เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ภาวะ Technical Recession
BF Economic Research ญี่ปุ่นประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2019 (Final) ที่ -1.8% QoQ sa (-7.1% QoQ saar) ซึ่งเป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นจากประมาณการเบื้องต้นที่ -1.6% QoQ sa (-6.3% QoQ saar) และมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยมาจากการปรับตัวลดลงของการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลักที่หดตัวเพิ่มขึ้นจาก -3.7% QoQ sa เป็น -4.6% QoQ sa สะท้อนตัวเลขรายไตรมาสของภาคธุรกิจที่เพิ่งประกาศออกมา ซึ่งแย่กว่าการประมาณการเบื้องต้น ทั้งนี้ นอกจากการลงทุนภาคเอกชนแล้ว การลงทุนภาครัฐก็ขยายตัวลดลงจากประมาณการเบื้องต้นเช่นเดียวกันจาก 1.1% QoQ sa เป็น 0.7% QoQ sa ตัวเลข GDP ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผลของการขึ้นภาษีการบริโภคของญี่ปุ่นจาก 8% เป็น 10% […]
อัตราเงินเฟ้อไทยขยายตัวต่ำในเดือน ก.พ.
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.พ. 2020 อยู่ที่ 102.7 vs. prev 102.8 หรือ 0.74% YoY (vs. prev.1.05% YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.08%MoM (vs. prev.0.16%MoM) YTD: 0.89% (vs. prev.1.05%) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.58%YoY (vs. prev.0.47%YoY) เมื่อเทียบรายเดือน 0.09%MoM (vs. prev.0.02%MoM) ในรายสินค้า ราคาอาหาร (36% of basket) อยู่ที่ 2.04%YoY (vs. prev.1.82%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 0.36%MoM (vs. prev.0.41%MoM) ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร […]
เฟด เซทโทนดอกเบี้ยต่ำ รัฐบาลทั่วโลกอัดเม็ดเงินกระตุ้นทางการคลัง
BF Economic Research คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของ เฟด ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% จากระดับ 1.50-1.75% สู่ระดับ 1.00-1.25% (พร้อมกับปรับลดอัตราดอกเบี้ย IOER ลงมาสู่ ระดับ 1.1% ด้วย เป็นการเร่งด่วน ในวันที่ 4 มี.ค. ก่อนกำหนดการประชุมจริงในวันที่ 17-18 มี.ค. โดย FOMC ให้เหตุผลว่า เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยปกติแล้ว FOMC จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% แต่ครั้งนี้ปรับลด 0.5% ในครั้งเดียว (ล่าสุดที่ FOMC ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.5%คือในเดือน ต.ค. 2008) และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนอกรอบการประชุม เฟด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2008 ซึ่งขณะนั้นเกิดวิกฤตการเงิน ในแถลงการณ์ เฟด […]
Economic Review Economic Update
BF Monthly Economic Review – ก.พ. 2563
BF Economic Research เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยมี Downside Risks จาก COVID-19 เราได้ประเมินภาพเศรษฐกิจของปี 2020 ใหม่โดยได้ Revised down GDP จีน และประเทศอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับจีนลง มีผลให้ GDP โลกปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่า 2.5% ประเทศที่ได้รับผลกระทบน่าจะต้องใช้นโยบายการเงิน/คลังเพื่อลดแรงกระแทกจากไวรัส สิงคโปร์ได้ประกาศอัดฉีดเม็ดเงินคลังที่ 10.9 bn sgd หรือเป็นการขาดดุลทางการคลัง -2.1% ของ GDP ส่วนรัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 10 ล้านล้านรูเปียห์ภายหลังจากที่ BI ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาที่ 4.75% Nonfarm payrolls เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 2.25 แสนตำแหน่ง คาด Fed คงดอกเบี้ยจนกว่าจะเห็น Impact จาก COVID-19 […]
เศรษฐกิจอินเดียขยายตัว 4.7% YoY ในไตรมาส 4/2019
BF Economic Research เศรษฐกิจอินเดียขยายตัว 4.7% YoY ในไตรมาส 4/2019 โดยแม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่เป็นไปตามตลาดคาด แต่เนื่องจากสำนักงานสถิติของอินเดียมีการปรับเพิ่ม GDP ในไตรมาสก่อนหน้าขึ้นจาก 4.5% YoY เป็น 5.1% YoY ส่งผลให้จากตอนแรกที่ตลาดมองว่า GDP ในไตรมาสนี้จะเริ่มฟื้นตัว เติบโตสูงขึ้น กลับกลายเป็นว่าชะลอตัวลง หากพิจารณาในรายองค์ประกอบของ GDP จะพบว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2019 นี้ถูกขับเคลื่อนโดยการบริโภคภาคเอกชน (+5.9% YoY) และการใช้จ่ายภาครัฐ (+11.8%YoY) เป็นหลัก ขณะที่การลงทุนหดตัวถึง -5.2% YoY จากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมแท้จริงที่อยู่ในระดับสูง รัฐบาลอินเดีย และธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ประมาณการเศรษฐกิจอินเดียในปีงบประมาณ 2020 (เม.ย.2019-มี.ค. 2020) ไว้ที่ 5.0% (ลดลงจากการประมาณการก่อนหน้าที่ 6.1% ) ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2020 […]
เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือน ม.ค. มีสัญญาณอ่อนแอลงจากการเบิกจ่ายงบล่าช้า และการลงทุนเอกชนหดตัว คาดว่าเดือนก.พ. เครื่องชี้ด้านการบริโภคและการท่องเที่ยวจะเริ่มแย่
BF Economic Research รายจ่ายงบลงทุนภาครัฐ (ไม่รวมเงินโอน) ยังคงหดตัว -35.3 YoY โดยมีสาเหตุหลักจากการบังคับใช้ ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ FY2020 ที่ล่าช้า จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัว 2.5% YoY เป็น 3.8 ล้านคน หนุนโดยกลุ่มนักท่องเที่ยวมาเลเซีย รัสเซีย และเอเชียไม่รวมจีนและมาเลเซีย (+20.6%, +11.2% และ +6.8% ตามลำดับ) ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนหดตัว -3.7% จากกรณีที่จีนประกาศสั่งห้ามกรุ๊ปทัวร์ออกนอกประเทศในช่วงปลายเดือน ม.ค. เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเติบโตชะลอลง (+1.2% YoY vs. +1.7% เดือนก่อน) ด้วยผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแอ และความเชื่อมั่นที่ถดถอย โดยเครื่องชี้การบริโภคสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน หดตัว -3.0% และ -0.1% ตามลำดับ ในขณะที่การใช้จ่ายภาคบริการขยายตัวชะลอลงเหลือ 1.0% […]
การส่งออกไทยเดือนม.ค.อยู่ที่ 19,625.7 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.35% YoY (vs prev -1.28% YoY) หากไม่รวมทองคำ หดตัว -1.5% YoY (vs prev -0.3% YoY)
BF Economic Research การส่งออกไทยเดือน ม.ค. อยู่ที่ 19,625.7 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.35% YoY (vs prev -1.28% YoY) หากไม่รวมทองคำ หดตัว -1.5% YoY (vs prev -0.3% YoY) ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 21,181.4 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -7.86% YoY (vs prev 2.5% YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -1,555.7 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev เกินดุล +595.7 ล้านดอลลาร์ฯ) ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในเดือน ม.ค.ให้ขยายตัวมาจาก การส่งออกทองคำขยายตัวเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องด้วยตลาดมีความกังวลสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นแรงกระตุ้นการซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น และมีผลดันราคาทองขึ้นสูงในช่วงม.ค.ขณะที่อัตราค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลง […]
ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ Loan Prime Rate (LPR) ประเภท 1 ปีลง 0.10% สู่ระดับ 4.05%
BF Economic Research ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ Loan Prime Rate (LPR) ประเภท 1 ปีลง 0.10% สู่ระดับ 4.05% สำหรับเดือน ก.พ. และได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีลง 0.05% สู่ระดับ 4.75% การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR ทั้งสองประเภทมีขึ้นในช่วงเวลาที่จีนกำลังรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือ COVID-19 ทั้งนี้ PBoC ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะกลางหรือ MLF ไปก่อนหน้านี้มาอยู่ที่ 3.15% หากพิจารณาดอกเบี้ยระยะสั้นของจีน เช่น CFETS Shibor 1 เดือน จะเห็นว่า ปรับลดลงต่อเนื่อง สะท้อนว่า PBoC พยายามที่จะเสริมสภาพคล่องให้กับตลาด และเมื่อวันที่ 17 ก.พ. […]
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 และประมาณการเศรษฐกิจปี 2020
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2019 ขยายตัว 1.6% YoY (0.2% QoQ หลังปรับฤดูกาล) จากที่โต 2.6% ในไตรมาสก่อน ทำให้ทั้งปี 2019 โต 2.4% จากปีก่อนที่ 4.2% ด้านการใช้จ่าย: การบริโภคยังขยายตัวเกิน 0% ขณะที่การส่งออกสุทธิเป็นบวกจากการนำเข้าที่ติดลบมากกว่าการส่งออก การส่งออกสุทธิ (Net exports) ช่วยหนุน GDP ในไตรมาสนี้ จากการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวแรงกว่าการส่งออกสินค้าและบริการ (นำเข้า -8.3% vs ส่งออก -3.6%) โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องสี่ไตรมาสติดต่อกัน จากอุปสงค์ต่างประเทศที่อ่อนแอและความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงจากเงินบาทแข็งค่า การใช้จ่ายทั้งการบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลง (การบริโภคภาคเอกชน 4.1% YoY จาก 4.3% ไตรมาสก่อน, การลงทุนรวม 0.9% จาก 2.7% ไตรมาสก่อน) […]
ตัวเลข GDP ญี่ปุ่นและยูโรโซนออกมาต่ำกว่าคาดใน Q4/19 และมีแนวโน้มแย่ลงอีกใน Q1/20 จากผลของ Coronavirus
BF Economic Research GDP ญี่ปุ่นไตรมาส 4/2019 หดตัวแรง -6.3% QoQ saar หลังปรับขึ้นภาษี Consumption Tax เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจาก 8% เป็น 10% ประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้การบริโภค การส่งออก และการลงทุนต่างชะลอตัว ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าก็ยังคงหดตัวถึง -1.6% QoQ มากกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ ตลาดคาดไว้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มภาษีอย่างแน่นอน และผลกระทบจะเบาบางกว่าเมื่อเทียบการการขึ้นภาษีในครั้งก่อนที่เพิ่มจาก 5% เป็น 8% ในไตรมาส 2/2014 แต่ตัวเลขที่ออกมาในไตรมาสล่าสุดกลับแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ค่อนข้างมาก สะท้อนว่ามาตรการบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นภาษี และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างที่รัฐบาลคาด โดยเรามองว่า รัฐบาลอาจต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (Supplementary budget) อีกรอบ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ผลกระทบจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ต่อภาคการท่องเที่ยว และการส่งออกยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เราอาจจะเห็น GDP ในไตรมาส 1/2020 ของญี่ปุ่นติดลบอีกครั้งเป็นไตรมาสที่ 2 และ ทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะ […]