เศรษฐกิจญี่ปุ่นถดถอย เยอรมนีแย่งตำแหน่งเบอร์ 3 โลก

เศรษฐกิจญี่ปุ่นถดถอย เยอรมนีแย่งตำแหน่งเบอร์ 3 โลก

เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเหนือความคาดหมาย หลังจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศอ่อนแอลง ยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่มีแผนจะยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษในปีนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเรื่องที่รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า GDP ไตรมาส 4/2566 ของญี่ปุ่น หดตัวลง 0.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าอาจขยายตัว 1.4% หลังจากที่หดตัวลง 3.3% ในไตรมาส 3/2566 การที่ตัวเลข GDP หดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาสได้ถูกนิยามว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค และภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดไม่มั่นใจในสิ่งที่ BOJ คาดการณ์ไว้ว่าค่าจ้างที่ปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนการอุปโภคบริโภคของญี่ปุ่น และยังทำให้ตลาดไม่มั่นใจด้วยว่า BOJ จะสามารถยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษได้หรือไม่ รายงานของรัฐบาลญี่ปุ่น ยังระบุด้วยว่า การอุปโภคบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้น ปรับตัวลง 0.2% สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอาจเพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนการใช้จ่ายประเภททุน (Capex) ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของภาคเอกชนนั้น […]

ผลสำรวจชี้บริษัทญี่ปุ่นราวครึ่งหนึ่ง เล็งปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าองค์กร

ผลสำรวจชี้บริษัทญี่ปุ่นราวครึ่งหนึ่ง เล็งปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าองค์กร

ผลสำรวจจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า ราวครึ่งหนึ่งของบริษัทญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการสำรวจ มีแผนที่จะทบทวนหรือปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อกิจการ ท่ามกลางแรงผลักดันให้บริษัทต่างๆ ปรับปรุงด้านธรรมาภิบาล ผลสำรวจดังกล่าวถือเป็นสัญญาณล่าสุดที่บ่งชี้ว่า บริษัทญี่ปุ่นกำลังดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อยกเครื่องธุรกิจและเพิ่มมูลค่าของบริษัท ตลาดหุ้นโตเกียวพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า บริษัทจดทะเบียนของญี่ปุ่นจะเพิ่มผลตอบแทนได้กับบรรดาผู้ถือหุ้นผ่านทางการลดการถือหุ้นไขว้ (cross holdings) การซื้อหุ้นคืน และการใช้มาตรการอื่น ๆ การที่บริษัทจดทะเบียนเกือบครึ่งหนึ่งได้ซื้อขายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี (Book Value) นั้น ตลาดหุ้นโตเกียวจึงต้องเร่งกดดันให้บริษัทเหล่านี้ทำการทบทวนแนวทางการใช้เงินทุน โดยเมื่อวันจันทร์ (15 ม.ค.) คณะกรรมการตลาดหุ้นโตเกียวได้เผยแพร่รายชื่อของบริษัทต่างๆ ที่ทางตลาดมีแผนจะผลักดัน เนื่องจากการใช้เงินทุนของบริษัทเหล่านี้อ่อนแอลงอย่างมาก ในขณะที่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นกำลังรวบรวมแผนหรือพิจารณาแผนการเชิงรุกนั้น ผลสำรวจของรอยเตอร์แสดงให้เห็นว่า บริษัทเหล่านี้ก็มีการพิจารณามาตรการในด้านต่างๆ ด้วย โดยในบรรดาบริษัท 104 แห่งที่ได้รับการสำรวจนั้น มีไม่ถึง 1 ใน 3 ที่ระบุว่า พวกเขาจะควบรวมธุรกิจหลักกับบริษัทอื่นๆ ผ่านทางการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการ (M&A) ขณะที่ประมาณ 1 ใน 4 […]

ญี่ปุ่นขึ้นค่าจ้างเปิดทางสว่าง BOJ นักเศรษฐศาสตร์มองปีหน้าขึ้นค่าแรงสูงกว่าปีนี้

ญี่ปุ่นขึ้นค่าจ้างเปิดทางสว่าง BOJ นักเศรษฐศาสตร์มองปีหน้าขึ้นค่าแรงสูงกว่าปีนี้

บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งกำหนดให้ทำตามการขึ้นค่าจ้างที่มากกว่าปกติในปีนี้ ด้วยการปรับขึ้นค่าจ้างอีกครั้งในปี 2567 ซึ่งมีการคาดหมายว่าจะช่วยยกระดับการใช้จ่ายของครัวเรือน และส่งมอบเงื่อนไขที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จำเป็นที่จะต้องยุติมาตรการกระตุ้นทางการเงินที่มากเป็นพิเศษ สัญญาณบ่งบอกแรกเริ่มมาจากหลายภาคธุรกิจ สหภาพแรงงาน และนักเศรษฐศาสตร์บอกเป็นนัยว่า แรงกดดันด้านค่าใช้จ่ายและแรงงาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดการขึ้นค่าจ้างในปีนี้นั้น มากที่สุดในรอบมากกว่า 3 ทศวรรษ จะยังคงมีอยู่และมุ่งไปสู่การเจรจาเรื่องค่าจ้างครั้งสำคัญในฤดูใบไม้ผลิของปีหน้า ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของญี่ปุ่น ซันโตรี่ โฮลดิ้ง (Suntory Holdings Ltd) วางแผนที่จะเสนอปรับขึ้นค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยของลูกจ้างที่อัตรา 7% ในปี 2567 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เพื่อเก็บรักษาผู้ที่มีความสามารถพิเศษในตลาดแรงงานที่ตึงตัว และเป็นการชดเชยอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น บริษัท เมจิ ยาสึดะ ประกันชีวิต ตั้งใจที่จะเพิ่มค่าจ้างรายปีที่อัตรา 7% ให้กับลูกจ้างเฉลี่ยราว 10,000 คน เริ่มในเดือน เม.ย.ปีหน้า ขณะที่ผู้ค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บิค คาเมร่า (Bic Camera) กำหนดว่าจะเพิ่มค่าจ้างให้กับพนักงานเต็มเวลาจำนวน 4,600 […]

นักลงทุนญี่ปุ่นซื้อ ‘บอนด์สหรัฐ’ มากสุดในรอบครึ่งปี สู่ระดับ 7.8 แสนล้านบาท

นักลงทุนญี่ปุ่นซื้อ ‘บอนด์สหรัฐ’ มากสุดในรอบครึ่งปี สู่ระดับ 7.8 แสนล้านบาท

นักลงทุนญี่ปุ่นซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ มากที่สุดในช่วง 6 เดือน จนถึงเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา รวมมูลค่าราว 7.8 แสนล้านบาท เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ น่าดึงดูด สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า นักลงทุนญี่ปุ่นซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ มากที่สุดในช่วง 6 เดือน จนถึงเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ตอกย้ำถึงกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่หนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งส่งผลกระทบให้เงินเยนแข็งค่า ข้อมูลที่เผยแพร่ล่าสุดในวันนี้ ระบุว่า กองทุนในญี่ปุ่นซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ สุทธิ ณ เดือน ก.ย. รวม 3.31 ล้านล้านเยน (ราว 7.8 แสนล้านบาท) เป็นผลมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ทะยานสูงขึ้น 0.46% ในระหว่าง 6 เดือนดังกล่าว และสิ้นสุดที่ 4.57% เพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นที่เติบโตเพียง 0.125% สู่ระดับ 0.765% จากนั้น พันธบัตรสหรัฐฯ ก็ร่วงลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าช่วงสิ้นเดือน […]

จับตา ‘เงินเยน’ พรุ่งนี้ หลังคาด BOJ คงดอกเบี้ยติดลบต่อ

จับตา ‘เงินเยน’ พรุ่งนี้ หลังคาด BOJ คงดอกเบี้ยติดลบต่อ

นักวิเคราะห์แนะจับตา “ค่าเงินเยน” วันพรุ่งนี้ หลังโพลของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาด “คาซูโอะ อุเอดะ” ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบติดลบเท่าเดิมที่ -0.10% ชี้อาจเดินหน้ากำหนดผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve Control) จนไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานวันนี้ (30 ต.ค.66) ว่า  คาซูโอะ อุเอดะ (Kazuo Ueda) ผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตกอยู่ในที่นั่งลำบากหากในการแถลงนโยบายวันพรุ่งนี้ยังยืนหยัดดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายขั้นสุดต่อไป เพราะมีความเสี่ยงที่จะกดดันให้ “ค่าเงินเยน” ไปสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ จนทำให้ธนาคารกลางต้องเข้าควบคุมผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลต่อเนื่อง (Yield Control Program ) ในขณะเดียวกัน หากอุเอดะเพิ่มเพดานอัตราผลตอบแทน 10 ปีภายใต้การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control: YCC) ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ท้ายที่สุดอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะยาวขึ้นสู่ระดับที่ไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอันตรายต่อเป้าหมายของเขาในการบรรลุอัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืน ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า เพื่อเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการแถลงการณ์เกี่ยวกับนโยบายการเงินในวันพรุ่งนี้ช่วงเช้าอาจเต็มไปด้วยความยากลำบากเพียงใด เจ้าหน้าที่ BOJ มีแนวโน้มที่จะติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนจนถึงนาทีสุดท้ายก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะปรับ YCC หรือไม่ “BOJ อยู่ในสถานะที่ยากลำบากอย่างยิ่ง” […]

ญี่ปุ่นทุ่ม $3.3 หมื่นล้านสู้เงินเฟ้อ

ญี่ปุ่นทุ่ม $3.3 หมื่นล้านสู้เงินเฟ้อ

เจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่น กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาการใช้จ่ายเงินราว 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการจ่ายเงินให้กับครัวเรือนรายได้น้อย และการปรับลดภาษีเงินได้ในชุดมาตรการเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของปัญหาที่เกิดกับครัวเรือนจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ร่างของแผนที่ได้จากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า การใช้จ่ายดังกล่าว ณ ปัจจุบันประเมินอยู่ที่ราว 5 ล้านล้านเยน (หรือเทียบเท่า 3.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะรวมถึงสิ่งที่ครอบคลุมการลดภาษีเงินได้มูลค่า 30,000 เยนต่อคน และการปรับลดภาษีที่อยู่อาศัยมูลค่า 10,000 เยนต่อคน ซึ่งจะให้กับครัวเรือนครั้งเดียว และจะดำเนินการในเดือน มิ.ย. 2567 เจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่น กล่าว โดยมีการยืนยันที่รายงานโดยหนังสือพิมพ์นิคเคอิ (Nikkei) ว่า แผนการใช้จ่ายจะมีการตัดสินใจอย่างเป็นทางการโดยคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ในวันที่ 2 พ.ย.นี้ และยังมีจุดเด่นที่การจ่ายเงินให้กับครัวเรือนรายได้น้อย นอกจากนั้นยังกล่าวอีกว่า รายละเอียดของการปรับลดภาษีจะมีการถกอภิปรายกันโดยคณะผู้อภิปรายซึ่งมีอำนาจชี้ขาดของพรรคแกนนำรัฐบาลไปจนถึงช่วงสิ้นสุดของปีนี้ นายฮิเดกิ มุราอิ (Hideki Murai) รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขารับรู้ถึงความเห็นของนายกรัฐมนตรีในการปรากฏทางโทรทัศน์เมื่อช่วงสายของวันอังคาร (24 ต.ค.) […]

‘เงินเฟ้อญี่ปุ่น’ ส.ค.66 เหนือเป้าหมาย BOJ ติดต่อเป็นเดือนที่ 17

‘เงินเฟ้อญี่ปุ่น’ ส.ค.66 เหนือเป้าหมาย BOJ ติดต่อเป็นเดือนที่ 17

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นทรงตัวในเดือนสิงหาคม และอยู่เหนือเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ BOJ เริ่มพิจารณายกเลิกการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultra-loose Policy) โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด แต่รวมเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 3.1% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงกว่าการคาดการณ์เฉลี่ยของตลาดที่ระดับ 3.0% โดยดัชนี CPI พื้นฐานเดือนส.ค.ขยายตัวในระดับเดียวกับเดือนก.ค.ซึ่งอยู่ที่ 3.1% แม้ว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะกดดันค่าสาธารณูปโภค แต่ราคาอาหารและของใช้ในชีวิตประจำวันก็ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อคงที่กำลังครอบงำในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่ ดัชนีราคาบริการเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคม หลังจากเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งบ่งชี้ว่า ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่แรงกดดันด้านราคาในวงกว้างในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ส่วนดัชนี Core-Core CPI ซึ่งไม่รวมทั้งราคาเชื้อเพลิงและราคาอาหารสด เพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี และเป็นการขยายตัวในอัตราเดียวกับเดือนก.ค.เช่นกัน ที่มา: […]

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นร่วงมากสุดในรอบ 2.5 ปี เพราะของแพง

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นร่วงมากสุดในรอบ 2.5 ปี เพราะของแพง

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงมากที่สุดในรอบ 2.5 ปี โดยในเดือน ก.ค. การใช้จ่ายลดลง 5% จากปีก่อน และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงมากที่สุดในรอบ 2.5 ปี เนื่องจากสินค้าราคาแพง ข้อมูลจากทางการ แสดงให้เห็นว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลง 5% จากปีก่อน โดยลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียง 2.5% และเมื่อดูการใช้จ่ายตามฤดูกาลแบบเดือนต่อเดือน พบว่า การใช้จ่ายครัวเรือนลดลง 2.7% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.5% เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารญี่ปุ่น เผยว่า การใช้จ่ายของครัวเรือน อาทิ ทานอาหารนอกบ้าน รถโดยสารสาธารณะ บริการทางวัฒนธรรมและบันเทิงมีปริมาณเพิ่มขึ้น เพราะคนออกไปทำกิจกรรมข้างนอกมากขึ้น แต่มีการใช้จ่ายบางประเภทลดลง เช่น อาหารและบ้าน และเสริมว่า การใช้จ่ายครวเรือนที่ลดลง 5% รวมสินค้าที่มีความผันผวนมากด้วย เช่น ที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ อย่างไรก็ตาม “มาซาโตะ โคอิเกะ” นักเศรษฐศาสตร์จาก Sompo […]

‘ญี่ปุ่น’ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดใน มิ.ย. ติดต่อกันเดือนที่ 5 คลายความกังวลกำลังการใช้จ่ายลดลง

‘ญี่ปุ่น’ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดใน มิ.ย. ติดต่อกันเดือนที่ 5 คลายความกังวลกำลังการใช้จ่ายลดลง

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจากดุลการค้าพุ่งเกินดุล ตามข้อมูลของรัฐบาลที่เปิดเผยเมื่อวันอังคาร ทำให้คลายความกังวลเกี่ยวกับกำลังซื้อที่ลดลงของเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่ที่ 1.51 ล้านล้านเยน หรือ 1.06 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน ซึ่งขยายตัวประมาณ 1 ล้านล้านเยนจากเดือนเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดการณ์ว่าเกินดุล 1.4 ล้านล้านเยนในแบบสำรวจของรอยเตอร์ ซึ่งข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ดุลการค้าเกินดุล 3.28 แสนล้านเยน เนื่องจากกำไรการค้าเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านล้านเยนจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้เกินดุลโดยรวมเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม รายได้หลักเกินดุลลดลงเหลือ 1.68 ล้านล้านเยน ลดลง 1.67 แสนล้านเยน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในปีที่ผ่านมา ข้อมูลบัญชีเดินสะพัดได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากต้นทุนด้านพลังงานที่สูงและเงินเยนที่อ่อนค่าได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก […]

เงินเฟ้อสูงกดดันนโยบาย BOJ

เงินเฟ้อสูงกดดันนโยบาย BOJ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เนื่องจากการคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางจะปรับเปลี่ยนนโยบาย Yield Curve Control (YCC) ให้เร็วขึ้น แม้ว่า นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นจะให้ความเชื่อมั่นว่า เขาจะยังคงรักษาระดับของมาตรการกระตุ้นทางการเงินขนาดใหญ่มากไว้ “อย่างอดทน” บททดสอบครั้งแรก จะมีขึ้นในการประชุมนโยบายของธนาคารกลางในวันที่ 27-28 ก.ค. เมื่อคณะกรรมการน่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น และส่งสัญญาณความเชื่อมั่นที่ว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการที่ขับเคลื่อนจากดีมานด์หรือความต้องการซื้อ จะมีการสนับสนุนจากการเติบโตของค่าจ้างที่กำลังจะหยุดลง แหล่งข่าวจากผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงิน กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำลังถกเถียงกันถึงแนวคิดที่จะปรับนโยบายควบคุมเส้นโค้งอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ (YCC) โดยมีการปักหมุดล็อกอัตราดอกเบี้ยในระยะที่ยาวขึ้น โดยอย่างเร็วที่สุด คือ เดือน ก.ค.นี้ แม้ว่าการพูดคุยยังเป็นเพียงเบื้องต้นและยังไม่มีการตัดสินใจในขั้นสุดท้ายเกิดขึ้น หนึ่งในแหล่งข่าวซึ่งมองโอกาสของการปรับเปลี่ยนนโยบายในเดือน ก.ค.นี้ ระบุว่า “การแลกเปลี่ยนความเห็นดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจริง แต่ว่าไม่มีความชัดเจนในสิ่งที่จะมีการตัดสินใจในขั้นสุดท้าย” ส่วนแหล่งข่าวรายที่ 2 กล่าวว่า การปรับนโยบายใดๆ ก็ตามคาดว่า น่าจะเป็นการปรับในนโยบาย YCC เพียงเล็กน้อย การปรับแต่งรายละเอียดของนโยบายการเงินเพียงอย่างเดียว น่าจะส่งผลเสียหายเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ด้วยการใส่เงินอัดฉีดจำนวนมหาศาลเข้าไปในระบบจากธนาคารกลาง […]