IMF ปรับลด GDP ปี 2018-2019 ชะลอลงทั้งสองปีเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งที่แล้ว

IMF ปรับลด GDP ปี 2018-2019 ชะลอลงทั้งสองปีเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งที่แล้ว

BF Economic Research IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้ โดยให้ GDP โลก ปี 2018-2019 ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปี 2017 ที่ 3.7% “แต่” IMF ปรับลด GDP ปี 2018-2019 ลงทั้งสองปีจากประมาณการครั้งที่แล้ว (เดือนก.ค.) ซึ่งอยู่ที่ 3.9% ทั้งสองปี เป็น 3.7% ทั้งปี 2018 และ 2019 (เท่ากับว่า IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2018-2019 ลง -0.2 pp จากประมาณการเดิม) ในการประมาณการรอบนี้ IMF ให้เหตุผลว่าแม้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ดีแต่พบ “ความไม่สมดุลของการขยายตัว (Less-balanced Growth)” โดยในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา […]

ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลด RRR ลง 100 bps

ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลด RRR ลง 100 bps

BF Economic Research ธนาคารกลางจีนหรือ PBoC ประกาศปรับลด Reserve Requirement Ratio หรือ RRR ลง 100 bps หรือ 1.0% สำหรับ “ธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด” การปรับลดครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ จะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบทั้งหมด 1.2 ล้านล้านหยวน โดย 4.5 แสนล้านหยวนจะเป็นการเอื้อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้คืนสินเชื่อเพื่อสภาพคล่องระยะกลางที่มีระยะ 3เดือน-1 ปี (Medium-term Lending Facility, MLF )ให้กับธนาคารกลางจีนได้ ส่วนในจำนวนที่เหลืออีก 7.5 แสนล้านหยวนจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งภายหลังการปรับลดครั้งนี้ กรอบ RRR จะอยู่ที่ 12.5 สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก และ14.5% สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ การปรับลด RRR นี้มีส่วนให้ อัตราดอกเบี้ยตัวสั้นในตลาดปรับย่อลงหลังจากที่ไต่ขึ้นในช่วง 2-3 […]

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนก.ย. ขยายตัว 6.7% YoY สูงสุดในรอบ 9 ปี

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนก.ย. ขยายตัว 6.7% YoY สูงสุดในรอบ 9 ปี

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือน ก.ย. ขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.7% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.4% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.8% โดยเป็นการขยายตัวเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ราคาอาหารยังเป็นปัจจัยกดดันหลักโดยเฉพาะข้าวซึ่งปรับตัวสูงขึ้นจากความล่าช้าในการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ  อย่างไรก็ดี คาดว่า อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์น่าจะชะลอลงในไตรมาสสุดท้ายของปี ล่าสุด BSP ได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 เป็น 5.2% จาก 4.9%  อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.7% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.4% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.8% YoY แต่ยังคงหลุดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางการฟิลิปปินส์ได้ตั้งไว้ที่ 2-4% เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อใน 3 ไตรมาสแรกที่ผ่านมาอยู่ที่ 5.3% YoY โดยล่าสุด […]

สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่แทน NAFTA ภายใต้ชื่อ United States-Mexico-Canada Agreement (USMCA)

สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่แทน NAFTA ภายใต้ชื่อ United States-Mexico-Canada Agreement (USMCA)

BF Economic Research ในช่วงเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กดดันรัฐบาลแคนาดาให้รับข้อตกลงเบื้องต้นที่สหรัฐฯ และเม็กซิโก เห็นพ้องกันเพื่อปรับปรุงข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) แต่แคนาดาก็แสดงจุดยืนว่าจะลงนามในข้อตกลงใหม่ที่ส่งผลดีต่อประเทศเท่านั้น ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลว่า ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่ที่จะมาแทนที่ NAFTA นั้น อาจกลายเป็นข้อตกลงทวิภาคี แทนที่จะเป็นไตรภาคีอย่างเดิม ถ้าแคนาดาไม่เข้าร่วม อย่างไรก็ดี ล่าสุดสหรัฐฯ และแคนาดาได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดต่างจับตาความคืบหน้าของประเด็นนี้ โดยข้อตกลงกำลังอยู่ระหว่างรอการอนุมัติในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ ยังคงรักษาข้อตกลงไตรภาคีด้านการค้าระหว่างแคนาดาและเม็กซิโกได้ต่อไป ภายใต้ชื่อใหม่ว่า United States-Mexico-Canada Agreement (USMCA) ข้อตกลงดังกล่าว ทำให้สินค้ากลุ่มยานยนต์ของแคนาดา และเม็กซิโกได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ แต่ยังโดนเก็บภาษีนำเข้าสินค้ากลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียมอยู่ ซึ่งจะมีการเจรจานอกรอบอีกครั้งในประเด็นนี้    

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Tankan) ของญี่ปุ่นในไตรมาส 3ปรับตัวลดลง สะท้อน sentiment ภาคธุรกิจที่ชะลอตัว

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Tankan) ของญี่ปุ่นในไตรมาส 3ปรับตัวลดลง สะท้อน sentiment ภาคธุรกิจที่ชะลอตัว

BF Economic Research ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Tankan) ในไตรมาส 3/2018 ที่สำรวจความเห็นของผู้ประกอบการต่อสภาวะธุรกิจ โดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ปรับตัวลดลงทั้งภาคการผลิตและภาคบริการสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยดัชนี Tankan ภาคการผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ระดับ 19 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 21 ซึ่งเป็นผลจากพายุไต้ฝุ่นในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา รวมไปถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และความกังวลต่อนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ในขณะที่ดัชนี Tankan ของธุรกิจขนาดเล็กทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับภาคการผลิต และสามารถขยายตัวได้สำหรับภาคบริการ อย่างไรก็ดี แผนการลงทุนของภาคธุรกิจญี่ปุ่น (Capex Plans) ในปีงบประมาณ 2018 (1 เม.ย 2018 – มี.ค. 2019) ยังขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งที่แล้วในไตรมาส 2 โดยเพิ่มจาก +7.9% เป็น +8.5% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1990 สะท้อนมุมมองเชิงบวกของภาคธุรกิจในการลงทุน  

เศรษฐกิจไทยเดือนส.ค.  ขยายตัวต่อแต่โมเมนตัมชะลอลง

เศรษฐกิจไทยเดือนส.ค. ขยายตัวต่อแต่โมเมนตัมชะลอลง

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยเดือนส.ค. ขยายตัวต่อแต่โมเมนตัมชะลอลง การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย (ยกเว้นสินค้าไม่คงทน) แต่การส่งออกสินค้าชะลอจากฐานสูง เช่นเดียวกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมเผชิญกับฐานสูงปีก่อนที่มีการเร่งผลิตก่อนปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ สำหรับการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวชะลอลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวสูง เหตุจากผลกระทบเรือล่มที่ภูเก็ตยังมีอยู่ การผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ชะลอลงที่ 0.7% YoY (prev. 4.9% YoY) โดยหมวดที่ขยายตัวดีได้แก่ 1) อิเล็กทรอนิกส์ 2) หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและ 3) หมวดวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ คอนกรีตผสมเสร็จ ซีเมนต์ผสม และเสาเข็มคอนกรีต ซึ่งได้แรงสนับสนุนจากการก่อสร้างสาธารณูปโภคภาครัฐ แต่ MPI รวมชะลอเพราะหมวดยาสูบหดตัว จากฐานสูงปีก่อนที่มีการเร่งผลิตก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบ ทั้งนี้เมื่อเทียบรายเดือนขยายตัวที่ 0.4% MoM sa โดยการผลิตในหมวดยานยนต์ปรับลดลงจาก เดือนก่อน ตามการผลิตเครื่องยนต์ที่เร่งไปมากในช่วงก่อนหน้า และการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกที่ลดลงจากการระบายสต็อกของผู้ผลิต ส่วนกำลังการผลิตอยู่ที่ 68.5 จากเดือนก่อนที่ 69.1 การบริโภคภาคเอกชน […]

ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียน กันยายน-ตุลาคม 2018

ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียน กันยายน-ตุลาคม 2018

BF Monthly Economic Review Sep-Oct 2018 By…BF Economic Research ASEAN THIS MONTH อินโดนีเซีย อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้น +3.20% YoY ในเดือนส.ค. หลังจากที่ขยายตัว +3.18% ในเดือนก่อนหน้า โดยยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอินโดนีเซียซึ่งกำหนดไว้ที่ 2.5-4.5% เนื่องจากราคาอาหารปรับตัวลดลง ซึ่งรวมถึงราคาเนื้อไก่และพริก ส่งผลให้อ้ตราเงินเฟ้อไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวลของอินโดนีเซีย ท่ามกลางความเสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ที่ส่งผลให้ค่าเงินรูเปียะห์อ่อนค่าลงถึง -9% นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือนก.ค. 2018 ชะลอลง +6.0% YoY (prev. +8.0% YoY) ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2017 ส่วนยอดค้าปลีกเดือนก.ค. หดตัวที่ -2.6% YoY ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว +2.2% YoY เนื่องจากยอดขายยานพาหนะปรับตัวลงแรง -15.2% YoY (Prev. […]

Update ส่งออกไทยขยายตัวที่ 6.68% ชะลอลงจากฐานสูงปีก่อน

Update ส่งออกไทยขยายตัวที่ 6.68% ชะลอลงจากฐานสูงปีก่อน

BF Economic Research การส่งออกไทยเดือนส.ค.มีมูลค่า 22,794.4 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนที่ 20,423.9 ล้านดอลลาร์ฯ ) ขยายตัว 6.68% YoY จากเดือนก่อนที่ขยายตัว 8.27% YoY ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 23,382.6 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนที่ 20,940.1ล้านดอลลาร์ฯ ) ขยายตัว 22.8% จากเดือนก่อนที่ขยายตัว 10.5% YoY ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -588.1 ล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนที่ขาดดุล -516.2 ล้านดอลลาร์ฯ สะท้อนว่าการส่งออกไทยชะลอลงจากฐานที่เริ่มปรับสูงขึ้นจากเดือนส.ค. ในปีก่อน ขณะที่ยอดนำเข้าเร่งตัวขึ้น สำหรับการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกปี 2018 (ม.ค.-ส.ค. 2018) มีมูลค่า 169,030.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 10.03% % AoA ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 166,678.8 […]

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 10% คิดเป็นวงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.นี้

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 10% คิดเป็นวงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.นี้

BF Economic Research ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 10% คิดเป็นวงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นการตอบโต้จากที่จีนฉวยโอกาสใช้ Technology Transfer จากเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ โดยนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. สหรัฐฯจะเริ่มเก็บภาษีนำเข้าจากจีนในอัตรา 10% และจากนั้นจะเพิ่มเป็น 25% ตั้งแต่ช่วงต้นปีหน้า สำหรับรายสินค้าของจีนที่จะถูกเรียกเก็บในครั้งนี้ มีอยู่เกือบ 6,000 รายการ ซึ่งถือเป็นรายการสินค้าจำนวนมากที่สุดเท่าที่สหรัฐฯดำเนินมาตรการกับจีน โดยสินค้าเหล่านี้รวมถึงกระเป๋าถือ ข้าว และสิ่งทอ ทั้งนี้ได้นำเอาสินค้าจำนวน 300 รายการออกจากการกีดกันภาษีครั้งนี้ อาทิ Smartwatches, สินค้าเคมีภัณฑ์, หมวกกันนอค และเก้าอี้ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีกล่าวว่าหากจีนใช้มาตรการตอบโต้กลับก็จะยกระดับการกีดกันทางการค้ากับสินค้าจากจีนอีก 2.67 แสนล้านดอลลาร์ฯ ทางด้านจีน ยังไม่ได้ตอบโต้อย่างเป็นทางการ รองนายกฯ หลิว เหอ ของจีนจะประชุมในช่วงเช้าของวันนี้ […]

เปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี

เปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี

BF Economic Research ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 54.13 เปโซฟิลิปปินส์ต่อดอลลาร์ฯ วานนี้ (12 ก.ย. 2018) อ่อนที่สุดในรอบ 13 ปี การอ่อนค่าของเปโซฟิลิปินส์ดังกล่าว น่าจะเป็นแรงจูงใจสำคัญให้ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 27 ก.ย. ที่จะถึงนี้ ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 54.13 เปโซฟิลิปปินส์ต่อดอลลาร์ฯ วานนี้ (12 ก.ย. 2018) อ่อนที่สุดในรอบ 13 ปี โดยได้รับแรงกดดันมาจากการที่ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยใน 7 เดือนแรกของปี ขาดดุลกว่า 22.49 พันล้านดอลลาร์ฯ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น ล่าสุด ขึ้นไปอยู่ที่ 6.4% YoY ในเดือนก.ค. 2018 นอกจากนี้ เงินทุนต่างชาติที่ไหลออกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่อนค่าของเปโซฟิลิปปินส์ โดยนับตั้งแต่วันแรกของไตรมาสที่ 3/2018 ถึงปัจจุบัน (Quarter to date) […]