ญี่ปุ่นปรับ GDP ไตรมาส 2 ขึ้น จาก 1.9% เป็น 3.0%
ญี่ปุ่นประกาศปรับ GDP ไตรมาส 2 ขึ้นเป็น 3.0% QoQ saar จากประมาณการครั้งแรกที่ 1.9% QoQ saar ส่งผลให้เป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปี และลดความกังวลของตลาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มจะชะลอตัว เนื่องจากในไตรมาสแรกของปี 2018 นั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาหดตัวเป็นครั้งแรก หลังขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดในรอบ 28 ปี การลงทุนภาคเอกชนที่นอกเหนือจากที่พักอาศัย (Private Non-Residential Investment) เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ GDP ในไตรมาส 2 เติบโตถึง 3% โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.3% QoQ saar ในการประมาณการครั้งแรกเป็น 3.1% QoQ saar เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่การลงทุนภาครัฐปรับขึ้นมาเป็นทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงที่ 0.0%QoQ saar จากที่ติดลบ -0.1%QoQ saar ในไตรมาส 1 […]
เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนส.ค. ขยายตัว 6.4% YoY สูงที่สุดในรอบ 9 ปี
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือน ส.ค. ขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.4% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 5.7% YoY เหนือกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.9% โดยเป็นการขยายตัวเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน เป็นผลมาจากแรงกดดันมาจากราคาพลังงานและอาหารโดยเฉพาะข้าวเป็นหลัก ทั้งนี้ ยังคงต้องจับตาสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์อย่างใกล้ชิด โดยคาดว่า BSP น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 basis point เป็น 4.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะถึงในวันที่ 27 ก.ย. นี้ เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.4% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 5.7% YoY เหนือกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.9% และเหนือกรอบเงินเฟ้อเดือนส.ค.ที่ BSP ประมาณการไว้ที่ 5.5-6.2% โดยหลุดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางการฟิลิปปินส์ได้ตั้งไว้ที่ 2-4% เป็นเดือนที่ 6 […]
สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค. พบโมเมนตัมชะลอลง
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค.ยังขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบรายเดือนพบสัญญาณชะลอลงในส่วนของ การส่งออกทำให้เกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีชำระเงินลดลง ส่วนการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดีจากการบริโภคสินค้าคงทนเป็นหลัก การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวแต่ชะลอลงจากพื้นที่ก่อสร้าง ภาคการท่องเที่ยวชะลอลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือท่องเที่ยวล่มที่จังหวัดภูเก็ต การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 4.7% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 3.7% YoY (แต่โมเมนตัมรายเดือน ค่อนข้าง Flat ที่ 0.4% MoM sa) เมื่อแยกรายประเภทการบริโภคสินค้าไม่คงทนยัง Flat การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนและกึ่งคงทน การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวสูงต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน (11.5% YoY vs. prev. 10.7% YoY) จากปริมาณจำหน่ายทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ แต่ ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์หดตัว เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงจากเดือนก่อน(-0.8%MoM sa) หลังจาก เร่งไปมากในช่วงก่อนหน้า การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน (2.9% YoY vs. 2.1% YoY) ตามปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและ เครื่องนุ่งห่ม […]
เงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. ขยายตัวที่ 2.0% YoY ขณะที่ อัตราการว่างงานเดือนก.ค.ต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. 2018 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ 2.0% YoY จากเดือนทีผ่านมาที่ขยายตัว 2.1% YoY กลับเข้ามาใกล้เคียงกรอบที่ ECB ตั้งไว้คือ ใกล้เคียงแต่ไม่เกิน 2.0% ขณะที่ อัตราการว่างงานของยูโรโซนในเดือนก.ค. 2018 อยู่ที่ 8.2% ลดลงจากระดับ 9.1% ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา นับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2008 อัตราเงินเฟ้อยูโรโซน เดือนส.ค. 2018 ขยายตัว 2.0% YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.1% YoY โดยเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กที่ 9.2% YoY (prev. 9.5% YoY) ประกอบสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่พลังงานที่ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยเช่นกันที่ 0.3 % YoY (prev. 0.5% YoY) […]
GDP อินเดียไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 8.2% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 7.7% YoY
BF Economic Research GDP อินเดียไตรมาส 1/2019 (ปีงบประมาณอินเดียเริ่ม 1 เม.ย.-31 มี.ค. ของอีกปี) ขยายตัว 8.2% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 7.7% YoY ส่วน GVA (ซึ่งหักผลสุทธิของภาษีออกไป) ขยายตัว 8.0% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 7.6% YoY ในฝั่งการผลิต อัตราการขยายตัวที่โตขึ้นหลักๆมาจากผลจากฐานต่ำในปีก่อน ที่เป็นผลมาจากการเร่งระบายสินค้าคงคลังก่อนที่รัฐบาลจะใช้ภาษีในระบบ GST ในเดือนก.ค. ปีที่แล้ว โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายข้างต้นได้แก่ กลุ่มการผลิต (Manufacturing Sector) ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งโดยไม่มีประเด็นเรื่องฐานต่ำได้แก่ กลุ่มการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่ม IT ขณะที่กลุ่มเกษตรขยายตัวที่ 5.3% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.5% YoY จากผลผลิตธัญพืชและผลผลิตเกษตรออกมาดีในช่วง Rabi Season […]
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนส.ค.เท่ากับ 102.27 หรือขยายตัว 1.62% YoY (เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.46% YoY และเป็นเดือนแรกที่ Real Interest Rate ติดลบ หรืออัตราเงินเฟ้อสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย) และเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14
BF Economic Research ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ส.ค.เท่ากับ 102.27 หรือขยายตัว 1.62% YoY (เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.46% YoY และเป็นเดือนแรกที่ Real Interest Rate ติดลบ หรืออัตราเงินเฟ้อสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย) และเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 เมื่อเทียบรายเดือนขยายตัว 0.26% MoM (เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.05% MoM) ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.75% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 0.79% YoY สำหรับตัวเลขเฉลี่ย 8 เดือนอัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ที่ 1.12% AoA และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.71% AoA โดยกรอบคาดการณ์ของกระทรวงพาณิชย์อยู่ที่ 0.8-1.6% ในรายสินค้า หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (36.13% ของตะกร้าสินค้า) สูงขึ้น 0.77% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่ […]
สหรัฐฯ และเม็กซิโกบรรลุข้อตกลงทางการค้าเบื้องต้น โดยจะนำมาใช้แทน NAFTA (สหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดา)
BF Economic Research สหรัฐฯ และเม็กซิโกสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเบื้องต้นร่วมกันเมื่อวานนี้ (27 ส.ค.) ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการให้ใช้ข้อตกลงดังกล่าวแทนข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ซึ่งประกอบไปด้วยสหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 16 ปี และจะทำการทบทวนทุก 6 ปี โดยประเด็นที่สำคัญในข้อตกลงนี้คือ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่กำหนดให้รถที่จะขายในสหรัฐฯ จะต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในสหรัฐฯ หรือเม็กซิโกในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่า 75% ต่อคัน เพิ่มขึ้นจากข้อตกลงเดิมใน NAFTA ที่กำหนดให้ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในสหรัฐฯ เม็กซิโก หรือแคนาดาไม่ต่ำกว่า 62% นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะไม่จำกัดการนำเข้ารถยนต์ขนาดเล็กจากเม็กซิโก แต่ภาษีนำเข้าเหล็ก (25%) และอลูมิเนียม (10%) ที่สหรัฐฯ ได้ประกาศไปแล้วในวันที่ 1 มิ.ย. จะยังคงมีผลบังคับใช้กับเม็กซิโกตามเดิม ในด้านแคนาดาที่เป็นอีกหนึ่งสมาชิก NAFTA นั้น สหรัฐฯ จะเจรจาในวันนี้ […]
ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน สิงหาคม-กันยายน 2018
BF Monthly Economic Review Aug-Sep 2018 By…BF Economic Research เหตุการณ์ในตุรกีป่วนตลาดเกิดใหม่ อินโดนีเซีย ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps ในการประชุมวันที่ 15 ส.ค. จาก 5.25% เป็น 5.50% เพื่อพยุงรูเปียห์ที่อ่อนค่าลง หลังเกิดวิกฤตค่าเงินตุรกี และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ของปี 2018 รวมทั้ง 4 ครั้ง BI ปรับขึ้นมาแล้ว 125 bps ส่งผลให้ BI นับเป็นหนึ่งในธนาคารกลางที่มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากที่สุดในเอเชีย ด้านรัฐบาลได้ประกาศมาตรการลดการนำเข้า เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการปรับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้น 500 รายการ รวมทั้งเลื่อนโครงการก่อสร้างบางโครงการของรัฐวิสาหกิจออกไปเพื่อลดการนำเข้าสินค้าทุน สิงคโปร์ GDP (Final Estimate) […]
ส่งออกไทยเดือนก.ค. โตที่ 8.27% YoY ขาดดุลสุทธิในรอบสองเดือน
BF Economic Research การส่งออกไทยเดือนก.ค.อยู่ที่ 20,424 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว 8.3% YoY (เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 21,779.8 ล้านดอลลาร์ฯหรือขยายตัว 8.19% YoY) ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 20,940 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว 10.5%YoY (เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 20,201.4 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวที่ 10.8% YoY) ส่งผลให้ขาดดุลการค้า -516 ล้านดอลลาร์ฯ จากที่เกินดุล 1,578.5 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อนหน้าและเป็นการขาดดุลในรอบ 2 เดือน สำหรับ ภาพรวม 7 เดือนของปี 2018 การส่งออกของไทยมีมูลค่า 146,236 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น 10.6% AoA) การนำเข้ามีมูลค่า 143,296 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น 14.8% […]
เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 2 โต 4.5% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 4.7-5.6%
เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 2 ขยายตัว 4.5% YoY ชะลอตัวลงจาก 5.4% YoY ในไตรมาส 1 เนื่องจากการส่งออกสุทธิ (Net Exports) ที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการนำเข้าสินค้า 2.1% YoY หลังจากหดตัว -2.0% YoY ในไตรมาสที่แล้ว บวกกับการชะลอตัวของการส่งออกจาก 3.7% YoY เป็น 2.0% YoY อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศยังเติบโตได้ดี นำโดยการใช้จ่ายภาคเอกชนที่เติบโต 8.0% YoY เพิ่มขึ้นจาก 6.9% YoY ในไตรมาส 1 และการใช้จ่ายของภาครัฐที่เติบโต 3.1% YoY จาก 0.1% YoY รวมทั้งการลงทุนในประเทศที่ขยายตัว 2.2% YoY จาก 0.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า […]