BKIND Product Update Sustainability
กองทุนรวมคนไทยใจดี (BKIND)
Highlight “ตลาดหุ้นไทย เศรษฐกิจไทยอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หนุนโดยการบริโภคภาครัฐและเอกชนจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงภาคการส่งออกที่ได้รับประโยชน์จากประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวก่อนและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง” “นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 2 หมื่นล้านบาท เป็นอีกปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวได้” ตลาดหุ้นโลก ปรับตัวผันผวน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนแรกของพฤษภาคม ตลาดแตะระดับ Bear Market หรือลดลงจากสูงสุดช่วงต้นปีที่ 20% ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันการลงทุนยังคงมาจากแรงกดดันเงินเฟ้อในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ตลาดก็เริ่มรับรู้ปัจจัยด้านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นไปมากแล้ว รวมถึงสัญญาณจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชะลออัตราการปรับขึ้นลง ส่งผลให้ตลาดโดยรวมปิดทรงตัวได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นปัจจัยกดดันระดับ Valuation ของตลาดหุ้น ให้อยู่ในระดับ Multiple ที่ต่ำลง ในระยะข้างหน้า ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน ท่าทีของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง และประเด็นการถดถอยของเศรษฐกิจ ยังคงปัจจัยสาคัญที่จะส่งผลต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง ในด้านเศรษฐกิจนั้น สงครามยูเครน รัสเซียที่ยืดเยื้อ การคว่ำบาตรทางการค้า และการ Lockdown เศรษฐกิจในจีน […]
B-THAICG Product Update Sustainability
กองทุนรวมบัวหลวงหุ้นธรรมาภิบาลไทย (B-THAICG)
Highlight “ตลาดหุ้นไทย เศรษฐกิจไทยอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หนุนโดยการบริโภคภาครัฐและเอกชนจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงภาคการส่งออกที่ได้รับประโยชน์จากประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวก่อนและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง” “นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 2 หมื่นล้านบาท เป็นอีกปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวได้” ตลาดหุ้นโลก ปรับตัวผันผวน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนแรกของพฤษภาคม ตลาดแตะระดับ Bear Market หรือลดลงจากสูงสุดช่วงต้นปีที่ 20% ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันการลงทุนยังคงมาจากแรงกดดันเงินเฟ้อในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ตลาดก็เริ่มรับรู้ปัจจัยด้านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นไปมากแล้ว รวมถึงสัญญาณจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชะลออัตราการปรับขึ้นลง ส่งผลให้ตลาดโดยรวมปิดทรงตัวได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นปัจจัยกดดันระดับ Valuation ของตลาดหุ้น ให้อยู่ในระดับ Multiple ที่ต่ำลง ในระยะข้างหน้า ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน ท่าทีของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง และประเด็นการถดถอยของเศรษฐกิจ ยังคงปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง ในด้านเศรษฐกิจนั้น สงครามยูเครน รัสเซียที่ยืดเยื้อ การคว่ำบาตรทางการค้า และการ Lockdown เศรษฐกิจในจีน เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาอุปทาน […]
ESG Morning Brief Sustainability
นักลงทุนสนใจลงทุนกองทุนมุ่งเน้น ESG เพิ่ม 4 เท่าตัว ขณะที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ คุมเข้มป้องกันการลงทุนธุรกิจฟอกเขียวมากขึ้น
กองทุนที่มุ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ภายใต้ชื่อเรียกว่ากองทุน ESG ซึ่งหมายถึงการลงทุนในธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล โดยพบว่า ณ สิ้นปี 2021 มีนักลงทุนจัดสรรเงินมาลงทุนในภาคส่วนที่ให้ความสำคัญเรื่อง ESG 357,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อนหน้านี้ ตามข้อมูลของ Morningstar ทั้งนี้ นักลงทุนใส่เงินถึง 69,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าไปในกองทุน ESG ที่รู้จักกันในชื่อ กองทุนยั่งยืนเมื่อปีที่ผ่านมา โดยกองทุนประเภทนี้ มีหลากหลายรูปแบบมาก มีทั้งที่พยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศหรือเชื้อชาติ การลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาดหรือหลีกเลี่ยงเชื้อเพลิงฟอสซิล ยาสูบ หรือบริษัทปืน เป็นต้น ขณะที่ผู้หญิงและกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี เป็นกลุ่มที่สนใจการลงทุนที่มี ESG มากที่สุด ตามข้อมูลของ Cerulli Associates โดยพบว่าประมาณ 34% ของที่ปรึกษาทางการเงิน นำเสนอกองทุน […]
Oxfam คาดการณ์มีนับล้านคนทั่วโลกฐานะตกไปอยู่ในระดับความยากจนสูงสุด
Oxfam องค์กรการกุศล เผยแพร่สถิติใหม่ที่จัดทำออกมา โดยชี้ว่า มีมหาเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นทุกๆ 30 ชั่วโมง ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด แล้วก็มีคนกว่าล้านคนที่สถานะปรับลดลงไปสู่ความยากจนระดับสูงสุดในอัตราเดียวกันในปี 2022 ทั้งนี้ องค์กรการกุศล เผยแพร่ข้อมูลในเวทีประชุมสภาเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยชี้ว่า ณ เดือนมีนาคม 2022 ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นมากกว่า 573 คน เมื่อเทียบกับปี 2020 ในช่วงที่การแพร่ระบาดเริ่มต้น ซึ่งก็เท่ากับทุกๆ 30 ชั่วโมงจะมีมหาเศรษฐีใหม่เกิดขึ้น 1 คน ขณะเดียวกัน ในรายงานคาดการณ์ว่า มีคน 263 ล้านคนทั่วโลก ที่กำลังตกอยู่ในสถานะยากจนสูงสุดในปี 2022 เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ความไม่เท่าเทียมในโลกที่เพิ่มขึ้น และราคาอาหารที่สูงขึ้น ซึ่งก็เป็นความเลวร้ายที่ตามมาจากสงครามในยูเครน นั่นหมายความว่าในทุกๆ 33 ชั่วโมง มีคนที่สถานะปรับลดลงไปสู่กลุ่มที่มีความยากจนสูงสุด 1 ล้านคนนั่นเอง Oxfam ชี้ว่า มหาเศรษฐีสะสมความมั่งคั่งรวมกัน 12.7 […]
ESG Morning Brief Sustainability
อุณหภูมิโลกมีโอกาสผ่านจุดชี้ชะตาสำคัญร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสได้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า
ผลการศึกษาใหม่ที่พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จัดทำโดย U.K. Met Office ชี้ว่า มีโอกาส 50% ที่ภายใน 5 ปีข้างหน้า โลกเราจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับเกณฑ์ความร้อนสำคัญของโลก ที่ได้มีการตั้งเป้าหมายกันไว้ว่า จะพยายามทำให้โลกไม่ร้อนขึ้นเกินระดับนี้ เมื่อปี 2015 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ เคยกล่าวว่า มีโอกาส 0% ที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิในยุคก่อนอุตสาหกรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ว่าแนวโน้มที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นระดับนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 10% ระหว่างปี 2017-2021 และล่าสุดก็ไต่ระดับขึ้นมาเข้าใกล้ 50% สำหรับปี 2022-2026 ความเป็นไปได้นี้เกิดขึ้นเพียงไม่นาน หลังจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) ออกมาเตือนว่า เราต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ IPCC เรียกร้องให้มีการลดใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อควบคุมความร้อนของโลก โดยปัจจุบันโลกเราร้อนขึ้นมา 1.1 […]
สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะทำให้ไวรัส 4,000 สายพันธุ์แพร่ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในปี 2070
การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแพร่กระจายไวรัส 4,000 สายพันธุ์ ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในปี 2070 จากข้อมูลผลศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ออกมา พบว่า ปัญหาโลกร้อนจะเป็นตัวผลักดันที่ทำให้มีไวรัสกว่า 4,000 สายพันธุ์ แพร่ระบาดระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่มนุษย์ด้วย ภายในปี 2070 นี้ ปัญหาโลกร้อนจะทำให้สัตว์ต่างๆ อพยพจากพื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนขึ้น และบังคับให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน ส่งผลให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นตามมา ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาด ก็มีสาเหตุหนึ่งมาจากแนวโน้มว่าจะเกิดจากการแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมาจากค้างคาวเกือกม้าในเอเชียสู่มนุษย์ อย่างไรก็ตาม Greg Albery นักวิจัยที่ Wissenschaftskolleg zu Berlin ซึ่งเป็นผู้ร่วมการศึกษาครั้งนี้ ชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของไวรัส 4,000 สายพันธุ์ ที่เกิดจากไวรัสข้ามสายพันธุ์ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกันนั้น ไม่ได้หมายความว่า จะมีการระบาดใหญ่แบบโควิด-19 อีก 4,000 ครั้ง เพียงแต่มีโอกาสที่จะส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์และอาจจะส่งผลมาถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นข่าวร้ายสำหรับสุขภาพของระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบนี้ ทั้งนี้ ค้างคาวก็เป็นสัตว์ที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส เพราะพวกมันบิน โดยพบว่า 90% […]
ยุโรปกำลังเจอความท้าทายจากการขาดแร่ธาตุเพื่อเป้าหมายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2050
สหภาพยุโรป กำลังได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนลิเธียม ธาตุหายาก และโลหะอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน แต่การรีไซเคิลจะช่วยอุดช่องว่างได้ตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไปเท่านั้น ประเด็นการขาดแคลนแร่ธาตุที่จำเป็นของสหภาพยุโรปนี้ยิ่งมีความรุนแรงขึ้น หลังจากสหภาพยุโรปพยายามพึ่งพารัสเซียน้อยลงด้านพลังงาน ตามผลการศึกษาของ Eurometaux ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่มอุตสาหกรรม “การเปลี่ยนผ่านพลังงานโลกกำลังเกิดรวดเร็วขึ้นกว่าโครงการขุดทองแดง โคบอลต์ ลิเธียม นิกเกิล และแร่ธาตุหายาก ซึ่งล้วนทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอุปสงค์หยุดชะงักระหว่างนี้ไปจนถึงปี 2035 สหภาพยุโรปวางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งจำเป็นต้องใช้โลหะและแร่ธาตุเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและกังหันลม ผลการศึกษาชี้ว่า สหภาพยุโรปจำเป็นต้องใช้ลิเธียมเพิ่มขึ้น 35 เท่า และแร่ธาตุหายาก 7-26 เท่า ภายในปี 2050 เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และมอเตอร์ ซึ่งยุโรปต้องเร่งตัดสินใจเร่งด่วนว่าจะปิดช่องว่างด้านอุปทานนี้ยังไง ทั้งนี้ จีนและอินโดนีเซียใช้พลังงานถ่านหินในการผลิตโลหะ ซึ่งจะครองการเติบโตของกำลังการผลิตการหลั่นโลหะแบตเตอรี่และแร่ธาตุหายาก ในขณะที่ยุโรปยังพึ่งพาอลูมิเนียม นิกเกิล และทองแดง จากรัสเซียอยู่ การรีไซเคิลจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนได้ แต่ทำได้ตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป เท่านั้น เมื่อมีวัตถุดิบเหลือจากยานพาหนะที่ถูกทิ้งหรืออุปกรณ์อื่น เช่น กังหันลม […]
ปี 2021 เป็นปีที่ดีต่อเนื่องของการติดตั้งพลังงานลม
สภาพลังงานลมโลก (Global Wind Energy Council : GWEC) ออกรายงานฉบับใหม่มาว่า ในปี 2021 เป็นปีที่ดีต่อเนื่องปีที่ 2 ของกลุ่มพลังงานลม แต่ในเรื่องการติดตั้งยังจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ปี 2021 มีการติดตั้งพลังงานลมกำลังการผลิตรวม 93.6 กิกะวัตต์ ต่ำกว่าในปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 95.3 กิกะวัตต์ ขณะที่กำลังผลิตสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 837 กิกะวัตต์ โดยกำลังการผลิตหมายถึงกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถผลิตได้ ไม่ได้บ่งบอกถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ต้องผลิต ทั้งนี้ พลังงานลมนอกชายฝั่ง ติดตั้งไปทั้งหมด 21.1 กิกะวัตต์ ในปี 2021 ซึ่งถือเป็นปีที่ดีที่สุด ส่วนการติดตั้งพลังงานลมบนบกอยู่ที่ 72.5 กิกะวัตต์ ในปี 2021 เทียบกับ 88.4 กิกะวัตต์ ในปี 2020 […]
สตาร์ทอัพที่ Google สนับสนุน เปิดตัวเครื่องมือติดตามการปล่อยคาร์บอน
Normative บริษัทสตาร์ทอัพสวีเดนที่มี Google เป็นผู้สนับสนุน เปิดตัวเครื่องมือติดตามการปล่อยคาร์บอนในเวอร์ชันใช้งานแบบไม่มีค่าใช้จ่าย หลังจากบริษัทต่างๆ ทั่วโลกพยายามที่จะหาวิธีวัดว่าตัวเองจัดการกับรอยเท้าด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เครื่องมือคำนวณคาร์บอนนี้ถูกออกแบบมาสำหรับธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก โดยมีพื้นฐานมาจากสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้หลังจากใส่ข้อมูลบางส่วนลงไปในแบบฟอร์มแล้ว อย่างไรก็ตาม Normative มีการจัดทำเครื่องมือนี้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อขายให้ธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย การเผาไม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่นำไปสู่วิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศ โดยโลกเราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นอิสระจากการพึ่งพาแหล่งพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซมากขึ้นในทศวรรษข้างหน้า ขณะที่ผู้นำและซีอีโอระดับโลกต่างก็ออกมาโน้มน้าวให้พวกเรามุ่งมั่นกับสิ่งที่เรียกว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs คิดเป็น 95% ของธุรกิจทั่วโลก ตามข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) โดยธุรกิจเหล่านี้ส่วนมากจะมีบทบาทในการเชื่อมโยงกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรขนาดใหญ่ Kristian Ronn ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Normative กล่าวว่า เราต้องทำตั้งแต่ตอนนี้ เรื่องสภาพภูมิอากาศไม่สามารถรอให้เราพร้อมได้ ดังนั้นเราต้องการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและทำให้ทุกคนเข้าถึงการร่วมแข่งขันในการไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ได้ ทั้งนี้ มีผู้ร่วมงานจำนวนหลายสิบคนจาก Google.org ซึ่งเป็นหน่วยงานการกุศลของ Google ที่เข้ามาช่วยเหลือในการสร้างเครื่องคำนวณการปล่อยคาร์บอนสำหรับใช้งานฟรีนี้ โดยมีทั้งวิศวกรซอฟต์แวร์ นักออกแบบที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) และผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาสนับสนุน Normative เต็มเวลา ในช่วงเวลา 6 เดือน ขณะเดียวกัน Google ยังเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่เข้าลงทุนในบริษัท […]
เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนทำให้ต้นทุนเพิ่ม แต่ผู้บริโภคก็ต้องเต็มใจจ่ายให้สิ่งนี้
Willie Walsh ผู้อำนวยการ สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ประเด็นเรื่องความยั่งยืนทางเชื้อเพลิงการบินเป็นความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับปริมาณการใช้นงานมากกว่าสายการบินต้องการที่จะใช้ยังไง และผู้บริโภคจะต้องเต็มใจที่จะจ่ายต้นทุนที่เพิ่มขึ้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ พบว่า ภาคการบินมีการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนไป 100 ล้านลิตร ในปี 2021 ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมดที่อุตสาหกรรมนี้ต้องการ เมื่อมองไปข้างหน้าสายการบินมีการสั่งเชื้อเพลิง 14,000 ล้านลิตรจากเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน ซึ่งความท้าทายก็คือสายการบินจะซื้อผลิตภัณฑ์นี้ได้หรือไม่ Walsh กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับราคาเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนก็คือ มีราคาแพงกว่าราคาน้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่น 2 เท่าครึ่ง แต่เมื่อมีปัจจัยเรื่องต้นทุนคาร์บอนเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ทำให้ต้องมองหาเชื้อเพลิงนี้แม้จะมีราคาแพงกว่าเกิน 2 เท่าตัว IATA คาดการณ์ว่า จะเห็นการผลิตเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนแตะระดับ 7,900 ล้านลิตร ภายในปี 2025 ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการได้เพียง 2% ของความต้องการเชื้อเพลิงทั้งหมดเท่านั้น อย่างไรก็ตามกลางศตวรรษ (ปี 2050) สมาคมฯ คาดการณ์ว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดไปเป็น 449,000 ล้านลิตร หรือ 65% […]