อี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จีนลุยใช้ PV ในศูนย์กลางโลจิสติกส์

อี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จีนลุยใช้ PV ในศูนย์กลางโลจิสติกส์

ไชน่าเดลี่ รายงานว่า บริษัทอี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง JD.com ได้เริ่มต้นใช้ photovoltaic (PV) หรือขบวนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากแสงที่ตกกระทบบนวัตถุดิบภายในศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ที่เซี่ยงไฮ้ ทั้งนี้ JD.com กำลังดำเนินการติดตั้งระบบ PV สำหรับศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยการใช้ PV ถือเป็นการจัดหาพลังงานสะอาดให้ระบบคลังสินค้าที่ใช้หุ่นยนต์ในการทำงานหรือเรียกอีกอย่างว่าคลังสินค้าระบบอัตโนมัติ โดยภายในสิ้นปีนี้ JD.com จะติดตั้ง PV เซลส์ประมาณล้านตารางเมตรบนหลังคาคลังสินค้า สำหรับ JD.com เป็นผู้ให้บริษัทอี-คอมเมิร์ซสำหรับการซื้อขายระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ที่มีพื้นที่ศูนย์กลางโลจิสติกส์ 40,000 ตารางเมตร ในเซี่ยงไฮ้ จัดเป็นผู้ให้บริการอันดับ 1 ในเอเชียที่มียอดคำสั่งซื้อ 200,000 รายการผ่านออนไลน์ต่อวัน

Alibaba ทุุ่มอีก 2 พันล้านดอลล์ ดัน Lazada ยึดตลาดอีคอมเมิร์ช์อาเซียน

Alibaba ทุุ่มอีก 2 พันล้านดอลล์ ดัน Lazada ยึดตลาดอีคอมเมิร์ช์อาเซียน

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า Alibaba Group Holding เตรียมใส่เงินลงทุนอีก 2 พันล้านดอลลาร์ใน Lazada Group SA ตามแผนขยายตลาดธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกัน Lucy Peng ซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน Lazada อยู่แล้ว จะนั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือ CEO ที่ Lazada ด้วย ขณะที่  Max Bittner จะออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสแทน โดย Alibaba ต้องการที่จะเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อการแข่งขันธุรกิจอีคอมเมิร์ชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น หลัง Amazon เปิดตัว Shopee เพื่อเอาใจผู้บริโภค เงินลงทุนนี้จะใช้ในการขยายกิจการทั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และ กลยุทธ์การสร้างฐานลูกค้าใหม่ “เรามีความเชื่อมั่นอย่างมากที่จะเพิ่มการลงทุนอีกเท่าตัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีความตื่นเต้นกับโอกาสในการเติบโตในระดับที่สูงของตลาดอีคอมเมิร์ชในภูมิภาคนี้” เขากล่าว

มหกรรมช้อปออนไลน์

มหกรรมช้อปออนไลน์

ยุคที่อำนาจการซื้ออยู่แค่ปลายนิ้วคลิก ผู้ประกอบการ หรือแม้กระทั่ง นักการตลาดต่างเร่งปรับตัวและพร้อมกระโจนสู่สมรภูมิรบ E-commerce กันอย่างถ้วนหน้า ด้วยวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปไกล ประกอบกับต้นทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีไร้สายต่ำกว่าแต่ก่อนมาก ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไม่ใช่อุปสรรคของผู้บริโภคอีกต่อไป  ขณะเดียวกันนักการตลาดก็โหมโปรโมชั่นผ่านช่องทางออนไลน์อย่างหนัก เพราะหวังว่าแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สร้างรายได้ควบคู่ไปกับการขายหน้าร้าน หรือออฟไลน์นั่นเอง ถ้าให้พูดถึงมหกรรมที่โด่งดัง และไม่มีนักช้อปออนไลน์ในสหรัฐท่านไหนไม่รู้จัก คือ “Cyber Monday” ซึ่งเป็นคำเรียกทางการตลาด ที่บรรดาผู้ค้าปลีกในสหรัฐต่างแห่กันลดราคาสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งชาติ (National Retail Federations) ได้นำคำนี้มาใช้ตั้งแต่ปี 2005 เพื่อเกาะกระแส Black Friday ที่ถือเป็นวันลดกระหน่ำของร้านค้า “ออฟไลน์” Cyber Monday นับเป็นวันแก้มือของเหล่าสาวกนักช้อปที่พลาดโอกาสแย่งชิงสินค้าจากหน้าร้าน หรือใครที่ไม่อยากเสียเวลาเข้าคิวรอจ่ายสตางค์ ก็สามารถนอนรอ กดออเดอร์สั่งซื้อออนไลน์อยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานได้ในวันจันทร์ถัดมา เพราะโปรโมชั่นและส่วนลดแทบจะไม่ต่างกับหน้าร้านเลย ทำให้ขาช้อปได้สัมผัสกับประสบการณ์ คลิกเดียวเดี๋ยวของก็มาส่งถึงบ้าน ฟินไปตามๆ กัน เรียกได้ว่า เป็นแคมเปญที่กระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยให้ร้านค้าได้เติบโต ต่อยอดธุรกิจ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ได้อย่างแท้จริง ทางฝั่งเอเชียก็ไม่น้อยหน้า มีเทศกาลที่ขาช้อปต่างตั้งตารอ อย่าง Double […]

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนจบ)

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนจบ)

By…ฐนิตา ตุมราศวิน และณัฐพัช กิตติปวณิชย์ Fund Management Group การบริหาร Supply Chain หัวใจของ e-Commerce นอกเหนือจากความน่าสนใจของธุรกิจ e-Commerce ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว ธุรกิจอื่นๆ ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจ e-Commerce ก็มีโอกาสขยายตัวได้อย่างรวดเร็วเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์ที่นับเป็นหัวใจของ e-Commerce เนื่องจากผู้บริโภคและคู่ค้านั้นจะให้ความสำคัญกับความถูกต้อง รวดเร็วในการได้รับสินค้าเป็นหลัก รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็ไม่ควรสูงจนเกินไป ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดโลจิสติกส์มีผู้ให้บริการรายใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการสร้างคลังสินค้าขึ้นหลายแห่ง เพื่อรองรับความต้องการของตลาด e-Commerce โดยธุรกิจกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ และยานยนต์เพื่อการขนส่งก็ได้รับอานิสงส์ในการเติบโตไปด้วย นอกจากธุรกิจโลจิสติกส์แล้ว การชำระเงินจากการซื้อขายผ่าน e-Commerce ยังนับเป็นโอกาสให้กับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ขณะที่การเข้าถึงสมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของประชาชนก็นับว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และผู้พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นด้วย อย่างไรก็ดี การเติบโตของธุรกิจ e-Commerce ไทยยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น โดยในระยะข้างหน้า ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น น่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้  

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่ 2)

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่ 2)

By…ฐนิตา ตุมราศวิน และณัฐพัช กิตติปวณิชย์ Fund Management Group โอกาสเติบโตของ e-Commerce ไทย ในปี 2017 ETDA ประมาณการว่า ธุรกิจ e-Commerce ไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 2.8 ล้านล้านบาท โดยขยายตัวเฉลี่ย 11.4% ต่อปีนับตั้งแต่ปี  2015 สะท้อนแนวโน้มผู้ประกอบการไทยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น รวมไปถึงการเข้ามาแสวงหาโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่ามูลค่า e-Commerce ของไทยจะสามารถแตะระดับ 5 ล้านล้านบาทได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือเท่ากับว่าอัตราการเติบโตจะเร่งขึ้นเป็นประมาณ 15.5% ต่อปี ซึ่งเรามองว่า ธุรกิจ e-Commerce ไทยยังมีศักยภาพขยายตัวได้อีกมาก ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1.   กำลังซื้อโต หนุนธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ ปัจจุบันค้าปลีกออนไลน์มีความสำคัญต่อการเติบโต e-Commerce ไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยพัฒนาการของเทคโนโลยีที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ค้าปลีกออนไลน์สามารถเข้าไปชิงส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจค้าปลีกรูปแบบเดิมอย่างต่อเนื่อง […]

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่1)

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่1)

By…ฐนิตา ตุมราศวิน และณัฐพัช กิตติปวณิชย์ Fund Management Group เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู ในยุคที่เราทุกคนถูกเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีเพียงปลายนิ้วสัมผัส กิจกรรมต่างๆที่เคยทำแบบออฟไลน์ ก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นออนไลน์ ทั้งการซื้อตั๋วโดยสาร การจองห้องพักโรงแรม การทำธุรกรรมทางการเงิน และการดูภาพยนตร์ เป็นต้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ไม่ว่าหันไปทางไหน ผู้คนในสังคมก็ต่างก้มหน้าก้มตาใช้สมาร์ทโฟนในมือ สมาร์ทโฟนจึงกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญ และมีความจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย ทั้งนี้ จากรายงานของ Google ร่วมกับ Temasek ที่ออกมาในช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนนั้น ได้รับการจัดอันดับให้เป็นภูมิภาคที่ประชากรใช้เวลาเฉลี่ยในการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือต่อวันสูงที่สุดในโลก เฉลี่ยวันละ 3.6 ชั่วโมง และในบรรดาประเทศอาเซียนนี้ คนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือสูงที่สุดในโลก ถึงวันละ 4.2 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับชาวอเมริกันที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง และชาวญี่ปุ่นที่ใช้เพียงวันละ 1 ชั่วโมง จากผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ […]

Rakuten ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น เล็งซื้อธุรกิจประกันวงเงิน 5 หมื่นล้านเยน

Rakuten ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น เล็งซื้อธุรกิจประกันวงเงิน 5 หมื่นล้านเยน

สำนักข่าวเกียวโดรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า บริษัทราคูเท็น (Rakuten) ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซของญี่ปุ่น เตรียมเข้าซื้อธุรกิจของอาซาฮี ไฟร์ แอนด์ มารีน อินชัวรันซ์ (Asahi Fire & Marine Insurance) เป็นวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านเยน (459 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ ซึ่งจะบุกตลาดประกันทั่วไปเป็นครั้งแรกเพื่อเร่งการเติบโต แหล่งข่าวระบุว่า ราคูเท็นจะเข้าซื้อบริษัทประกันขนาดกลางอย่างอาซาฮี ไฟร์ แอนด์ มารีน อินชัวรันซ์ ซึ่งมีบริษัท โนมูระ โฮลดิ้งส์ อิงค์ เป็นเจ้าของ ในวงเงินประมาณ 4-5 หมื่นล้านเยน เพื่อนำบริษัทใหม่นี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในเครือ ด้านบริษัทราคูเท็นได้ออกแถลงการณ์ในวันนี้ว่า ทางบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาซื้อธุรกิจของอาซาฮี ไฟร์ แอนด์ มารีน อินชัวรันซ์ ขณะที่ทางบริษัท โนมูระ โฮลดิ้งส์ กำลังพิจารณาขายหุ้นในบริษัทประกันที่ตนเป็นเจ้าของ แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ราคูเท็นจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันขึ้นใหม่ โดยใช้ข้อมูลลูกค้าที่ได้จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของบริษัท ทั้งนี้ […]

กรุงปักกิ่งตั้งเป้าซื้อ-ขาย e-commerce ทะลุ 2.5 ล้านล้านหยวนในปี 2018

กรุงปักกิ่งตั้งเป้าซื้อ-ขาย e-commerce ทะลุ 2.5 ล้านล้านหยวนในปี 2018

สำนักงานคณะกรรมการพาณิชย์กรุงปักกิ่ง (Beijing Municipal Commission of Commerce) คาดหวังว่าภายในปี 2018 การทำธุรกรรมผ่านช่องทาง e-commerce ในเมืองหลวงจะทะลุ 2.5 ล้านล้านหยวน หรือกว่า 3.85 แสนล้านดอลลาร์ โดยกรุงปักกิ่งพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ต และระบบขนส่ง (logistics)ในปีนี้ นอกจากนี้แนวโน้มจำนวนผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งผู้ค้าส่งต่างๆ (wholesalers) และผู้ค้าปลีก (retailers) จะหันมาสนใจธุรกิจ e-commerce เพิ่มขึ้น ซึ่งกรุงปักกิ่งกระตุ้นให้กลุ่มค้าปลีกและค้าส่งแบบดังเดิม (Traditional retailers and wholesalers) พัฒนาการขายสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้กรุงปักกิ่งจะกำหนดนโยบายและจัดให้มีการอบรมผู้ขนส่งสินค้า รวมถึงวางมาตรฐานต่างๆสำหรับการขนส่งด้วยยานพาหนะเพื่อเป็นรากฐานให้กับระบบขนส่งในอนาคต

ตลุยธุรกิจในเมียนมา ต้องยึดกลุ่ม “มิลเลนเนียล” ให้ได้

ตลุยธุรกิจในเมียนมา ต้องยึดกลุ่ม “มิลเลนเนียล” ให้ได้

ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคชาวเมียนมาเกี่ยวกับตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนกลยุทธ์เพิ่มยอดขายในตลาดเมียนมา โดยมองว่า โอกาสการเติบโตทางธุรกิจในเมียนมาควรเน้นเจาะกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียล เพราะผู้นำเทรนด์ รวมทั้งยังมีลักษณะเฉพาะในการเข้าถึงแบรนด์และธุรกิจต่างๆ ที่น่าสนใจ งานวิจัยยังพบว่า ประชากรเมียนมากลุ่มที่ มิลเลนเนียล หรือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2525-2543 ปัจจุบันมีอยู่ 16.6 ล้านคน หรือประมาณ 33% ของประชากรทั้งประเทศ คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ 54% เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของการใช้งานของผลิตภัณฑ์และบริการมากกว่าตราสินค้า (แบรนด์) เมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ไบรอัน กริฟฟิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วีโร่ บริษัทตัวแทนด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อดิจิทัล กล่าวว่าพลังชาวมิลเลนเนียลของเมียนมาเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ตลาดและส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของครอบครัว ผลสำรวจยังชี้อีกว่าประชากรเมียนมายุคมิลเลนเนียลใช้โซเชียลมีเดียในการกระจายข่าว ซึ่งส่งผลต่อการอุปโภคบริโภคของคนในครอบครัวและแบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบ

QR Code เปลี่ยนแดนมังกร สู่ Cashless Society

QR Code เปลี่ยนแดนมังกร สู่ Cashless Society

ในช่วงปลายปี 2017 ที่ผ่านมา เราเห็นธนาคารพาณิชย์หลายแห่งในประเทศไทยเปิดตัวการให้บริการการชำระเงินรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “คิวอาร์โค้ด (QR Code)” ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการสนับสนุนให้ลดปริมาณการใช้เงินสดและส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการจัดการเงินสด ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบาย National e-Payment ของรัฐบาล เพื่อเป็นการปูทางให้ประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ซึ่งหลายประเทศได้นำร่องไปแล้ว โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา สำหรับในเอเชีย ประเทศจีนถือได้ว่าเป็นประเทศที่สามารถนำระบบ Digital Payment เข้ามาใช้ในการทำธุรกรรมการเงินแทนการใช้เงินสดได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี โดยมี QR Code เป็นตัวแปรสำคัญที่ผลักดันให้ประเทศจีนเข้าใกล้ความเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบและเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในสังคมไปอย่างสิ้นเชิง ทุกวันนี้ QR Code ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วทุกหัวระแหงในประเทศจีน ทั้งในเมืองใหญ่ไปจนถึงหมู่บ้านเล็กๆ ทั้งธุรกรรมที่มีมูลค่าต่ำไปจนถึงธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง ว่ากันว่า ผู้คนในประเทศจีนสามารถใช้ชีวิตใน 1 วันได้โดยไม่จำเป็นต้องพกกระเป๋าสตางค์ เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือที่มีแอปพลิเคชันซึ่งลิงค์กับบัญชีธนาคารก็สามารถชำระค่าสินค้าอย่างง่ายดายด้วยการสแกน QR Code โดยผู้ให้บริการหลักในตลาด Mobile Payment ของจีน คือ Alipay ในกลุ่มของ Alibaba ผู้ให้บริการค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ […]