BF Knowledge Tips: 6 สิ่งต้องทำ ก่อนลงทุนปี 66

BF Knowledge Tips: 6 สิ่งต้องทำ ก่อนลงทุนปี 66

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP เริ่มต้นปี 2566 กันแล้วนะคะ ปีขาลจากไป ปีเถาะ หรือปีกระต่ายก็เข้ามาค่ะ ไหนๆ เริ่มต้นปีทั้งที มาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงทุนดีกว่า ซึ่งวันนี้ มี 6 สิ่งต้องทำ มาแนะนำ ก่อนเริ่มลงทุนค่ะ เริ่มจากสิ่งแรก คือ ทบทวนเป้าหมายที่ผ่านมา ว่า ที่ผ่านมา เป้าหมายที่เราตั้งเป้าไว้ ทำสำเร็จมั้ย สำเร็จทุกเป้าหมายหรือเปล่า หากมีเป้าหมายที่ไม่สำเร็จ อย่าลืมทบทวนว่า เกิดจากอะไร ปีนี้เราจะได้ปรับเปลี่ยนแผนเพื่อให้เป้าหมายที่ยังขาดอยู่สำเร็จได้ อย่างที่ 2 ต้องตั้งเป้าหมายที่ต้องการตามระยะเวลา ปีใหม่ทั้งที ใครๆ ก็อยากตั้งเป้าหมายใหม่ๆ ตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้เป้าหมายสำเร็จได้ง่ายขึ้น จึงต้องทำเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน มีระยะเวลาที่ต้องการสำเร็จแน่นอน จำนวนเงินสำหรับเป้าหมายนั้นต้องชัดเจน ที่สำคัญต้องเป็นไปได้ หากมีหลายเป้าหมายให้กำหนดด้วยว่า เป้าหมายไหน สำคัญมาก สำคัญน้อย ต้องการทำเป้าหมายไหนให้สำเร็จก่อน หรือทำทุกๆ เป้าหมายพร้อมๆ กัน อย่างที่ 3 […]

เจาะลึก Theme การลงทุนปี 2021 ของกองทุนบัวหลวง

เจาะลึก Theme การลงทุนปี 2021 ของกองทุนบัวหลวง

กองทุนบัวหลวงเปิดตัว Theme การลงทุนปี 2021 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้ คุณสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน (CIO) ของกองทุนบัวหลวง จะมาขยายความให้ฟังเกี่ยวกับ Theme การลงทุนนี้กัน Q : Theme การลงทุนปี 2021 ของกองทุนบัวหลวงคืออะไร A : Theme การลงทุนในปีนี้ก็คือ ผ่านพ้นอุปสรรค เปิดรับ new normal ที่ผ่านมา ธุรกิจก็พบกับอุปสรรคค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ digital disruption ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร่งตัวด้วย ซึ่งบริษัทที่สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค รวมถึงการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งได้ ส่วนอีกประเด็นที่เรายังให้ความสำคัญคือเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environment – สิ่งแวดล้อม, Social – สังคม, Governance – ธรรมาภิบาล) […]

ส่องเส้นทางสู่โปรกอล์ฟที่ไม่แตกต่างจากวิถีการลงทุน (ตอนแรก)

ส่องเส้นทางสู่โปรกอล์ฟที่ไม่แตกต่างจากวิถีการลงทุน (ตอนแรก)

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ ในงาน BUALUANG FUND INVESTMENT FORUM TOWARDS 2019 นั้น คุณพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กองทุนบัวหลวง ก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า นักลงทุนควรลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าตลาดจะอยู่ในช่วงใดของวงจรการลงทุนก็ตาม ควรมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระยะยาวของตัวเอง พร้อมควบคุมสติไม่ให้ถูกครอบงำโดยข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ รายวัน จะได้ไม่ถูกปัจจัยในช่วงสั้นมาทำให้ไขว้เขว เพราะการที่นักลงทุนยังคงลงทุนอยู่ในตลาดในระยะยาวจะทำให้เกิดพลังของผลตอบแทนที่ทบต้น อย่างไรก็ตาม หากใครยังเห็นภาพไม่ชัดว่า การคงอยู่ในตลาดระยะยาว จะให้ผลตอบแทนทบต้นอย่างไร ก็สามารถพิจารณาจากเรื่องราวต่อไปนี้ที่แม้ไม่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรง แต่ผลลัพธ์ที่จากการคงอยู่ในวงจรตลาดระยะยาวนั้นไม่ได้แตกต่างจากเรื่องการลงทุนเลย เช่น กีฬากอล์ฟ ที่หากต้องการไปถึงขั้นเป็นโปร สร้างรายได้จากการเล่นกอล์ฟได้ ก็ไม่ใช่ว่า ฝึกเล่นประเดี๋ยวประด๋าวแล้วจะไปถึงได้ทันที ทุกอย่างล้วนต้องอาศัยเวลา ประสบการณ์ ความอดทนที่มากพอ ดังเรื่องราวของ คุณวิรดา นิราพาธพงศ์พร หรือโปรอุ๋ย นักกอล์ฟหญิงไทยคนแรกใน LPGA ที่มาเล่าให้ทุกคนฟังผ่านหัวข้อ “PUTTING YOUR GOLF AND INVESTING GAME INTO […]

ตกใจง่าย ทยอยลงทุนช่วยได้

ตกใจง่าย ทยอยลงทุนช่วยได้

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมักถามกันเสมอ คือ จะนำเงินก้อนหนึ่งมาลงทุนทีเดียวดี หรือจะทยอยลงทุน (DCA- Dollar Cost Average) เมื่อครั้งที่มีงาน Mutual Fund Day ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ภายใต้แนวคิด “วางแผนลงทุนเพื่อชีวิตดี๊ดีวัยเกษียณสุข” และมีสัมมนาหัวข้อ “วัยเก๋าอยากสบาย ต้องรู้จักเลือกสไตล์ลงทุน” คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution กองทุนบัวหลวง หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ได้ให้ข้อแนะนำที่น่าสนใจไว้ว่า จะเลือกทางไหนก็ล้วนดีหมด อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ลงทุนเลยแน่นอน อย่างไรก็ดี แนวคิดของการทยอยลงทุนหรือลงทุนครั้งเดียวด้วยเงินก้อนใหญ่ก็มีข้อดีที่แตกต่างกันไป การลงทุนในกองทุนรวมรูปแบบทยอยลงทุน แนวคิด คือ ค่อยๆ ลงทุนไปเรื่อยๆ ข้อดีคือ เมื่อเราทยอยลงทุน ความเสี่ยงก็จะลดลง โดยเฉพาะคนที่กังวลใจง่าย ตกใจง่าย ทางนี้น่าจะเหมาะสม เพราะการทยอยลงทุนช่วยลดความกังวลของเราลงได้ ไม่ต้องมานั่งตกใจว่า ฉันซื้อกองทุนช่วงที่ราคาสูงแล้วราคาก็ลงเอาๆ […]

หุ้น Laggard

หุ้น Laggard

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center หุ้น Laggard หมายถึงหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นช้ากว่าหุ้นตัวอื่นในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจประเภทเดียวกัน และยังหมายถึงหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ราคาขึ้นช้ากว่าดัชนีตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นในช่วงตลาดขาขึ้น   สาเหตุที่หุ้นบางตัวหรือบางกลุ่มขึ้นช้ามีได้หลายประการ หุ้นดังกล่าวมีปัจจัยพื้นฐานที่ไม่โดดเด่นเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นในกลุ่มเดียวกัน จึงทำให้นักลงทุนไม่ค่อยสนใจ หรือบางครั้งหุ้นตัวอื่นมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางธุรกิจที่ดึงดูดนักลงทุนมากกว่า เช่น การเปิดตลาดใหม่/สินค้าตัวใหม่ การเพิ่มทุน ขยายการลงทุน หรือ มีผุ้ร่วมทุนรายใหม่ที่มีศักยภาพ หุ้นในกลุ่ม Laggard เป็นหุ้นที่ยอดขายและกำไรฟื้นตัวหรือเติบโตช้ากว่าธุรกิจอื่นตามวงจรของเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มธนาคารจะฟื้นตัวในช่วงกลางของวงจรตามความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นหรือส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่สูงขึ้น ในขณะที่ธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นเร็วกว่าจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและกำลังซื้อจากต่างประเทศ นักวิเคราะห์มักจะแนะนำให้ลงทุนในหุ้น Laggard หลังจากที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นเต็มที่และราคาหุ้นตัวหรือกลุ่มที่นำตลาดได้ปรับตัวขึ้นไปมากแล้ว หากเป็นหุ้นกลุ่ม Laggard ตามวงจรเศรษฐกิจ หรือเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของบริษัทที่น่าสนใจ ก็มีโอกาสที่ราคาหุ้น Laggard จะมีราคาสูงขึ้นตามมา เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าราคายังถูกเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นที่ขึ้นไปสูงแล้ว แต่นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหุ้นแต่ละบริษัทด้วย เพราะบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่ล้าหลังหรือตัวบริษัทมีฐานะการเงินที่ไม่ดี ยอดขายและกำไรตกต่ำลดลงแม้เศรษฐกิจจะดีขึ้นก็ตาม หุ้นประเภทหลังนี้อาจดูเหมือนหุ้น Laggard แต่มีโอกาสน้อยที่ราคาจะเพิ่มขึ้นตามตลาด

ครม.ไฟเขียวร่างกม.คุมตลาดหุ้น-เงินดิจิตอล

ครม.ไฟเขียวร่างกม.คุมตลาดหุ้น-เงินดิจิตอล

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่ เพราะ พ.ร.บ.ฉบับเก่าล้าสมัยไม่บูรณาการไม่ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และไม่สามารถคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุน โดยปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมครอบคลุมไปถึงการระดมทุนผ่านสกุลเงินดิจิตอลต่างๆ เช่น กรณีบิตคอยน์ และยังปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของของคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ใหม่ พร้อมทั้งให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (ซีเอ็มดีเอฟ) เพื่อพัฒนากลไกตลาดทุนของประเทศ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวต้องเสนอให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ ก่อนเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้ปรับปรุงบทนิยามของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีการเพิ่มประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน รวมทั้งกำหนดทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ เช่น การกำหนดบทนิยามเพื่อให้กฎหมายยืดหยุ่นครอบคลุมมากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการให้บริษัทบางแห่งเข้ามาร่วมในศูนย์ทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน พร้อมปรับปรุงทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ใหม่ให้ช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี (สตาร์ตอัพ) เพราะเดิมได้กำหนดทุนจดทะเบียนไว้สูง ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งให้กรรมการ ผู้บริหาร เลขานุการบริษัท หรือบุคคลใดๆ จัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในกรณีบริษัทมีการบริหารกิจการที่อาจทำให้เกิดความเสียหายกับประชาชน เช่น กรณีของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทะเลาะกันแล้วมายอมจัดประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงให้ก.ล.ต. มีอำนาจเรียกประชุม รวมทั้งยังให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ในการจัดการกองทุนรวม ต้องซื่อสัตย์สุจริต […]

6 ขั้นตอนแก้หนี้ ทำไม่ยากหากตั้งใจจริง (ตอนที่2)

6 ขั้นตอนแก้หนี้ ทำไม่ยากหากตั้งใจจริง (ตอนที่2)

BF Knowledge Center สามข้อแรกของการจัดการหนี้สิน เป็นขั้นตอนสำคัญที่มักถูกมองข้าม ข้อแรก จัดระเบียบหนี้สิน  บางคนเป็นหนี้โดยไม่เคยรู้เลยว่ามีหนี้อยู่เท่าไรที่ไหนบ้าง ดอกเบี้ยเท่าไรคิดยังไง บางคนไม่เคยรู้เลยวิธีคิดดอกเบี้ยของหนี้แต่ละอย่างไม่เท่ากัน อย่างเช่นอัตราดอกเบี้ยบ้านคิดแบบลดต้นลดดอก แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถยนต์หรือผ่อนชำระสินค้าที่คิดแบบ flat rate มันไม่ลดต้นลดดอก อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่จ่ายจึงมากกว่าอัตรคาดอกเบี้ยลดต้นลดดอกประมาณเท่านึง ต้องเขียนหรือพิมพ์ใส่คอมพ์ออกเลย อย่าแค่จำมันจะลืม เงินกู้ตอนเริ่มต้นเท่าไร กู้จากไหน มีหนี้กับธนาคารไหน บริษัทไหน หรือยืมเพื่อนพ้องพี่น้องคนไหนมาบ้าง อัตราดอกเบี้ยเท่าไร จ่ายเงินต้น ดอกเบี้ยยังไง เดือนละเท่าไร เงื่อนไขเป็นอย่างไร เขียนออกมาให้หมดเลย ใครทำ excel เป็น แนะให้ทำไว้เลยจะเปรียบเทียบง่าย พอรู้สถานะหนี้ทั้งหมดที่มี ทีนี้ก็จะง่ายในการวางแผนจัดการ ข้อสอง ประเมินสถานะการเป็นหนี้  พอเรารู้หนี้สินที่มีแล้ว ให้เอาไปเทียบกับรายได้เพื่อประเมินสถานะความเป็นหนี้ของเราว่าอยู่ในระดับใด คือ 1.) มีหนี้แต่ยังสบายๆ 2.) มีหนี้ตึงมือ หรือ 3.) มีหนี้ขั้นวิกฤต ถ้ารายได้แต่ละเดือน เพียงพอจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้นได้ตามสัญญา […]

ภาพรวมตลาดหุ้น มกราคม 2561

ภาพรวมตลาดหุ้น มกราคม 2561

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในเดือนแรกของปี 2561 ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว นำโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานซึ่งหนุนด้วยราคาน้ำมันในตลาดโลก และหุ้นกลุ่มพาณิชย์บางตัวด้วยความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ ขณะที่มีการขายทำกำไรหุ้นบางตัวที่ราคาปรับขึ้นมาในช่วงก่อนหน้า เช่น กลุ่มท่องเที่ยว หรือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์นั้นผลประกอบการในไตรมาส 4/60 ที่ประกาศออกมาค่อนข้างต่ำกว่าที่ตลาดคาด ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดเริ่มมีการปรับฐานลงหลังจากที่การเลือกตั้งในประเทศมีแนวโน้มจะถูกเลื่อนออกไปจากเดิมที่คาดกันว่าจะถูกจัดขึ้นภายในปีนี้ และยังมีประเด็นความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯเร็วกว่าที่คาด ทำให้เกิดแรงขายหนักในตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯและจีน ซึ่งเชื่อว่า แรงขายทำกำไรนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศหลักๆ ทั้งประเทศทางฝั่งตะวันตกและฝั่งเอเชีย ยังแสดงถึงการขยายตัวที่ดี แม้จะมีการปรับฐานบ้างแล้ว ระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับประมาณการกำไรปี 2561 ยังอยู่ที่ระดับมากกว่า 16.5 เท่า นับว่าตึงตัวพอสมควร แต่ว่าระดับ Valuation ของหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นมีความแตกต่างกัน จึงมีหุ้นไทยบางส่วนที่ยังมีความน่าสนใจลงทุนอยู่ ขณะที่บางกลุ่มก็มีราคาแพงเกินพื้นฐาน การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่อง และหนุนให้การคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ยังมีแนวโน้มที่ดี และควรต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงเกินไปให้มากขึ้น

Book Value (มูลค่าทางบัญชี) 

Book Value (มูลค่าทางบัญชี) 

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center Book value (BV) เป็นการวัดมูลค่าของบริษัทโดยใช้ตัวเลขทางบัญชี วิธีการวัดจะใช้มูลค่าทรัพย์สินของบริษัทตามที่บันทึกไว้ในบัญชีซึ่งได้ปรับปรุงตามมาตรฐานทางบัญชีอยู่เสมอ หักด้วยหนี้สินทั้งหมด ก็จะได้มูลค่าของบริษัทที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าหารด้วยจำนวนหุ้นจะได้เป็นมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ถ้าบริษัททำธุรกิจได้ดีเจริญเติบโต ทรัพย์สินก็จะงอกเงยเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าทางบัญชีก็จะสูงขึ้นตาม ในทางกลับกัน หากธุรกิจไม่ดีบริษัทประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง ทรัพย์สินและมูลค่าทางบัญชีก็ลดลงตาม นักวิเคราะห์การลงทุนใช้ราคาหุ้นหารด้วยมูลค่าทางบัญชีได้ตัวเลข Price to Book value (P/BV) เพื่อเปรียบเทียบความถูกหรือแพงของหุ้น โดยหุ้นที่ P/BV ต่ำถือเป็นหุ้นที่มีราคาถูกน่าลงทุน ส่วนหุ้นที่ P/BV สูงเป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุน คล้ายกับการใช้ค่า P/E การใช้ Book value ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ประการแรกมูลค่าทางบัญชีของทรัพย์สินต่างๆ อาจสูงหรือต่ำกว่าราคาตลาดที่ทรัพย์สินนั้นซื้อขายได้จริง ประการที่สอง ความสามารถการกำไรในอนาคตและการเติบโตของบริษัทไม่ได้สะท้อนอยู่ใน Book value

เงินดิจิทัลเสี่ยงสิ้นค่า อาจเหลือรอดไม่กี่สกุล 

เงินดิจิทัลเสี่ยงสิ้นค่า อาจเหลือรอดไม่กี่สกุล 

สกุลเงินดิจิทัลที่ร่วงลงแรงส่งผลให้มูลค่าตลาด (market value) หายไปเกือบ 5 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนที่ผ่านมา และสถานการณ์อาจจะยิ่งแย่ลงกว่านี้ก็เป็นได้ หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านการลงทุนที่โกลด์แมนแซคส์ (Goldman Sachs Group) กล่าว สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า Steve Strongin หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านการลงทุนที่โกลด์แมนแซคส์ระบุว่า สกุลเงินดิจิทัลส่วนใหญ่จะไม่สามารถอยู่รอดได้ในรูปแบบที่เป็นอยู่นี้ และนักลงทุนควรเตรียมตัวรับมือการสิ้นค่าของสกุลเงินเหล่านั้น เพราะในอนาคตจะถูกสกุลเงินดิจิทัลใหม่ๆที่เป็นคู่แข่งเข้ามาแทนที่ และในอนาคตจะเหลือเพียงไม่กี่สกุลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ประมาณการระยะเวลาของการเสื่อมค่าลงของสกุลเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เตือนว่าราคาที่ผันผวนรุนแรงเป็นสองเท่าก็พอที่จะบ่งชี้ได้ว่าแต่ละสกุลเงินคงไม่สามารถที่จะไปถึงเป้าหมายพร้อมกัน คงมีเพียงบางสกุลที่ชนะและอยู่รอดในตลาดนี้ “การปรับฐานของราคาสกุลเงินดิจิทัลทำให้ผมกังวล เนื่องจากสกุลเงินเหล่านั้นไม่มีมูลค่าโดยตัวมันเอง สกุลเงินต่างๆที่ไม่สามารถแข่งขันก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีมูลค่าเป็นศูนย์” Strongin กล่าว เงินดิจิทัลในขณะนี้ขาดกำลังที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว เนื่องจากการทำธุรกรรมที่ใช้เวลานาน ความท้าทายต่างๆเกี่ยวกับความปลอดภัย และมีต้นทุนในการดูแลสูง ขณะที่การเปิดการซื้อขายบิทคอยน์ในตลาดล่วงหน้าไม่ได้ช่วยแก้ความกังวลเหล่านั้นได้