กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

ทิศทางการการลงทุนตลาดหุ้นเอเชียไม่รวมประเทศญี่ปุ่น กองทุนหลักประเมินเศรษฐกิจเอเชียหลังผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ว่าจะออกมาไม่ดีในปีนี้ โดยจะฟื้นตัวได้ในครึ่งหลังของปี ค.ศ. 2021 เพราะเอเชียเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกสินค้าไปยังชาติตะวันตกในสัดส่วนที่สูงหากชาติตะวันตกยังไม่ฟื้นตัว ก็คงยากที่การค้าการขายสินค้าของบริษัทฝั่งเอเชียจะออกมาดี ในแง่การบริหารกองทุนกองทุนหลักสร้างผลตอบแทน (-24.34%) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (-18.38%) ในไตรมาสแรกเนื่องจากพอร์ตมีสไตล์เอนเอียงไปทางหุ้น value ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อตอนต้นปี ค.ศ. 2020 ผู้จัดการกองทุนเชื่อมั่นว่าหุ้น Value น่าจะได้ประโยชน์จากการนโยบายการเงินผ่อนคลายทั่วโลก การฟื้นตัวของกำไรขั้นต้นบริษัท การผ่อนคลายลงของสงครามการค้า โมเมนตัมดังกล่าวน่าจะช่วยให้หุ้น Value ที่กองทุนหลักถือครองสร้างผลตอบแทนโดดเด่นในปีนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับมีทิศทางตรงกันข้าม หลังเกิดสถานการณ์ COVID-19 หุ้นของบริษัทที่อยู่กลุ่มสถาบันการเงินซึ่งกองทุนหลักถือครองประมาณหนึ่งในสี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผลตอบแทนออกมาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แม้ว่าหุ้นที่ถือครองในกลุ่มเทคโนโลยี สินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น เฮลธ์แคร์ มีส่วนช่วยแต่ไม่มากพอ ช่วงที่ราคาหุ้นเอเชียร่วงลงระหว่างเดือนมี.ค.- เม.ย. กองทุนหลักเพิ่มน้ำหนักหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินของประเทศจีนชื่อ บริษัท ICBC แม้จะเพิ่มหุ้นจีนแต่กองทุนหลักยังคงมีน้ำหนักประเทศจีนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มุมมองรายประเทศที่กองทุนหลักได้ให้ความสำคัญและมีน้ำหนักลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนี เกาหลีใต้ (น้ำหนักในกองทุนหลัก 16.98% น้ำหนักในดัชนี 13.05%) หลังจากที่เกาหลีใต้เผชิญปัญหาแบบ Perfect Storm ในปี […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA)

สรุปภาวะตลาดหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นในช่วง ก.ค. – ต.ค. 2018 ตลาดหุ้นเอเชียในช่วงไตรมาสสามต่อเนื่องมายังเดือน ต.ค. ยังคงเผชิญกับความผันผวนและมีการปรับฐานอย่างต่อเนื่อง จากความกังวลของนักลงทุนในประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีการใช้มาตรการตอบโต้กันเป็นระลอก สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมไปถึงความกังวลเรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ซึ่งการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นนับเป็นปัจจัยและความท้าทายสำคัญที่ทำให้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค ด้านดัชนีตลาดหุ้น KOSPI ของเกาหลีใต้ถือว่าปรับตัวลดลงแรงที่สุด กองทุนหลักมีน้ำหนักลงทุนในประเทศนี้ประมาณ 20% เหตุจากความเสี่ยงต่างประเทศและปัจจัยภายในประเทศทางด้านผลประกอบการที่ประกาศออกมาต่ำกว่าคาดของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมการบริโภค ทางด้านตลาดหุ้นอาเซียนซึ่งกองทุนหลักมีน้ำหนักลงทุนประมาณ 10% นั้น ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดอื่นในเอเชีย แม้ว่าบางประเทศจะพบกับปัญหาเงินอ่อนค่าและปัญหาเงินเฟ้อก็ตาม แต่ด้วยความที่ประเทศกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบของปัญหาสงครามการค้าอย่างค่อนข้างจำกัด ประกอบกับราคาหุ้นที่ระดับมูลค่าปรับลดลงมาจนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีต จึงทำให้ระดับดัชนีตลาดหุ้นกลุ่มประเทศอาเซียนทรงตัว สรุปภาพรวมการลงทุนของกองทุนหลักในไตรมาสสาม ในไตรมาสสาม ผลการดำเนินงานกองทุนหลักลดลง -1.5% (เมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ) ตามสถานการณ์ของตลาด แต่ถือว่าลดลงน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ลดลง -3.7% หุ้นในพอร์ตลงทุนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นและสร้างผลกำไรให้พอร์ตลงทุนมากที่สุดในไตรมาสสาม คือ บริษัท China National Offshore Oil Corporation (CNOOC) ราคาหุ้นที่สูงขึ้นเพราะบริษัทได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น อีกทั้งบรรดาหุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ พากันปรับตัวขึ้นหลังจากปรับฐานกันในช่วงก่อนหน้า […]