เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 2 โต 5.05% YoY ตามที่ตลาดคาด
BF Economic Research เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 2/2019 ขยายตัว 5.05% YoY จาก 5.07% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการเติบโตจากการบริโภคในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งที่ทำให้การบริโภคภาครัฐเติบโตถึง 8.2% YoY ด้านการบริโภคภาคครัวเรือนยังขยายตัวได้แม้จะชะลอลงเล็กน้อยจาก 4.7% เป็น 4.4% ในขณะที่การส่งออกสุทธิหดตัว จากการนำเข้าที่ขยายตัวมากกว่าการส่งออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศที่เติบโตชะลอลง โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และการก่อสร้าง ทั้งนี้ เรามองว่าทั้งปี 2019 เศรษฐกิจอินโดนีเซียน่าจะขยายตัวที่ 5.2% สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดในเดือนก.ค. ขยายตัวที่ 3.32% โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจาก 3.28% YoY ในเดือน มิ.ย. จากราคาหมวดเครื่องนุ่งห่ม การศึกษา และคมนาคมที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 3.0-3.5% ตลอดทั้งปี 2019 ส่งผลให้เราคาดว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank […]
BF Monthly Economic Review – ก.ค. 2562
BF Economic Research สรุปประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน ก.ค. 2562 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงจากประเด็นการกีดกันทางการค้าเป็นหลัก และแม้เราคาดว่าจีนกับสหรัฐฯ จะสามารถเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันได้ในที่สุด แต่กระบวนการเจรจาอาจไม่ราบรื่นนัก ซึ่งการกลับมาเจรจากันอีกครั้งของสหรัฐฯ และจีนในครั้งนี้ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า หลังจากนี้ทั้งสองประเทศจะไม่มีความขัดแย้งระหว่างกันอีก รวมไปถึงว่าแม้จะมีข้อตกลงกันแล้วก็ตาม โดยสองมหาอำนาจทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างหันมาใช้นโยบายกีดกันทางการค้าที่ต่างออกไปจากนโยบายเดิมๆ อาทิ การขึ้นอัตราภาษีนำเข้า เป็นการใช้มาตรการกีดกันที่มีเป้าหมายเจาะจงเฉพาะบางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ยิ่งมีเสียงว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน อยากให้ข้อขัดแย้งทางการค้าดังกล่าวจบลง ยิ่งทำให้ความผันผวนในระยะข้างหน้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราสามารถมองนัยของความขัดแย้งทางการค้าต่อเศรษฐกิจและการลงทุนได้เป็นสองส่วนคือ 1) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก 2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลาง 1) ผลกระทบเศรษฐกิจจากความตึงเครียดด้านการค้า จนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้มีการใช้นโยบายกีดกันทางการค้าแล้วกับหลายประเทศทั่วโลก อาทิ จีน อินเดีย เม็กซิโก และเวียดนาม รวมไปถึงกับหลายประเภทสินค้า เช่น เหล็ก อลูมิเนียม และเครื่องซักผ้า เป็นต้น โดยในแต่ละประเด็นข้อพิพาททางการค้าล้วนส่งผลให้การค้าโลกชะลอตัว ที่ชัดเจนคือ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ […]
Fed มีมติปรับลดดอกเบี้ย แต่ตลาดยังไม่พอใจ
BF Economic Research คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติ 8-2 ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลง 25bps เป็น 2.00-2.25% โดยนาง Esther George ประธาน Fed สาขา Kansas city และนาย Eric Rosengren ประธาน Fed สาขา Boston เป็นคณะกรรมการสองท่านที่โหวตให้คงดอกเบี้ยเนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังขยายตัวดี การบริโภคเอกชนเร่งตัวขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 50 ปี เนื้อความโดยรวมไม่ต่างจากการประชุมครั้งก่อนนัก มีที่เพิ่มเติมถึงความไม่แน่นอนของพัฒนาการเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนแอเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ Fed ตัดสินใจลดดอกเบี้ยลง และส่งสัญญาณว่า Fed พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายเพิ่มเติมโดยจะคอยจับตาดูพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าอย่างใกล้ชิด แม้จะปรับดอกเบี้ยลงตาม Market Consensus แต่ประธาน Fed นาย Powell กล่าวในแถลงการณ์หลังการประชุมว่า การลดดอกเบี้ยในครั้งนี้เป็นเพียงการลดเพื่อจำกัดความเสี่ยงเท่านั้น ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของการกลับมาผ่อนคลายนโยบายการเงิน […]
รายงานเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงตอเนื่องจากไตรมาสกอนตามอุปสงคตางประเทศโดยการสงออกสินคาหดตัวตอเนื่อง สอดคลองกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัว ขณะที่ภาคการทองเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากจํานวนนักทองเที่ยวจีนที่ยังหดตัวต่อเนื่อง อุปสงคในประเทศโดยรวมชะลอตัวลงในเกือบทุกหมวด ยกเวนในหมวดสินคาไมคงทน ดานเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวทั้งหมวดกอสรางและหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 100.49 จุด ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ระดับ -5.5% YoY (vs. -3.4% YoY เดือนก่อน) โดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้กระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้า ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต (ปรับฤดูกาล) อยู่ที่ 65.8% แผ่วลงจาก 67.1% เดือนก่อน ทั้งนี้ MPI ในไตรมาสสองหดตัว -2.6% YoY (vs. -1.2% YoY ไตรมาสก่อน) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ฉุด MPI ในเดือน มิ.ย. ได้แก่ ยานยนต์ (-8.3% YoY) ผลิตภัณฑ์ยาง […]
บีโอเจปรับลดคาดการณ์จีดีพีและเงินเฟ้อลง พร้อมส่งสัญญาณใช้นโยบายเชิงผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น
BF Economic Research คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือบีโอเจ มีมติคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิมด้วยจำนวนเสียงที่ 7 ต่อ 2 ทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คงเอาไว้ที่ระดับ -0.1% การควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ในกรอบระดับ +/-0.2% และยังได้คงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ไว้ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี นอกจากนี้ บีโอเจได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นสำหรับปีงบประมาณ 2019 และ ปี 2021 ลงจาก 0.8% เป็น 0.7% และจาก 1.2% เป็น 1.1% ตามลำดับ พร้อมทั้งปรับอัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 2019 และ 2020 ลงจาก 0.9% เป็น 0.8% และจาก 1.3% เป็น 1.2% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี บีโอเจยังคงยืนยันเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2.0% ไม่เปลี่ยนแปลง […]
ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ส่งสัญญาณเตรียมผ่อนคลายเพิ่มขึ้นในการประชุมครั้งหน้า
BF Economic Research จากการประชุมธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบีเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา อีซีบีมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งได้แก่ อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Main Refi nancing Operations) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับอีซีบี (Deposit Facility) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) ไว้ตามเดิมที่ 0.00% 0.25% และ -0.40% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในการประชุมครั้งนี้ อีซีบีได้ส่งสัญญาณว่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้นในระยะข้างหน้า โดยอีซีบีอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรือกลับมาใช้นโยบาย QE อีกครั้ง ซึ่งอย่างเร็วที่สุด เรามองว่าอาจจะเป็นการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 12 ก.ย. 2019 เนื่องจากอีซีบีมองว่า ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป อย่างน้อยจนถึงช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ทั้งนี้ นายดรากียังไม่ได้ระบุรายละเอียดของการทำ QE ในการแถลงข่าวหลังการประชุม โดยเฉพาะประเด็นเรื่องข้อจำกัดในการถือครองพันธบัตร (Issuer […]
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงอีก -0.1ppt เป็น 3.2%
BF Economic Research กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงอีก -0.1pp เป็น 3.2% จากประมาณการครั้งก่อนในเดือน เม.ย. ซึ่งนับเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2009 โดยปรับลดลงจากประเทศเกิดใหม่ (EM) เป็นหลัก โดย IMF ระบุนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ทั้งความตึงเครียดทางการค้ากับจีนและการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ รวมถึงความเสี่ยงที่ UK จะแยกตัวออกจาก EU แบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) นับเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากได้กดดันความเชื่อมั่นและการลงทุน และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน IMF คาดเศรษฐกิจโลกจะเร่งตัวขึ้นเป็น 3.5% YoY ในปี 2020 บนสมมติฐานว่า 1) ความเชื่อมั่นโดยรวมในตลาดการเงินยังเอื้ออยู่ 2) ปัจจัยลบชั่วคราวที่เคยเกิดขึ้นได้ทยอยลดลง โดยเฉพาะในยุโรป 3) เศรษฐกิจบางประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่เผชิญปัญหามีเสถียรภาพมากขึ้น เช่น อาร์เจนตินาและตุรกี และ 4) เศรษฐกิจบางประเทศหลีกเลี่ยงการทรุดลงอย่างหนัก เช่น […]
การส่งออกไทยเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 21,409.30 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.15% YoY
BF Economic Research การส่งออกไทยเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 21,409.30 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.15% YoY (vs prev -5.8% YoY) ส่วนการนำเข้า อยู่ที่ 18,197.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -9.44% (vs prev -0.6% YoY) ดุลการค้า มิ.ย. เกินดุล 3,212 ล้านดอลลาร์ฯ (181.5 ล้านดอลลาร์ฯ) สำหรับตัวเลข YTD 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 122,970.70 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.91% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 119,027.40 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.41%YoY ดุลการค้าหกเดือนเกินดุล 3,943 ล้านดอลลาร์ฯ (เมื่อเทียบกับหกเดือนปีที่แล้วเกินดุล 4,263.9 […]
ธนาคารกลางอินโดนีเซียเริ่มกลับทิศทางดอกเบี้ย พร้อมส่งสัญญาณว่าจะปรับลดลงอีกในปีนี้
BF Economic Research ในการประชุมเดือน ก.ค. ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia: BI) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps จาก 6.0% เป็น 5.75% ตามที่เราคาด โดยเป็นการกลับทิศทางนโยบายการเงินจากตึงตัวเป็นผ่อนคลายเป็นครั้งแรกในรอบ 22 เดือน เพื่อหนุนโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความตึงเครียดจากนโยบายกีดกันทางการค้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2018 ทั้งนี้ ในการประชุมเดือนก่อนหน้า BI ได้เริ่มส่งสัญญาณ Dovish ด้วยการปรับลดอัตรากันสำรองหรือ Reserve Requirement Rate (RRR) ของธนาคารพาณิช ย์ลงไป 50bps เหลือ 6.0% เพื่อกระตุ้นยอดสินเชื่อในประเทศ ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ว่า BI ได้ส่งสัญญาณ Dovish ต่อเนื่องว่าในระยะข้างหน้ามีโอกาสที่ BI จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีก ซึ่งเราคาดว่า BI […]
ธนาคารกลางมาเลเซียคงดอกเบี้ยนโยบายตามคาด แต่มีโอกาสลดอีกครั้งในปีนี้ หากเศรษฐกิจเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้น
BF Economic Research ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.0% ในการประชุมเดือนก.ค. เป็นไปตามที่ ตลาดคาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในการประชุมเดือนพ.ค. ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยลงมา 25bps จาก 3.25% ทั้งนี้ รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของ BNM ระบุว่า ความเสี่ยงเชิงลบจากการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงมีอยู่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของมาเลเซียในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนในประเทศจะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ต่อเนื่องในปี 2019 ด้านอัตราเงินเฟ้อ BNM ระบุว่า ในระยะสั้น เงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ผลของฐานสูงในช่วงต้นปีก่อนการยกเลิกภาษี GST (Good and Services Tax) จะเริ่มมีผลน้อยลงนับตั้งแต่ครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป แต่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมา บวกกับการควบคุมราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ จะยังฉุดให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งทำให้ BNM ยังมีพื้นที่ในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินจะติดตามและประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อภายในประเทศต่อไป สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2019 […]