คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินเดีย RBI มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% สู่ 5.15%

คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินเดีย RBI มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% สู่ 5.15%

BF Economic Research คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินเดีย RBI มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% สู่ 5.15% เป็นการปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ในปีนี้และเป็นการปรับลดทั้งสิ้น 1.35% โดย RBI ส่งสัญญาณที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีก พร้อมกับได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2019-20 ลงมาที่ 6.1% จากประมาณการครั้งก่อนที่ 6.9% ทั้งนี้นักลงทุนส่วนหนึ่ง มองว่าในการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้ RBI อาจจะปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีก (สะท้อนจาก Market Consensus) การผ่อนคลายเชิงนโยบายการเงินนี้สอดคล้องไปกับนโยบายการคลังที่รัฐบาลเพิ่งจะประกาศปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลไปเมื่อเดือน ก.ย. จาก 30% สู่ 22% เป็นผลให้รัฐบาลอินเดียอาจจะขาดดุลการคลัง 3.8% ของ GDP เป็นการขาดดุลทางการคลังที่มากกว่าเป้าหมายรัฐบาลในตอนแรกที่ 3.3% ของ GDP

World Economic Forum (WEF) รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันประจำปี  2019 ให้ประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นที่ 1 ของโลก แซงหน้าสหรัฐฯ

World Economic Forum (WEF) รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันประจำปี  2019 ให้ประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นที่ 1 ของโลก แซงหน้าสหรัฐฯ

BF Economic Research World Economic Forum (WEF) รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันประจำปี  2019 ให้ประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นที่ 1 ของโลก แซงหน้าสหรัฐฯ ส่วนประเทศไทยได้อันดับลงมาอยู่ที่ 40 จากเดิมที่อยู่อันดับ 38 (จาก 141 ประเทศทั่วโลก) หรือคิดเป็น 68 คะแนน  World Economic Forum (WEF) รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันประจำปี  2019 ให้ประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นที่ 1 ของโลก แซงหน้าสหรัฐฯ ส่วนประเทศไทยได้อันดับลงมาอยู่ที่ 40 จากเดิมที่อยู่อันดับ 38 (จาก 141 ประเทศทั่วโลก) หรือคิดเป็น 68 คะแนน ส่วนประเทศอื่นๆในอาเซียน พบว่า มาเลเซียได้อันดับที่ 27 (อันดับปีก่อนที่ 25) , […]

BF Monthly Economic Review – ก.ย. 2562

BF Monthly Economic Review – ก.ย. 2562

BF Economic Research เหตุการณ์สำคัญเดือน ก.ย. ยุโรป : ECB ลดดอกเบี้ยลง 10bps เป็น -0.5% และประกาศทำ QE ที่อัตรา EUR 20bn ต่อเดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ขณะที่มองเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปี 2020 อ่อนแอลง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate ลง -10bps เป็น -0.5% และคงอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Rate ที่ 0.0% และอัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Rate ที่ 0.25% โดยระบุว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับนี้หรือต่ำกว่า “จนกว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%” ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากการประชุมรอบก่อนที่ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังไม่ปรับเพิ่มขึ้น “จนกว่าจะถึงกลางปี […]

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 3 โตโดดเด่นถึง 7.3% จากการส่งออก และภาคอุตสาหกรรม ส่วนเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 3 โตโดดเด่นถึง 7.3% จากการส่งออก และภาคอุตสาหกรรม ส่วนเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ

BF Economic Research เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวถึง 7.31% YoY ในไตรมาส 3/2019 เพิ่มขึ้นจาก 6.73% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ตัวเลข GDP 9 เดือนแรกของปี 2019 นั้นเติบโตสูงที่สุดในรอบ 9 ปีถึง 6.98% การส่งออกและอุตสาหกรรมการผลิตนับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจเวียดนาม โดยการส่งออกเติบโตถึง 8.2% YoY ในช่วง 9 เดือนแรกของปี ท่ามกลางมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักอย่างเวียดนาม อย่างไรก็ดี มาตรการกีดกันทางการค้าดังกล่าวก็ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเวียดนามเช่นเดียวกันจากการเปลี่ยนแหล่งนำเข้าของสหรัฐฯ และจีนมายังเวียดนาม รวมไปถึงการย้ายฐานการผลิตบางส่วนมายังเวียดนามด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคการผลิตก็เติบโตไปในทิศทางเดียวกับการส่งออก โดยขยายตัวถึง 11.37% YoY สำหรับในช่วง ม.ค.-ก.ย. 2019 ด้านอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. ขยายตัวในระดับต่ำเพียง 1.98% YoY แต่เมื่อเทียบเป็นรายเดือนจะพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (0.32% MoM) […]

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% (25 ก.ย.)

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% (25 ก.ย.)

BF Economic Research คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 7 ต่อ 0 เสียงให้คงดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ระดับ 1.50% นอกจากนี้ ยังประกาศลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยลงทั้งในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.8% จาก 3.3% ที่ประกาศในเดือน มิ.ย. โดยคาดว่าการส่งออกจะหดตัว -1.0% และลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2020 ลงมาอยู่ที่ 3.3% จาก 3.7% ตามลำดับ ความเห็นของ กนง. ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจไทยอ่อนแอลงทุกภาคส่วน การส่งออกหดตัวลงมาก เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าอ่อนแอลงตามนโยบายกีดกันทางการค้าและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวช้า ส่วนการท่องเที่ยวชะลอตัวลง ด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากรายได้และการจ้างงานที่ลดลง กอปรกับผลกระทบของภัยธรรมชาติ แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ภาวะการเงินผ่อนคลาย แต่สินเชื่อธุรกิจและครัวเรือนชะลอลง และเงินบาทแข็งค่ากว่าคู่ค้าคู่แข่งซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจมากขึ้น และ ธปท. จะพิจารณามาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติมตามความจำเป็น ระบบการเงินโยรวมมีเสถียรภาพ […]

การส่งออกไทยเดือนส.ค.อยู่ที่ 21,914.9 ล้านดอลลาร์ฯ  หดตัว -4.0%  YoY (vs 4.28% เดือนก.ค.) 

การส่งออกไทยเดือนส.ค.อยู่ที่ 21,914.9 ล้านดอลลาร์ฯ  หดตัว -4.0%  YoY (vs 4.28% เดือนก.ค.) 

BF Economic Research ภาพรวมเดือนส.ค.   การส่งออกไทยเดือน ส.ค.อยู่ที่ 21,914.9 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -4.0% YoY (vs 4.28% เดือน ก.ค.) ส่วนการนำเข้า เดือนส.ค.อยู่ที่ 19,862.4 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -14.62% YoY (vs 1.7% YoY เดือน ก.ค.) การนำเข้าที่ลดลงต่อเนื่อง เป็นผลให้ ดุลการค้า เกินดุลเพิ่มขึ้น 2,052.6 ล้านดอลลาร์ฯ สำหรับในช่วง 8 เดือนของปี 2019 (ม.ค.-ส.ค.) การส่งออกมีมูลค่ารวม 166,090.6 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ หดตัว -2.19% AoA การนำเข้ามีมูลค่ารวม 159,984.4 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวมากกว่า […]

Fed ลดดอกเบี้ยลง 25bps เป็น 1.75-2.00%

Fed ลดดอกเบี้ยลง 25bps เป็น 1.75-2.00%

BF Economic Research สหรัฐฯ: Fed ลดดอกเบี้ยลง 25bps เป็น 1.75-2.00% Median Dot plot ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันไปถึงสิ้นปี 2020 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ 7:3 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate) ลง 25bps เป็น 1.75%-2.00% เป็นการลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งแรกในการประชุมปลายเดือน ก.ค.) เนื่องด้วย Fed กังวลความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก สำหรับคาดการณ์ดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า ค่ากลาง Dot plot ล่าสุดชี้ว่า Fed มองดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน (1.75%-2.00%) ไปจนถึงสิ้นปี 2020 อย่างไรก็ดี มีคณะกรรมการ 7 ท่าน จากทั้งหมด […]

อีซีบีหั่นดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมประกาศ QE รอบใหม่ตามตลาดคาด เป้าหมายกระตุ้นเงินเฟ้อแตะ 2%

อีซีบีหั่นดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมประกาศ QE รอบใหม่ตามตลาดคาด เป้าหมายกระตุ้นเงินเฟ้อแตะ 2%

BF Economic Research ธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี ประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการประชุมวาระสุดท้ายของ นายมาริโอ ดาร์กี ผู้ว่าการ อีซีบีคนปัจจุบัน ก่อนที่จะลงจากตำแหน่งในเดือน ต.ค. และส่งมองให้ นางคริสทีน ลาการ์ด มารับตำแหน่งแทน โดยที่ประชุมมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับอีซีบี (Deposit Facility) ลงจาก -0.40% เป็น -0.50% ขณะที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Main Refinancing Operations) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) ไว้ตามเดิมที่ 0% และ 0.25% ตามลำดับ ทั้งนี้ อีซีบีระบุว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันต่อไป หรือปรับลดลงอีก ‘จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ใกล้ระดับเป้าหมายที่ 2%’ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากการประชุมรอบก่อนที่ระบุว่า ‘จนกว่าจะถึงกลางปี 2020 เป็นอย่างน้อย’ […]

ญี่ปุ่นปรับจีดีพีเศรษฐกิจไตรมาส 2 ลง เหตุปัจจัยเสี่ยงภายนอกส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนโตน้อยลง

ญี่ปุ่นปรับจีดีพีเศรษฐกิจไตรมาส 2 ลง เหตุปัจจัยเสี่ยงภายนอกส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนโตน้อยลง

BF Economic Research เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2/2019 ถูกปรับประมาณการลงเป็นขยายตัว 1.3% QoQ saar (0.3% QoQ sa) จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 1.8% QoQ saar (0.4% QoQ sa) เนื่องจากการปรับลดในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลัก จากเดิมตัวเลขเบื้องต้นที่ 1.5% QoQ ลดลงมาขยายตัว 0.2% QoQ โดยเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นส่วนใหญ่ที่มีมุมมองเชิงลบต่อมาตรการกีดกันทางการค้า จึงยังชะลอการลงทุน แม้การลงทุนในธุรกิจอื่นๆ อาทิ ธุรกิจที่เกี่ยวกับ Software จะเติบโตได้ดี แต่ยังไม่เพียงพอที่จะหนุนการหดตัวของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่ การลงทุนภาครัฐขยายตัวมากขึ้นเป็น 1.8% QoQ จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 1.0% QoQ ส่วนการบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นกว่า 50% ของเศรษฐกิจไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ขยายตัว 0.6% QoQ ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกีดกันการค้าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะข้างหน้า ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลาง […]

อัตราเงินเฟ้อไทยชะลอลงจากราคาพลังงาน

อัตราเงินเฟ้อไทยชะลอลงจากราคาพลังงาน

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงมาที่ 0.52% YoY จาก 0.98% ในเดือน ก.ค. โดยแม้ราคาอาหารสดเพิ่มขึ้น (5.3% YoY) โดยเฉพาะข้าว ผักและผลไม้ แต่ถูกถ่วงจากราคาพลังงานที่ลดลง (-5.2% YoY) ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหักออกด้วยราคาอาหารสดและพลังงาน) คงที่ที่ระดับ 0.49% (เทียบกับ 0.41% ในเดือนก่อน) กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในช่วง 0.7-1.3% โดยได้ระบุว่าค่ากลางได้ต่ำกว่าการคาดการณ์ครั้งเดิมที่ 1.0% สำหรับอัตราเงินเฟ้อ YTD เฉลี่ยอยู่ที่ 0.87% YoY ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. ที่อยู่ในช่วง 1-4% Market Consensus สะท้อนว่ามีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับลงอีกครั้งในไตรมาส 4 ปีนี้ แต่ถ้าหากพิจารณาในอดีตที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายเคยลงไปต่ำสุดที่ 1.25% เมื่อตอนที่ GDP ติดลบ