ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด หรือ –0.04% โดยระหว่างวันสูงสุดที่ 1,351.59 จุด ต่ำสุดที่ 1,339.03 จุด มูลค่าการซื้อขาย 58,589.45 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. ADVANC ปิดที่ 185.00 บาท ลดลง 2.00 บาท (-1.07%) มูลค่าการซื้อขาย 2,042.54 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 37.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+1.34%) มูลค่าการซื้อขาย 1,854.99 ลบ. 3.KBANK ปิดที่ 93.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+0.54%) มูลค่าการซื้อขาย 1,851.57 ลบ. 4.CBG ปิดที่ 104.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท (+4.52%) มูลค่าการซื้อขาย 1,627.68 ลบ. 5.KCE ปิดที่ 22.80 บาท เพิ่มขึ้น 1.30 บาท (+6.05%) มูลค่าการซื้อขาย 1,622.86 ลบ.  

อังกฤษขยายแพคเกจช่วยเหลือครอบคลุมธุรกิจสตาร์ทอัพ-บริษัทในต่างแดน

อังกฤษขยายแพคเกจช่วยเหลือครอบคลุมธุรกิจสตาร์ทอัพ-บริษัทในต่างแดน

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษได้ขยายแพคเกจการช่วยเหลือสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงธุรกิจที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ภายใต้แพคเกจนี้ บริษัทสตาร์ทอัพต้องให้ผู้ร่วมทุนของบริษัทยื่นขอเงินกู้แบบชั่วคราว (bridge financing ) กับรัฐบาล เงินทุนดังกล่าวบริหารงานโดย British Business Bank ในรูปแบบของเงินกู้แปลงสภาพที่กลายเป็นหุ้นในรอบการระดมทุนรอบต่อไปของบริษัทสตาร์ทอัพ โดยทฤษฎีที่ว่านี้จะช่วยให้รัฐบาลสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนในภายหลัง กองทุน 500 ล้านปอนด์ (614 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประกอบด้วยภาระผูกพัน 250 ล้านปอนด์ จากกระทรวงการคลังคลังซึ่งจับคู่กับการระดมทุนของภาคเอกชน โดยสตาร์ทอัพจะได้รับการสนับสนุนถึง 320 ล้านปอนด์และรัฐบาล กล่าวว่า ยินดีที่จะเพิ่มขนาดกองทุนหากจำเป็น Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อังกฤษ กล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทด้านนวัตกรรมของอังกฤษเป็นหนึ่งในจุดแข็งทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มฟื้นตัวกลับจากการระบาดของโควิด-19 บริษัทเหล่านี้จะช่วยผลักดันการฟื้นตัวและสร้างงานใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ หมายความว่า ผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจที่พยายามอย่างดีที่สุดและมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากกองทุนในอนาคต

การปรับแก้พอร์ตโฟลิโอด้วยตัวเอง

การปรับแก้พอร์ตโฟลิโอด้วยตัวเอง

โดย…พิชญ ฉัตรพลรักษ์ กองทุนบัวหลวง ในตลาดการลงทุนของไทยเริ่มมีการโฆษณารับปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอออกมา รวมถึงมีผู้นำเสนอการจัดสรรเงินลงทุนในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบข้อเสนอกันแบบตรงๆ ก็ดูจะพิจารณากันได้ลำบาก เนื่องจากแต่ละที่ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาแตกต่างกัน น้ำหนักก็ต่างกัน หากลงทุนตามคำแนะนำในครั้งแรกและปล่อยไว้เฉยๆ โดยไม่ติดตามคงไม่ดีแน่ แต่ครั้นนักลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเงินคิดจะติดตามปรับเปลี่ยนการลงทุนเอง ก็อาจสงสัยว่า จะเริ่มต้นอย่างไรดี จะคอยติดต่อที่ปรึกษาก็คงต้องพึ่งพาเขาอยู่ร่ำไป เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจ มันก็ไม่สะดวกคล่องตัว ค่าใช้จ่ายถูกแพงก็ดูยาก บทความนี้จึงนำเสนอเกร็ดความรู้ในการเริ่มต้นลงมือจัดสรรเงินลงทุนและปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอด้วยตนเองในเจ็ดขั้นตอน (Clements & Clough, 2019) และเพื่อเป็นบันไดเริ่มต้นในการก้าวขึ้นสู่นักลงทุนที่สามารถพึ่งพาตัวเองและเพิ่มความช่ำชองมากขึ้นต่อไป ก้าวแรก คือ ต้องเรียนรู้การลงทุนในอดีตของเราโดยการมองย้อนกลับไป เช่นในช่วงที่ตลาดหุ้นลง เราเคยขายสินทรัพย์ออกไปในราคาถูกบ้างหรือไม่ หากเคยแสดงว่าเรารับความเสี่ยงได้ไม่มาก ควรที่จะปรับลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้โดยไม่เกิดความตื่นตระหนก การขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในอดีตมีจำนวนครั้งมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่บ่อยครั้งแสดงว่านักลงทุนอาจต้องการใช้เงินสดบ้างหรือปรับส่วนผสมการลงทุนให้เป็นไปตามกลยุทธ์ในระยะยาว แต่หากมีการซื้อขายที่ถี่เกินไปอาจแปลว่าเราอาจเปลี่ยนใจอยู่บ่อยครั้งและเป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีความไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการที่จะทำอะไรกันแน่ ก้าวที่ 2 กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับความต้องการใช้เงินของตัวเองโดยการพิจารณาลักษณะของแต่ละประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class) ตราสารทุนจะมีความผันผวนของอัตราผลตอบแทนในระยะสั้นแต่จะให้การงอกเงยของเงินลงทุนที่ดีในระยะยาวและชนะอัตราเงินเฟ้อได้ เงินฝากมีความเสี่ยงต่ำแต่อัตราผลตอบแทนหลังจากหักภาษีก็อาจจะน้อยกว่าเงินเฟ้อได้ ตราสารหนี้มีการจ่ายดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอและราคาก็ไม่ผันผวนเท่าตราสารทุน แต่ก็สามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทน (ตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น) จากตราสารหนี้พวก High Yield ตราสารหนี้ระยะยาว หรือหุ้นกู้ […]

กองทุนบัวหลวงเปิดขายต่อ BEQSSF และ BM70SSF สำหรับใช้สิทธิ SSF ปกติ เริ่ม 1 กรกฎาคม นี้ เป็นต้นไป ดันกองทุนเติบโตต่อเนื่อง

กองทุนบัวหลวงเปิดขายต่อ BEQSSF และ BM70SSF สำหรับใช้สิทธิ SSF ปกติ เริ่ม 1 กรกฎาคม นี้ เป็นต้นไป ดันกองทุนเติบโตต่อเนื่อง

กองทุนบัวหลวงเปิดขายกองทุน BEQSSF และ BM70SSF ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นี้ เป็นต้นไป โดยเงินที่ลงทุนหลัง 30 มิถุนายน 2563 จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในรูปแบบ SSF ปกติ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด  30%  ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน  200,000  บาทต่อปี และเมื่อรวมกับวงของเงินลงทุนเพื่อเกษียณอื่นๆ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงจะเปิดขายกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม (BEQSSF) และกองทุนผสมบัวหลวง 70/30 เพื่อการออม (BM70SSF) ในรูปแบบกองทุนรวมเพื่อการออม […]

หุ้นเทสลาพุ่ง 4,000% ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

หุ้นเทสลาพุ่ง 4,000% ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

โดย…ทนง ขันทอง ในปี 2010 บริษัท เทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับไฮเอนด์ของอีลอน มัสก์ ระดมทุน 226 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านการทำไอพีโอด้วยราคา 17 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น มาวันนี้ หรือ 10 ปี ให้หลัง ราคาหุ้นของเทสล่าพุ่งทะลุ  1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มาร์เก็ตแคปของบริษัทไปอยู่ระดับ 180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทสลากลายเป็นบริษัทรถยนต์ที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก ด้วยพนักงาน 48,000 คน ตามหลังค่ายโตโยต้าเท่านั้น นักลงทุนที่ซื้อหุ้นไอพีโอของเทสล่าและถือยาวจะได้กำไรมากกว่า 4,000% มัสก์ กลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของซิลิคอน วัลเลย์ และเป็นขวัญใจคนใหม่ของนักลงทุนในตลาดหุ้น ไม่แพ้ เจฟ เบซอส แห่งอเมซอน หรือมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก แห่งเฟซบุ๊ก หรือวอร์เรน บัฟเฟตต์ แห่ง Birkshire Hathaway […]

BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563

BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563

BF Economic Research COVID-19 เป็นจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจโลกจากเดิมที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวอันเป็นผลจากความตึงเครียดด้านการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risks) กลับกลายเป็นพลิกกลับมาหดตัวอย่างหนักเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสเป็นเหตุให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2020 สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เรามองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาเดินเครื่องได้บ้าง แต่ไม่น่าจะกลับไปเดินเครื่องเต็มรูปแบบได้เท่ากับปี 2019 สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 นี้ COVID-19 ก็ยังคงเป็นความเสี่ยงหลักและเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก เรามองว่าเศรษฐกิจโลกปี 2020 จะหดตัวที่ –4.6% ก่อนที่จะฟื้นตัวจากฐานต่า มาอยู่ในกรอบ 4-6% ในปี 2021 รัฐบาลและธนาคารกลางจะเป็นผู้เล่นหลักในการประคองเศรษฐกิจผ่านการใช้เม็ดเงินทางการคลังและอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำสุดในประวัติการณ์และจะเป็นแบบนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2021 ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้น แต่สภาพคล่องอันล้นเหลืออาจจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับการลงทุนในปี 2020-21 นี้

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,329.76 จุด ลดลง 0.58 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,329.76 จุด ลดลง 0.58 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,329.76 จุด ลดลง 0.58 จุด หรือ –0.04% โดยระหว่างวันสูงสุดที่ 1,329.94 จุด ต่ำสุดที่ 1,312.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 48,903.24 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. KBANK ปิดที่ 92.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท (+1.92%) มูลค่าการซื้อขาย 1,543.98 ลบ. 2.AOT ปิดที่ 59.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท (+0.42%) มูลค่าการซื้อขาย 1,338.47 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 37.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท (+0.68%) มูลค่าการซื้อขาย 1,322.10 ลบ. 4.CPALL ปิดที่ 67.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท (+0.37%) มูลค่าการซื้อขาย 1,231.36 ลบ. 5.GPSC ปิดที่ 74.00 บาท ลดลง 0.75 บาท (-1.00%) มูลค่าการซื้อขาย […]

ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นร่วงแรง หลังคนงดซื้อของแพง ห่วงผลกระทบ โควิด-19 ทำเศรษฐกิจซบเซา

ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นร่วงแรง หลังคนงดซื้อของแพง ห่วงผลกระทบ โควิด-19 ทำเศรษฐกิจซบเซา

รายงานข่าวจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นร่วงลงในอัตราเลขสองหลักในเดือน พ.ค. นับเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 และมาตรการล็อคดาวน์ที่ส่งผลอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมไปถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความต้องการที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น จนอาจทำให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกยังคงติดอยู่ในภาวะถดถอยนานกว่าที่คาดการณ์ไว้และการฟื้นตัวจะซบเซามากขึ้น ข้อมูลกระทรวงการค้าของญี่ปุ่น ระบุว่า ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. ลดลง 12.3% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบหลักมาจากยอดใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมากในการใช้จ่ายสินค้าราคาแพง เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า และสินค้าทั่วไป ขณะที่ ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ยอดค้าปลีกได้ปรับลดลงถึง 13.9% ซึ่งเป็นการปรับลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 1998 และแย่กว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของรอยเตอร์สที่ประมาณการไว้ว่าจะลดลง 11.6% ผู้กำหนดนโยบายหวังว่า การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจจะช่วยสนับสนุนการเติบโต ในขณะที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ทั่วโลกจะชะลอการฟื้นตัว

แบล็คร็อคผงาดเป็นสถาบันการเงินที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

แบล็คร็อคผงาดเป็นสถาบันการเงินที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

โดย…ทนง ขันทอง เมื่อพูดถึงสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลต่อระบบการเงินโลกมากที่สุด คนส่วนมากอาจจะคิดถึงแบงก์ ไม่ว่าจะเป็นเจพี มอร์แกน เชส, โกลด์แมน แซคส์ หรือเอชเอสบีซี แต่นั่นเป็นอดีต ในปัจจุบันนี้ สถาบันการเงินที่เป็นที่ยอมรับว่า มีอิทธิพลต่อระบบการเงินโลกมากที่สุดไม่ใช่แบงก์ แต่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวมแบล็คร็อค ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารมากกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่นับทรัพย์สินอีก 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่แบล็คร็อคช่วยดูแลความเสี่ยงให้ลูกค้าผ่านซอฟต์แวร์อลาดินของตัวเอง อาจารย์ Wiliiam Birdthistle จาก Chicago-Kent College of Law ถึงกับบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดถึงแบล็คร็อค โดยไม่คิดถึงพวกเขาว่าเป็นแขนงที่ 4 ของรัฐบาล (นอกเหนือไปจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ) แบล็คร็อค กลายเป็นจุดสนใจของทุกคนเมื่อธนาคารกลางของสหรัฐฯ เรียกใช้บริการของบริษัทนี้ในการแก้ไขวิกฤติการทางการเงินท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยไม่มีการแข่งขันจากบริษัทอื่น ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา แบล็คร็อคได้รับมอบหมายให้ช่วยบริหารมาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่รู้จักกันในชื่อ Coronavirus Aid, Relief, […]

ดัชนีหุ้นไทย 26 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,330.34 จุด เพิ่มขึ้น 4.46 จุด

ดัชนีหุ้นไทย 26 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,330.34 จุด เพิ่มขึ้น 4.46 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,330.34 จุด เพิ่มขึ้น 4.46 จุด หรือ0.34% โดยระหว่างวันสูงสุดที่ 1,344.04 จุด ต่ำสุดที่ 1,328.49 จุด มูลค่าการซื้อขาย 47,193.61 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. GULF ปิดที่ 37.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,734.89 ลบ. 2.CPALL ปิดที่ 67.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,111.54 ลบ. 3.ADVANC ปิดที่ 186.00 บาท ลดลง -1.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,556.74 ลบ. 4.KBANK ปิดที่ 91.00 บาท ลดลง -1.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,449.13 ลบ. 5.AOT ปิดที่ 59.00 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 1,315.50 ลบ.