“ธนาคารกรุงเทพ” ต้อนรับ “ธนาคารเพอร์มาตา” เข้าสู่ครอบครัว โอนชำระค่าหุ้น 89.12 % เป็นเงิน 73,722 ล้านบาท เสร็จสมบูรณ์วันนี้
ธนาคารกรุงเทพ ขอต้อนรับธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค (เพอร์มาตา) เข้าร่วมเป็นสมาชิกในครอบครัว ภายหลังโดยได้โอนชำระค่าหุ้นร้อยละ 89.12 ในธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค (เพอร์มาตา) เป็นเงิน 73,722 ล้านบาท ให้กับ พีที แอสทรา อินเตอร์เนชั่นแนล ทีบีเค และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เสร็จสมบูรณ์ นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพได้โอนชำระค่าหลักทรัพย์ธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค (เพอร์มาตา) ร้อยละ 89.12 ตามมูลค่าประเมินที่ตกลงร่วมกันที่ 1.63 เท่าของมูลค่าตามบัญชีของเพอร์มาตา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นเงิน 73,722 ล้านบาท (หรือประมาณ 33,662,797 ล้านรูเปียห์ หรือ […]
เวียดนามกลับมาส่งออกข้าวเต็มรูปแบบ พ.ค.นี้ หลังคลายกังวลขาดแคลนช่วงโควิด-19
รายงานข่าวจากรอยเตอร์ส ระบุว่า Nguyen Xuan Phuc นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวว่า จะเริ่มส่งออกข้าวได้ในเดือน พ.ค. นี้ ทั้งนี้ มีการแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ของรัฐบาลว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. นี้เป็นต้นไป กิจกรรมส่งออกข้าวจะกลับมาดำเนินการตามปกติ โดยการตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้น หลังจากข้อเสนอจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเพื่อยกเลิกโควตาการส่งออกข้าว เพื่อที่จะเริ่มการส่งออกของเวียดนามอย่างเต็มรูปแบบ แถลงการณ์ดังกล่าวได้ระบุว่า เวียดนามมีข้าวอยู่ประมาณ 6.5 – 6.7 ล้านตัน เพื่อการส่งออกในปีนี้ หลังจากจัดสรรส่วนหนึ่งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเก็บไว้สต็อกคลังสินค้า เวียดนามเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ได้สั่งห้ามการส่งออกข้าวในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา โดยสั่งให้เป็นสินค้าเกษตรที่มีการขนส่งอย่างจำกัดประมาณ 500,000 ตัน เพื่อให้แน่ใจว่า ประเทศจะมีอาหารเพียงพอในช่วงการระบาดของโควิด-19
ฟิลิปปินส์ขยายล็อคดาวน์เมืองหลวง-พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ป้องกันโควิด-19 ระบาด
รายงานข่าวจากบลูมเบิร์ก ระบุว่า ฟิลิปปินส์ขยายเวลาล็อคดาวน์ หรือการปิดเมือง ในพื้นที่มะนิลาซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ และพื้นที่ใกล้เคียงจนถึงวันที่ 15 พ.ค. นี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) Harry Roque โฆษกของผู้นำฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การขยายระยะเวลาสองสัปดาห์ ดำเนินการในเขตมหานครมะนิลา รวมถึงตอนกลางและตอนใต้ของเกาะลูซอน ซึ่งอยู่ภายใต้การป้องกันอย่างเข้มงวดตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. นอกจากนี้ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต้ ยังมองว่า เซบู ดาเวา และอิโลอิโล ซึ่งอยู่ในเมืองวิซายา และมินดาเนา จะอยู่ภายใต้มาตรการล็อคดาวน์ด้วย ท่าเรือและสนามบินทั้งหมดสามารถดำเนินการขนส่งสินค้าได้ตามปกติ เขา กล่าวว่า พื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การล็อคดาวน์สามารถดำเนินการโครงการก่อสร้างต่อไป ทั้งอนุญาตให้พนักงานไปทำงานได้ มีการขนส่งสาธารณะ และเปิดร้านค้าที่ไม่รวมศูนย์นันทนาการในห้างได้ การขยายระยะเวลาดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อขยายข้อจำกัดต่างๆ ในการควบคุมโรคระบาด โดยอินโดนีเซียได้ขยายกฎเกณฑ์ทางสังคมที่เข้มงวดในกรุงจาการ์ตา ในขณะที่มาเลเซียยังคงปิดประเทศเป็นเวลาอีกสองสัปดาห์โดยมีมาตรการผ่อนคลายเพื่อให้การเดินทางได้อย่างจำกัด Carlos Dominguez รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ กล่าวเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่า รัฐบาลมีเงินสดเพียงพอ แต่เงินทุนยังกล่าวยังไม่ได้ได้ถูกแจกจ่ายออกไป ขณะที่การระบาดของไวรัสอาจทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหดตัวถึง 1% ในปีนี้ […]
มาเลเซียตื่นตัวหาทางควบคุมและติดตามแรงงานผิดกฎหมาย หวั่นโควิด-19 ระบาด
รายงานข่าวจากเดอะ สเตรท ไทม์ส ระบุว่า การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของแรงงานต่างชาติถูกกฎหมายในประเทศมีการจัดการที่ดี แต่รัฐบาลจำเป็นต้องทำงานมากขึ้น เพื่อติดตามกรณีของการติดเชื้อในหมู่แรงงานผิดกฎหมาย Shamsuddin Bardan ผู้อำนวยการบริหารสหพันธ์นายจ้างแห่งมาเลเซีย (Malaysian Employers Federation : MEF) กล่าวว่า การควบคุมและติดตามการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับแรงงานผิดกฎหมายในมาเลเซียค่อนข้างทำได้ยาก เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับการประกันสุขภาพ เขา กล่าวว่า แรงงานผิดกฎหมายส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่คับแคบ เช่นในเขตจาลันมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) ในกัวลาลัมเปอร์ ทั้งนี้ คาดว่า มาเลเซียอาจมีจำนวนแรงงานผิดกฎหมายสูงสุดถึง 3.3 ล้านคน ในขณะที่ แรงงานที่มีเอกสารถูกต้องตามกฎหมายมีจำนวน 2.2 ล้านคน
สิงคโปร์จัดการกับข่าวปลอมในช่วงวิกฤติโควิด-19 ได้ พร้อมมอบข้อมูลจริงสยบข้อมูลปลอม
รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของสิงคโปร์ เปิดเผยว่ารัฐบาลสามารถจัดการกับกรณีข่าวปลอม (เฟค นิวส์)ในช่วงวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ได้เป็นอย่างดี ด้วยการสื่อสารเป็นประจำ และแก้ไขข้อมูลที่ผิด หรือข่าวปลอมเหล่านั้นโดยทันที ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย เตือนว่า การบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 กำลังเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต ด้วยความกลัวและความไม่รู้ของผู้คนถูกนำไปใช้ประโยชน์ K.Shanmugam รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรมของสิงคโปร์ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ “Squawk Box” ของซีเอ็นบีซีว่า สิงคโปร์ไม่ใช่เป็นประเทศเดียวที่ข้อมูลปลอมกำลังแพร่กระจาย แต่ด้วยกฎหมายต่อต้านข่าวปลอมทำให้มั่นใจว่าที่ประเทศนี้มีน้อยกว่าที่อื่นมาก ภายใต้ “กฎหมายป้องกันข้อความเท็จและการบงการออนไลน์” หรือ “the Protection from Online Falsehoods and Manipulation Bill” ครอบคลุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกพิจารณาว่าไม่ถูกต้องหรือมีอคติ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของสิงคโปร์ ความปลอดภัยและความสงบของสาธารณะ รวมถึงกระทบความสัมพันธ์อันดีระหว่างสิงคโปร์กับประเทศต่าง ๆ
ธนาคารกลางมาเลเซียคาดการณ์เศรษฐกิจในประเทศปีนี้ -2% ไปจนถึงโตแค่ 0.5%
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ธนาคารกลางมาเลเซีย ออกมาระบุว่า เศรษฐกิจมาเลเซียอาจหดตัวลงไป -2% หรือเติบโตอย่างมากแค่ 0.5% ในปีนี้ อันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ซึ่งถือเป็นภาวะเศรษฐกิจที่แย่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทั้งนี้ มาเลเซียพบจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 3,100 คน และเสียชีวิตไปมากกว่า 50 คน และอยู่ในช่วงที่มีข้อจำกัดการเดินทางท่องเที่ยวหรือการติดต่อธุรกิจที่ไม่จำเป็น ซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าและการท่องเที่ยว “โดยรวมแล้วมีความเสี่ยงที่การเติบโตของในประเทศจะมีแนวโน้มไปทางขาลง หลักๆ แล้วก็มาจากความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างขึ้น และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลก” แถลงการณ์ของธนาคารกลางมาเลเซีย เผยแพร่ในรายงานประจำปี สำหรับมาเลเซีย เป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจากรายงานครั้งล่าสุดการเติบโตของเศรษฐกิจมาเลเซียเคยต่ำกว่า 0% เมื่อปี 2009 ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินโลก ขณะที่เศรษฐกิจปีที่ผ่านมาเติบโต 4.3% ธนาคารกลางมาเลเซีย เผยว่า ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ว่าจะเฉลี่ยอยู่ระหว่าง -1.5% จนถึง 0.5% ในปีนี้ ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.7% […]
‘โจโควี’ เผยไมโครซอฟท์สนใจลงทุนศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซีย
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า โจโค วิโดโด หรือ โจโควี ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ออกมาให้สัมภาษณ์ภายหลังพบกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์แสดงความสนใจที่จะลงทุนศูนย์ข้อมูลในประเทศอินโดนีเซียซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบางอย่างเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน ทั้งนี้ กูเกิล เคยร่วมกับบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง บริษัทลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ และเบน แอนด์ คอมพานี ทำรายงานออกมา โดยระบุว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซีย ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดและเติบโตรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดการณ์กันว่าตลาดจะมีขนาด 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 จากปีที่ผ่านมาตลาดมีขนาด 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “ไมโครซอฟท์ ต้องการลงทุนเร็วๆ นี้ในอินโดนีเซีย” ประธานาธิบดีโจโควี กล่าวกับผู้สื่อข่าว ภายหลังกล่าวในงานฉลองครบรอบ 25 ปี บริษัท ไมโครซอฟท์ ที่ตั้งอยู่ในอินโดนีเซีย โจโควี ยังระบุอีกว่า ภายในสัปดาห์นี้ เราจะออกแบบกฎระเบียบใหม่ที่เรียบง่ายเพื่อสนับสนุนการลงทุน อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้ให้รายละเอียดไปมากกว่านั้นเกี่ยวกับกฎระเบียบ รวมถึงขนาดของการลงทุนที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้เสนอเรื่องไปยังรัฐสภาเมื่อเดือน ม.ค. […]
อินโดนีเซียเผยมีนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 30 รายสนใจร่วมลงทุนพัฒนาเมืองใหม่
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย ให้ข้อมูลว่า มีนักลงทุนทั้งในท้องถิ่นและต่างประเทศกว่า 30 ราย สนใจเข้าร่วมพัฒนาเมืองใหม่ ทั้ง North Penajam Paser และ Kutai Kertanegara ทางตะวันออกของเกาะกะลิมันตัน “เราต้องการพันธมิตรที่มีคุณภาพสูง เพราะเราไม่ต้องการการลงทุนที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เมืองหลวงใหม่” Luhut Pandjaitan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานการเดินเรือและการลงทุน กล่าว เขา กล่าวเพิ่มเติมว่า นักลงทุนมีมาจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ รัฐบาลคาดการณ์ว่าจะมีต้นทุนพัฒนาเมืองหลวงใหม่ 466 ล้านล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 33,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 54.4% มาจากการรัฐร่วมทุนกับเอกชน ส่วน 26.4% มาจากภาคเอกชน และ 19.2% มาจากงบประมาณของรัฐ สำหรับนักลงทุนกว่า 30 ราย […]
ตลาดเวียดนามยังน่าลงทุน มูลค่า-ผลตอบแทนจากเงินปันผลยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าสนใจ
ความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักของการค้าและห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกดดันตลาดหุ้นเวียด โดย VN Index ปรับลดลงกว่า 6% ในปีนี้ ภายหลังที่จีนชะลอการเปิดพรมแดน และข้อจำกัดเกี่ยวกับการเดินทาง โดยเวียดนามคาดว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การเกษตร สิ่งทอ และเครื่องจักร จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่นักวิเคราะห์ยังคงมองในแง่ดี โดยคาดการณ์ว่า บริษัทเอกชนในเวียดนามจะยังบริหารจัดการได้ดีและสามารถสร้างกำไรได้ Federico Parenti ผู้จัดการกองทุนของ Sempione Sim SpA กล่าวว่า แนวโน้มการเติบโต การประเมินมูลค่า และผลตอบแทนจากเงินปันผลของของตลาดเวียดนามอยู่ในเกณฑ์ที่น่าสนใจ เขา มองว่า เวียดนามยังคงเป็นหนึ่งในประเทศเขาชื่นชอบ และจับตามองอย่างใกล้ชิด หากมีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์และปัจจัยรายล้อมต่างๆ เขาจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นเวียดนามทันที เราจะเห็นได้ว่า รายได้สำหรับไตรมาสสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 2020 จะได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้เดินทางที่เป็นชาวจีนที่ลดลง ซึ่งสัดส่วนของนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นหนึ่งในสามของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด และปัจจุบันการเดินทางของกลุ่มนี้ได้หยุดชะงัก ขณะที่การประชุมและงานเทศกาลต่างๆ ถูกยกเลิกเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของไวรัส
ASEAN ASEAN Corner B-ASEAN B-ASEANRMF
ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน สิงคโปร์
BF Economic Research ปีที่แล้ว สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน มากที่สุดในอาเซียน เพราะมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในอาเซียน ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ปีที่แล้วค่อนข้างซบเซา ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โต 0.7% เมื่อปลายปี 2019 กองทุนบัวหลวงมองว่าเริ่มเห็นสัญญาณของภาคก่อสร้างและภาคบริการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ดังนั้นปี 2020 น่าจะมีการฟื้นตัว เศรษฐกิจเติบโตได้สูงกว่าปี 2019 ทั้งนี้ เมื่อมีเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 มา ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ปรับประมาณการจีดีพีลง เดิมมองไว้ 0.5 ถึง 2.5% ก็ปรับเป็น -0.5 ถึง 1% จะเห็นว่า มีการปรับให้ความเสี่ยงด้านขาลงเป็นติดลบของปี 2020 ทำให้กองทุนบัวหลวง มองว่า ปี 2020 จีดีพีสิงคโปร์น่าจะโตได้ 1% จากปีที่แล้วที่ 0.7% คือไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นมามากอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ตอนแรก จากผลของโควิด-19 เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากติดอันดับ 3 ของโลก ทำให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก […]