ยุโรปมองบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เป็นผู้ชนะในวิกฤติไวรัสโคโรนาและควรจ่ายภาษีเพิ่ม
ผู้บริหารสำนักงานยุโรป ออกมาให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นบีซีว่า บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ต้องจ่ายภาษีในระดับที่ยุติธรรมกับยุโรป โดยเฉพาะจากเหตุผลที่พวกเขาเป็นผู้ชนะที่แท้จริงในวิกฤติไวรัสโคโรนา ซึ่งการแสดงความคิดเห็นนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความแตกแยกระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เกี่ยวกับประเด็นการเก็บภาษีบริษัท เช่น แอปเปิ้ล อัลฟาเบท และแอมะซอน “นี่เป็นปัญหาสำคัญ” Paolo Gentiloni อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจและภาษี กล่าวกับซีเอ็นบีซีในงานประชุมสุดยอดด้านเศรษฐกิจประจำปีที่ยุโรป โดยเขาทราบดีว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องยากลำบากในการเอาชนะความคิดเห็นที่แตกต่างกับสหรัฐฯ อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปที่จะยอมรับแนวคิดว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้ชนะในวิกฤติ จะไม่จ่ายภาษีอัตราที่เป็นธรรมในยุโรป ในปี 2018 คณะกรรมาธิการยุโรป มีแผนจัดเก็บภาษีดิจิทัล 3% โดยชี้ว่าระบบภาษีควรต้องปรับปรุงให้สอดรับกับยุคดิจิทัล แต่ทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ระบุว่า ภาษีดิจิทัลเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม และมีผลกระทบต่อบริษัทอเมริกัน ส่วนในเวลานี้ คณะกรรมาธิการยุโรป ระบุว่า บริษัทดิจิทัล โดยเฉลี่ยจะเสียภาษีอัตราที่แท้จริง 9.5% ซึ่งต่ำกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจดั้งเดิมที่เสียภาษีกัน 23.2% ขณะที่ โควิด-19 ที่แพร่ระบาด เป็นแรงกระตุ้นให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ยิ่งเติบโต เพราะมีลูกค้าจำนวนมากที่ต้องทำงานผ่านทางไกล ชอปปิง และยังคงเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ “แพลตฟอร์มดิจิทัลยักษ์ใหญ่คือผู้ชนะที่แท้จริงในวิกฤติครั้งนี้ […]
สิงคโปร์ยืนหนึ่งด้านนวัตกรรมในเอเชียแปซิฟิก 7 ปีซ้อน
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เปิดเผยรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก (GII) ประจำปีฉบับล่าสุดระบุ สิงคโปร์ยังครองอันดับ 1 ประเทศที่มีนวัตกรรมมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิกเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน และเป็นอันดับ 8 ของโลก ส่วนประเทศไทยถูกจัดอันดับด้านนวัตกรรมอยู่ที่ 44 จาก 131 อันดับทั่วโลก รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง WIPO มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และสถาบัน Insead โดยจัดอันดับความสามารถและความสำเร็จด้านนวัตกรรมของ 131 ประเทศทั่วโลก ในการพิจารณาใช้ตัวชี้วัด 80 ตัวซึ่งแยกเป็นประเภท “input” และ “output” โดย “input” หมายถึงองค์ประกอบของเศรษฐกิจที่จะผลักดันกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับนวัตกรรม และ “output” หมายถึงผลของนวัตกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สิงคโปร์มี input ที่แข็งแกร่ง เช่นการเมืองและการดำเนินงาน รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งทั้งหมดล้วนถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ของโลก สำหรับประเทศ 10 […]
4 ใน 7 ของวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่กำลังทดลองระยะที่ 3 อาจล้มเหลวก็ได้
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ที่ปรึกษาด้านสุขภาพของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า วัคซีนไวรัสโคโรนาที่กำลังทดลองและได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐฯ อาจจะล้มเหลวก็ได้ ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มที่ปรึกษาด้านสุขภาพของสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า วัคซีนไวรัสโคโรนาที่อยู่ในช่วงทดลองขั้นสุดท้าย 4 วัคซีน และได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ อาจพบความล้มเหลวในการได้รับผลเชิงบวกก็ได้ สถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐฯ ออกรายงานฉบับล่าสุดซึ่งร่างขึ้นเพื่อกำหนดแผนของรัฐบาลกลางในการกระจายวัคซีนไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯ ในกรณีที่มีวัคซีนรายการใดรายการหนึ่งได้รับอนุมัติให้ใช้กับสาธารณชนได้ โดยวัคซีนจะกระจายเป็น 4 ระยะ ซึ่งระยะแรกกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนก่อนก็คือ ผู้ที่ทำงานในด้านสุขภาพ คนอเมริกันกลุ่มที่มีความอ่อนไหวสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ กลุ่มที่ปรึกษาด้านสุขภาพของสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า การทดลองวัคซีนของสหรัฐฯ ทั้งหมด ผู้อาสาเข้าร่วมจะได้รับวัคซีนที่ได้รับอนุมัติอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้คำนึงถึงแนวทางการกำหนดระยะตามมาตรฐานการทดสอบวัคซีนต้นแบบ ซึ่งคาดว่าจะมีกลุ่มอาสาเข้าร่วมทดลองในระยะที่ 3 ทั้งหมด 7 กลุ่ม กลุ่มละ 30,000 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่า 4 ใน 7 กลุ่มนี้อาจประสบความล้มเหลวในการทดลองก็ได้ “4 […]
จีนกำลังเตรียมพร้อมเศรษฐกิจรับอนาคตที่สหรัฐฯ ไม่ใช่ศูนย์กลางโลกอีกต่อไป
ซีเอ็นบีซี นำเสนอรายงานว่า จีนมีการเตรียมพร้อมเศรษฐกิจสำหรับอนาคตที่สหรัฐฯ จะไม่ใช่ศูนย์กลางความต้องการของโลกอีกต่อไป โดยจีนจะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจีนกำลังเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ในเวลาที่โลกกำลังเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจีนเองก็มีความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯ รัฐบาลจีนได้ออกนโยบายอีกชุดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของตัวเอง ภายใต้แนวคิดการหมุนเวียนแบบควบคู่ คือการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2 วง ควบคู่กันไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจในบ้านของตัวเองมากกว่าที่ผ่านมา ขณะที่ด้านการค้ากับต่างประเทศนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าการพูดคุยทางการเมืองในระดับสูงเกิดขึ้นไม่กี่เดือนก่อนที่ทางการจีนจะวางแผนเปิดตัวพิมพ์เขียวเศรษฐกิจสำหรับ 5 ปีข้างหน้า หรือที่เรียกว่า แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ฉบับที่ 14 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กล่าวในโอกาสรับฟังความคิดเห็นสำหรับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีว่า ตำแหน่งของจีนในเศรษฐกิจโลกกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ที่เรามีกับเศรษฐกิจโลกจะใกล้ชิดยิ่งขึ้น โอกาสในตลาดที่เรานำเสนอให้ประเทศอื่นจะแผ่ขยายออกไป และเราจะกลายเป็นสนามแม่เหล็กใหญ่ดึงดูดสินค้าระหว่างประเทศและทรัพยากรสำคัญๆ Yan Se หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟาวเดอร์ กล่าวว่า การให้ความสำคัญมากขึ้นกับตลาดจีนเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้รัฐาลท้องถิ่นทราบว่าต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมในประเทศ และคาดหวังว่าจะมีการสนับสนุนทางนโยบายสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศที่จะเข้าไปในจีน รวมถึงการค้าข้ามแดนผ่านอี-คอมเมิร์ซ การเติบโตของตลาดจีน และความท้าทายของการค้าข้ามพรมแดนที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทต่างประเทศหลายแห่งปรับใช้กลยุทธ์ “ในจีน” “เพื่อจีน” […]
มาเลเซียเพิ่มเพดานหนี้เป็น 60% ในรอบกว่าทศวรรษ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19
รายงานข่าวจากเดอะ จาการ์ตา โพสต์ ระบุว่า ที่ประชุมรัฐสภามาเลเซียลงมติอนุมัติให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้ถึง 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ซึ่งการปรับเพิ่มเพดานหนี้ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ เนื่องจากเศรษฐกิจของมาเลเซียที่ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องเผชิญกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 แผนดังกล่าวนับเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการชั่วคราว เพื่อใช้บรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีกระทบต่อภาคธุรกิจของรัฐและเอกชนท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดสรรเงิน สำหรับงบกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งแผนฟื้นฟู และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ ครั้งสุดท้ายที่มาเลเซียปรับขึ้นเพดานหนี้สาธารณะ คือตั้งแต่เมื่อเดือน ก.ค. 2009 ในช่วงเกิดวิกฤติการเงินโลก โดยปรับขึ้น 10 % เป็น 55% ของจีดีพี Tengku Zafrul Aziz รัฐมนตรีกระทรวงการคลังมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยาสซิน จัดสรรงบกระตุ้นเศรษฐกิจ มูลค่าประมาณ 295,000 ล้านริงกิต (70,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีนี้ […]
นักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพิ่มต่อเนื่องหลังวัยรุ่นหันมาสนใจวางแผนการเงิน
จำนวนนักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากตลาดมีความผันผวนจากผลกระทบโควิด-19 โดยนักลงทุนรายใหม่หวังว่าจะได้รับผลกำไรในอนาคตจากราคาที่ปรับลงมาต่ำในปัจจุบัน นักลงทุนรายย่อยในประเทศอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยป้องกันที่ดี หลังตลาดหุ้นเผชิญกับแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติที่ทิ้งสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งนี้ ปัจจัยกระตุ้นหลักมาจากเนื้อหาการวางแผนทางการเงินจำนวนมากที่ถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดกิจกรรมฝึกสอนการลงทุนที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของนักลงทุนรายใหม่ โดยบริษัทนายหน้าให้ความสนใจกับกลุ่มเยาวชนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ แพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์กลายเป็นที่นิยม โดยพบว่า มีจำนวนนักลงทุนรายย่อยที่ลงทะเบียนเพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส ซึ่งในช่วงเดียวกันนี้มีหลายล้านคนตกงานและกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของพวกเขา
สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษหวั่น ธุรกิจเลิกจ้างงานมากขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง
ผลสำรวจจากสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอังกฤษ หรือ CBI ระบุว่า บริษัทต่างๆ ที่พึ่งพาการใช้จ่ายของผู้บริโภคหลายแห่ง เพิ่งได้เปิดให้บริการอีกครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากมาตรการล็อคดาวน์ ทำให้มีการปรับลดการจ้างงานลงอย่างรวดเร็วและสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รายงานยังระบุว่า มีการจ้างงานลดลงอย่างมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2009 แม้ว่าบริษัทต่างๆ จะมองว่าใน 3 เดือนข้างหน้า การสูญเสียงานจะชะลอตัวลงเล็กน้อยก็ตาม อย่างไรก็ตาม CBI มองว่ารัฐบาลควรต้องออกมาช่วยเหลืออย่างจำเป็นเร่งด่วน เบน โจนส์ นักเศรษฐศาสตร์ของ CBI กล่าวว่า ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งผลักดันแผนให้มีความชัดเจนก่อนที่โครงการรักษางานของรัฐจะสิ้นสุดลง เพื่อช่วยสนับสนุนภาคบริการ เนื่องจากอาจเกิดการเลิกจ้างงานมากขึ้นในช่วงดังกล่าว
จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เตรียมทดลองวัคซีนโคโรนาไวรัสเฟส 3 เดือน ก.ย. นี้
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (เจแอนด์เจ) วางแผนจะเริ่มทดสอบวัคซีนโคโรนาไวรัสที่มีศักยภาพในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ที่สุดในเดือน ก.ย. นี้ สำหรับการทดสอบวัคซีนระยะที่ 3 (เฟส 3) จะทดสอบกับคนที่สุขภาพดีไม่ต่ำกว่า 60,000 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กว่า 180 พื้นที่ของสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ โดยผู้เข้าร่วมจะถูกสุ่มเลือกว่าจะได้รับวัคซีนที่มีศักยภาพหรือยาหลอก ซึ่งในรอบนี้จะมีการพิจารณาว่าวัคซีนนี้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหรือไม่ จากนั้นจะมีนักวิจัยติดตามผลในเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี การดำเนินโปรแกรมในเฟสที่ 3 จะต้องมีประสิทธิภาพที่สุด โดยจะมีผู้เข้าร่วม 60,000 คน และจะต้องดำเนินการในพื้นที่ที่มีการเกิดโรคสูง ทั้งนี้เราใช้ข้อมูลการระบาดวิทยาและการสร้างแบบจำลองข้อมูลเพื่อทำนายและวางแผนว่าควรจะศึกษาที่ไหน และคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ เจแอนด์เจ เป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่พยายามพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่มีศักยภาพจะนำมาใช้ได้ โดยปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วมากกว่า 22.4 ล้านคนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 788,500 คน ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) […]
อินโดนีเซียตั้งเป้าหมายให้ประชากรทั้งประเทศเข้าถึง 4G ได้ในอีก 2 ปี
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า Johnny G. Plate รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและข้อมูล กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย มีความมุ่งมั่นที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของชาติ ผ่านการดำเนินงาน 5 โปรแกรมหลัก โดยในจำนวนนี้รวมถึงการสร้างและขยายบริการ 4G ให้มีความครอบคลุมทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้บริการได้ทั่วประเทศภายในอีก 2 ปีข้างหน้า “ภายในสิ้นปี 2022 เป็นอย่างช้าที่สุด บริการ 4G จะต้องพร้อมใช้งานทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงและเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสังคมดิจิทัล” Johnny กล่าว ทั้งนี้ ปัจจุบันมีหมู่บ้านและตำบลกว่า 12,500 แห่งทั่วประเทศ ที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งรัฐบาลมีความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอัตราส่วนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตระหว่างภูมิภาค และสร้างการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่รวดเร็ว นอกจากนี้ Johnny ยังระบุด้วยว่า จะพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางดิจิทัลกับประชาชน โดยเฉพาะองค์กรขนาดเล็ก ขนาดย่อม และขนาดกลาง รวมถึงเกษตรกรและชาวประมงด้วย ก่อนหน้านี้ กระทรวงการสื่อสารและข้อมูลได้มีการทำงานร่วมกับชุมชนมากกว่า 100 แห่งในประเทศ เพื่อดำเนินโครงการให้ความรู้ดิจิทัลทั่วประเทศ […]
สินทรัพย์ภายใต้กองทุน ESG ทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรก
ข้อมูลที่รวบรวมโดยมอนิ่งสตาร์ ระบุว่า สินทรัพย์ภายใต้การจัดการกองทุนที่ปฏิบัติตามหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล หรือที่เรียกว่า ESG เพิ่มขึ้นทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรก ปัจจัยหลักมาจากเงินไหลเข้าสุทธิ 71,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างเดือน เม.ย.- มิ.ย. ปีนี้ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รับแรงหนุนจากความสนใจของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นในกองทุนเพื่อการลงทุนที่ยั่งยืน นักวิเคราะห์จากยูบีเอส กล่าวในงานวิจัยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างผลักดัน และสนับสนุนโครงการสีเขียวต่างๆ ผ่านการออกกฎระเบียบและการใช้จ่ายทางการคลังเพื่อสร้างแรงจูงใจมากขึ้น รัฐบาลต่างๆ หันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่างให้คำมั่นที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เขา มองว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้ารัฐบาลน่าจะมุ่งเน้นมากขึ้นที่จะเพิ่มแรงผลักดันต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทที่ใส่ใจและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม