทที่เติบโตสูงจำนวนหนึ่ง รวมถึงผู้ผลิตชิปอย่าง เอนวิเดีย (Nvidia), ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และแอมะซอน (Amazon) ที่ผลักดันให้ดัชนี […]
สหรัฐฯ เปิดเผยแผนเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในทวีปอเมริกา
นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ เปิดเผยในวันพุธ (17 ก.ค.) เกี่ยวกับแผนการใหม่สำหรับประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกา ที่จะเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีความสำคัญในเกือบทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมสมัยใหม่และเป็นภาคส่วนที่จีนควบคุมอยู่ “แผนการนี้จะเพิ่มศักยภาพของประเทศต่างๆ ในการประกอบ ทดสอบและบรรจุเซมิคอนดักเตอร์ โดยเริ่มจากเม็กซิโก ปานามา และคอสตาริกา” นายบลิงเกนกล่าว ขณะที่เขาเปิดการประชุมกับ 11 ประเทศในลาตินอเมริกา นายบลิงเกน กล่าวว่า ทวีปอเมริกาควรมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เซมิคอนดักเตอร์กับสิ่งต่างๆ ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงตู้เย็นและระบบอาวุธ นายบลิงเกน ยังเรียกร้องให้มีการลงทุนมากขึ้นในทวีปอเมริกา เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และระบุย้ำว่า เป้าหมายของ 12 ประเทศในการประชุมครั้งนี้ คือ การจัดสรรเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งนี้ จัดขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมืออเมริกาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเปิดตัวเมื่อ 2 ปีก่อน สำหรับการประชุมสุดยอดครั้งต่อไปนั้นมีกำหนดจัดขึ้นในปีหน้าในประเทศคอสตาริกา ที่มา: เอเอฟพี
‘พาวเวลล์’ ยันพร้อมหั่นดอกเบี้ย หากข้อมูลศก.พร้อม ปัดเลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่กระทบการตัดสินใจ
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด จะตัดสินใจเกี่ยวกับปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อมีความพร้อม โดยปฏิเสธประเด็นที่ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนก.ย. นั้น ไม่ได้เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ก่อนถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย. นี้ “ภารกิจของเรา คือ การตัดสินใจเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นโดยพิจารณาจากข้อมูลที่มีเป็นหลัก รวมถึงข้อมูลที่กำลังจะออกมา ภาพรวมในอนาคต และความสมดุลด้านความเสี่ยง ไม่ว่าจะปัจจัยอื่น ๆ จะเป็นอย่างไร ซึ่งหมายรวมถึงปัจจัยทางการเมืองด้วย” นายพาวเวลล์กล่าว ระหว่างแถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ รอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา “เราทำเช่นนี้มายาวนานแล้ว รวมถึงในปีที่มีการเลือกตั้งด้วย…ทุกสิ่งที่เราทำจะต้องมีพื้นฐานที่ชัดเจนหนักแน่น ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมหากคิดถึงแต่กระบวนการเลือกตั้งในทางใดทางหนึ่ง” นายพาวเวลล์ กล่าวเพิ่มเติม ความเห็นดังกล่าวของนายพาวเวลล์ เป็นการตอบคำถามของนายไมค์ ลอว์เลอร์ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกันของรัฐนิวยอร์ก เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. ว่าเชื่อมโยงกับการเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย. หรือไม่ โดยปัจจุบันตลาดให้น้ำหนักความเป็นไปได้ประมาณ 70% ที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในช่วงดังกล่าว ทั้งนี้ […]
ซีอีโอ JPMorgan เชื่อมั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเฟื่องฟู
ซีอีโอ JPMorgan เชื่อมั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเฟื่องฟู แรงหนุนการจ้างงานและการเงินผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง แม้จะเข้าสู่ภาวะถดถอย วันที่ 23 เมษายน 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า Jamie Dimon ซีอีโอ JPMorgan Chase แสดงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการจ้างงานและการเงินผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง ซีอีโอ JPMorgan กล่าวในงาน Economic Club of New York เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 67 ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นน่าเหลือเชื่อ แม้ว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่การเงินผู้บริโภคยังคงที่แข็งแกร่ง พร้อมเตือนถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้ของประเทศที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงมองว่า อัตราเงินเฟ้ออาจคงอยู่นานกว่าที่คาดไว้ และคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงนานกว่าที่คาดไว้ ซีอีโอ JPMorgan ระบุว่า “ผมต้องการให้ประธานาธิบดีคนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม นำสมาชิกเข้าไปในคณะรัฐมนตรี นั่นคือสิ่งที่ผมอยากจะเห็น […]
จับตา ‘พาวเวล’ แถลงนโยบายการเงินครั้งแรกของปีนี้ต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ ต้นเดือนมี.ค.
นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะแถลงนโยบายการเงินซึ่งมีขึ้นปีละ 2 ครั้งต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐฯ ในวันที่ 7 มี.ค. เมื่อพิจารณาจากธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้ว่า นายพาวเวลจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านบริการการเงินแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ก่อนหน้านั้นอย่างน้อย 1 วัน อย่างไรก็ดี โฆษกของคณะกรรมาธิการด้านบริการการเงินแห่งสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ยืนยันกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า จะเป็นวันใด ขณะที่ เว็บไซต์ข่าว Punchbowl รายงานว่า นายพาวเวลจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวในวันที่ 6 มี.ค. ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการแถลงต่อสภาคองเกรสของนายพาวเวลอย่างใกล้ชิด โดยคาดว่า การแถลงครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในช่วงกลางเดือนมี.ค. โดยที่ประชุมจะประเมินความคืบหน้าของภารกิจในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ และมีความเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการเฟดจะส่งสัญญาณว่า จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด ที่มา: รอยเตอร์
ยอดล้มละลายปี 2566 ในสหรัฐฯ พุ่ง 18% คาดส่อแววพุ่งต่อเนื่องปีนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การยื่นขอล้มละลายทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการล้มละลายทั้งในระดับเชิงพาณิชย์และระดับส่วนบุคคลในสหรัฐฯ ปี 2566 ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 18% แตะระดับ 445,186 ราย จาก 378,390 ราย ในปี 2565 และคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2567 นี้ โดยถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น และการสิ้นสุดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด แม้จำนวนการล้มละลายจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเห็นได้ชัดก็ตาม ข้อมูลจาก Epiq AACER ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลด้านการล้มละลาย ระบุว่า การยื่นปรับโครงสร้างธุรกิจตามมาตรา 11 เพิ่มขึ้น 72% อยู่ที่ 6,569 ราย จากระดับ 3,819 ราย ในปี 2565 ขณะที่ ผู้บริโภคยื่นขอล้มละลายเพิ่มขึ้น 18% มาอยู่ที่ 419,559 ราย จาก 356,911 […]