เศรษฐกิจอินเดียขึ้นอันดับ 3 ของโลกในปี 2028
เศรษฐกิจอินเดียจะกลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลก ตามหลังสหรัฐและจีนภายในปี 2028 เนื่องจากภาคการเงินที่เติบโตขึ้น รวมทั้งตลาดผู้บริโภคที่ขยายตัวตามจำนวนประชากรของอินเดีย รายงานของ Bank of America-Merill Lynch ระบุว่าเศรษฐกิจอินเดียจะแซงหน้าเศรษฐกิจของฝรั่งเศส และอังกฤษในปี 2019 ภายในปี 2027 ราคารถที่ถูกที่สุดจะเทียบเท่ารายได้เฉลี่ยต่อตัวต่อปีของคนอินเดีย เมื่อเทียบกับ 2.5 เท่า ในตอนนี้ ขณะที่เป็น 14.5 เท่าของเฉลี่ยรายได้ต่อหัวต่อปีในปี 2000 รายงานของ Bank of America-Merill Lynch บอกว่า ภายในปี 2028 ชาวนาเกือบจะทั้งหมดจะกลายเป็นผู้ที่มีรายได้ระดับกลาง โดยที่ประชากรกลุ่มนี้จะมีจำนวนเท่ากับประชาชนของรัสเซีย และจะอาศัยอยู่ในเมือง ในปี 2028 Bank of America-Merrill Lynch ทำนายว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 68 ดอลลาร์ต่อบาเรลล์ และค่าเงินรูปีจะอ่อนตัวลง 3% ระหว่างนี้ไปจนถึงปีนั้น เศรษฐกิจอินเดียจะมีภาคบริการเป็นตัวขับเคลื่อน […]
สิงคโปร์ เตือน เสี่ยง “ฟองสบู่ฟินเทค”
CNBC รายงานอ้างข้อมูลของฝ่ายวิจัย KPMG ที่ระบุว่า ปัจจุบันเอเชียเป็นสนามประลองสำคัญของธุรกิจฟินเทค เนื่องจากจำนวนประชากรจำนวนมาก ทั้งยังเป็นตลาดเกิดใหม่ที่การแข่งขันยังมีไม่มาก งานวิจัยระบุว่า ประชากรเอเชียจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงระบบธนาคารปกติ แต่ด้วยมีการใช้สมาร์ทโฟนในภูมิภาคนี้มากกว่า 1 พันล้านคน จึงเป็นช่องว่างที่ทำให้ฟินเทคในเอเชียเติบโต ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2015 มีเงินลงทุนในธุรกิจฟินเทคในเอเชียมูลค่าถึง 4,500 ล้านดอลลาร์ มากกว่ายุโรปถึง 3 เท่า ล่าสุด ประธานธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) “ราวี เมนอน” ออกมาส่งสัญญาณเตือน “ฟองสบู่ฟินเทค” “ผมเริ่มเห็นสัญญาณของฟองสบู่ในฟินเทค เพราะบางโมเดลธุรกิจดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้เลยในโลกความเป็นจริง และเกิดการลงทุนที่เกินตัวไปมาก” ลักษณะดังกล่าวคล้ายคลึงกับยุค “ฟองสบู่ดอตคอม” ในช่วงการเปลี่ยนผ่านศตวรรษ ประธานธนาคารกลางสิงคโปร์ ยังแสดงความกังวลต่อฟินเทคประเภท “peer-to-peer lending” ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเงินจับคู่ตรงระหว่างผู้ที่ต้องการกู้กับผู้ปล่อยกู้ โดยเจ้าของแพลตฟอร์มจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากทั้งสองฝ่ายเป็นรายได้หลัก ในประเทศจีนถือว่ามีการเติบโตสูงสุด ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงมากที่สุดเช่นกัน เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มประเภทนี้ปิดตัวไปแล้วถึง 4,000 แห่ง โดยมีคดีรุนแรงที่สุดคือกรณีบริษัท Ezubo ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้บริการ P2P Lending […]
สีจิ้นผิง ประกาศ “ได้เวลาแล้วที่จีนจะอยู่ศูนย์กลางของเวทีโลก”
เอเชียเป็นแหล่งอารยธรรมของโลก จากเมโซโปเทเมีย อินเดีย จีน สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนตะวันออกได้ให้กำเนิดศาสนา ลัทธิ ปรัชญา วัฒนธรรมชั้นสูง ความรู้และภูมิปัญญา ที่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก ยิ่งกว่านั้น ชนชาติในเอเชียยังใช้การพูดภาษาเดียวกัน นั้นคือภาษาของใจที่มีความเมตตา เราได้รับการสอนให้รู้จักการให้มากกว่าการรับ เราได้รับการสอนให้รู้จักการสร้างความสมดุลระหว่างการมุ่งสู่จิตที่บริสุทธิ์มากกว่าการแสวงหาวัตถุ เราได้รับการสอนให้อยู่ในความกลมกลืนกับธรรมชาติ ภูมิปัญญาต้นแบบนี้ได้นำวัฒนธรรมต่างๆของเอเชียมารวมกัน และคำสอนที่ยิ่งใหญ่ทั้งหมดนี้ เราสามารถพบได้ในจีน ซึ่งเป็นบ่อเกิดอารยธรรมของโลก ลัทธิเต๋าเป็นปรัชญาและศาสนาพื้นเพของจีน ซึ่งเน้นการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกลมกลืนกับวิถีชีวิตของเต๋าหรือวิถีของธรรมชาติ สิ่งที่ดีสำหรับเต๋าคือสิ่งที่เรียบง่าย ไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย เต๋าสอนให้มีความเมตตา ความสมถะ และความอ่อนน้อมถ่อมตน ลัทธิขงจื้อ เป็นอีกรากฐานทางด้านจริยธรรมและปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ โดยการวางหลักทางสังคมที่มีความกลมเกลียว มีพิธีกรรม การเคารพบูชาบรรพบุรุษ รักษาประเพณี มีความภักดีต่อครอบครัว รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างผู้ปกครองและสมาชิก หนึ่งในกฎทองของขงจื้อคือ : “สิ่งใดที่คุณไม่ต้องการสำหรับตัวคุณเอง คุณก็ไม่ควรทำกับคนอื่นๆ” จีนยอมรับในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในดินแดนสุวรรณภูมิหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระพุทธศาสนาสอนให้เรากลายเป็นคนที่ปราศจากอัตตาในตัวเอง สอนให้มีความเมตตาต่อมนุษย์คนอื่นๆ และให้ความสำคัญทางจิตวิญญาณ การสะสมบุญบารมี อริยทรัพย์ การตรัสรู้และการพ้นทุกข์หรือนิพพาน ในประเทศไทย […]
นโยบาย Smart Cities ของอินเดียใน 3 ข้อ
ประเทศอินเดียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มี “ศักยภาพ” ในการเติบโตทางธุรกิจเป็นอันดับต้นๆของโลก ด้วยปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะด้วยจำนวนประชากรที่มีถึงกว่า 1,200 ล้านคน ซึ่งอยู่อันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองเพียงสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน กรกฎาคม 2560) นอกจากนี้โครงสร้างประชากรของอินเดียยังมีความเหมาะสมต่อการก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจ ด้วยสัดส่วนประชากรวัยแรงงาน (15-64 ปี) ประมาณ 66% โดยมีอายุเฉลี่ยประชากรเพียง 27.6 ปี ซึ่งทำให้แดนภารตะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างโดดเด่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทั้งนี้ อินเดียมี GDP ประมาณ 2.3ล้านล้านดอลล่าร์ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 7 ของโลกและมีการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในรอบทศวรรษล่าสุดเฉลี่ยที่ปีละ 7.5% โดยล่าสุดอยู่ที่ 7.1% ณ สิ้นปี 2559 ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก แม้รายได้เฉลี่ยต่อประชากร (GDP per capita) ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ประมาณ1,861.5 ดอลลาร์ ในปี […]
ตลาดหุ้นอินเดียแรลลี่ “ด้วยคุณภาพ”
นักลงทุนต่างชาติอาจจะมีความระมัดระวังในการแรลลี่ของตลาดหุ้นอินเดียในช่วงเวลานี้ แต่ Cartica Management LLC ซึ่งบริหารทรัพย์สิน 3,200 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก มีความเห็นว่าตลาดหุ้นอินเดียกำลังอยู่ในขาขึ้นแรลลี่อย่างมีคุณภาพ Teresa Barger ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอของ Cartica Management กล่าวว่า กำไรต่อหุ้นมีการเติบโตในบริษัทของอินเดีย อย่างน้อยในบริษัทที่ทาง Cartica Management ได้ลงทุน สามารถมองได้ว่านี้เห็นการแรลลี่ที่มีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ในฐานะที่เป็นนักลงทุนระยะยาว จึงไม่มีความเห็นกังวลใจกับการสะดุดของตลาดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นบ้าง ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา Teresa Barger เปิดเผยว่า กองทุนของเธอได้ลงทุนใน Cholamandalam Finance อย่างเป็นกอบเป็นกำ “เราเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพสูง ที่มีสปอนเซอร์ที่มีความซื่อสัตย์ เรามีความนิยมชมชอบกลุ่ม Murugappa” Teresa Bargerกล่าว “Cholamandalam มีตลาดนิช โดยใช้ข้อมูลเพื่อช่วยในการออกโปรดักส์ใหม่ เราชอบการที่พวกเขาเข้าไปหาเอสเอ็มอี กับขบวนการปล่อยเครเดิตที่เหนือชั้น” ผู้จัดการกองทุนหลายคนบอกว่าฤดูการประกาศผลประกอบการนี้ดีกว่าที่คาดมาก และการประเมินราคาหุ้นของตลาดอาจจะไม่ตึงตัวเกินไป Taher Badshah หัวหน้าฝ่ายการลงทุนหุ้นของ Invesco Mutual […]
BF Mobile App เพื่อนักลงทุนยุคดิจิทัล
งาน Money Expo ที่จะจัดขึ้นที่เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต กองทุนบัวหลวง เตรียมเปิดตัว Application ใหม่สำหรับนักลงทุนยุคดิจิทัล “BF Mobile Application” Application ตัวนี้เกิดจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างกองทุนบัวหลวงและ FundRadars จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก และมุมมองด้านการลงทุน ได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังมีการใช้ AI อย่าง Chatbot มาช่วยในการตอบคำถามแก่ลูกค้า และยังเชื่อมต่อกับระบบการซื้อขายหน่วยลงทุนต่างๆ เช่น บัวหลวงไอแบงกิ้ง หรือ B-Channel เป็นต้น
รู้จักกับพันธบัตรสีเขียว (Green Bond)
แนวโน้มการลงทุนในปัจจุบันที่นักลงทุนให้ความสำคัญกับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ทำให้หลายประเทศเริ่มมีการออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พันธบัตรกรีนบอนด์ เป็นสินทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียน การก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน ซึ่งได้มีการออกเสนอขายครั้งแรกเมื่อปี 2007 มูลค่า 600 ล้านยูโร และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนปัจจุบันมีมูลค่ารวมถึง 232 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตราสารหนี้ที่จะถือเป็นพันธบัตรสีเขียวจะมีขั้นตอนในการจัดทำ 4 ขั้นตอน ตามมาตรฐาน Green Bond Principles ดังนี้ Use of Proceeds กำหนดให้ผู้ออกตราสารจะต้องนำเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน Process for Project Evaluation and Selection กำหนดแนวทางการประเมินผลและคัดเลือกโครงการ รวมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบ Management of Proceeds กำหนดแนวทางในการบริหารเงิน โดยกระบวนการดังกล่าวต้องสามารถตรวจสอบได้ และจัดสรรเงินให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน Reporting ต้องกำหนดให้มีการจัดทำรายงานการใช้เงินรายงวดและรายโครงการ จนกว่าจะมีการจัดสรรเงินครบถ้วน รวมทั้งจัดทำรายงานประสิทธิภาพของโครงการ ทางเลือกใหม่ในการลงทุน แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะยังไม่มีการระดมเงินผ่านพันธบัตประเภทนี้ แต่เชื่อว่าจากการที่ประเทศต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน […]
หลังครบ 1 ปีกับการยกเลิกธนบัตรอินเดีย (ต่อ)
นโยบายยกเลิกธนบัตรของรัฐบาลโมดี้ในช่วง 1 ปีเต็มที่ผ่านมาอาจจะทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงบ้าง แต่ตลาดหุ้นอินเดียเดินหน้าไปในทิศทางขาขึ้น ดัชนี Nifty 50 Index ซึ่งเป็นเบนช์มาร์คของ National Stock Exchange ของอินเดียทะยานสูงขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Nilesh Shah กรรมการผู้จัดการของ Kotak Mutual Fund ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้าที่มีการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรเก่าเพื่อแลกธนบัตรใหม่เพื่อแก้ปัญหาการเลี่ยงภาษี หรือตลาดมืด คนอินเดียส่วนมากเก็บเงินเอาไว้ที่บ้าน ซุกใต้หมอน หรือใต้เตียง แต่หลังจากที่มีการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรเก่า คนอินเดียเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤฒิกรรมด้วยการโยกเงินสดเข้าไปในกองทุนรวมต่างๆ ทำให้กองทุนรวมมีการเจริญเติบโต และมีผลทำให้มีเม็ดเงินใหม่ๆ ไหลเข้าตลาดหุ้น เขาบอกว่า ผลกระทบอีกประการหนึ่งของนโยบายยกเลิกธนบัตรคือทำให้คนอินเดียเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน และตลาดการเงินมากยิ่งขึ้น โดยที่พวกเขาได้เรียนรู้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และให้ผลตอบแทนโดยที่นักลงทุนไม่ต้องกังวลใจอะไรมาก The Financial Times รายงานในบทความชื่อ “India’s stock market learns to live without foreigners” ในวันที่ […]