ฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งประวัติศาสตร์

ฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งประวัติศาสตร์

BF Economic Research Team แนวร่วมฝ่ายค้าน “ปากาตัน ฮาราปัน (Pakatan Harapan-PH)” นำโดย นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียวัย 92 ปี สามารถคว้าที่นั่งในสภาได้ 113 ที่นั่ง จากทั้งหมด 222 ที่นั่ง และจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งนับเป็นผลการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พรรค BN แพ้การเลือกตั้ง หลังจากวันที่มาเลเซียประกาศอิสรภาพ สิ่งที่น่าสนใจ คือ บางรัฐที่เคยเป็นฐานเสียงของ BN มาตลอดอย่าง Sabah Sarawak และ Johor กลับได้ที่นั่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ก่อนหน้านี้ PH ได้ประกาศแนวนโยบาย “10 สัญญาใน 100 วัน” (10 promises in 100 days) ซึ่งมีรายละเอียด […]

เศรษฐกิจอินโดนีเซียไตรมาส 1 โตเพียง 5.06% YoY

เศรษฐกิจอินโดนีเซียไตรมาส 1 โตเพียง 5.06% YoY

BF Economic Research Team เศรษฐกิจอินโดนีเซียไตรมาส 1/2018 ขยายตัวที่ 5.06% YoY ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 5.19% YoY การส่งออกสุทธิ และการใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัว การบริโภคยังทรงตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเติบโตสูง นับเป็นความท้าทายของรัฐบาลอินโดนีเซียในการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2018 ให้เติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 5.4% เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 1/2018 ขยายตัวที่ 5.06% YoY ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 5.19% YoY จากการชะลอตัวของการส่งออกสุทธิ และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัว 2.7% YoY ลดลงจาก 3.8% YoY ในไตรมาส 4/2017 ด้านการบริโภคภาคเอกชนนั้นก็ยังทรงตัวที่เติบโตราว 5% เป็นไตรมาสที่ 11 ติดต่อกัน ขณะที่ เครื่องยนต์เศรษฐกิจที่เติบโตได้ดีในไตรมาส 1 นี้ คือ การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งสามารถเติบโตได้ถึง 7.9%YoY […]

การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนยังไม่มีความคืบหน้า  

การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนยังไม่มีความคืบหน้า  

BF Economic Research Team คณะเจรจาการค้าของสหรัฐฯ นำโดยนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลัง นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และนายวิลเบอร์ รอสส์ รัฐมนตรีพาณิชย์ เสร็จสิ้นการเจรจาการค้ากับจีนเป็นเวลา 2 วัน โดยไม่มีความคืบหน้าทางการเจรจามากนัก สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า เจ้าหน้าที่จีนและสหรัฐฯสามารถบรรลุฉันทามติร่วมกันในบางประเด็น อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเห็นที่ไม่ตรงกันค่อนข้างมากเกี่ยวกับประเด็นอื่นๆ แต่ก็เห็นพ้องกันว่าจะมีการแก้ไขความขัดแย้งทางการค้าผ่านทางการเจรจา         โดยทางฝั่งสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้จีน: ลดยอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลง 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ ภายในปี 2020 (จีนมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 3.75 แสนล้านดอลลาร์ฯในปี 2017) เพิ่มความเข้มงวดในมาตรการเพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ยกเลิกการให้การช่วยเหลือของภาครัฐในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงตามโครงการ “Made in China 2025”ไม่ตอบโต้การเรียกเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ส่วนฝั่งจีนต้องการให้สหรัฐฯ ยุติการตรวจสอบการเข้าซื้อกิจการ Tech. ในสหรัฐฯ ยกเลิกการจำกัดปริมาณการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้า (Intregrated […]

ส่งออกมาเลเซียเดือนมี.ค. Rebound มาอยู่ที่ 2.2% YoY

ส่งออกมาเลเซียเดือนมี.ค. Rebound มาอยู่ที่ 2.2% YoY

BF Economic Research Team  การส่งออกในเดือน มี.ค. เติบโต 2.2% YoY โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวสูง คือ อิเล็กทรอนิกส์ การนำเข้ารวมหดตัว -9.6% YoY จากนำเข้า Intermediate Goods ที่ลดลง 14.4% YoY ดุลการค้ามาเลเซียในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 14.7 พันล้านริงกิต มูลค่าส่งออกมาเลเซียเดือน มี.ค. ขยายตัว 2.2% YoY โดยเป็นการ rebound จากการหดตัว -2.0% YoY ในเดือนก.พ. เนื่องจากผลของวันหยุดยาวช่วงตรุษจีน โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในเดือน มี.ค. คือ สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งคิดเป็น 80% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการนำเข้าเดือน มี.ค. หดตัว -9.6% YoY […]

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือน เม.ย. ปรับสูงขึ้นเป็น 4.5% YoY

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือน เม.ย. ปรับสูงขึ้นเป็น 4.5% YoY

อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 4.5% YoY ในเดือน เม.ย. หลังมาตรการปฏิรูปภาษี (TRAIN) มีผลบังคับใช้ต้นปี 2018 ราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ บริการขนส่ง ภาคครัวเรือน น้ำประปา ไฟฟ้า เชื้อเพลิง และร้านอาหาร ทะยานขึ้นต่อ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) กำลังถูกตลาดกดดันให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จับตามองการประชุมวันที่ 10 พ.ค. อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ ขยับขึ้นเป็น 4.5% YoY ในเดือน เม.ย. จาก 4.3% YoY ของเดือนก่อนหน้า (Rebased Series) เป็นผลจากราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ บริการขนส่ง ภาคครัวเรือน น้ำประปา ไฟฟ้า เชื้อเพลิง และร้านอาหาร ที่ปรับสูงขึ้น หลังรัฐบาลบังคับใช้มาตรการปฏิรูปภาษีระลอกแรก (Tax Reform for Acceleration and Inclusion: […]

เปรียบเทียบ FOMC Statement ระหว่างเดือน พ.ค. และการประชุมก่อนหน้าเดือน มี.ค.

เปรียบเทียบ FOMC Statement ระหว่างเดือน พ.ค. และการประชุมก่อนหน้าเดือน มี.ค.

FED ยังมองภาพตลาดแรงงานแข่งแกร่งต่อเนื่องขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวในระดับปานกลาง ในการประชุมครั้งนี้ FED ค่อนข้าง Upbeat ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนที่ได้เปลี่ยน Key Word จาก “โตปานกลาง” เป็น “ขยายตัวได้แข็งแกร่ง” นอกจากนั้น FED ยังมีมุมมองต่ออัตราเงินเฟ้อที่ Bullish ขึ้น โดย FED กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อ เริ่มเข้าใกล้ 2% จากเดิมในการประชุมก่อนหน้าที่กล่าวเสมอว่า “อัตราเงินเฟ้อขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2%” สำหรับประเด็นอื่นๆด้านการประเมินความเสี่ยงและมติของนโยบายการเงิน ไม่เปลี่ยนแปลงจากการประชุมก่อนหน้าโดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5-1.75% ทั้งนี้ Dot Plot จากการประชุมในเดือนมี.ค.นั้นมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยืนอยู่ที่ 2.0-2.25% หมายความว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยโดยให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจขยายตัวที่ 2.7% ในปี 2018 ทั้งนี้ต้องจับตาการประชุมในครั้งถัดไปในเดือนมี.ค.ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดอกเบี้ยและเศรษฐกิจหรือไม่ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรขยับมาอยู่ที่ 2.97% จากที่เคยเร่งไปยืนเหนือที่ 3.0% ในช่วงสิ้นเดือนเม.ย. ส่วน DXY ขยับขึ้นมาที่ 92.567 รับข่าวว่านักลงทุนเชื่อว่า FED […]

เงินเฟ้อไทยเดือนเม.ย. เร่งตัวขึ้นมาอยู่เหนือ 1%

เงินเฟ้อไทยเดือนเม.ย. เร่งตัวขึ้นมาอยู่เหนือ 1%

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทย (CPI) เดือน เม.ย. 2018 เพิ่มขึ้น 1.07% YoY ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน สาเหตุหลักมาจากการเร่งตัวขึ้นของราคาพลังงาน ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงกลุ่มอาหารสด กระทรวงพาณิชย์ได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ไว้ที่ 0.7-1.7% YoY เงินเฟ้อทั่วไปของไทย (Headline Inflation) ในเดือน เม.ย. 2018 ขยายตัวสูงถึง 1.07% YoY โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน และเป็นการปรับขึ้นมาเหนือ 1.0% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปีที่แล้ว ทำให้เข้ามาอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 1.0%-4.0% สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าพลังงานที่ +4.7% และราคาน้ำมันขายปลีกเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น +3.9% ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอาหารสด +0.5% เนื่องจากสภาพอาการที่แปรปรวนส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายโดยเฉพาะผักสด กระทรวงพาณิชย์ประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 2018 ในกรอบ 0.7-1.7%YoY   […]

เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาสแรก ขยายตัวเหนือความคาดหมาย

เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาสแรก ขยายตัวเหนือความคาดหมาย

GDP สหรัฐฯ (ประมาณการครั้งแรก) ขยายตัวเหนือความคาดหมายของตลาดที่ 2.3% QoQ saar อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ทะยานแตะ 3.0% เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2014 หลังความกังวลจากสงครามการค้าโลกเริ่มผ่อนคลาย ตลาดหันมาคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯว่าอาจจะปรับขึ้น 4 ครั้ง GDP สหรัฐฯ (ประมาณการครั้งแรก) ขยายตัวเหนือความคาดหมายของตลาดที่ 2.3% QoQ saar แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.9% QoQ saar (GDP ทั้งปี 2017 อยู่ที่ 2.3% จากปี 2016 ซึ่งขยายตัวที่ 1.5%) หนุนโดยการลงทุนภาคเอกชน, การใช้จ่ายภาคเอกชน, การส่งออก, และการขยายตัวของสินค้าคงคลัง เรามองว่าโมเมนตัมที่ดีในไตรมาสแรกของปีนี้ มากเพียงพอที่จะหนุนให้ GDP ทั้งปี 2018 ที่กองทุนบัวหลวงมองว่าจะขยายตัวที่ 2.7%   […]

BoJ ยกเลิก Deadline บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2%

BoJ ยกเลิก Deadline บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2%

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ตัดสินใจยกเลิกการกำหนดช่วงเวลาการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% หลังจากที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะทำให้ได้ภายในปีงบประมาณ 2019 BoJ ได้เลื่อนการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อมาแล้วถึง 6 ครั้ง BoJ ประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2018 ไว้ที่ 1.3% ขณะที่ปี 2019 ประเมินไว้ที่ 1.8% ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ประกาศคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย -0.1% และเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง นอกจากนี้ BoJ ยังได้ตัดสินใจยกเลิกการกำหนดช่วงเวลาการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ หลังจากที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ภายในปีงบประมาณ 2019 ทั้งนี้ BoJ ได้เลื่อนการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อมาแล้วถึง 6 ครั้ง สะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ BoJ ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ไว้ที่ 1.3% เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่ […]

ECB คงนโยบายการเงิน หลังเศรษฐกิจเริ่มแผ่ว

ECB คงนโยบายการเงิน หลังเศรษฐกิจเริ่มแผ่ว

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศคง QE ภายใต้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายไว้ตามเดิม ข้อมูลชี้นำเศรษฐกิจชี้ว่ากิจกรรมในยุโรปกำลังย่อตัวลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ต้นปี ECB ยอมรับ ยังไม่แน่ใจได้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ปรับลง สะท้อนถึงการชะลอตัวในระยะยาว หรือเป็นแค่การอ่อนตัวลงสู่ระดับปกติจากอัตราการเติบโตสูงในช่วงก่อนหน้านี้ ตลาดบางส่วนตีความออกมาว่า ECB อาจไม่รีบถอนคันเร่ง QE ออกเหมือนกับที่เคยมองกันไว้ ยูโรทรุดลงต่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ภายหลังการประชุมวันที่ 27 เม.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม ได้แก่ การเข้าซื้อสินทรัพย์ภายใต้โครงการ Asset Purchase Program: APP ขนาด 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนจนถึง ก.ย. 2018 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ -0.4% ตามตลาดคาด Mario Draghi ประธาน ECB กล่าวว่า ทางธนาคารกำลังจับตามองตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปเริ่มแสดงอาการแผ่วลงตั้งแต่ต้นปี กล่าวคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ซึ่งเป็นการทำสำรวจภาวะของผู้ประกอบการทั้งในภาคการผลิตและบริการนั้น ย่อตัวลงอย่างต่อเนื่องจากข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต […]