GDP สิงคโปร์ Q1/2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 1.3% YoY ขณะที่ ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือน ก.พ. 2019 ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน

GDP สิงคโปร์ Q1/2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 1.3% YoY ขณะที่ ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือน ก.พ. 2019 ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน

BF Economic Research สิงคโปร์: GDP (Estimates) Q1/2019 สิงคโปร์ขยายตัวที่ 1.3% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 1.9% YoY เป็นผลเนื่องมาจากภาคการผลิตที่หดตัวลงที่ -1.9% YoY (+5.1% YoY) ต่ำสุดในรอบ 13 ไตรมาส ฟิลิปปินส์: ขาดดุลการค้าในเดือน ก.พ. 2019 ที่ -2,790 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขาดดุลที่ – 3,920 ล้านดอลลาร์ฯ ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน ASEAN UPDATE สิงคโปร์: GDP (Estimates) Q1/2019 สิงคโปร์ขยายตัวที่ 1.3% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 1.9% YoY เป็นผลเนื่องมาจากภาคการผลิตที่หดตัวลงที่ -1.9% YoY […]

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง -0.2ppt เป็น 3.3% YoY

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง -0.2ppt เป็น 3.3% YoY

BF Economic Research กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง -0.2ppt เป็น 3.3% YoY จากประมาณการครั้งก่อนในเดือน ม.ค. ซึ่งนับเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2009 และปรับลดประมาณการปริมาณการค้าโลกปีนี้ลง -0.6ppt เป็น 3.4% YoY จากประมาณการครั้งก่อน IMF มองเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีและคาดจะเร่งตัวขึ้นเป็น 3.6% YoY ในปี 2020 จากปัจจัยบวกทั้งการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่จะเริ่มฟื้นตัวจากแรงหนุนของนโยบายภาครัฐ และตลาดแรงงานสหรัฐฯที่ยังแข็งแกร่ง แต่ก็ได้เตือนถึงความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ ทั้งการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจล้มเหลว และการแยกตัวออกของอังกฤษจาก EU แบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงจากเศรษฐกิจยูโรโซนที่อ่อนแอเป็นสำคัญ (-0.3ppt เป็น 1.3% YoY) โดยปรับลดลงมากในเยอรมนี (-0.5ppt เป็น 0.8% YoY) ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอและการปรับเปลี่ยนมาตรฐานไอเสียรถยนต์ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต […]

GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. ชะลอลงหลุดกรอบ BI

GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. ชะลอลงหลุดกรอบ BI

BF Economic Research เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ 7.1% YoY ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง อินโดนีเซีย: อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. 2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 2.48% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.57% YoY ต่ำกว่ากรอบที่ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ตั้งเป้าไว้   ASEAN UPDATE เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 ขยายตัวที่ 6.8% YoY โดยแม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 7.1% YoY แต่ก็นับว่าสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง  การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกของปี เกิดจากแรงส่งสำคัญจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 8.6% YoY (Prev.8.9% YoY) ประกอบกับภาคบริการที่ขยายตัว 6.5% YoY […]

เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ. 2019

เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ. 2019

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ. 2019 โมเมนตัมชะลอ การบริโภคในประเทศยังเป็นบวกแต่ช้ากว่าเดือนม.ค. ยอดขายรถยนต์เป็นแรงหนุนหลัก การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว เช่นเดียวกับการลงทุนเอกชนที่ติดลบจากภาคก่อสร้าง การท่องเที่ยว Flat นักท่องเที่ยวจากจีนพลิกกลับมาหดตัวอีกครั้งในเดือน ก.พ. จากเทศกาลตรุษจีนที่เหลื่อมเดือนจากปีก่อน ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) พลิกกลับมาหดตัว การผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ MPI โดยรวมหดตัวที่ -1.6% YoY (prev. +0.6% YoY) เป็นผลจากการผลิตในกลุ่มสินค้าส่งออกหดตัวเช่น การผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ MPI โดยรวมหดตัวที่ -1.6% YoY (prev. +0.6% YoY) เป็นผลจากการผลิตในกลุ่มสินค้าส่งออกหดตัวเช่น 1. การผลิตในหมวดยางและพลาสติก (-5.5% YoY) หดตัวตามการผลิตยางแผ่น จากการชะลอคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการจีน ประกอบกับระดับสินค้าคงคลังของจีนยังอยู่ในระดับสูง 2. หมวดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์(-12.1%YoY) จากการที่ผู้นำเข้าปรับลดระดับสินค้าคงคลัง 3. หมวดอื่นๆ (-7.7% YoY) ตามการผลิตโลหะขั้นมูลฐาน […]

BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2562

BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2562

BF Economic Research   ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน มี.ค. 2019 ท่าทีของธนาคารกลางยุโรปผ่อนคลายลง โดยได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ และออกโครงการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ (TLTRO3) เพื่อหนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คงดอกเบี้ยนโยบายการเงินเดิมที่ 2.25-2.5% แต่มีท่าที Dovish มากกว่าการประชุมครั้งก่อน จาก Dot Plot ล่าสุด คณะกรรมการ Fed ส่วนใหญ่คาดว่าจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้วในปีนี้ และจะปรับอัตราการลดขนาดงบดุลให้ช้าลง เริ่มเดือน พ.ค. พร้อมยุติการปรับลดขนาดงบดุลสิ้นเดือน ก.ย. ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ เกิด Inverted yield curve เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 22 มี.ค. ผ่านมา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 3 เดือน ดีดตัวเหนือระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เป็นครั้งแรกในรอบ 12 […]

การส่งออกไทยเดือนก.พ.กลับมาขยายตัว 5.91%YoY  จากที่หดตัว -5.65%YoY ในเดือนก่อน

การส่งออกไทยเดือนก.พ.กลับมาขยายตัว 5.91%YoY  จากที่หดตัว -5.65%YoY ในเดือนก่อน

BF Economic Research การส่งออกไทยเดือนก.พ.กลับมาขยายตัว 5.91%YoY  จากที่หดตัว -5.65%YoY ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากผลของการส่งมอบคืนสินค้าหมวดอาวุธ การส่งออกไทยเดือนก.พ.กลับมาขยายตัว 5.91%YoY  จากที่หดตัว -5.65%YoY ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากผลของการส่งมอบคืนสินค้าหมวดอาวุธ ที่นำเข้ามาซ้อมรบในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้หากไม่รวมน้ำมัน ทอง และ อาวุธ การส่งออกไทยจะหดตัว -4.9% YoY หมายเหตุ: กองทัพไทยมีการซ้อมรบกับกองกำลัง Cobra Gold ของสหรัฐฯ มีผลให้ต้องนำเข้าอาวุธในเดือนม.ค. (การนำเข้าในเดือนนั้นพุ่งสูง 14% YoY) และจำเป็นต้องส่งออกคืนกลับไปในเดือนก.พ. เป็นผลให้การส่งออกไทยดูดีกว่าปกติ ด้านการนำเข้าหดตัวสูง -10.03%YoY จากการขยายตัว 13.99%YoY ทำให้ดุลการค้าไทยกลับมาเกินดุลที่ 4.03 พันล้านดอลลาร์ฯ และมีผลให้ดุลการค้าไทย สองเดือนแรก (YTD) เกินดุลเพียง 2 ล้านดอลลาร์ฯ การซ้อมรบระหว่างไทยและสหรัฐฯ https://www.youtube.com/watch?v=38qzo3ql-a4  

Fed คงดอกเบี้ยนโยบายการเงินเดิมที่ 2.25-2.5% แต่มีท่าที Dovish มากกว่าการประชุมครั้งก่อน

Fed คงดอกเบี้ยนโยบายการเงินเดิมที่ 2.25-2.5% แต่มีท่าที Dovish มากกว่าการประชุมครั้งก่อน

BF Economic Research Fed คงดอกเบี้ยนโยบายการเงินเดิมที่ 2.25-2.5% แต่มีท่าที Dovish มากกว่าการประชุมครั้งก่อน โดยจาก Dot Plot ล่าสุด คณะกรรมการ Fed ส่วนใหญ่คาดว่าจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้วในปีนี้ และจะปรับอัตราการลดขนาดงบดุลให้ช้าลงเริ่มเดือน พ.ค. พร้อม ยุติการปรับลดขนาดงบดุลสิ้นเดือน ก.ย.  Fed คงดอกเบี้ยนโยบายการเงินเดิมที่ 2.25-2.5% แต่มีท่าที Dovish มากกว่าการประชุมครั้งก่อน โดยจาก Dot Plot ล่าสุด คณะกรรมการ Fed ส่วนใหญ่คาดว่าจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้วในปีนี้ และจะปรับอัตราการลดขนาดงบดุลให้ช้าลงเริ่มเดือน พ.ค. พร้อม ยุติการปรับลดขนาดงบดุลสิ้นเดือน ก.ย. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25-2.50% แต่มีท่าที Dovish มากกว่าที่คาด และยังคงย้ำว่าจะรอประเมินพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน รวมถึงเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าก่อนที่จะตัดสินใจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง […]

ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม มองการส่งออกเชิงลบมากขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม มองการส่งออกเชิงลบมากขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

BF Economic Research ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิมหลังการประชุมในเดือน มี.ค. โดยกำหนดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีอยู่ที่ 0% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% รวมทั้งจะยังคงซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่อไป อาทิ กองทุน ETF และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (RIET) ทั้งนี้ ในการประชุมเดือนนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้มีการกล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยยังเติบโตได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางการชะลอตัวของภาคการส่งออก และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ด้านนายคุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า การดำเนินนโยบายในปัจจุบันต่อไปนั้น ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม โดยจะยังคงยึดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ต่อไป และยังพยายามทำให้ถึงเป้าหมายโดยเร็วที่สุด โดยได้แสดงความเชื่อมั่นว่า แม้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมยังสามารถขยายตัวได้ ในขณะที่มองว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จากผลของการใช้นโยบายกระตุ้นของรัฐบาล ด้วยท่าทีของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้น (เยนต่อดอลลาร์ลดลง) หลังการประชุม โดยก่อนหน้านี้ตลาดมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะประกาศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นจึงทำให้เยนอ่อนค่าลงในช่วงก่อนการประชุม

สภาอังกฤษเลื่อนกำหนดการออกจากอียูตามคาด แต่หากนานกว่า 3 เดือน อาจทำให้ถูกบังคับเข้าร่วมการเลือกตั้งสภายุโรป

สภาอังกฤษเลื่อนกำหนดการออกจากอียูตามคาด แต่หากนานกว่า 3 เดือน อาจทำให้ถูกบังคับเข้าร่วมการเลือกตั้งสภายุโรป

BF Economic Research หลังจากรัฐสภาอังกฤษได้ลงมติคว่ำข้อตกลงว่าด้วยการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป หรืออียู (Brexit) ของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษเมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมา รัฐสภาก็ได้ลงมติอีก 2 ประเด็นในวันที่ 13 และ 14 มี.ค. โดยได้ผลสรุปว่าสหราชอาณาจักรจะไม่แยกตัวจากอียู โดยไร้ข้อตกลง (No-Deal Brexit) และจะเลื่อนกำหนดการออกจากอียูออกไปจากเดิมที่ 29 มี.ค. ซึ่งเรามองว่า อียูจะเห็นชอบกับการเลื่อนออกไป เนื่องจากต้องการจะหลีกเลี่ยงผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่จะเป็นระยะเวลาเท่าใดนั้นยังไม่ได้มีการตกลงกัน นอกจากนี้ ในวันเดียวกันรัฐสภายังได้ลงมติคัดค้านการทำประชามติรอบ 2 ด้วย ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญหลังจากนี้ที่ทำให้การออกจากอียูของสหราชอาณาจักรดูจะซับซ้อนมากขึ้น คือ การเลือกตั้งของรัฐสภายุโรปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 23-26 พ.ค. นี้ โดยหากทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะเลื่อนกำหนดการแยกตัวออกจากอียูไปอีก 3 เดือนก็จะไม่เป็นปัญหา เนื่องจากพิธีสาบานตนรับตำแหน่งรัฐสภายุโรปจะมีขึ้นในวันที่ 2 ก.ค. 2019 ซึ่ง ณ […]

ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนม.ค. ต่อเนื่อง ขณะที่ อินโดนีเซียเกินดุลการค้าในเดือนก.พ. ในรอบ 5 เดือน

ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนม.ค. ต่อเนื่อง ขณะที่ อินโดนีเซียเกินดุลการค้าในเดือนก.พ. ในรอบ 5 เดือน

BF Economic Research ฟิลิปปินส์: ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนม.ค. 2019 ที่ 3,756 พันล้านดอลลาร์ ไม่แตกต่างจากเดือนที่ผ่านมา อินโดนีเซีย: อินโดนีเซียพลิกกลับมาเกินดุลการค้าในเดือนกพ. 2019 ที่ 330 พันล้านดอลลาร์ เหนือการคาดหมายของตลาด โดยเป็นกลับมาการเกินดุลในรอบ 5 เดือน     ฟิลิปปินส์: ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนม.ค. 2019 ที่ 3,756 พันล้านดอลลาร์ ไม่แตกต่างจากเดือนธ.ค. 2018 ที่ขาดดุล 3,750 พันล้านดอลลาร์มากนัก อย่างไรก็ดี ในเดือนม.ค. 2019 การส่งออกมีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยชะลอตัวที่ -1.7% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่หดตัวที่ -12.3% YoY เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์หดตัวลดลง เช่นเดียวกับการนำเข้าพลิกกลับมาขยายตัวที่ 5.8% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่หดตัว -9.4% สะท้อนภาพอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัวได้เป็นอย่างดี […]