รัฐบาลอินเดียเผยงบประมาณคลังปี FY 2019 เดินหน้าทำ Fiscal Consolidation

รัฐบาลอินเดียเผยงบประมาณคลังปี FY 2019 เดินหน้าทำ Fiscal Consolidation

BF Knowledge Center • รัฐบาลอินเดียตั้งเป้างบประมาณคลังปี FY 2019 (เม.ย. 2018-มี.ค. 2019) ขาดดุลที่ -3.3% ของ GDP ต่ำลงจากงบประมาณคลังปี FY 2018 (เม.ย. 2017-มี.ค. 2018) ที่ -3.5% ของ GDP สะท้อนความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายการคลัง • เม็ดเงินงบประมาณส่วนใหญ่เน้นไปที่พัฒนากลุ่มชนบท ซึ่งน่าจะให้ผลบวกกับการก่อสร้างพื้นฐาน,ภาคการผลิตอุตสาหกรรม, และการเงินการธนาคาร ขณะที่รัฐบาลคาดว่าจะได้รับรายได้เพิ่มจากการเก็บภาษี GST ด้วย รัฐบาลอินเดียมีความพยายามลดการขาดงบประมาณคลังอย่างต่อเนื่อง ฝั่งรายได้: รัฐบาลอินเดียประมาณการว่าจะรับรู้รายได้เพิ่มในสัดส่วน 0.5pp ของ GDP โดยที่รายได้คลังจะขยายตัวที่ 16.7% YoY แหล่งรายได้ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาจากการเก็บภาษี GST ฝั่งรายจ่าย: ขยายตัวประมาณ 10.1% YoY ในรายองค์ประกอบรัฐบาลปรับงบลงทุนลงประมาณ 0.3pp ของ […]

แบงก์ชาติมาเลเซีย ประกาศขึ้นดอกเบี้ย ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี

แบงก์ชาติมาเลเซีย ประกาศขึ้นดอกเบี้ย ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี

รายงานข่าวจากบลูมเบิร์กระบุว่า ธนาคารกลางขอ​งมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2014 จาก 3.00% เป็น 3.25% เพิ่มขึ้น 0.25%  หลังรัฐบาลคาดการณ์ GDP ปี 2018 ขยายตัว 5.5% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการบริโภคในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนธ.ค.ระดับ 3.5% (กรอบเงินเฟ้อของธนาคารกลางอยู่ที่ 2.5-3.5%)

แบงก์ชาติฟิลิปปินส์อาจปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น

แบงก์ชาติฟิลิปปินส์อาจปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น

By…กองทุนบัวหลวง มองออกไปข้างหน้า ต้องจับตาผลการบังคับใช้มาตรการปฏิรูปภาษีระลอกแรก (TRAIN) ของฟิลิปปินส์ ว่าจะมีผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชน รวมถึงผลกระทบของการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตชนิดต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีปฏิรูปภาษีระลอก 2 ตามมาติดๆ มีเป้าหมายให้ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 25% ขณะนี้กำลังรอการพิจารณาจากรัฐสภา ส่วนเงินเฟ้อกำลังที่เร่งขึ้น อาจจุดประกายให้ธนาคารกลางฟิลิปปินส์หันมาตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในปีนี้ รายงานตัวเลขเศรษฐกิจปี 2017 • GDP ของฟิลิปปินส์ ขยายตัว +6.6% YoY ในไตรมาสที่ 4/2017 และ ตัวเลขของไตรมาสที่ 3/2017 ได้ถูกปรับขึ้นจากเดิม +6.9% YoY เป็น +7.0% YoY อีกด้วย ทำให้การเติบโตทั้งปี 2017 อยู่ที่ +6.7% อย่างไรก็ดี ยังนับว่าชะลอลงจาก GDP ปี 2016 ที่เพิ่มขึ้นถึง +6.9% จากปีก่อนหน้า • ด้านรายได้ […]

เกาะติดทิศทางเศรษฐกิจ CLM ในปี 2018

เกาะติดทิศทางเศรษฐกิจ CLM ในปี 2018

มุมมองจากกองทุนบัวหลวงต่อทิศทางเศรษฐกิจ CLM ในปี 2018 กัมพูชา: ในปี 2018 เศรษฐกิจกัมพูชาจะยังคงเติบโตได้ดีที่ 6.9% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2017 ที่คาดว่าจะเติบโต 6.8% อันเนื่องมาจากโครงสร้างการส่งออกที่หลากหลายมากขึ้น และเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ดี การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และความผันผวนก่อนการเลือกตั้งกัมพูชาวันที่ 22 ก.ค. นับเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจในปี 2018 นักลงทุนต่างคาดหมายว่าจะเห็น “New Cambodia” ทั้งด้านการค้าการลงทุนหลังการเลือกตั้ง โดยรัฐบาลฮุน เซนได้ให้คำมั่นว่าจะปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้มีเสรีมากขึ้น สปป.ลาว: เศรษฐกิจสปป.ลาวในปี 2018 น่าจะขยายตัวได้ที่ 7% ซึ่งตรงกับแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งนี้ รัฐบาลประมาณการว่า ภาคเกษตรกรรมจะเติบโต 2.8% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเป้าหมายของปี 2017 ที่ 2.78% ส่วนภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการจะเติบโต 9.1% และ 6.4% ตามลำดับ สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดในปี […]