เงินหยวนอ่อนค่าทะลุระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกในปี 2008
The Financial Times รายงานว่า เงินหยวนอ่อนค่าลงเนื่องจากแนวโน้มของข้อตกลงทางการค้าระหว่างปักกิ่งและวอชิงตันเลือนหายไปอีกครั้ง อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ซึ่งถูกดูแลให้เคลื่อนไหวขึ้นลงวันละ 2% โดยธนาคารกลางของจีน ร่วงลงมาผ่านระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเช้าวันจันทร์ที่ 5 ส.ค. 2019 นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพ.ค. 2008 โดยอ่อนค่าไป 1.3% ไปแตะระดับ 7.0297 ต่อดอลลาร์สหรัฐ การอ่อนค่าของหยวนทะลุระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลใจว่า จีนจะตอบโต้สงครามการเงินกับสหรัฐ เพื่อดูแลภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากกำแพงภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์
BF Morning Brief Special : แนะแผนนักลงทุนรับมือภาวะตลาดหุ้นผันผวนทั่วโลก
ตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ร่วงไปกว่า 1,300 จุดในช่วง 2 วันทำการ คือวันพุธและพฤหัสบดีที่ผ่านมา แม้วันศุกร์สถานการณ์จะดีขึ้นบ้างก็ตาม ซึ่งหลังจากกองทุนบัวหลวงศึกษาติดตามเหตุการณ์ก็พบว่า แม้หลายคนจะมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นผลจากธนาคารกลางสหรัฐจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น หรือผลจากสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรง แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วประเด็นเหล่านี้ไม่ได้มีมุมมองใหม่ๆ ดังนั้นอาจเป็นผลจากประเด็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ระยะ10 ปี ที่ขึ้นมาแรงแตะระดับประมาณ 3.25% ทำให้ตลาดเกิดความกังวล ขณะเดียวกันจากการที่ได้พูดคุยกับ ผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศ อาจเป็นเพราะปัจจุบันในสหรัฐมีการใช้โปรแกรมระบบซื้อขายอัตโนมัติ (โรบอท เทรด) กันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้อาจมีปัจจัยบางประการไปเข้าข่ายเงื่อนไขที่ระบุไว้ในระบบอัตโนมัติที่ทำให้สั่งขายหุ้นออกมา เพราะผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ระยะ 10 ปีที่แตะระดับ 3.25% นั้น ถือเป็นตัวเลขผ่านแนวต้านหลักๆ ขึ้นมา สำหรับ กรณีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ออกรายงานมาในวันอังคารและพุธติดกัน โดยระบุว่า จะมีการปรับลดเป้าหมายผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของโลกลงในปีนี้และปีหน้า รวมทั้งเตือนว่าดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐอาจสูงเกินไป และนักลงทุนอาจประเมินความเสี่ยงสงครามการค้าต่ำเกินไป ก็อาจจะมีส่วนกับการที่ตลาดหุ้นปรับลดลงมาบ้าง เพราะทุกคนก็พยายามสะท้อนปัจจัยต่างๆ เข้าไปสู่ราคาหุ้น นอกจากนี้ในความคิดเห็นส่วนตัวยังมองว่า การที่ไอเอ็มเอฟออกรายงานมานั้นอาจเพราะต้องการให้สหรัฐและจีนหันหน้ามาพูดคุยกัน จึงสะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมที่เคยมองนั้นอาจไม่เหมือนที่คิดไว้ ทางด้านตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นเกิดใหม่ที่ปรับลดลงมามากจากความกังวลสงครามการค้านั้น ในมุมมองของกองทุนบัวหลวง […]
ปัจจัยเขย่าตลาดหุ้นอินเดียวันจันทร์ที่ 24 ก.ย. 2018
ช่วงบ่ายวันนี้ดัชนีสำคัญของอินเดีย Nifty 100 index ระดับ 10,976 จุด ลดลง -175 จุด (-1.46%) จากปัจจัยของหุ้นกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินหลังจากที่ 1. ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) สั่งให้ผู้บริหารสูงสุด Mr.Rana Kapoor (ผู้ก่อตั้งธนาคาร, MD, CEO) และถือหุ้นในสัดส่วน 10% ของ YES Bank ลงจากตำแหน่งในเดือน ม.ค. ปีหน้า ด้วยสาเหตุด้านความโปร่งใส Mr.Kapoor เป็นบุคคลสำคัญมากที่สุดของธนาคารเนื่องจากสร้างธนาคารให้เติบโตจนถึงทุกวันนี้ตั้งแต่ปี 2004 การจากไปของเขาสร้างความไม่แน่นอนในระยะสั้น (หุ้น YES BANK ร่วงลง -28% ในวันศุกร์ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา) 2. สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non bank financial service) แห่งหนึ่งของอินเดีย […]
อาลีบาบา รุกพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ
อาลีบาบา บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนได้ยืนยันว่าทางบริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (autonomous driving technologies) รายงานระบุว่า Wang Gang หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของอาลีบาบา เป็นผู้นำทีมการวิจัยและพัฒนา พร้อมระบุว่า โครงการดังกล่าวก็มีความก้าวหน้าไปมาก ทั้งนี้ อาลีบาบาต้องการให้โครงการเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับพัฒนาไปถึงระดับที่ 4 ซึ่งเป็นระดับที่รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์ในบางสถานการณ์ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทางการจีนได้ออกกฎที่อนุญาตให้มีการนำรถยนต์ไร้คนขับไปทดสอบบนถนนจริงได้เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งครอบคลุมการขับขี่แบบไร้คนขับในหลายระดับ ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนได้ประกาศเป้าหมายขึ้นเป็นผู้นำเทคโนโลยี AI ภายในปี 2030 โดยมองว่า AI เป็นรากฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต พร้อมกับเรียกร้องให้มีการพัฒนาบุคลากร และทรัพยากรด้านการวิจัยและการศึกษา เพื่อสร้างความก้าวหน้าครั้งใหญ่ภายในปี 2030 และผลักดันจีนให้กลายเป็นผู้นำของโลกในด้าน AI ทางด้านบริษัทจีนหลายแห่ง อาทิ เทนเซ็นต์ ไป่ตู้ และอาลีบาบา ได้ทุ่มเงินมหาศาลเพื่อพัฒนา AI สำหรับบริการการเงิน รถยนต์ไร้คนขับ และการใช้งานอื่นๆ ในขณะที่บริษัทภาคอุตสาหกรรมก็ได้ติดตั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ธนาคารกลางออสเตรเลีย คงอัตราดอกเบี้ย ตามคาด
ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเดือนที่ 20 และสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นายฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียได้แถลงภายหลังการประชุมวันนี้ว่า ธนาคารกลางยังคงเชื่อว่า เศรษฐกิจออสเตรเลียจะขยายตัวรวดเร็วขึ้นในปี 2018 อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนยังมีความไม่แน่นอน แม้การอุปโภคบริโภคเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงปลายปีก่อน ขณะที่รายได้ภาคครัวเรือนปรับตัวขึ้นอย่างเชื่องช้า และหนี้สินภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูงมาก ธนาคารกลางออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันข้างหน้า แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม และยอมรับว่าตัวเลขจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ และตัวเลขเงินเฟ้อที่จะเข้าใกล้ระดับเป้าหมาย 2.5% นั้น อาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียกล่าวว่า อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่อ่อนค่าลงนั้น จะช่วยสนับสนุนการส่งออกให้ขยายตัวได้
ทำเนียบขาว เผย ‘ทรัมป์’ เตรียมลงนามมาตรการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนวันนี้
สื่อต่างประเทศรายงาน ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เตรียมลงนามบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ในวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี เวลาประมาณ 23.30 น.ตามเวลาไทยในวันนี้ โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะมุ่งไปที่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา รายงานข่าวยังระบุว่า ก่อนหน้านี้บรรดาที่ปรึกษาอาวุโสของทรัมป์ได้เสนอแผนเก็บภาษีสินค้านำเข้าหลายประเภทจากจีน ในวงเงิน 3 หมื่นล้าน ดอลลาร์ต่อปี แต่ปธน.ทรัมป์ต้องการให้เพิ่มวงเงินในการจัดเก็บภาษีจากจีนเป็น 6 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี โดยมาตรการนี้จะครอบคลุมสินค้านำเข้าจากจีนกว่า 100 รายการ ซึ่งทรัมป์ระบุว่า สินค้าเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากการที่จีนขโมยความลับทางการค้าจากบริษัทสหรัฐ หรือได้มาจากการบีบบังคับบริษัทเหล่านี้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเข้าถึงตลาด
‘คุโรดะ’ นั่งผู้ว่า BOJ ต่ออีกสมัย คาดเดินหน้านโยบายการเงินเชิงรุก
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รัฐสภาญี่ปุ่นได้มีมติอนุมัติการให้ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต่ออีกสมัย พร้อมกับรับรองการเสนอชื่อรองผู้ว่าการ BOJ อีก 2 คน โดยคาดว่า คณะผู้บริหารของ BOJ ชุดนี้จะเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงรุกต่อไป เนื่องจากเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังคงอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายของ BOJ ที่ระดับ 2% คุโรดะยังคงเผชิญกับความท้าทายในเรื่องการดำเนินนโยบายการเงิน และการสื่อสารที่ชัดเจนกับตลาดการเงิน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายรายมองว่า BOJ ยังล้าหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ต่างก็เริ่มปรับนโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติ
แบงก์ชาติแคนาดาคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% เหตุศก.ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ธนาคารกลางแคนาดาประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% ระบุแบงก์ชาติยังต้องระมัดระวังเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แถลงการณ์จากธนาคารกลางแคนาดาระบุว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจเอื้อต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่อาจจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป เพื่อให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวได้ใกล้เคียงกับศักยภาพ และเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย
สหรัฐจ่อลงดาบจีน ฐานปล่อยให้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า แหล่งข่าวเปิดเผยว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯเตรียมพิจารณาดำเนินมาตรการตรวจสอบการลงทุนจากจีน และตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าหลายรายการเพื่อตอบโต้จีน กรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างกว้างขวาง โดยแผนการดำเนินการดังกล่าวจะมีขึ้นภายหลังจากที่สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯได้ตรวจสอบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน ซึ่งมีขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯโพสต์บนทวีตเตอร์ว่า รัฐบาลจะพิจารณามาตรการต่างๆเพื่อตอบโต้จีนเร็วๆนี้ และจะเป็นผลดีต่อแรงงานสหรัฐฯที่กำลังว่างงาน อย่างไรก็ตาม การแสดงท่าทีที่แข็งกร้าวทางการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์ทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ซึ่งรวมถึงนายแกรี่ โคห์นที่ปรึกษาเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว ที่ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเพื่อคัดค้านนโยบายกีดกันทางการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์ ทั้งนี้ นโยบายดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯทำให้หลายฝ่ายกังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ
Carl Icahn เตือนผลิตภัณฑ์ทางการเงินแปลกๆ ที่อาจทำให้ตลาดพังได้
Carl Icahn มหาเศรษฐีนักลงทุนชื่อดัง ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อซีเอ็นบีซีว่า ความผันผวนของตลาดหุ้นที่ผ่านมาเกิดจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินแปลกๆ เช่น exchange-traded funds หรือ exchange-traded notes ที่กู้เงินมากเกินไปในการเทรด และวันหนึ่งอาจจะทำให้ตลาดหุ้นพังได้ หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นผันหวนหนักในช่วงที่ผ่านมา คือหลักทรัพย์ที่คลุมเคลือ ซึ่งออกแบบมาเพื่อเดิมพันตลาดหุ้นยามสงบที่ถูกบังคับขาย หลักทรัพย์นี้เรียกชื่อกันว่า VelocityShares Daily Inverse VIX Short-Term exchange-traded note (XIV) ซึ่งพังในชั่วข้ามคืน เพราะว่านักลงทุนที่ใช้มาร์จิ้นสูงถูกบังคับขายเมื่อตลาดตกแรง ด้วยเหตุนี้ Credit Suisse ประกาศในวันอังคารที่ผ่านมาว่า จะเลิกเทรด XIV ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งออกแบบมาให้ได้ผลตอบแทนที่ตรงข้ามกับ Cboe Volatility Index (VIX), หรือรู้จักกันดีว่าเป็นตัววัดความกลัวของตลาด ไอคานบอกว่า ตลาดหุ้นมีการกู้เงินมากเกินไปในการลงทุน ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายได้ร้ายแรงกว่าปี 1929