โกลด์แมน แซคส์ เพิ่มคาดการณ์ดีมานด์ “น้ำมัน” ทั่วโลกปี 66 คาด ธ.ค.ราคาเบรนต์แตะ 86 ดอลล์/บาร์เรล
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โกลด์แมน แซคส์ ปรับคาดการณ์ความต้องการ “น้ำมัน” ทั่วโลกสำหรับปี 2566 โดยคงราคาน้ำมันดิบเบรนต์ในรอบ 12 เดือน ไว้ที่ 93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากสินค้าคงคลังที่รับรู้สูงขึ้น ชดเชยความต้องการที่เพิ่มขึ้น นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ ประเมินว่า ความต้องการน้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 102.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน (bpd) ในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากมองเห็นความต้องการที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ขาดดุลเกินคาด 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และขาดดุล 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2567 นักวิเคราะห์ ระบุว่า ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ลดลงและความพยายามที่แข็งแกร่งขององค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ในการผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น ได้สนับสนุนมุมมองของโกลด์แมน แซคส์ เกี่ยวกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและแนวโน้มความผันผวนที่น้อยลง ขณะที่ ในวันที่ 31 ก.ค. 2566 ราคาน้ำมันลอยตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน […]
น้ำมันฟื้น $2-ทองคำปรับลด หุ้นสหรัฐฯ บวกขานรับข่าวดีตัวเลขเงินเฟ้อ
ราคาน้ำมันฟื้นคืน 3% ในวันอังคาร (13 มิ.ย.) หลังธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ส่วนวอลล์สตรีทปิดบวกและทองคำปรับลด จากข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 2.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 69.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 2.45 ดอลลาร์ ปิดที่ 74.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 ความเคลื่อนไหวปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน มีเป้าหมายทวีแรงขับเคลื่อนการฟื้นตัวหลังโรคระบาดใหญ่ในชาติเศรษฐกิจหมายเลข 2 ของโลก และผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งมันน่าจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ทางพลังงาน ก่อนหน้านี้ ราคาน้ำมันขยับลง 4% ในวันจันทร์ (12 มิ.ย.) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน หลังมีการเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกในวันอังคาร (13 มิ.ย.) เอสแอนด์พี […]
‘ราคาน้ำมัน’ ร่วงมากกว่า 1% ตลาดจับตาผลประชุมเฟด 15 มิ.ย.
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในวันจันทร์ก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เนื่องจากนักลงทุนกำลังประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ ในขณะที่ ความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของความต้องการเชื้อเพลิงของจีนและกำลังการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อตลาด โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ลดลง 97 เซนต์ หรือ 1.3% สู่ระดับ 73.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ภายในเวลา 04.37 GMT ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐฯ อยู่ที่ 69.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 1.3% เช่นกัน ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานทั้งสองปรับลดลงเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันในสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของจีน ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของอุปสงค์ในผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งชดเชยการเพิ่มขึ้นของราคาจากซาอุดีอาระเบียที่ให้คำมั่นว่าจะลดการผลิตลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน (bpd) ในเดือนกรกฎาคม ฟรานซิสโก บลันช์ จาก Bank […]
น้ำมันดิบจ่อแตะ 100 ดอลล์ปีนี้ โอเปกพลัสหั่นการผลิตกะทันหัน เบรนท์พุ่งทันที 8%
ซาอุดีอาระเบียและประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆ ในกลุ่มโอเปกพลัส ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (2 เม.ย.) สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดเป็นอย่างมาก ด้านนักวิเคราะห์ระบุว่า การหั่นกำลังการผลิตครั้งนี้จะทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ขณะที่สหรัฐฯ คัดค้านการกระทำดังกล่าวโดยกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ จากการคำนวณของรอยเตอร์ ข้อตกลงดังกล่าวนำไปสู่การลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง รวมทั้งสิ้น 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจะเท่ากับ 3.7% ของปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบของทั้งโลก โดยกลุ่มโอเปกพลัส ซึ่งประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ (OPEC) รวมถึงรัสเซียและประเทศพันธมิตรอื่นๆ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือนจากความกังวลวิกฤตการณ์ภาคธนาคารทั่วโลกจะฉุดความต้องการใช้น้ำมัน ขณะที่ การดำเนินการต่อไปของกลุ่มโอเปกพลัสที่จะช่วยสนับสนุนตลาดอยู่เหนือการคาดหมาย หลังจากที่หลายฝ่ายมีมุมมองต่อขาลงของราคาน้ำมัน และทำให้ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับ 80 ดอลลาร์สหรัฐ ซาอุดีอาระเบีย ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของกลุ่มโอเปก กล่าวว่า จะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน โดยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย ระบุว่า การปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจะเป็นมาตรการที่ป้องกันไว้ก่อน โดยมุ่งเป้าหมายที่จะสนับสนุนเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน ด้านรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี […]
ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้น เบรนท์ทะลุ 101 ดอลล์ เหตุตลาดกังวลกำลังการผลิตโลกตึงตัว
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ว่า ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นในวันพฤหัสบดี เป็นผลจากความกังวลเรื่องกำลังการผลิตตึงตัว ท่ามกลางการหยุดชะงักของการส่งออกของรัสเซีย ศักยภาพของผู้ผลิตรายใหญ่ในการลดการผลิต และการปิดโรงกลั่นของสหรัฐบางส่วน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 59 เซนต์ หรือ 0.6% เป็น 101.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (04.00 GMT) ขณะที่สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าสหรัฐ (West Texas Intermediate) เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.4% เป็น 95.31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐมนตรีพลังงานซาอุดีอาระเบียระบุถึงความเป็นไปได้ที่องค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร (OPEC+) จะลดการผลิตลง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยข้อตกลงเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยังคงหยุดชะงัก ทำให้เกิดคำถามว่าการส่งออกของอิหร่านจะกลับมาอีกครั้งหรือไม่ นักวิเคราะห์ของ Citi ระบุว่า “ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเจ้าหน้าที่ซาอุดิอาระเบียแสดงความเต็มใจที่จะปกป้องราคาผ่านการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม […]
วิกฤติรัสเซีย-ยูเครนที่รุนแรงขึ้นกดดันราคาน้ำมันพุ่ง
ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์ช่วงเย็น ประธานาธิบดี Vladimir Putin สั่งการให้กองกำลังเข้าไปใน 2 พื้นที่ที่มีความแตกแยกทางภาคตะวันออกของยูเครน และเขากล่าวว่า จะยอมรับความเป็นอิสระของพื้นที่โดเนตสค์ และลูแฮงสค์ หลังจากมีข่าวนี้ ช่วงเช้าวันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2022 ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับขึ้นมา 3.22% เป็น 94 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนท์ เพิ่มขึ้น 1.5% ต่อบาร์เรล เป็น 96.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นส่งผลให้ตลาดเกิดความกระวนกระวายใจ ผลักดันให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2022 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden ออกมาบอกว่า สหรัฐฯ เชื่อว่า Putin ตัดสินใจที่จะโจมตียูเครนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า รัสเซียมีการวางกองกำลังทหารกว่า 150,000 คน บริเวณพรมแดนติดกับยูเครน และทีมบริหารของ Biden […]
คาดราคาน้ำมัน WTI ครึ่งปีหลัง 2018 อยู่ในกรอบ 65-77 ดอลลาร์/บาร์เรล
Upside Risk ระยะสั้นของราคาน้ำมันจากปัญหา Geopolitics นับจากนี้ไปจนถึงปลายปี ราคาน้ำมันมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปัจจัยกดดันด้านปัญหา Geopolitics ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ Supply น้ำมันปรับตัวลดลง และไปกดดันราคาน้ำมันให้เพิ่มขึ้นในระยะสั้น ยกตัวอย่างเช่น การถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก หรือราว 4.0% ของ Supply น้ำมันโลกทั้งหมด และปัญหาในเวเนซุเอลาที่ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของเวเนซุเอลายังคงปรับลดลงต่อเนื่อง มาแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี ที่ราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นต้น นอกจากนี้ ความกังวลว่า ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก มีแนวโน้มปรับเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ หากตลาดน้ำมันเริ่มเข้าสู่สภาวะสมดุลมากขึ้น ก็นับเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับในครึ่งปีหลังของ 2018 นี้เรามองว่าราคาน้ำมัน WTI จะอยู่ในกรอบ 65-77 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ต้องจับตามอง ได้แก่ 1) การผ่อนคลายข้อตกลงลดการผลิตของ ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก, […]
โอเปกผลิตน้ำมัน มี.ค. ลดลง ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของสมาคมประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปกในเดือนมีนาคมลดลง 170,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 32.04 ล้านบาร์เรล/วัน ต่ำสุดนับแต่เดือนเมษายนปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ 31.9 ล้านบาร์เรล/วัน โดยในเดือนดังกล่าว ปริมาณการผลิตน้ำมันของเวเนซูเอล่าลดลง 100,000 บาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 1.51 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอเตือนว่า เวเนซูเอล่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุดที่จะทำให้อุปทานน้ำมันขาดแคลน หลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนการผลิตน้ำมันในอัลจีเรียลดลง 40,000 บาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 1 ล้านบาร์เรล/วัน หลังปิดซ่อมบำรุง ในหลายแห่งผลิตในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่การผลิตน้ำมันในลิเบียอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วัน หลังปิดแหล่งผลิตบางแห่ง
ความต้องการใช้น้ำมันยังแข็งแกร่งถึง 2020 จนกว่า EV จะตีตื้น
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า แบงก์ออฟอเมริกาคาดว่า ความต้องการใช้น้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งจนถึงปี 2020 Francisco Blanch ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ จาก Bank of America กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กว่า ความต้องการใช้น้ำมันของโลกจะยังคงขยายตัวได้ดีจนถึงปี 2020 โดยเขามองว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ายังคงใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะกลายมาเป็นรถยนต์กระแสหลักและมีผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน เขากล่าวว่า การพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง และสามารถกำหนดราคาจำหน่ายที่ผู้บริโภคทั่วไปสามารถซื้อได้ยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ปี โดยจีนจะเป็นประเทศที่กำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด และหากการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีความแพร่หลายมากขึ้นจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์เร่งพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง
แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ3ป
เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐ เปิดเผยว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐที่มีการใช้งาน มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1 แท่น สู่ระดับ 799 แท่นในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2558 และพบว่าจำนวนแท่นเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีแท่นขุดเจาะน้ำมันเพียง 602 แท่น แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 โดยเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 สัปดาห์นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว