ต่างชาติซื้อ “พันธบัตรเอเชีย” เดือน พ.ค.สูงสุดรอบ 2 ปี มูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลล์

ต่างชาติซื้อ “พันธบัตรเอเชีย” เดือน พ.ค.สูงสุดรอบ 2 ปี มูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลล์

ต่างชาติซื้อ “พันธบัตรเอเชีย” เดือน พ.ค.สูงสุดรอบ 2 ปี มูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลล์ ไทยเงินไหลเข้ากว่า 400 ล้านดอลล์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า พันธบัตรเอเชียดึงดูดเงินไหลเข้าของต่างชาติรายเดือนสูงสุดในรอบ 2 ปีในเดือนพฤษภาคม 2566 โดยได้แรงหนุนจากความหวังที่มาตรการคุมเข้มทางการเงินที่เข้มงวดน้อยลงจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ข้อมูลจากหน่วยงานกำกับดูแลและสมาคมตลาดตราสารหนี้ ระบุว่า ชาวต่างชาติซื้อพันธบัตรมูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลลาร์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไทย นับเป็นการซื้อรายเดือนที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 Fiona Lim นักยุทธศาสตร์ fx อาวุโสของ Maybank กล่าวว่า “พันธบัตรเอเชียที่ไม่รวมจีน อาจได้ประโยชน์ในขณะที่เฟดใกล้จะสิ้นสุดวงจรที่เข้มงวดขึ้น แม้จะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้าย” แม้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเบี่ยงเบนไปจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 10 […]

‘ตลาดหุ้นเอเชีย’ เปิดลบ แบงก์ชาติเกาหลีใต้ตรึงดอกเบี้ย

‘ตลาดหุ้นเอเชีย’ เปิดลบ แบงก์ชาติเกาหลีใต้ตรึงดอกเบี้ย

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบในวันนี้ (25 พฤษภาคม 2566) ขณะที่ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.5% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ ทั้งนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 30,599.27 จุด ลดลง 83.41 จุด หรือ -0.27%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 18,930.23 จุด ลดลง 185.7 จุด หรือ -0.97% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,197.36 จุด ลดลง 7.39 จุด หรือ -0.23% เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในธนาคารกลางแห่งแรกๆ ของเอเชียที่ระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เดือนม.ค. ขณะที่ ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีกำหนดประกาศการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันนี้เช่นกัน […]

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank – ADB) มองกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเชียจะเติบโตเร็วขึ้นในปีนี้ พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ประเทศในภูมิภาคมาอยู่ที่ 4.8% อันเป็นผลมาจากการที่จีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง จากรายงานการคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจฉบับล่าสุดของธนาคารพัฒนาเอเชีย เผยให้เห็นว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย นำโดยประเทศจีน มีแนวโน้มที่จะเติบโตเร็วขึ้นในปี 2566 แม้ว่าบรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังคงซบเซาอยู่ก็ตาม ส่วนหนึ่งได้แรงสนับสนุนจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มอ่อนตัวลง โดยธนาคารฯ คาดการณ์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ชาติจะอยู่ที่ 4.8% ในปีนี้และปีหน้า ขยับตัวจาก 4.2% เมื่อปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคในปี 2566 จะอยู่ที่ 4.2% ปรับตัวลงเล็กน้อยจาก 4.4% ในปี 2565 ธนาคารพัฒนาเอเชีย มองว่า การที่จีนกลับมาเปิดประเทศ จะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายชาติในเอเชีย โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ จีนยังสามารถจัดการปัญหาเงินเฟ้อได้ดี แม้จะขาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งความต้องการและอุปทานในจีนก็มีความสมดุล ทำให้ธนาคารฯ เชื่อว่า การเปิดประเทศของจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อ […]

IMF มองเศรษฐกิจเอเชียมีโอกาสโตต่อเนื่อง

IMF มองเศรษฐกิจเอเชียมีโอกาสโตต่อเนื่อง

เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เด่นสุด แม้โลกเผชิญภาวะถดถอย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มองว่าเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจทั่วโลกโดยรวมมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้าก็ตาม เอเชียเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เห็นทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ด้วยความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การที่ธนาคารกลางหลายประเทศประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสกัดกั้นปัญหาเงินเฟ้อ สงครามในยูเครน หลังจากรัสเซียเข้ารุกรานในเดือนกุมภาพันธ์ และสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศจีน เนื่องจากการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้มขึ้น ทำให้การฟื้นตัวของชาติในเอเชียชะงักลง อย่างไรก็ตาม ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจฉบับล่าสุด (Asia Sails Into Headwinds From Rate Hikes, War, and China Slowdown) IMF ประเมินว่า เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวอยู่ IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จะขยายตัว 4% ในปีนี้ และ 4.3% ในปี 2566 […]

BBLAM เสนอขายครั้งเดียว ‘ASIATRIGGER’ วันที่ 2-4 ส.ค.นี้ ตอบโจทย์แสวงหาโอกาสรับผลตอบแทนการลงทุน 6% ภายใน 1 ปี

BBLAM เสนอขายครั้งเดียว ‘ASIATRIGGER’ วันที่ 2-4 ส.ค.นี้ ตอบโจทย์แสวงหาโอกาสรับผลตอบแทนการลงทุน 6% ภายใน 1 ปี

BBLAM เสนอขายครั้งเดียวกับกองทุนเปิดบัวหลวงเอเชียทริกเกอร์ หรือ ‘ASIATRIGGER’ ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2565 ตั้งเป้าพิชิตผลตอบแทนลงทุน 6% ภายใน 1 ปี จากการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย โดยมองว่าปัจจัยลบต่างๆ ที่กดดันตลาดหุ้นในเวลานี้ เป็นโอกาสเข้าลงทุนในบริษัทคุณภาพดี นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2565 ตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียปรับตัวลดลงมาพอสมควร ตามตลาดหุ้นทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อและความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต ทั้งที่ในความเป็นจริง สถานการณ์ของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก รวมไปถึงศักยภาพการบริหารผลประกอบการและกำไรของบริษัทในหลายอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ จึงมองว่าเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนหุ้นของบริษัทคุณภาพดี แนวโน้มกำไรเติบโตได้ในระยะยาว และยังมีมูลค่าไม่สูงมาก สำหรับประเทศที่น่าสนใจเข้าลงทุน เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยในส่วนของจีน แม้จะมีการใช้นโยบาย ‘Zero COVID’ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจในประเทศชะงักงัน แต่สถานการณ์นั้นน่าจะทยอยผ่อนคลายได้มากขึ้นในอนาคต รวมทั้งบริษัทต่างๆ เริ่มสามารถปรับตัวให้เข้ากับต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นได้ ทางด้านเวียดนามซึ่งตลาดหุ้นปรับตัวลงมามาก […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

Highlight ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับอินโดนีเซีย เพราะส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่ง และราคาหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จึงมีแนวโน้มที่ดีในปีนี้ ผู้จัดการกองทุนหลักมีมุมมองต่อเงินเฟ้อของประเทศในเอเชียว่าไม่น่ากังวล เนื่องจากเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการฟื้นตัวจากโควิด-19 อัตราการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดัชนี MSCI Asia ex Japan มี P/E (ปี 2022) อยู่ที่ 13.6 เท่า และ P/B 1.6 เท่า แม้ว่าตลาดจะยังคงมีความผันผวน แต่ผู้จัดการกองทุนยังเห็นโอกาสในการลงทุนในหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น และมีโอกาสเติบโตในระยะยาวต่อไป ในด้านตลาดหุ้นของแต่ละประเทศในเอเชีย ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับอินโดนีเซีย เพราะส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่ง และราคาหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จึงมีแนวโน้มที่ดีในปีนี้ ในขณะที่ไต้หวันซึ่งตลาดปรับเพิ่มขึ้นมามากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อมองไปข้างหน้าอัตราการเติบโตอาจจะชะลอตัวลง แม้ว่าจะมีมุมมองบวกต่อบริษัทในไต้หวัน เช่น TSMC แต่จากอัตราการเติบโตที่อาจจะชะลอตัว ผู้จัดการกองทุนจึงขายทำกำไรและลดน้ำหนักในตลาดหุ้นไต้หวัน ตลาดหุ้นอินเดีย ยังคงมีแรงกดดันจากโควิด และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียแล้ว ถือว่า Valuation สูงกว่าประเทศอื่น ผู้จัดการกองทุนจึงลดน้ำหนักและมีความระมัดระวังในการลงทุน และจากสถานการณ์ยูเครนกับรัสเชียทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ราคาสูงขึ้น […]

พร้อมแล้วหรือยัง ? กับการเติบโตของ “หุ้นกลุ่มเอเชีย”

พร้อมแล้วหรือยัง ? กับการเติบโตของ “หุ้นกลุ่มเอเชีย”

  เมื่อ “ความกังวลใจ” ของนักลงทุน เป็นผลมาจาก “สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง” อยู่ตลอดเวลา ทำให้นักลงทุนไม่กล้าตัดสินใจเข้าไปในโลกของการลงทุน เหตุผลส่วนหนึ่งมาจาก “ความกลัว” จากการที่เฟดได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ย แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางเฟดประกาศขึ้นดอกเบี้ย ฉะนั้น เรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจมากนัก หากจะมองหาโอกาสการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ “ตลาดเอเชีย” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ BBLAM ได้ทำการ Check สุขภาพประจำปี ในแถบ “เอเชีย” โดยวิเคราะห์ 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ สำหรับครั้งนี้ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ นับเป็นที่น่ากังวลใจของฝั่งตะวันตกมากกว่าฝั่งเอเชีย อย่างไทยเราในสิ้นปีนี้ คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 2.2% เวียดนาม 2.6% อินโดนีเซีย 3.1% และอินเดียที่มีเงินเฟ้อสูง 5.5% แต่หากเทียบกับปี 2013 ที่สูงถึง 9.9% นั้น ครั้งนี้ก็ถือว่าต่ำอยู่มาก ดุลการค้า หากมองดูที่ตัวเลขการส่งออก และอัตราการเติบโตของดุลการค้า จะพบว่า ประเทศเวียดนาม […]

เอเชียมีต้นทุนกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไปสู่การขนส่งปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

เอเชียมีต้นทุนกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไปสู่การขนส่งปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

CNBC รายงานว่า ING ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ ออกรายงานว่า ประเทศในเอเชียที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะต้องใช้จ่ายกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไปถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ในภาคการขนส่ง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีสัดส่วน 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก และคิดเป็น 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต่างมีเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ส่วนจีนตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2060 โดยการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ หมายถึงการจำกัดก๊าซเรือนกระจกที่ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าที่ผลิตออกมา Robert Carnell หัวหน้าฝ่ายวิจัย เอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้เขียนรายงานฉบับนี้ของ ING กล่าวว่า ต้นทุน 12.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะเท่ากับ มากกว่า 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ […]

แมทช์ กรุ๊ป ธุรกิจหาคู่ยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ ลุยซื้อกิจการในเกาหลีใต้หวังรุกตลาดเอเชีย

แมทช์ กรุ๊ป ธุรกิจหาคู่ยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ ลุยซื้อกิจการในเกาหลีใต้หวังรุกตลาดเอเชีย

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า บริษัท แมทช์ กรุ๊ป ตกลงที่จะซื้อบริษัท ไฮเปอร์คอนเน็ก ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์เกาหลีใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจากซอฟต์แบงก์ ด้วยเงินลงทุน 1,730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแมทช์ กรุ๊ป เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทินเดอร์ และฮินจ์ แอปพลิเคชันด้านการหาคู่ จากสหรัฐฯ ที่กำลังมองหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสานสัมพันธ์กับเพื่อนข้ามภูมิภาคได้ บริษัท แมทช์ กรุ๊ป ประกาศการตกลงนี้วันอังคารที่ผ่านมา เป็นข้อตกลงการซื้อกิจกรครั้งใหญ่ที่สุดของแมทช์ กรุ๊ป ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีผู้ใช้งานมากขึ้นหลังมีข้อเสนอพิเศษท่ามกลางโควิด-19 แพร่ระบาด ด้วยการเพิ่มคุณสมบัติใหม่มากมาย ขณะที่ ไฮเปอร์คอนเน็ก มีฐานธุรกิจอยู่ในกรุงโซล เกาหลีใต้ เปิดตัวเมื่อปี 2014 และนำเสนอแอปหลัก 2 แอป คือ Azar และ Hakuna Live โดยในส่วนของ Azar มีจำนวนการดาวน์โหลด 540 ล้านครั้ง เป็นแอปที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานเชื่อมต่อกับผู้อื่นที่อยู่ทั่วโลก และยังมีการช่วยแปลเสียงและข้อความให้แบบทันที ส่วน Hakuna […]

จีนย้ำเป้าหมายปีนี้กระตุ้นจ้างงานเน้นพื้นที่ชนบทตั้งเป้ารองรับ 11 ล้านคน

จีนย้ำเป้าหมายปีนี้กระตุ้นจ้างงานเน้นพื้นที่ชนบทตั้งเป้ารองรับ 11 ล้านคน

ในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ครั้งที่ 13 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่า จีนให้ความสำคัญกับประเด็นการจ้างงานอย่างมาก โดยมองว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่จะผลักดันให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจะอยู่ในกรอบที่ 6 – 6.5% นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน โดยระบุว่า การกระตุ้นการจ้างงานถือเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้จีนกำหนดกรอบเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเอาไว้ที่ 6 – 6.5% และตั้งเป้าหมายในปีนี้ว่า จะมีการสร้างงานในพื้นที่ชนบทสำหรับประชากร 11 ล้านคน นายหลี่ กล่าวว่า รัฐบาลได้ยกระดับความสำคัญของนโยบายการจ้างงาน เนื่องจากเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่าอัตราว่างงานกำลังปรับตัวสูงขึ้น และข้อมูลของทางการจีนก็ยืนยันในเรื่องนี้ ทั้งนี้ อัตราว่างงานเดือนก.พ.ของจีนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.3% จากระดับ 4.9% ในเดือน ธ.ค. 2018