BBLAM ESG Corner: ถอดบทเรียนจากโควิด-19 เพื่อเร่งขีดความสามารถของ ESG

BBLAM ESG Corner: ถอดบทเรียนจากโควิด-19 เพื่อเร่งขีดความสามารถของ ESG

โดย ณัฐพล ปรีชาวุฒิ BBLAM เมื่อเรามองย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แทบจะไม่มีใครเลยที่วิถีชีวิตไม่ได้ผ่านการปรับเปลี่ยนไป เพราะวิกฤตการณ์นั้นได้บังคับให้พวกเราต้องปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายต่างๆ ซึ่งส่วนมากเหมือนจะปรับตัวกันได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การทำงานที่บ้าน (Work from Home) การประชุมงานกันผ่านวีดีโอคอล หรือแม้แต่การทำอาหารรับประทานกันเองที่บ้านแทนการออกไปร้านอาหารนอกบ้าน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ Climate Change ถือเป็นวิกฤตระดับโลกที่ต้องการการแก้ไขที่เร่งด่วนเช่นเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่า มนุษย์อย่างเราดูจะตอบสนองไม่เร็วเท่าที่ควร ดังนั้น เราจึงควรถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโควิด-19 นำมาประยุกต์เพื่อเร่งกระบวนการการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศผ่านกระบวนการ ESG ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในที่นี้ เราได้ถอดบทเรียน 3 ข้อที่องค์กรแต่ละแห่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้และกระตุ้นกระบวนการส่งเสริม ESG ได้ดียิ่งขึ้น บทเรียนข้อแรก เราพบว่า การแก้ปัญหาของสังคมมนุษย์ต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเร็วกว่าที่หลายคนคิด โดยหลายองค์กรสามารถปรับวิธีการทำงานจากการทำงานที่ออฟฟิศมาเป็นการทำงานที่บ้านได้ภายในไม่กี่วัน หรือแม้กระทั่งเราได้เห็นการคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส โดยใช้เวลาน้อยที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา ถึงแม้เราจะเริ่มเห็นความตระหนักที่เพิ่มขึ้นต่อคุณค่าของความยั่งยืนผ่านองค์กรที่เข้าร่วมโครงการการลดการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ บริษัท Shell ที่ล่าสุดได้ประกาศการเร่งตัวเข้าสู่บริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero เช่นเดียวกับบริษัท […]

BBLAM ESG Corner: Zero Waste ลดขยะให้เหลือเป็นศูนย์ ไม่ยากอย่างที่คิด

BBLAM ESG Corner: Zero Waste ลดขยะให้เหลือเป็นศูนย์ ไม่ยากอย่างที่คิด

โดย รุ่งนภา เสถียรนุกูล BBLAM สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย พบว่า ในปี 2564 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นอยู่ที่ 24.98 ล้านตัน หรือประมาณ 68,434 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.03 กิโลกรัม/คน/วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยในปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ที่เริ่มคลี่คลายลง  แต่ประชาชนยังคงพฤติกรรมในการใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านระบบออนไลน์ จึงทำให้มีขยะมูลฝอยประเภทบรรจุภัณฑ์หรือพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use plastic) ยังอยู่ในระดับที่สูง ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย ที่มีปัญหาในเรื่องของการกำจัดขยะมูลฝอย ทั่วโลกเองก็มีปัญหาในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน จากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณขยะที่ทิ้งออกมามีปริมาณที่สูง ส่วนหนึ่งของปัญหาขยะเกิดจากการบริโภคสินค้าแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก หลอดพลาสติก โฟม ซึ่งในการกำจัดขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้น แนวคิดเรื่อง Zero Waste  จึงเกิดขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้ลดเหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ โดยอาศัยหลักการจัดการขยะในรูปแบบ 1A3R […]

BBLAM ESG Corner: Sustainability-Linked Bond ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (SLBs)

BBLAM ESG Corner: Sustainability-Linked Bond ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (SLBs)

โดย ณัฐกร พีรสุขประเสริฐ BBLAM ในตลาดตราสารหนี้ หลายๆ คน คงคุ้นเคยกับคำว่า พันธบัตรสีเขียว (Green Bonds) ซึ่งจำกัดวัตถุประสงค์ของการระดมทุนเพื่อการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบัน มีตราสารหนี้รูปแบบใหม่เรียกว่า ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน หรือ Sustainability-Linked Bonds (SLBs) ซึ่งไม่ได้จำกัดวัตถุประสงค์ของการระดมทุนเหมือนกับ Green Bonds แต่กลับเปิดโอกาสให้ผู้ระดมทุนสามารถนำเงินลงทุนไปลงทุนกับโครงการใดๆ   ก็ได้ เพียงแต่คุณลักษณะบางประการของตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน อาทิ Coupon Rate จะเชื่อมโยงกับศักยภาพในการดำเนินงานของบริษัทด้านความยั่งยืน ซึ่งจะถูกประเมินด้วยตัวชี้วัด (KPIs) เป้าหมายด้านความยั่งยืน (SPTs) และกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยบริษัทที่ระดมทุนด้วยการออกขาย SLBs ครั้งแรกของโลกคือ บริษัท ENEL ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคยุโรป ทำการออกขาย SLBs ในเดือนกันยายน ปี 2019 Sustainability-Linked Bond (SLBs) คือ เครื่องมือทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ […]

ยานยนต์ไฟฟ้า เรื่องไม่ไกลตัว

ยานยนต์ไฟฟ้า เรื่องไม่ไกลตัว

โดย…ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ กองทุนบัวหลวง ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่จับตามองมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายสำหรับคนทั่วไป เนื่องด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจัดเป็นหนึ่งในปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่จะช่วยลดปรากฏการณ์โลกร้อนได้ เราต่างรู้ว่า ทุกวันนี้สภาพอากาศมีความแปรปรวน ปรากฎการณ์โลกร้อนเป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัวเลย และนับว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่า นานาประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับต่างๆ ด้วยต่างเห็นพ้องต้องกันว่า โลกมีความเสี่ยงภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาทิ อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่ลงนามตั้งแต่ปี 1992 รวมถึงการลงนามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในปี 2015 ที่มีเป้าหมายสำคัญในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และเป้าหมายใหญ่ที่ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ในเกือบทุกปี ผู้นำประเทศจากทั่วโลกจะเดินทางมาพบปะกันเพื่อหารือในเรื่องการตอบสนองของโลกต่อปัญหาสภาพอากาศ ในการประชุมซึ่งรู้จักกันในชื่อ “การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา” (Conference of the Parties หรือ COP) โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 1 – […]

Biodiversity การอยู่ร่วมกันเพื่อ Ecosystem ที่ดีขึ้น

Biodiversity การอยู่ร่วมกันเพื่อ Ecosystem ที่ดีขึ้น

โดย…ปรารถนา มงคลสุนทรโชติ กองทุนบัวหลวง วิกฤตการณ์ COVID-19 ทำให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่ยึดหลัก ESG เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยนอกเหนือจากที่หลายประเทศได้ผลักดันนโยบายหรือกฎหมายที่จะลดหรือจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนแล้ว ยังมีอีกหัวข้อหนึ่งด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือ ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) Biodiversity คือ การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก Biodiversity มีความเกี่ยวพันอย่างสูงกับสิ่งแวดล้อมโดยรวม ตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศน์ที่ดีจะช่วยดูดซับคาร์บอนได้ดี ลดสภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ดี Biodiversity อาจยังไม่ได้มีการกล่าวถึงมากนัก อาจเป็นเพราะยังไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจน อย่างการปล่อยคาร์บอน ที่สามารถวัดได้โดย Carbon Footprint Biodiversity นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก อ้างอิงจาก The World Wide Fund for Nature (WWF) การทำลายระบบนิเวศน์ป่าไม้ […]

รักษ์โลกด้วยพลาสติกชีวภาพ

รักษ์โลกด้วยพลาสติกชีวภาพ

โดย…รุ่งนภา  เสถียรนุกูล กองทุนบัวหลวง ขยะพลาสติก ถือได้ว่า เป็นปัญหาระดับโลก   ในหลายๆ ประเทศต่างพยายามในการลดและเลิกการใช้พลาสติกลง  อย่างในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ได้มีมาตรการในการควบคุมการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก (Plastic Ban Policy) โดยออกมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น  การห้ามแจกถุงพลาสติกในแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายไม่ได้ในธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ในเมืองใหญ่ อย่างกรุงปักกิ่ง ก่อนที่จะขยายผลครอบคลุมเมืองอื่นๆ ทั่วประเทศ เช่นเดียวกับหลายประเทศในสหภาพยุโรปที่ออกกฎห้ามผลิตและใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ได้แก่ ช้อน ส้อม มีด ตะเกียบ จาน หลอด ก้านทำความสะอาดหู แท่งคนเครื่องดื่ม ก้านลูกโป่ง กล่องโฟม และผลิตภัณฑ์ที่ผสมสาร OXO (พลาสติกไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ) ซึ่งผลจากการที่รัฐออกกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้นโยบายและลดการใช้พลาสติกลงอย่างมาก สำหรับประเทศไทยนั้น  ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ในช่วงก่อนเกิด Covid-19  มีปริมาณขยะพลาสติกเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี  แต่หลังจากที่มี  Covid-19  ปริมาณขยะพลาสติกไม่ได้ลดน้อยลงไป ทั้งยังกลับมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น  โดยในปี […]

แนวคิด ESG ตลอดสายการผลิต สู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า

แนวคิด ESG ตลอดสายการผลิต สู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า

โดย…ชัยธัช เบน บุญญปะมัย กองทุนบัวหลวง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นและแบรนด์เนมนับเป็นอุตสาหกรรมต้นๆ ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในหลากหลายมิติ และตลอดสายการผลิตนับตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ ไปจนถึงกระบวนการผลิตและการกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้ ในปี 2019 ด้วยมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นแตะ 4 ล้านล้านดอลลาร์ฯ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นจึงคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2% ของ GDP โลก และมีแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ถึง 60-75 ล้านคนทั่วโลก โดย Goldman Sachs กล่าวถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมดังกล่าวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมไว้ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ปัญหามลพิษทางน้ำ/ทางอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) การจัดการของเสียจากการผลิตกับเศรษฐกิจหมุนเวียน และ 3) แรงงานกับห่วงโซ่อุปทาน ปัญหามลพิษทางน้ำ/ทางอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการที่โรงงานผลิตเสื้อผ้าส่วนใหญ่นั้นมักจะตั้งอยู่ในประเทศหรือภูมิภาคที่มีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้มงวดมากนัก จึงนำไปสู่ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ จากมลพิษทางน้ำ/ทางอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Goldman Sachs ชี้ให้เห็นว่า มีผู้ส่งออกเสื้อผ้ารายใหญ่ของโลกถึง […]

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

โดย…เศรณี นาคธน กองทุนบัวหลวง โลกในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบไปยังทุกภาคส่วน ด้วยปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดย The Global Risk Report 2021 ที่จัดทำโดย World Economic Forum ระบุว่า ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากการทำลายของน้ำมือมนุษย์และการจัดการด้านสภาพอากาศที่ล้มเหลว นับเป็นความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากที่สุดภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ ส่งผลให้ประชาคมโลกต้องตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อม พยายามหาแหล่งพลังงานแบบใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อทดแทนแหล่งพลังงานฟอสซิล ความพยายามและความร่วมมือของประชาคมโลกที่ดูเป็นรูปธรรมที่สุด ได้แก่ ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมมากกว่า 55 ประเทศจะร่วมมือกันยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส หรือ 1.5 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นไปได้ โดยครอบคลุมการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ การให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านการเงิน และลงทุนทางด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า เส้นทางของการเข้าสู่ Net […]

Plant-Based Meat: กระแสความนิยมของธุรกิจอาหารในอนาคต

Plant-Based Meat: กระแสความนิยมของธุรกิจอาหารในอนาคต

โดย…รุ่งนภา  เสถียรนุกูล กองทุนบัวหลวง การบริโภค Plant-Based ได้รับความนิยมอย่างมาก และถือว่าเป็นกระแสความนิยมของธุรกิจอาหารในอนาคต โดย Plant-Based Protein หรือ โปรตีนทดแทนจากพืช  คือ อาหารที่ทำมาจากพืช โดยส่วนผสมส่วนใหญ่จะทำมาจากถั่ว และบีทรูท ผู้ผลิตแข่งขันพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอเมนูใหม่ ให้มีรสสัมผัสที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ทั้งรูปลักษณ์และรสชาติ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการรับประทาน Plant-Based มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น และเชื่อว่าการรับประทานพืชผัก มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์แปรรูป เนื่องจากองค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ หรือ International Agency for Research on Cancer (IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาระบุถึงผลการวิจัยว่า การรับประทานเนื้อแปรรูปและเนื้อแดงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้และไส้ ทำให้คนที่รักสุขภาพ หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ และหันมารับประทานอาหารจากพืชแทน โดย Plant-Based  ยังคงให้รสสัมผัสที่เหมือนและคุณค่าทางสารอาหารที่ใกล้เคียงกับการรับประทานเนื้อสัตว์ ทำไมถึงกล่าวว่า การรับประทานเนื้อจากพืช หรือ Plant-Based Meat ช่วยลดโลกร้อนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรนั้น […]

ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

โดย ชัยธัช เบน บุญญาปะมัย กองทุนบัวหลวง ในปัจจุบัน มีเงินทุนภายใต้การบริหารของนักลงทุนสถาบันที่ใช้แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG (Environmental Social และ Governance) อยู่ราว 30 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 34% นับจากปี 2016 (อ้างอิงจาก Global Sustainable Investment Alliance) ขณะที่ ข้อมูลของ Morningstar พบว่า การลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และในช่วงนี้การลงทุนลักษณะดังกล่าวนับว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่กองทุนเหล่านี้ สะท้อนถึงผลเชิงบวกของบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ดี ขณะเดียวกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่านักลงทุนหันมาสนใจลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติ COVID-19 ซึ่งจากข้อมูลของ Morningstar นั้น ชี้ให้เห็นว่า กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ (Large Cap) ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 […]