วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด หรือ -0.08% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,735.61 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,729.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 61,332.08 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.GPSC ปิดที่ 70.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,349.48 ลบ. 2.EA ปิดที่ 55.75 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 2,294.61 ลบ. 3.ADVANC ปิดที่ 218.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย […]

BF Monthly Economic Review มิ.ย. 2562

BF Monthly Economic Review มิ.ย. 2562

BF Economic Research   สรุปประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน มิ.ย. 2562 ในช่วงเดือน มิ.ย. ภาพเศรษฐกิจยังคงดู Soft ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แต่ตลาดกลับให้ผลตอบแทนที่ดีเนื่องด้วยตลาดมีความคาดหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในแง่ของพื้นฐานของเศรษฐกิจเรายังไม่คิดว่า Fed จะด่วนปรับทิศทางนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วขนาดนั้น เพราะตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ก็ยังแข็งแกร่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ยังขยายตัวได้ แต่ในแง่นัยยะของการลงทุนนั้น เรายังคิดว่าความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยยังมีอยู่ ผนวกกับตลาดก็ยังก็มีความคาดหวังผลสัมฤทธิ์ในเรื่องการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่ง ณ ตอนนี้ สองความคาดหวังนี้ก็เป็นแรงส่งให้ตลาดให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ดี ตามที่เรียนไปข้างต้นว่า ตลาดเคลื่อนไหวด้วยความคาดหวัง นั่นหมายความว่า หากตลาดหวังผิดทาง ตลาดก็อาจจะปรับตัวลงมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น นักลงทุนอาจจะต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง ในช่วงตลาดขาขึ้นด้วย เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ณ ตอนนี้ ยังไม่ได้ดีขนาดนั้น สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจรายประเทศนั้น เราพบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเทศในกลุ่ม East Asia ได้รับผลกระทบจาก […]

สภาเศรษฐกิจโลกร่วมมือเนเธอร์แลนด์-แคนาดาทดสอบการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบ

สภาเศรษฐกิจโลกร่วมมือเนเธอร์แลนด์-แคนาดาทดสอบการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบ

สภาเศรษฐกิจโลก ร่วมกับรัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์ และแคนาดา เปิดตัวโครงการต้นแบบการเดินทางแบบไร้กระดาษ (เปเปอร์เลส ทราเวล) ระหว่าง 2 ประเทศที่สนามบินมอนทรีออล แคนาดา โดยโครงการต้นแบบนี้จะใช้งานแพลตฟอร์มชื่อว่า Known Traveller Digital Identity (KTDI) ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มแรกที่ทำให้สามารถใช้ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลของนักเดินทางสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศแบบไร้กระดาษได้ โดยแพลตฟอร์มนี้จะทำงานร่วมกับระบบของพันธมิตร มีการทดสอบภายในปีนี้ คาดว่าจะเปิดตัวการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบได้ช่วงต้นปี 2020 โครงการต้นแบบนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ได้แก่ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง สนามบิน ผู้ให้บริการเทคโนโลยี และสายการบิน สร้างระบบที่ใช้งานร่วมกันเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยและราบรื่น “ในปี 2030 คาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางระหว่างประเทศทางอากาศ 1,800 ล้านคน เพิ่มขึ้น 50% จากปี 2016 ซึ่งระบบปัจจุบันในสนามบินไม่สามารถรองรับได้ โครงการนี้จะเสนอทางเลือกใช้ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่ใช้งานร่วมกันได้ ผู้โดยสารจะได้ประโยชน์จากระบบเรื่องความปลอดภัยและการเดินทางไร้รอยต่อ เปลี่ยนอนาคตการบินและความปลอดภัย” Christoph Wolff หัวหน้าฝ่ายโมบิลิตี้ สภาเศรษฐกิจโลก กล่าว KTDI เป็นข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่ใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งเชื่อมโยงกับเอกสารประจำตัวบุคคลที่รัฐบาลออกให้ (อีพาสปอร์ต) […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจกลุ่ม CLM

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจกลุ่ม CLM

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา กัมพูชา เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2018 เติบโตสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ 7.5% (ประมาณการเบื้องต้น) จาก 7.0% ในปี 2017 โดยการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก การส่งออกรองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดขยายตัว 17.6% ในปี 2018 มากที่สุดในรอบ 5 ปี ด้านเศรษฐกิจในประเทศก็ยังขยายตัวได้ดี เห็นได้จากการนำเข้ารถยนต์และเหล็กที่เป็นตัวชี้วัดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศและการก่อสร้างในประเทศที่มีการขยายตัว 50% และ 48% ตามลำดับ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจาก -9.7% ต่อ GDP เป็น -10.4% แต่ได้รับการชดเชยด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2018 ที่ 13.4% […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจเวียดนาม

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจเวียดนาม

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP เวียดนาม ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 6.8% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 7.3% YoY ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกของปี เกิดจากแรงส่งสำคัญจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 8.6% YoY (Prev.8.9% YoY) ประกอบกับภาคบริการที่ขยายตัว 6.5% YoY (Prev.7.0% YoY) ทั้งนี้ การขยายตัวของภาคการผลิตที่มีแนวโน้มเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนุนให้เศรษฐกิจของเวียดนามมีโมเมนตัมที่เติบโต สะท้อนภาพการได้รับประโยชน์จากประเด็นการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จากยอดคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IP) เดือน พ.ค.2019 ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.0% YoY (จากเดือนก่อนที่ 9.3% YoY) ซึ่งแม้ว่าจะชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี ซึ่งหลักๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิตและแปรรูปซึ่งคิดเป็น 80% ของภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามทั้งหมด […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจสิงคโปร์

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจสิงคโปร์

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา จากประมาณการสุดท้าย (Final Estimate) GDP ของสิงคโปร์ ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 1.2% YoY ต่ำกว่าการประมาณการก่อนหน้า (Advanced Estimate) และในไตรมาสก่อนหน้าที่ 1.3% โดย GDP ไตรมาส1/2219 นี้ขยายตัวในอัตรา ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส นับตั้งแต่ ไตรมาส4/2015 เป็นผลเนื่องมาจาก GDP ภาคการผลิตที่พลิกมาหดตัวในรอบ 3 ปี  โดยได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน บวกกับการอ่อนแรงลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ ประกอบกับ GDP ภาคบริการชะลอลงสองไตรมาสติดต่อกัน (โดยในไตรมาส 4/2018 และไตรมาส 1/2019 ภาคบริการขยายตัวต่ำที่ 1.5% YoY) อย่างไรก็ดีในรายสาขาธุรกิจ เราพบว่า ภาคการก่อสร้างฟื้นตัวหลังจากหดตัวยาวนานกว่า 2 ปี […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจฟิลิปปินส์

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจฟิลิปปินส์

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 5.6% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลงที่ 7.4% YoY เป็นหลัก (Prev. 12.6% YoY) เนื่องจากความล่าช้าในการผ่านร่างงบประมาณประจำปี 2019 ซึ่งประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต เพิ่งลงนามเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ยังคงได้รับแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่มีโมเมนตัมขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวที่ 6.3% YoY (Prev. 5.3% YoY) สำหรับการขาดดุลการค้าของของฟิลิปปินส์ในเดือน เม.ย. อยู่ที่ -3,499 ล้านดอลลาร์ฯ เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขาดดุล -3,140 ล้านดอลลาร์ฯ อันเนื่องมาจากการส่งออกเดือน เม.ย. ปรับตัวลงมาที่ 5,506.24 ล้านดอลลาร์ฯ  ต่ำกว่าเดือนก่อนที่ 5,913.86 ล้านดอลลาร์ฯ ขณะที่ การนำเข้ายืนอยู่ที่ระดับ […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจมาเลเซีย

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจมาเลเซีย

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.7% YoY (Prev. 8.4% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่พลิกมาหดตัวที่ -3.5% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 0.6 % YoY โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวที่ -13.2 % YoY เนื่องมาจากการชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐกลับขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.3% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.0 % YoY ส่วนการส่งออกแทบไม่ขยายตัว (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.1% YoY) ซึ่งเป็นการสะท้อนผลกระทบของสงครามการค้าต่อการส่งออกของมาเลเซียโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มาเลเซียเกินดุลการค้าในไตรมาส1/2019 รวม 36,900 ล้านริงกิต หรือขยายตัว 10.7% YoY […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจอินโดนีเซีย

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจอินโดนีเซีย

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจอินโดนีเซียในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 อินโดนีเซียขยายตัวที่ 5.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 5.2% YoY โดยการบริโภคขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ 5.0% YoY เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ลงทุนขยายตัวชะลอลงที่ 5.0% จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.0% YoY ในทางตรงกันข้ามการส่งออกและการนำเข้าหดตัวลง -2.1% YoY (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 4.3%) และ -7.8% YoY (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 7.1%) ตามลำดับ สะท้อนภาพการชะลอลงของความสามารถในการส่งออกที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สำหรับการค้าระหว่างประเทศของอินโดนีเซียพบว่าดุลการค้าในเดือนพ.ค.พลิกกลับมาเกินดุลได้ที่ 207.6 ล้านดอลลาร์ฯจากเดือนก่อนที่ขาดดุล -2,286.5 ล้านดอลลาร์ฯ ผลจากการนำเข้าที่หดตัวสูงกว่าการส่งออก แต่หากพิจารณาดุลการค้า 5 เดือนติดต่อกันก็ยังขาดดุลสุทธิที่ -2,142 ล้านดอลลาร์ฯ ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 ในระยะข้างหน้ายังคงมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย จากผลการเลือกตั้งที่ออกมาตามความคาดหมาย โดยการกลับมาเป็นผู้นำของนายโจโค วิโดโด […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจไทย

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจไทย

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับแรงส่งจากการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหนุนจากยอดขายรถยนต์ที่ทำ New High ทุกเดือน (ยอดขายรถยนต์ YTD อยู่ที่ 4.37 แสนคันทำลายสถิติยอดขายรถยนต์ในช่วงเดียวกันในรอบหลายปี) มีส่วนช่วยหนุน GDP ในไตรมาส 1/2019 (2.8% YoY vs prev 3.6% YoY) ค่อนข้างมาก ส่วนการบริโภครายสินค้าอื่นๆ นั้น ไม่มีรูปแบบการขยายตัวที่ชัดเจน ซ้ำยังเห็นการหดตัวของการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนในบางเดือน เป็นการสะท้อนถึงการแตกแยกของการใช้จ่ายของคนไทย กล่าวคือกลุ่มคนรายได้สูงมีอำนาจการซื้อมากขึ้นแต่คนรายได้ต่ำกลับลดการบริโภค ด้านการลงทุนภายในประเทศนั้น เราพบการลงทุนในภาคเอกชนที่ชะลอลงและการลงทุนภาครัฐหดตัว แสดงให้เห็นว่านักลงทุนรอความชัดเจนด้านการเมือง ส่วนการส่งออกของประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2018 ถึงเดือน พ.ค. ได้หดตัวต่อเนื่องในเกือบทุกรายสินค้าสำคัญอันเป็นผลจากฐานสูงปีก่อนและผลจากสงครามการค้าส่งผลให้การส่งออกไปจีนหดตัวในหลายรายการ เช่น ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง, เคมีภัณฑ์, ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์ไทยทำสถิติสูงสุดทุกเดือน (คัน) ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 ความเสี่ยงและแนวทางด้านนโยบาย เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าปีก่อนจากการส่งออกสินค้า […]