เงินเฟ้อ-หุ้นดิ่งฉุดธุรกรรม M&A วูบทั่วโลก สหรัฐลดลงมากสุด 40%-เอเชียลด 10%
ธุรกรรม M&A ลดลงทั่วโลก หลังเงินเฟ้อพุ่ง ตลาดหุ้นพัง และเกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอย บอร์ดบริษัทจำนวนมากไม่กล้าขยายกิจการผ่านการเข้าถือสิทธิ์ ส่งผลให้การทำข้อตกลงในช่วงไตรมาส 2 ลดลง 25.5% เหลือ 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยในสหรัฐฯ ลดลงมากสุดถึง 40% ขณะที่ในเอเชียลดลง 10% แต่ยุโรปเป็นภูมิภาคเดียวที่เพิ่มขึ้น 6.5% การรุกรานยูเครนของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ และความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจกำลังจะเกิดภาวะถดถอย ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมควบรวมกิจการและเข้าถือสิทธิ์ (M&A) ในช่วงไตรมาสสอง โดยจากข้อมูลของดีลลอจิค ข้อตกลงที่ได้มีการประกาศแล้วมีมูลค่าลดลง 25.5% เหลือ 1 ล้านล้านดอลลาร์ กิจกรรม M&A ในสหรัฐฯ ลดลง 40% เหลือ 456,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสสอง ขณะที่ในเอเชียลดลง 10% และยุโรปเป็นเพียงภูมิภาคเดียวที่มีการทำข้อตกลงเพิ่มขึ้น 6.5% โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะมีการทำข้อตกลงของกองทุนหุ้นเอกชนเป็นจำนวนมาก เช่น การเทคโอเวอร์มูลค่า 58,000 […]
นายกฯ ศรีลังกา ยอมรับเศรษฐกิจของประเทศ ‘พังพินาศ’
นายกรัฐมนตรี รานิล วิกรมสิงเห ของศรีลังกา แถลงต่อสมาชิกรัฐสภา ยอมรับเศรษฐกิจของศรีลังกาที่แบกรับภาระหนี้สินอันหนักอึ้ง “ล่มสลายแล้ว” หลังจากเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหาร เชื้อเพลิงและไฟฟ้า นานหลายเดือน ตอกย้ำให้เห็นสถานการณ์ยากลำบากของประเทศ ขณะพยายามขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินต่างชาติ นายกรัฐมนตรี รานิล วิกรมสิงเห กล่าวกับรัฐสภาว่า ศรีลังกาเผชิญกับสถานการณ์ ที่เลวร้ายอย่างมาก มากกว่าการขาดแคลนอย่างเดียว และเตือนว่ามีความเป็นไปได้ที่ประเทศจะร่วงลงสู่ก้นเหว พร้อมยอมรับว่า เศรษฐกิจของศรีลังกา ล่มสลายอย่างสิ้นเชิงแล้ว การออกมายอมรับสภาพการณ์ ในประเทศของนายกรัฐมนตรีศรีลังกา ในครั้งนี้ ไม่ได้มีการระบุถึงความคืบหน้าใหม่ใดๆ แต่น่าจะมีจุดประสงค์เพื่อการเน้นย้ำให้นักการเมืองฝ่ายค้านเห็นว่า เขาแบกรับหน้าที่ อันยากลำบากที่ไม่สามารถแก้ได้ในเร็ววัน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเต็มไปด้วยภาระหนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวที่หายไป และผลกระทบอื่นๆ จากการระบาดของ โควิด-19 รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น วิกรมสิงเห กล่าวด้วยว่า ศรีลังกาไม่สามารถซื้อพลังงานนำเข้าได้ เนื่องจากบริษัทพลังงานของรัฐบาลซีลอน ปิโตรเลียม คอร์ปอเรชั่น (Ceylon Petroleum Corporation) เป็นหนี้ 700 ล้านดอลลาร์ ทำให้ไม่มีประเทศ หรือองค์กรใดต้องการขายน้ำมันให้ศรีลังกา […]
เตือน ‘บิตคอยน์’ อาจดิ่งถึง 13,000 ดอลลาร์
นักกลยุทธ์เตือน บิตคอยน์อาจจะดิ่งลงถึง 13,000 ดอลลาร์ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐเข้มงวดนโยบาย และหากฟองสบู่คริปโตในอดีตผ่านพ้นไป บิตคอยน์อาจร่วงลงอีกมาก เอียน ฮาร์เน็ตต์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของ บริษัท แอบโซลูต สเตรเตอจี รีเสิร์ช เตือนว่า บิตคอยต์น่าจะลดลงไปถึง 13,000 ดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากระดับปัจจุบันเกือบ 40% โดยมองว่า ภาวะแวดล้อมในขณะนี้ จะยังคงมีแรงเทขายคริปโต ฮาร์เน็ตต์ อธิบายว่า คริปโตเป็นการเล่นสภาพคล่อง เนื่องจากคริปโตไม่ได้เป็นเงินตรา หรือเป็นโภคภัณฑ์ และไม่ใช่ที่เก็บมูลค่า การดีดตัวของคริปโตในอดีตชี้ว่า บิตคอยน์มีแนวโน้มที่จะลดลงจากระดับสูงสุดตลอดกาลอีกประมาณ 80% ตัวอย่างเช่น ในปี 2561 บิตคอยน์ปรับตัวลงไปถึง 3,000 ดอลลาร์ หลังจากที่พุ่งสูงสุดเกือบ 20,000 ดอลลาร์เมื่อปลายปี 2560 บิตคอยน์ได้ปรับตัวขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกือบ 69,000 ดอลลาร์ เมื่อเกิดความบ้าคลั่งเงินคริปโตอย่างรุนแรงในปี 2564 แต่ในปี 2565 มันได้เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้าม […]
เงินเฟ้ออังกฤษพุ่งทะลุ 9% สูงสุดในรอบ 40 ปี
เงินเฟ้ออังกฤษพุ่งทะลุ 9% สูงสุดในรอบ 40 ปี อาหาร-พลังงานสูงขึ้นต่อเนื่อง ตอกย้ำวิกฤติค่าครองชีพทวีความรุนแรง สำนักข่าว CNBC รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรพุ่งแตะ 9.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิกฤตค่าครองชีพของประเทศยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่เพิ่มขึ้น 9.1% เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของรอยเตอร์ และเพิ่มขึ้นราว 9% ที่บันทึกไว้ในเดือนเมษายนเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นการไต่ระดับสูงสุดประจำปีนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 1989 และดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% แต่ยังไม่ถึงระดับ 2.5% ต่อเดือนในเดือนเมษายน ซึ่งบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวบ้าง ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า การประมาณการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะสูงขึ้นในช่วงประมาณปี 1982 โดยที่การประมาณการอยู่ในช่วงตั้งแต่เกือบ 11% ในเดือนมกราคมลงไปที่ประมาณ 6.5% ในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดของอัตราเงินเฟ้อมาจากบริการที่อยู่อาศัยและในครัวเรือน […]
ยุโรป เล็งกลับไปใช้ถ่านหิน รับมือรัสเซียส่งออกก๊าซลดลง
ยุโรป เล็งกลับไปใช้ถ่านหิน รับมือรัสเซียส่งออกก๊าซลดลง หวั่นเกิดวิกฤติพลังงานในฤดูหนาว สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ว่า ผู้ซื้อก๊าซรัสเซียรายใหญ่ที่สุดของยุโรปเร่งหาแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือก และพึ่งพาถ่านหินมากขึ้น เพื่อรับมือกับกระแสก๊าซที่ลดลงจากรัสเซียที่คุกคามวิกฤติพลังงานในฤดูหนาว โดยเยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ ต่างก็ส่งสัญญาณว่า โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง สามารถช่วยให้ทวีปนี้ผ่านพ้นวิกฤติที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น และเพิ่มความท้าทายให้กับผู้กำหนดนโยบายที่ต้องต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า จะยกเลิกการจำกัดการผลิตในโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินและจะเปิดใช้งานแผนวิกฤติพลังงานระยะแรก ขณะที่เดนมาร์กยังได้ริเริ่มขั้นตอนแรกของแผนก๊าซฉุกเฉิน เนื่องจากความไม่แน่นอนของกำลังการผลิตของรัสเซีย ด้านอิตาลีเข้าใกล้การประกาศภาวะเตือนภัยด้านพลังงานมากขึ้น หลังจากที่บริษัทน้ำมัน Eni กล่าวว่า ได้รับแจ้งจาก Gazprom ของรัสเซียว่า จะได้รับเพียงส่วนหนึ่งของคำขอจัดหาก๊าซในวันจันทร์ ส่วนเยอรมนี ซึ่งประสบปัญหาการไหลของรัสเซียที่ลดลงด้วย ได้ประกาศแผนล่าสุดในการเพิ่มระดับการจัดเก็บก๊าซ และกล่าวว่า สามารถเริ่มต้นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงอีกครั้งโดยมีเป้าหมายที่จะเลิกใช้ “นั่นเป็นเรื่องที่เจ็บปวด แต่ในสถานการณ์นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดการใช้ก๊าซ” โรเบิร์ต ฮาเบ็ค รัฐมนตรีเศรษฐกิจ สมาชิกพรรคกรีน ซึ่งได้ผลักดันให้มีการออกจากถ่านหินเร็วขึ้น ซึ่งทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น และเสริมว่า แต่ถ้าเราไม่ทำ เราก็จะเสี่ยงที่สต็อกจะไม่เพียงพอในช่วงสิ้นปีซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว” […]
“เยน” เปราะบางใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ว่า เงินเยนของญี่ปุ่นยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันในวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันศุกร์ได้ปรับแก้แนวโน้มในช่วงสัปดาห์ที่ธนาคารกลางขนาดใหญ่ตึงตัว โดยเงินยูโรทรงตัว แม้ว่าประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง จะสูญเสียเสียงข้างมากในช่วงสุดสัปดาห์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐทรงตัวหลังจากสัปดาห์ที่ผันผวน ซึ่งเห็นว่า การถอยกลับอย่างรวดเร็วจากระดับสูงสุดในรอบสองทศวรรษเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้นนโยบายเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากนักลงทุนยังคงประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของสหรัฐ และความเสี่ยงจากภาวะถดถอย หลังธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2538 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งวัดค่าสกุลเงินเทียบกับเยน ยูโร และสกุลเงินหลักอื่นๆ อีก 4 สกุล ทรงตัวที่ 104.70 ต่ำกว่าระดับสูงสุด 105.79 เมื่อวันพุธ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่ปลายปี 2545 เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.21% เป็น 135.25 เยน กลับไปที่จุดสูงสุดของวันพุธที่ 135.60 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 BOJ เมื่อวันศุกร์ […]
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาส 40% ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 66
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นักเศรษฐศาสตร์ของ Bank of America Securities มองว่า มีโอกาสประมาณ 40% ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 โดยคาดว่า การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐจะชะลอตัวลงในระดับเกือบ 0% โดยอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในปี 2567 จะเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐเล็กน้อย นายอีธาน แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์โลกของ Bank of America Securities กล่าวว่า คาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ระดับเกิน 4% โดยเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 65 เฟดอนุมัติขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ เป็นช่วงระหว่าง 1.5% ถึง 1.75% เพื่อยับยั้งเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ Bank of America Securitiesได้ปรับลดประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็น 3.2% จาก […]
จีนลดถือครองบอนด์สหรัฐลงต่ำสุดในรอบ 12 ปี แห่ขายตัดขาดทุนหลังราคาร่วง
จีนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงในเดือนเม.ย.สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553 โดยนักลงทุนมีแนวโน้มเทขายตัดขาดทุน เนื่องจากราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐร่วงลง หลังเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่าง เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผยข้อมูลของกระทรวงการคลังสหรัฐ ระบุว่า จีนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ลดลง 3.62 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 1.003 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. ดอลลาร์ จากระดับ 1.039 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. นักวิเคราะห์ระบุว่า อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุให้จีนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐคือความพยายามของจีนที่จะเพิ่มความหลากหลายให้กับการถือครองเงินตราต่างประเทศ การที่จีนเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐส่งผลให้การถือครองพันธบัตรสหรัฐของต่างชาติโดยรวมลดลงในเดือนเม.ย. และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีในช่วงต้นเดือนเม.ย.อยู่ที่ 2.3895% และพุ่งขึ้นประมาณ 0.55% แตะที่ 2.9375% ในช่วงสิ้นเดือนเม.ย. ขณะที่ ญี่ปุ่นถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลดลงอีกในเดือนเม.ย. สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2563 ท่ามกลางการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องของค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้นักลงทุนญี่ปุ่นแห่เทขายสินทรัพย์สหรัฐเพื่อทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ญี่ปุ่นถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ลดลงสู่ 1.218 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. จาก 1.232 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี […]
BYD กำลังจะกลายเป็น 1 ใน 3 ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในจีน
สมาคมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจีน เผยข้อมูลล่าสุดว่า ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจีน BYD มียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในเดือนพฤษภาคม 2022 ส่งผลให้บริษัทไต่ระดับขึ้นไปติด 1 ใน 3 ของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในจีน ขณะที่จีนเป็นตลาดรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก BYD เป็นบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett โดยนอกจากผลิตรถยนต์แล้ว BYD ยังเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ ที่กำลังจะกลายเป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าหลักในจีนด้วย ซึ่งรถยนต์บางรุ่นที่ออกมาก็กำลังเป็นคู่แข่งกับ Tesla ในเรื่องความนิยม ปีนี้ BYD ไม่เพียงแค่เข้ามายึดครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ แต่บริษัทยังไต่ระดับขึ้นสู่แบรนด์รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มียอดขายสูงอันดับ 3 ในจีนด้วย ทั้งนี้ ในช่วงล็อคดาวน์จากโควิดที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน และอารมณ์ของผู้บริโภคจีน BYD ขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลพลังงานทางเลือกใหม่ไปได้ 113,768 คัน โดยรถยนต์อเนกประสงค์ หรือรถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็ก คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดที่ BYD ทำได้ ยอดขายนี้ทำให้ […]
‘เตือน’ จับตา ‘วิกฤติข้าว’ หลังราคาพุ่งสุดรอบ 12 เดือน
ดัชนีราคาอาหาร “เอฟเอโอ” ชี้ราคาข้าวระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกัน และได้พุ่งสูงสุดในรอบ 12 เดือนแล้ว เตือนอาจเกิดวิกฤตข้าวต่อ หลังจากที่เกิดวิกฤตอาหารในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ราคาอาหารหลายชนิดได้ปรับตัวขึ้น ซึ่งมีตั้งแต่ข้าวสาลี และธัญพืชอื่น ๆ จนถึงเนื้อสัตว์และน้ำมัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น ได้แก่ ต้นทุนปุ๋ยและพลังงานเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา และสงครามรัสเซีย-ยูเครน หลายประเทศได้ห้ามส่งออกอาหาร หรือเกิดการหยุดชะงักอย่างรุนแรง เช่น อินเดียได้ห้ามส่งออกข้าวสาลี ยูเครนห้ามส่งออกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และน้ำตาล ขณะที่อินโดนีเซียห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม มีเสียงเตือนว่า อาจเกิดวิกฤตข้าวเป็นรายต่อไป โดยข้อมูลของเดือนพฤษภาคม ที่เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาชี้ว่า ดัชนีราคาอาหารขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ชี้แล้วว่า ราคาข้าวระหว่างประเทศกำลังพุ่งสูงขึ้นเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกันโดยสูงสุดในรอบ 12 เดือน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้การผลิตข้าวยังคงมากอยู่ แต่ราคาข้าวสาลีที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการทำเกษตรที่เพิ่มขึ้นโดยทั่วไป จะทำให้ราคาข้าวเป็นที่จับตามองต่อไปในเดือนหน้า โซนาล วาร์มา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโนมูระ กล่าวว่า ต้องจับตาราคาข้าวต่อไป เพราะข้าวอาจเป็นตัวทดแทนข้าวสาลี ซึ่งจะเพิ่มอุปสงค์และทำให้สต๊อกข้าวที่มีอยู่ลดลง นอกจากนี้ยังกล่าวว่า มาตรการปกป้องสินค้าภายในประเทศ ทำให้แรงกดดันราคาในระดับโลกเลวร้ายลงจริง ๆ […]