Fund Comment กันยายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กันยายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือนกันยายนทำผลตอบแทนติดลบ 4.1% เนื่องจากตลาดมีความกังวลจากการที่เฟดส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานานกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 4.5% ในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงในการเกิด Government Shutdown หากร่างกฎหมายงบประมาณยังไม่ได้ข้อสรุปภายในระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา เงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนสิงหาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการลดอุปทานน้ำมันลง และความต้องการใช้น้ำมันของจีนที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลกับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นทั่วโลก โดยในระดับ Valuation สูง ในส่วนของดัชนี MSCI ACWI มีการซื้อขายที่ Forward PE15.6x ซึ่งปรับตัวลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ถือว่าไม่ได้แพงมาก แต่ในทางกลับกัน Global Earnings Yield Gap กลับทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2007 ส่งผลทำให้หุ้นมีความน่าสนใจลดลงเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล โดยเรามองว่า ในปัจจุบันตลาดหุ้นโลกอยู่ในช่วงเวลาการปรับฐานตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีเข้ามามากขึ้น […]

Fund Comment สิงหาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment สิงหาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือนสิงหาคม ปรับตัวลดลง 2.8% โดย Developed Market (-2.3%) ยังคง Outperform Emerging Market (-6.1%) อยู่ 3.8% ในเดือนสิงหาคม โดยการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งเดือนแรกมีสาเหตุมาจากการที่ Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลง 1 ขั้น เป็น AA+  ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นแรงกดดันต่อราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ในขณะที่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมามีพัฒนาการในเชิงบวก ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 3.2% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เล็กน้อย ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่ได้ผลประโยชน์การจากลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI และปัญหาธนาคารท้องถิ่นสหรัฐฯ ที่ดูเริ่มคลี่คลายลง ถึงแม้ว่าการประชุม Jackson Hole ที่ผ่านมา Fed ยังมีท่าทีเดินหน้าคุมเข้มในการดำเนินนโยบาย และมีแนวโน้มในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโนยบายต่อ ในฝั่งตลาดหุ้นจีนยังคงได้รับแรงกดดันอย่างหนัก จากภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนเริ่มลุกลามมากขึ้น […]

Fund Comment กันยายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กันยายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนก.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ และส่วนใหญ่ปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบปี ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลมาจากทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ที่ได้มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps สู่ระดับ 2.50% เพื่อให้มั่นใจว่าขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy space) มีเพียงพอภายใต้แนวโน้มที่ไม่แน่นอน กนง. ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยได้สู่ระดับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Terminal rate) แล้วภายใต้การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบัน ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นตามพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับจากปี 2007 รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศจากการประกาศ Bond Supply ของปีงบประมาณ 2024 ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 160,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปี ได้ปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี โดยอยู่ในระดับสูงเหนือ 4.60% โดยปัจจัยหลักมาจากผลการประชุม Fed ที่เป็น Hawkish […]

Fund Comment สิงหาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment สิงหาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนส.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ได้มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps สู่ระดับ 2.25% ตามคาดการณ์ในวงกว้างของตลาด เนื่องจาก ธปท. ส่งสัญญาณต้องการสร้าง Policy space เพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ พันธบัตรระยะกลางถึงยาว นอกจากปรับตามการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายแล้วยังเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มาเสริมด้วย โดยในเดือนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปี ได้ปรับขึ้นอยู่ในระดับสูงเหนือ 4% ซึ่งในช่วงต้นเดือนสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สหรัฐฯ จาก AAA เป็น AA+ นับเป็นการปรับลดอันดับจากสูงสุดที่ AAA เป็นครั้งที่ 2 จากสถาบันจัดอันดับขนาดใหญ่ หลังจากที่ S&P ปรับลดไปในปี 2011 โดย Fitch ให้เหตุผลถึงภาวะการถดถอยทางการคลังที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า […]

Fund Comment กรกฎาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กรกฎาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้นโลก ในเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.9% สะท้อนถึงมุมมองเชิงบวกต่อตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมา โดยหลายฝ่ายได้คาดการณ์ว่า โอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ในปีนี้และปีหน้านั้นลดลง และตัวเลข CPI ของสหรัฐในเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% YoY ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ทยอยปรับตัวลดลง ส่งผลให้ธนาคารกลางมีแนวโน้มพิจารณาหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอีกไม่ช้า นอกจากนี้ ในเดือนที่ผ่านมายังเป็นช่วงฤดูการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ในสหรัฐ ซึ่งบริษัทต่างๆ สามารถทำกำไรออกมาได้ดีกว่าตลาดคาด โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ในขณะที่หุ้นในกลุ่ม Growth มีผลประกอบการที่คละกันไป อย่างไรก็ตาม แม้สัญญาณทางเศรษฐกิจและผลประกอบการจะออกมาค่อนข้างดี แต่ราคาหุ้นหลายตัวกลับเริ่มปรับตัวลดลงสะท้อนให้เห็นถึงการที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนความคาดหวังของตลาดไปค่อนข้างมาก ทั้งในแง่การเติบโตของยอดขายและกำไรของบริษัท ในส่วนตลาดหุ้นจีน ตัวเลข GDP ที่ออกมาก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ตลาดมีความคาดหวังว่าจะเห็นมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมามีปริมาณที่มากขึ้น และขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยล่าสุดจากการประชุม Politburo ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนอีกครั้ง และยังเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับตลาดจีนต่อจากนี้ แม้ว่าจะยังมีข่าวความเสี่ยงจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะๆ ก็ตาม โดยรวมแล้ว นับว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจในต่างประเทศน่าจะไม่ได้ส่งผลทั้งในเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างมีนัยสำคัญในช่วงระยะสั้น แต่จะส่งผลบวกทางอ้อมมากกว่าต่อราคาพลังงาน ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศน่าจะมีน้ำหนักต่อความผันผวนของตลาดมากกว่า ซึ่งตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ด้วยความหวังในการเห็นการจัดตั้งรัฐบาลมากขึ้นในช่วงต้นเดือน […]

Fund Comment มิถุนายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มิถุนายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยแรงหนุนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นที่ไม่ใช่กลุ่มเทคโนโลยีที่กลับมาปรับขึ้นตามกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฟดมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็น +1% จากเดิมที่ +0.4% และมองโอกาสจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีน้อยลงสำหรับปี 2023 นี้ แต่ก็เพิ่มความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงช้ากว่าคาดเช่นกัน ซึ่งทำให้ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯ กลับมาอยู่เหนือ 4% อีกครั้งในรอบ 4 เดือน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นในสินทรัพย์เสี่ยงได้ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่มี Valuation ค่อนข้างตึงตัว แต่เชื่อว่าตลาดสหรัฐฯ อาจจะไม่ได้ปรับตัวลงแรงมาก เพราะความคาดการณ์การสิ้นสุดวงจรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นถึงจะยาวนานออกไปแต่ก็น่าจะไม่ได้ปรับขึ้นอีกมาก ทางด้านเศรษฐกิจจีนยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวเท่าที่ควร จึงคาดว่าในระยะสั้น บรรยากาศของตลาดหุ้นในต่างประเทศอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นบ้าง ทางด้านปัจจัยภายในประเทศไทย ดัชนี SET Index ปรับลดลงประมาณ 2% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งนับว่าอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค ด้วยความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาลที่กระทบต่อบรรยากาศการลงทุนของธุรกิจในประเทศ ผลกระทบจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนชะลอลง ซึ่งเป็นผลจากความซบเซาของเศรษฐกิจจีนและมาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวจีน ประกอบกับสัญญาณที่แสดงถึงความซบเซาของเศรษฐกิจไทย เช่น ยอดการส่งออกที่ชะลอลง กำลังซื้อของประชาชนที่ลดน้อยลงโดยเฉพาะตลาดระดับล่างที่สะท้อนผ่านปัญหา NPL ในกลุ่มสินเชื่อผู้บริโภคที่อาจจะยังไม่ผ่านจุดสูงสุดอย่างที่เคยคาดการณ์ หรือ ยอดขายร้านค้าปลีกบางประเภทที่อ่อนแอ […]

Fund Comment กรกฎาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กรกฎาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนก.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก และไม่ค่อยเคลื่อนไหวตามตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในโหมด wait-and-see ทั้งรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงต้นเดือนส.ค. และรอความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล สำหรับในเดือนนี้ มีการประชุมของธนาคารกลางสำคัญๆ ที่ตลาดต่างให้ความสนใจทั้ง Fed ECB และ BoJ โดย Fed และ ECB ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ขณะที่ BoJ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่เปลี่ยนกรอบการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้  Fed มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 25bps สู่ระดับ 5.25-5.50% ภาพรวมถ้อยแถลงหลังประชุมแทบไม่แตกต่างจากการประชุมเมื่อครั้งก่อนในเดือนมิ.ย. โดยยังมองภาพการจ้างงานที่แข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานในระดับต่ำ ขณะที่ยังมองกิจกรรมเศรษฐกิจขยายตัว ด้านเงินเฟ้อยังมองว่าเติบโตในระดับสูง สำหรับนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มเติมในระยะข้างหน้านั้น Fed ยังคงเน้นย้ำว่าขึ้นอยู่กับ 1) การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2) ความล่าช้าของระยะเวลาที่นโยบายการเงินจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และ 3) พัฒนาการเศรษฐกิจและการเงิน  ECB มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations, Marginal […]

Fund Comment มิถุนายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มิถุนายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนมิถุนายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-7 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 3-12 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 31 พ.ค. 2023 การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่วนหนึ่ง เป็นผลจากท่าทีของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในงาน Monetary Policy Forum ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ธปท. แสดงให้ถึงความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับเพิ่มขึ้นในอนาคตและความพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง รวมถึงมุมมองที่ค่อนข้างเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับ 3.6% ในปี 2023 และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปี 2024 แรงส่งที่สำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยวที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในขณะที่ ภาคการส่งออกสินค้ามองว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปีนี้คาดว่าจะติดลบ แต่จะเห็นการขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และจะกลับมาเป็นบวกได้ในปี […]

Fund Comment พฤษภาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment พฤษภาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนพฤษภาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในแทบทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 19-25 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 1-16 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามความคาดการณ์ของตลาดที่มองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นสู่ระดับ 2.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566 วันที่ 31 พ.ค. 2566 กนง. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็น 2.00% ต่อปี ตามที่ตลาดคาด และมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 3.6% และ 3.8% ในปี 2023 และ 2024 สำหรับเงินเฟ้อมองว่า แม้มีแนวโน้มปรับลดลงในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ที่ […]

Fund Comment เมษายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment เมษายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนเมษายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-8 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 9-18 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 29 มีนาคม 2566 เป็นผลจากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ส่งสัญญาณโทน Hawkish ทำให้ตลาดเพิ่มน้ำหนักโอกาสที่จะเห็นการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 2.00% โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งถัดไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3 พ.ค. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 5.00-5.25% ตามคาด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐอเมริกาที่กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง รวมถึงปัญหาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ที่สหรัฐฯ อาจเผชิญการผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเฟดยังคงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2 ในระยะยาว ทำให้สัญญาณที่ส่งออกมาไม่ชัดเจนว่า ครั้งนี้จะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายหรือไม่ […]