Net Interest Margin (NIM)

Net Interest Margin (NIM)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center NIM เป็นตัวเลขที่นักวิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคารกล่าวถึงบ่อยๆ บางทีก็เรียกว่า Spread คือส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้และรายจ่ายดอกเบี้ยให้ผุ้ฝากเงิน โดยจะคำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์ เทียบรายได้ดอกเบี้ยกับสินเชื่อ และรายจ่ายดอกเบี้ยกับยอดเงินฝาก NIM คือกำไรเบื้องต้นที่ธนาคารทำได้จากธุรกิจหลักคือการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารที่มี NIM สูง จึงแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสูง ทั้งนี้ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร การตั้งสำรอง NPL และรายได้จากค่าธรรมนียมต่างๆ ปัจจัยที่กำหนด NIM ได้แก่ ต้นทุนในการรับฝากเงินหรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และสัดส่วนเงินฝากแต่ละประเภท รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และสัดส่วนสินเชื่อประเภทต่างๆ ประเภทเงินฝากและสินเชื่อขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละธนาคาร ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก/เงินกู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของธนาคารและปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงินของธนาคารกลาง ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตดี อัตราดอกเบี้ยต่างๆ จะปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารจะมี NIM ที่สูงขึ้น เนื่องจากสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้เยเงินกู้ได้เร็วกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก จึงสามารถทำกำไรได้ดี  ในช่วงเศรษฐกิจชลอตัวหรือถดถอย ธนาคารต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามทิศทางดอกเบี้ยที่ลดลง แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีอยู่จะปรับลดลงได้เมื่อครบอายุ ทำให้ NIM […]

High Yield Bond (ตอนที่ 1) 

High Yield Bond (ตอนที่ 1) 

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center ในอดีตตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ต่ำกว่าระดับที่น่าลงทุน (Investment Grade) คือ BBB ถูกเรียกว่า Junk Bond เกิดจากบริษัทผู้ออกประสบปัญหาทางการเงินหรือธุรกิจตกต่ำจนรายได้ลดลงทำให้มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูง จึงถูกลดระดับความน่าเชื่อถือ นักลงทุนจึงตัดสินใจขายตราสารหนี้ในราคาต่ำ แต่มีนักลงทุนที่กล้าเสี่ยงประเมินว่าบริษัทมีโอกาสฟื้นตัวได้จึงเข้าซื้อทำให้ได้ผลตอบแทนสูง (High yield) ถ้าประเมินได้ถูกต้อง ต่อมามีบริษัทที่ Credit rating ต่ำ แต่ต้องการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุน จึงต้องเสนออัตราดอกเบี้ย (Coupon rate) ที่สูงเพื่อจูงใจนักลงทุน เรียกหุ้นกู้ประเภทนี้ว่า High Yield Bond โดยมี Credit rating ที่ต่ำกว่า Investment Grade ตั้งแต่แรกออก บริษัทที่ออก High Yield Bond ได้แก่ บริษัท […]

การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) 

การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) 

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center การลงทุนในสินทรัพย์อื่นใดที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (ตราสารหนี้และหุ้น) ถือว่าเป็นสินทรัพย์ทางเลือก (AI) ซึ่งมีทั้งสินทรัพย์ทางการเงิน (Alternative financial asset) และสินทรัพย์ที่มีตัวตนจับต้องได้ (Alternative tangible asset) สินทรัพย์ทางการเงินที่จัดเป็นการลงทุนทางเลือกได้แก่ กองทุนที่ลงทุนหรือตราสารอนุพันธ์เกี่ยวกับ สินค้าเกษตร (ถั่วเหลือง ยางพารา ข้าว ฝ้าย) สินค้าโภคภัณฑ์ (น้ำมัน ถ่านหิน แร่ธาตุ) โลหะมีค่า (ทอง เงิน พลาตินัม) รวมทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ Hedge Fund สินทรัพย์ที่จับต้องได้ ได้แก่ เพชร พลอย โบราณวัตถุ ไวน์ สแตมป์ อสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในสินทรัพย์นี้ส่วนใหญ่เกิดจากความชื่นชอบส่วนตัวและมีความชำนาญรอบรู้ในตัวสินทรัพย์จนนำไปสู่การสะสมเพื่อชื่นชมและลงทุนซื้อขายเพื่อทำกำไร สินทรัพย์ทางเลือกทางการเงินมักได้รับคำแนะนำให้ลงทุนในพอร์ตเพื่อประโยชน์ในการกระจายความเสี่ยง ถึงแม้ราคาหรือผลตอบแทนจะมีความผันผวน แต่ความผันผวนไม่สอดคล้องหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกับสินทรัพย์หลัก […]

Active VS Passive Portfolio Management 

Active VS Passive Portfolio Management 

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center สไตล์การบริหารพอร์ตของนักลงทุนหรือการบริหารกองทุนของผู้จัดการทุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การบริหารแบบ Active และ Passive ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดกันอยู่มาก ถ้ายกตัวอย่างกองทุนหุ้น นักลงทุนมักเข้าใจว่ากองทุนที่เป็นประเภท Active Fund  ผู้จัดการกองทุนต้องขยันทำการซื้อขายหุ้นบ่อยๆ เพื่อทำกำไร โดยคาดหวังว่าผู้จัดการกองทุนต้องมีความรู้ความสามารถสูงกว่านักลงทุนทั่วไป และมีข้อมูลที่ดีกว่า ควรมองหรือคาดการณ์ได้ว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง และหุ้นตัวไหนจะขึ้น จึงเข้าไปซื้อไว้ก่อนและขายออกที่ราคาสูงๆ ในความเป็นจริงผู้จัดการกองทุนไม่ได้มีความสามารถในการคาดการณ์ทิศทางของตลาดหรือหุ้นรายตัวได้ถูกต้องแม่นยำเหนือนักลงทุนทั่วไป ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนของผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากความสามารถในการจับจังหวะตลาดและทำกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้น (ถ้าเทียบกันแล้วนักลงทุนอาจซื้อขายหุ้นบ่อยกว่าผู้จัดการกองทุนด้วยซ้ำไป) ผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจากการคัดสรรและเลือกลงทุนในหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนได้ทำการวิเคราะห์มาอย่างรอบด้านแล้วว่าเป็นหุ้นที่ราคามีโอกาสขึ้นดีจากพื้นฐานของตัวบริษัทที่มียอดขายและกำไรที่ดี มีอัตราการเติบโตสูง มีองค์ประกอบของสินค้า/บริการ ผู้บริหาร แผนธุรกิจ ที่สอดคล้องและได้ประโยขน์จากปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และติดตามข้อมูลของบริษัทต่างๆ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจ อุตสหากรรม อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความ Active หรือความขยันของผู้จัดการกองทุน ซึ่งเน้นการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่คัดเลือกมาเป็นอย่างดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อขายหุ้นบ่อยๆ ให้สิ้นเปลืองค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โดยยังไม่นับโอกาสขาดทุนจากการเก็งกำไรในระยะสั้น กองทุนที่บริหารแบบ Passive ผู้จัดการกองทุนไม่ได้ทำงานน้อยหรือขี้เกียจ […]

การจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation)

การจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center แนวคิดในการจัดการเงินลงทุนโดยมองภาพรวมของเงินลงทุนที่หมดของนักลงทุน โดยจัดสรรหรือแบ่งเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เป็นกระบวนการที่เกิดจากการวางแผนการลงทุนโดยตั้งเป้าหมายที่ต้องการ เช่น ลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ เพื่อสร้างความมั่นคั่ง หรือเพื่อสร้างครอบครัว พิจารณาถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้และสอดคล้องกับเป้าหมาย โดยมีการประมาณการณ์ผลตอบแทนและความผันผวนของสินทรัพย์แต่ละประเภท Strategic Asset Allocation(SAA) เป็นการจัดสรรเงินลงทุนในระยะยาวเพื่อตอบสนองเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยแบ่งเงินลงทุนในสินทรัพย์ตามที่วางแผนไว้ เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ 55% หุ้น 30% สินทรัพย์ทางเลือก 15% และเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ (Security selection) ภายใต้กรอบที่กำหนดไว้ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนรักษาวินัยในการลงทุน ไม่หวั่นไหวเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ส่วนตัวหรือภาวะตลาด และหลีกเลี่ยงการพยายามจับจังหวะการเคลื่อนไหวของตลาดเพื่อเก็งกำไร เพราะโอกาสที่จะประสบความสำเร็จจากการจับจังหวะมีน้อยมาก Tactical Asset Allocation (TAA) เป็นการปรับสัดส่วนการลงทุนในระยะสั้นเพื่อหาโอกาสการลงทุนที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและตลาดทุนในแต่ละช่วง โดยยังคงรักษากรอบการลงทุนระยะยาวภายใต้ Strategic Asset Allocation เช่น SAA กำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น 30% นักลงทุนคาดการณ์ว่าตลาดหุ้นจะยังอยู่ในช่วงขาขึ้นใน 1 […]

หุ้น Laggard

หุ้น Laggard

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center หุ้น Laggard หมายถึงหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นช้ากว่าหุ้นตัวอื่นในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจประเภทเดียวกัน และยังหมายถึงหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ราคาขึ้นช้ากว่าดัชนีตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นในช่วงตลาดขาขึ้น   สาเหตุที่หุ้นบางตัวหรือบางกลุ่มขึ้นช้ามีได้หลายประการ หุ้นดังกล่าวมีปัจจัยพื้นฐานที่ไม่โดดเด่นเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นในกลุ่มเดียวกัน จึงทำให้นักลงทุนไม่ค่อยสนใจ หรือบางครั้งหุ้นตัวอื่นมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางธุรกิจที่ดึงดูดนักลงทุนมากกว่า เช่น การเปิดตลาดใหม่/สินค้าตัวใหม่ การเพิ่มทุน ขยายการลงทุน หรือ มีผุ้ร่วมทุนรายใหม่ที่มีศักยภาพ หุ้นในกลุ่ม Laggard เป็นหุ้นที่ยอดขายและกำไรฟื้นตัวหรือเติบโตช้ากว่าธุรกิจอื่นตามวงจรของเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มธนาคารจะฟื้นตัวในช่วงกลางของวงจรตามความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นหรือส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่สูงขึ้น ในขณะที่ธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นเร็วกว่าจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและกำลังซื้อจากต่างประเทศ นักวิเคราะห์มักจะแนะนำให้ลงทุนในหุ้น Laggard หลังจากที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นเต็มที่และราคาหุ้นตัวหรือกลุ่มที่นำตลาดได้ปรับตัวขึ้นไปมากแล้ว หากเป็นหุ้นกลุ่ม Laggard ตามวงจรเศรษฐกิจ หรือเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของบริษัทที่น่าสนใจ ก็มีโอกาสที่ราคาหุ้น Laggard จะมีราคาสูงขึ้นตามมา เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าราคายังถูกเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นที่ขึ้นไปสูงแล้ว แต่นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหุ้นแต่ละบริษัทด้วย เพราะบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่ล้าหลังหรือตัวบริษัทมีฐานะการเงินที่ไม่ดี ยอดขายและกำไรตกต่ำลดลงแม้เศรษฐกิจจะดีขึ้นก็ตาม หุ้นประเภทหลังนี้อาจดูเหมือนหุ้น Laggard แต่มีโอกาสน้อยที่ราคาจะเพิ่มขึ้นตามตลาด

CoCo Bond: ตราสารหนี้ Basel III (ตอนจบ)                     

CoCo Bond: ตราสารหนี้ Basel III (ตอนจบ)                     

ข้อมูลจาก สำนักงาน กลต และ ThaiBMA BF Knowledge Center                 หุ้นกู้ที่ออกตามเกณฑ์ Basel III มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ที่ผู้ถือจะได้รับเงินคืนหลังจาก ผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้สามัญ หากธนาคารต้องเลิกกิจการ มีโอกาสถูกไถ่ถอนคืนโดยธนาคาร หลังจาก 5 ปีที่ออก หากธนาคารประสบปัญหาด้านการเงินจนดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ และทางการเข้าช่วยเหลือ หุ้นกู้จะถูกตัดลดมูลค่าหรือตัดเป็นหนี้สูญ หรือถูกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หากเงินกองทุนขั้นที่ 1 ต่ำกว่า 6% เฉพาะหุ้นกู้ที่ใช้เป็นกองทุนขั้นที่ 1 จะถูกตัดลดมูลค่าหรือตัดเป็นหนี้สูบ หรือถูกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ (จึงมีชื่อว่า Contingent Conversion หรือ CoCo Bond) ในกรณีที่ธนาคารขาดทุน อาจไม่ได้รับดอกเบี้ย โดยไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จะเห็นว่าหุ้นกู้ดังกล่าวมีความเสี่ยงมากกว่าหุ้นกู้ปกติ คือ ไม่ได้รับดอกเบี้ยในปีที่ธนาคารขาดทุน หรือหากปิดกิจการจะได้รับเงินคืนหลังเจ้าหนี้อื่น และมีความเสี่ยงด้าน Reinvestment risk […]

CoCo Bond: ตราสารหนี้ Basel III (ตอนที่ 1)      

CoCo Bond: ตราสารหนี้ Basel III (ตอนที่ 1)      

ข้อมูลจาก สำนักงาน กลต และ ThaiBMA  BF Knowledge Center                 ในช่วงนี้มีธนาคารบางแห่งระดมทุนด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ประเภท Basel III เพื่อใช้เป็นเงินกองทุนของธนาคาร จึงขอเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะพิเศษและความเสี่ยงให้นักลงทุนทราบก่อนตัดสินใจลงทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท)ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารปฏิบัติเพื่อควบคุมเสี่ยงของระบบการเงิน โดยใช้เกณฑ์ที่พัฒนาโดย Bank for International Settlement ภายใต้ Basel Accord โดยปัจจุบันใช้เกณฑ์ Basel III ที่มีข้อกำหนดหลายประการ หนี่งในนั้นคือการดำรงเงินกองทุนของธนาคารให้ได้ตามที่ ธปท กำหนด เพื่อให้ธนาคารมีทุนที่เพียงพอรองรับความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน ดังนี้ เงินกองทุนขั้นที่ 1 ไม่ต่ำกว่า 6% ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (สินเชื่อและเงินลงทุนของธนาคาร) โดยเงินกองทุนดังกล่าวมาจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุนจดทะเบียนและกำไรสะสม) รวมทั้งหุ้นกู้ที่ไม่มีอายุครบกำหนด เงินกองทุนขั้นที่ 2  รวมกับกองทุนขั้นที่ 1 ไม่น้อยกว่า 8.5% ของสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งได้มาจากการออกหุ้นกู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 5 […]

ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy rate)

ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy rate)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center ดอกเบี้ยนโยบายคืออัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยธนาคารกลางหรือคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางจะทำธุรกรรมในตลาดเงินกับสถาบันการเงินโดยใช้ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเป้าหมาย ในทางปฏิบัติธนาคารกลางจะทำการเพิ่ม/ลดปริมาณเงินในระบบผ่านธุรกรรมต่างๆ เช่น การรับฝากเงิน-ปล่อยกู้ระยะสั้น การซื้อ-ขายพันธบัตร ปริมาณเงินที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจจะวัดได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเพิ่มปริมาณเงินในระบบทำให้เศรฐษกิจหมุนเวียนได้ดีจึงอัตราเติบโตจะสูงขึ้น เปรียบได้กับการเหยียบคันเร่งรถเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันที่ฉีดเข้าเครื่องยนต์ทำให้รถวิ่งเร็วขึ้น หากผ่อนคันเร่งลดน้ำมันที่ฉีดเข้าเครื่องยนต์ รถก็จะวิ่งช้าลง การลดปริมาณเงินก็ทำให้เศรษฐกิจชลอตัวลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายเปรียบได้กับระดับเข็มไมล์ที่บอกว่ารถกำลังวิ่งช้าหรือเร็ว ดอกเบี้ยนโยบายเป็นตัวชี้ว่าปริมาณเงินที่ใส่ไปในระบบเพียงพอต่อเป้าหมายที่จะกระตุ้นหรือชลอเศรษฐกิจตามที่ธนาคารต้องการ

ราคาหุ้นกับผลตอบแทนพันธบัตร 

ราคาหุ้นกับผลตอบแทนพันธบัตร 

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาหุ้น ถ้าพูดกันแบบง่ายนักลงทุนมักเชื่อกันว่า Bond yield สูงขึ้นหรือเป็นขาขึ้นตลาดหุ้นจะตก ในทางกลับถ้า Bond yield เป็นขาลง หุ้นจะเป็นขาขึ้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นได้อธิบายไว้บ้างแล้วในเรื่อง Earning yield gap ที่เปรียบเทียบผลตอบแทนของหุ้นกับตราสารหนี้ เมื่อใดก็ตามที่ราคาหุ้นขึ้นหรือ Bond yield ขึ้นสูงว่าจนต่ำให้ ส่วนต่าง (Gap) แคบลง จนทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ทั้งสองประเภท (นักลงทุนระยะยาว กองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนรวมผสม บริษัทประกันชีวิต) พิจารณาลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น หันไปเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ จนส่งผลให้ราคาหุ้นลดลงจากการขายของนักลงทุนดังกล่าว หรือในทางจิตวิทยา นักลงทุนประเภทเก็งกำไรคาดการณ์ว่านักลงทุนสถาบันจะปรับพอร์ตจนทำให้ราคาหุ้นตกลง จึงชิงลงมือขายหุ้นออกไปก่อนก็ทำให้หุ้นตกได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้า Bond yield หรือราคาหุ้นลดลงจนทำให้ส่วนต่าง (Gap) สูงขึ้น ผลก็จะเป็นไปในทางตรงกันข้าม […]