ตลาดหุ้นอาเซียน เดือน มิ.ย. ลดลง 3-7.5%
Fund Comment, มิถุนายน 2561 ภาพรวมตลาดหุ้น กระแสเงินลงทุนไหลออกจากต่างชาติยังเป็นแรงกดดันให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่าและธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น รวมถึงความกังวลเรื่อง Trade war ทำให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอยู่ในโหมด Risk off ส่งผลให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.00 ถึง 7.50 ในเดือน มิ.ย. ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มค้าปลีก ลดลงร้อยละ 9.88 จากความผิดหวังของตัวเลขการเติบโตยอดขายในสาขาเดิมของบางบริษัทขนาดใหญ่ ตามด้วยกลุ่มสื่อสารปรับตัวลดลงร้อยละ 9.06 จากความไม่แน่นอนในการประมูลคลื่นความถี่ และกลุ่มพลังงาน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.57 เพราะที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่ากลุ่มอื่น จึงถูกขายทำกำไร แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำอย่างสหรัฐอเมริกา จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงและ ความตึงตัวทางการค้าโลก (Trade Tension) ยังเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ผลตอบแทนของเงินปันผลจากตลาดหุ้นยังคงให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 เติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยหากผลประกอบการในไตรมาส 2 ออกมาผิดหวังกว่าคาด ตลาดอาจจะมีการตอบรับในเชิงลบ กลยุทธ์การเลือกหุ้นรายตัวจึงมีความสำคัญต่อการลงทุนในระยะนี้ ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค […]
มุมมองตลาดตราสารหนี้
Fund Comment, พฤษภาคม 2561 มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ไทยและสหรัฐฯมีความผันผวนสูง อัตราผลตอบแทน(Yield)ของตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี Yield ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2557 อีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ทำระดับสูงสุดที่ 3.12% ขณะที่ Yield พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปีก็พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 2.60%จากปัจจัยเรื่องราคาน้ำมัน ที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์ที่เคยทำไว้กับอิหร่าน และจะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจสูงสุดต่ออิหร่าน รวมทั้งสหรัฐฯ เตรียมประกาศแซงก์ชั่น เวเนซุ-เอล่า เพิ่มเติม ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯแล้ว เพราะแรงเทขายตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2561 เทียบกับเดือนเมษายน 2560 เพิ่มขึ้น 1.07% เป็นการแตะกรอบล่างเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธปท.และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 […]
ตลาดหุ้นไทยยัง sideways อีกระยะ เลือกหุ้นรายตัวยังเป็นกลยุทธ์หลักในระยะนี้
Fund Comment, พฤษภาคม 2561 ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นในเดือนพฤษภาคมให้ผลตอบแทนตลอดเดือนติดลบ นำโดยกลุ่มพลังงาน จากปัจจัยราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงแรง หลังประเทศซาอุดิอาระเบียและรัสเซียมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน เพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่ลดลงของประเทศอิหร่าน และเวเนซุเอลาจากประเด็นการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังมีความกังวลที่รัฐบาลมีมาตราการตรึงราคาน้ำมันดีเซลและแอลพีจีในประเทศ โดยรวมแล้ว valuation ของหุ้นค่อนข้างตรึงตัว โดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กถึงกลาง เนื่องจากงบไตรมาสที่ 1 ออกมาไม่โดดเด่นมากพอที่จะเป็นปัจจัยให้ราคาปรับตัวขึ้น ส่วนกลุ่มสื่อสารยังมีความไม่แน่นอนจากการประมูลคลื่น 1800 เมกกะเฮิร์ตที่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องอีกกว่า 42,625 ล้านบาทในเดือนพฤษภาคม สูงเป็นอันดับสองในประเทศอาเซียนรองจากมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ทิศทางการไหลออกของเม็ดเงินนักลงทุนต่างชาติ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นในภูมิภาค (ยกเว้นเวียดนามที่มีการขายหุ้นไอพีโอขนาดใหญ่ ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดเดียวที่มีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ) ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ เรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมไปถึงประเทศในโซนยุโรป แคนาดา และเม็กซินั้น เริ่มบรรเทาลงแม้จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ราคาหุ้นไม่ได้ตอบรับต่อประเด็นเชิงบวก แม้มีปัจจัยอื่นในประเทศที่น่าสนใจ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีในช่วงไตรมาสที่ 1 ขยายตัว +4.8% YoY สูงที่สุดในรอบ 20 ไตรมาส […]
หุ้นไทยเคลื่อนไหวแบบ Sideways ต่อเนื่องเป็นเดือนที่3
Fund Comment, เมษายน 2561 ภาพรวมตลาดหุ้น เดือนเมษายน ตลาดหุ้นไทยยังคงเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดยหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มสื่อสารจำนวนไม่กี่ตัวที่ปรับตัวขึ้นนั้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ SET Index ยังคงระดับได้ ในขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังปรับตัวลงจากความกังวลต่อการแข่งขันลดค่าธรรมเนียม และผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/2561 นับว่ายังไม่โดดเด่น นอกจากนี้ ในหุ้นขนาดกลางถึงเล็กจำนวนหลายตัวได้มีแรงขายออกมามาก ทั้งนี้ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนั้นเป็นช่วงของการประกาศงบไตรมาสแรก ซึ่งปกติมักจะมีการเก็งกำไรเข้ามากขึ้นในหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบออกมาดี แต่ในปีนี้ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก่อนที่งบจะออกนั้นไม่ค่อยเกิดขึ้น สะท้อนว่า นักลงทุนไม่ค่อยมีมุมมองเชิงบวกมากนักต่องบการเงินที่กำลังจะประกาศ ซึ่งในช่วงของการประกาศงบ อาจจะเป็นโอกาสเข้าซื้อหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่ปรับตัวลงมามากแต่ผลประกอบการไม่ได้แย่อย่างที่กังวล ขณะที่ความกังวลประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯนั้นเริ่มบรรเทาลงไป โดยแม้จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ แต่ก็มีความคาดหวังว่าทั้งสองประเทศน่าจะมีการเจรจากันได้มากขึ้นในอนาคต ค่าเงินบาทที่เริ่มพลิกมาอ่อนค่าอาจจะเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นได้บางส่วน แต่เชื่อว่าผลกระทบต่อตลาดน่าจะมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความอ่อนไหวจากความเสี่ยงด้านค่าเงินมากกว่าไทย ด้วยปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสองประเทศดังกล่าว ภาพรวมแล้ว เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยังมีความผันผวนอยู่บ้าง โดยอาจจะเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นยังค่อนข้างจำกัด เนื่องด้วยความตึงตัวของ Valuation ของหุ้น Big cap ประกอบกับการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ในภาพกว้าง การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก […]
ตราสารหนี้ไทยยังมีสภาพคล่องสูง
Fund Comment เมษายน 2561 มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้เคลื่อนไหวผันผวนมาก โดยในช่วงแรกๆ ต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนเมษายน จะมีปัจจัยเรื่องความกังวลด้านการทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างประกาศปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา (Trade war) และสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรีย ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับลดลงจากการที่นักลงทุนเข้ามาถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประเด็น Trade war และความตึงเครียดในตะวันออกกลางผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดี และมีการเปิดเผยว่าประธานาธิบดีทรัมป์ ได้แต่งตั้งให้นาย Richard Clarida เป็น Federal Reserve ซึ่งตลาดมีความเห็นว่านาย Richard Clarida เป็นสาย Hawkish ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น รวมทั้งมีความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และตัวเลขยอดค้าปลีกที่ปรับตัวขึ้น ประกอบกับการกู้ยืมเพิ่มขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ จากการขาดดุลงบประมาณ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรุ่นอายุ 10 ปี พุ่งทะลุระดับจิตวิทยาของนักลงทุนที่ 3% ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2014 ขณะที่รุ่นอายุ 2 […]
มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนมีนาคม 2018
มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนมีนาคม 2018 ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนโดยพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปีปรับตัวลดลง 0.01% ถึง 0.07% แต่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับเพิ่มขึ้น 0.01% ถึง 0.09% เป็นผลมาจาก 1) ความกังวลของนักลงทุนต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดการทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา 2) คณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.50%-1.75% พร้อมมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้นและเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า 3) คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย(กนง.)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ด้วยเสียง 6 ต่อ 1 โดยคณะกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เนื่องจากมีความกังวลต่อการผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นเวลานานจะทำให้การประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินต่ำกว่าความเป็นจริง รวมทั้ง เชื่อว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ไม่ได้ส่งผลกระทบสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งนี้ เรายังเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะยังคงที่อยู่ในระดับ 1.50% ตลอดทั้งปี 2561 […]
หุ้นไทยเดือนมี.ค.อยู่ในช่วงปรับฐาน มองยังยืนระดับได้ดีแม้จะผันผวนบ้าง
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐานในเดือนมีนาคม โดยเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways เกือบตลอดทั้งเดือน โดย SET Index ปรับตัวลงต่ำสุดที่ 1,724 จุดก่อนจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้บ้าง โดยปัจจัยลบที่มีเข้ามาในระหว่างเดือน ได้แก่ การประกาศปรับลดค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ซึ่งทำให้หุ้นกลุ่มกลุ่มธนาคารปรับตัวลง และประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันนั้นเป็นผลบวกต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ตลาดมีการฟื้นกลับขึ้นมาได้ สำหรับหุ้นขนาดกลางหรือเล็กส่วนใหญ่นั้นให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนักในช่วงเดือนนี้ ส่วนหนึ่งมาจากผลประกอบการในไตรมาส 4/2560 ที่ไม่โดดเด่นนักและทำให้มีแรงขายหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ราคาแพงกว่าปัจจัยพื้นฐานออกมา ตลาดหุ้นต่างประเทศที่มีการปรับฐาน จากความกังวลประเด็นสงครามการค้าที่ได้กล่าวไปข้างต้น อีกส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีสัญญาณชะลอตัวลงในบางภาคส่วน หลังจากที่ขยายตัวได้ดีมาหลายไตรมาส แต่โดยรวมนับว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกนั้นเริ่มยืนระดับได้ โดยอาจจะมีข่าวลบที่เกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนออกมาเพิ่มเติมเป็นพักๆ ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนบ้าง และตลาดหุ้นในภูมิภาคอาจจะเคลื่อนไหวแบบ Sideways สักระยะหนึ่งก่อนจะทยอยปรับตัวขึ้นได้ ประเด็นที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ นั้นเชื่อว่า ไม่น่ามีผลกระทบเชิงลบมากนักเพราะตลาดได้รับรู้ไปมากแล้ว โดยภาพรวมแล้ว เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยืนระดับได้ดีขึ้น โดยอาจจะยังมีความผันผวนอยู่บ้าง แต่โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นได้มากนั้นยังค่อนข้างจำกัด เนื่องด้วยความตึงตัวของ Valuation ของหุ้น Big cap ประกอบกับการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ในภาพกว้าง การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก […]
หุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways หลังยังขาดปัจจัยใหม่หนุน
นับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เดือนที่สองของปี 2561 ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways โดย SET Index ยังยืนระดับเหนือบริเวณดัชนี 1,800 จุดได้ หนุนโดยการปรับขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่ไม่กี่ตัวซึ่งมีปัจจัยเฉพาะตัว รวมทั้งการฟื้นของราคาหุ้นในอุตสาหกรรมที่เป็น Laggard เมื่อช่วงก่อนหน้า เช่น กลุ่มสื่อสาร โรงพยาบาล เป็นต้น แต่สำหรับหุ้นขนาดกลางหรือเล็กส่วนใหญ่นั้นให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนักในช่วงเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผลประกอบการในไตรมาส 4/2560 ที่ไม่โดดเด่นนักและทำให้มีแรงขายหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ราคาแพงกว่าปัจจัยพื้นฐานออกมาด้วย สำหรับปัจจัยหนุนในประเทศ ด้านการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวอาจจะไม่ได้เป็นตัวหนุนตลาดได้มากนักหลังจากนี้ เนื่องจากตลาดได้สะท้อนความคาดหวังผ่านราคาหุ้นกลุ่มการบริโภคไปแล้วพอสมควร ส่วนการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนนั้นยังไม่เห็นการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจต้องรอให้เห็นความคืบหน้าของผลบวกจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มากขึ้น ตลาดถึงจะกลับมาให้น้ำหนักกับหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนโครงการภาครัฐหรือเอกชนอีกครั้งหนึ่ง ตลาดหุ้นต่างประเทศที่ก่อนหน้านี้มีการปรับฐานลงจากความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯเร็วกว่าที่คาด หลายตลาดสามารถยืนระดับหรือกลับมาทยอยปรับตัวขึ้นได้ ดังนั้น ปัจจัยการปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลังจากนี้ แต่อาจจะส่งผลต่อตลาดประเทศเกิดใหม่บางแห่ง โดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนการกู้ยืมเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นปริมาณมาก ขณะที่ประเทศไทยเชื่อว่าคงได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะมีเงินทุนสำรองต่างประเทศค่อนข้างสูง โดยภาพรวมแล้ว เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องด้วยความตึงตัวของ Valuation ของหุ้น Big cap ประกอบกับการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ในภาพกว้าง การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก […]
มุมมองตลาดตราสารหนี้: นโยบายการเงินปท.หลักเข้มงวดเร็วกว่าคาด
นับตั้งแต่ต้นปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศหลักๆ ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3-4 ปี ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 2.90% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษรุ่นอายุ 10 ปี ก็ขึ้นไปสูงกว่า 1.60% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี สาเหตุหลักๆ โดยรวมมาจากความสำเร็จจากการผลักดันกฎหมายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้คาดว่ารัฐบาลสหรัฐต้องออกพันธบัตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้จากการลดภาษี ประกอบกับแนวโน้มนโนบายการเงินของประเทศหลักที่จะไปในทิศทางเข้มงวดขึ้น รวมทั้งจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯที่ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้งในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นเพียง 3 ครั้ง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ได้พุ่งขึ้นแรงเหมือนประเทศหลักข้างต้น เนื่องด้วยยังมีสภาพคล่องในประเทศค่อนข้างมาก ความต้องการซื้อ (demand) พันธบัตรของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังสูง ส่งผลให้นับจากต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 […]
Fund Comment Uncategorized
Fund Comment ภาพรวมตลาดหุ้น ก.ค. 2018
ภาพรวมตลาดหุ้น ภาพรวมผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในเดือน ก.ค. พลิกกลับมาให้อัตราผลตอบแทนเป็นบวกร้อยละ 6.65 ต่างกับเดือน มิ.ย. ที่ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 7.61 นำโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวขึ้นจากผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ที่ดีกว่าตลาดคาด ประกอบกับตัวเลข NPL ที่ดีขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่สามารถควบคุมต้นทุนได้ดี ชดเชยการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียม ส่วนราคาของหุ้นในกลุ่มสื่อสารฟื้นตัว จากประเด็นที่กสทช.ประกาศปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่ผ่อนปรนกับผู้ประกอบการ ทำให้ราคาประมูลตั้งต้นลดลง และลดแรงกดดันในการตั้งราคาประมูลของผู้ประกอบการ ในขณะที่กลุ่มพลังงาน มีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบและค่าการกลั่นที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 เดือนก่อนหน้า แม้ว่าเริ่มเห็นการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติในช่วงปลายเดือน ก.ค. แต่ระยะเวลาในการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนยังมีความไม่แน่นอนว่าจะกลับมาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นเพียงช่วงสั้น เนื่องจากปัจจัยเรื่องสถานการณ์สงครามการค้าอาจกลับมากดดันตลาดหุ้นได้ใหม่ ประเด็นเรื่องสงครามการค้าเริ่มเห็นการตอบโต้กันระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนมากขึ้น สหรัฐอเมริกาออกมาเพิ่มภาษีจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 บนสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวม 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเดือน ก.ย. นี้ ส่วนจีนตอบโต้ด้วยมาตรการการตั้งภาษีร้อยละ 5-25 บนสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกามูลค่ารวม 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในไทยยังประเมินได้ยาก เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในข้อสรุปของข้อตกลงการกีดกันการค้าครั้งนี้ นอกจากนี้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ประกาศออกมาจะยังคงขยายตัวได้ในระดับกลาง […]