ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่2)

ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่2)

Steve Bannon ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีทรัมป์ (White House Counsellor) หรือหัวหน้านักยุทธศาสตร์ของทำเนียบขาว (Chief Strategist) เป็นมันสมองของทรัมป์ เขาทำหน้าที่วางกลยุทธ ในช่วงที่ทรัมป์หาเสียง นโยบายชาตินิยมขวาจัดสุดขั้วเพื่อทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง อเมริกาเฟิร์ส นโยบายต่อต้านการค้าเสรี การถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อน การสร้างกำแพงเม็กซิโกล้วนแล้วแต่ผ่านการกลั่นกรองจากแบนนอน เขาทำให้รัฐบาลทรัมป์ดูมีความเป็นวิชาการและมีความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ แบนนอนวางนโยบายให้ทรัมป์ให้กดดันบริษัทอเมริกันย้ายฐานผลิตกลับประเทศ ทั้งรัฐและเอกชนจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อก่อให้เกิดการจ้างงาน จะมีการลดภาษีให้นิติบุคคลและบุคคลเพื่อกระตุ้นการลงทุนและการใช้จ่าย งบทหารจะไม่แตะ แถมจะเพิ่มให้ด้วยซ้ำเพื่อกดดันอิหร่าน รัสเซีย จีนและเกาหลีเหนือ แต่แบนนอนตกกระป๋องโดนบีบออกไป หลังจากที่นายพลJohn Kelly เข้ามารับตำแหน่งChief of Staffที่ทำเนียบขาวในปีที่แล้ว และไม่ต้องการให้แบนนอนมายุ่มยามในนโยบายของทรัมป์ ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้วก่อนที่เขาจะถูกบีบออกจากทำเนียบขาว แบนนอนให้สัมภาษณ์ว่า สหรัฐกำลังทำสงครามเศรษฐกิจกับจีน และวอชิงตันกำลังแพ้ในสงครามนี้ แต่สหรัฐจะไม่ยอมแพ้ง่ายๆ แต่จะตอบโต้อย่างรุนแรง เพราะจีนดำเนินการค้าอย่างไม่เป็นธรรม “เรากำลังอยู่ในภาวะสงครามทางเศรษฐกิจกับจีน” แบนนอนกล่าว “มันปรากฎอยู่ในรายงานทั้งหมดของจีน พวกเขาไม่ได้รู้สึกตะขิดตะขวางใจที่จะบอกว่าพวกเขากำลังทำอะไร หนึ่งในพวกเราจะเป็นมหาอำนาจแต่ผู้เดียวในอีก25-30ปีข้างหน้า และจีนจะเป็นมหาอำนาจ ถ้าหากเรายังคงย่ำในแนวทางเดิมนี้อยู่ แบนนอนยอมรับว่า ถ้าสหรัฐยังคงแพ้สงครามเศรษฐกิจอยู่ โดยเวลาอยู่ห่างออกไปเพียง5ปี แต่เขาบอกว่าอีก10ปีจะถึงจุดฝีแตก […]

ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่1)

ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่1)

Ian Bremmer นักเขียนของนิตยสาร Time (Nov 13, 2017) เขียนบทความ “Advantage China” หรือ “จีนที่ได้เปรียบ”เพื่อวาดภาพให้คนอ่านเห็นว่า ตรงกันข้ามกับที่คนส่วนมากคาดคิด เศรษฐกิจของจีนที่มีรัฐบาลเป็นตัวนำถูกสร้างขึ้นมาเป็นจุดแข็ง และหาได้เป็นจุดอ่อนไม่ โดยเศรษฐกิจจีนถูกออกแบบมาเพื่อเป็นผู้ชนะในอนาคต นิตยสาร Time เอาเรื่องนายเอียนขึ้นปก โดยพาดหัวว่า China Won แปลว่าจีนชนะแล้ว นายเอียนเขียนว่า เดิมทีมีการมองกันว่า โมเดลของเศรษฐกิจจีนที่ใช้การผสมผสานระหว่างอำนาจนิยมและทุนนิยม (authoritarian-capitalist model) ไม่น่าที่จะอยู่รอด หรือเจริญรุ่งเรืองได้ในโลกของกลไกตลาดเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ5ปีที่แล้ว มีความเห็นพ้องต้องกันในโลกตะวันตกว่าสักวันหนึ่งจีนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการปฏิรูปการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จเพื่อที่จะให้รัฐบาลมีความชอบธรรม หรือมุ่งไปสู่ระบบที่เสรีมากขึ้น เพราะว่าจีนจะไม่สามารถรักษาระบบทุนนิยมที่รัฐบาลเป็นผู้ดูแลกำกับได้ แต่ที่ไหนได้ นายเอียนยอมรับว่า ทุกวันนี้ ระบบการเมือง และเศรษฐกิจของจีนมีความพร้อม และยั่งยืนมากกว่าระบบของสหรัฐที่มีอิทธิพลเหนือระบบเศรษฐกิจโลกตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2เสียอีก ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ความสามารถของจีนที่จะใช้บริษัทที่รัฐบาลดูแลกำกับเพื่อที่จะสร้างอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งในเวทีในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เป็นที่แน่นอนว่าภายในปี 2029 เศรษฐกิจของจีนจะมีขนาดใหญ่แซงหน้าสหรัฐตามการศึกษาของ Center for Economics and […]