BF Monthly Economic Review – ม.ค. 2562
BF Economic Research ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน ม.ค. 2019 IMF ปรับลด Global growth เนื่องจาก Trade tension และเศรษฐกิจยุโรปแย่กว่าคาด (Big 3 เช่น เยอรมนี อิตาลี และ ฝรั่งเศส มี Downside ด้านการเมือง) การเจรจาการค้าระหว่างจีน และ US เริ่มมีความคืบหน้ำ โดยรองปธน. Liiu He ของจีนอยู่ที่ Washington พร้อมที่จะพบกับ US Trade Rep. & รมว.คลัง Mnuchin ในวันที่ 30 ม.ค. เศรษฐกิจจีนปี 2018 ชะลอที่ 6.6% (ไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 6.4% […]
GDP ฟิลิปปินส์ 4Q2018 โต 6.1% YoY ต่ำกว่าที่คาดการณ์6.3% ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อสิงคโปร์เดือน ธ.ค. ขยายตัวเร่งขึ้น
BF Economic Research ฟิลิปปินส์: GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เติบโตที่ 6.1% YoY ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.0% YoY และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ สิงคโปร์: อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ขยายตัว 0.5% YoY ในเดือนธ.ค. 2018 ที่ผ่านมา (Prev. +0.3% YoY) เป็นผลจากราคาภาคบริการและค้าปลีกที่ขยายตัวขึ้น ASEAN UPDATE ฟิลิปปินส์: GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เติบโตที่ 6.1% YoY ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.0% YoY และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.3% YoY ส่งผลให้ในปี 2018 GDP ของฟิลิปปินส์ขยายตัวที่ 6.2 […]
China Economic Update Thailand
GDP จีนและส่งออกไทยแย่ทั้งคู่
BF Economic Research จีน: GDP ไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +6.4% YoY (จาก +6.5% YoY ในไตรมาสก่อน) ทั้งปี 2018 ขยายตัว +6.6% YoY ปัจจัยที่มีผลให้ GDP จีนชะลอลงมาจากกลุ่มการผลิตและภาคบริการที่ชะลอลง ส่วนตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน ธ.ค. นั้นภาคการผลิตออกมาสูงกว่าคาดส่วนการบริโภค ขณะที่การลงทุนขยายตัวต่ำกว่าที่คาด o ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ธ.ค. ฟื้นตัวขึ้นเป็น +5.7% YoY จาก +5.4% YoY ในเดือนก่อน โดยผลผลิตในกลุ่มพลังงานไฟฟ้าได้เร่งตัวขึ้นแรง (+6.2% YoY vs. +3.6% เดือนก่อน) o ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update
ASEAN UPDATE : อินโดนีเชียขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.ชะลอลง ขณะที่การส่งออกสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวลงสูงสุดในรอบ 2 ปี
BF Economic Research อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ต. ชะลอลงเหลือ 1.1 พันล้านดอลลาร์ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์เป็นผลมาจากการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลง ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6.0% ในการประชุมวันนี้ (17 ม.ค.) สิงคโปร์ : การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวต่อเนื่องที่ -8.5 % YoY จากที่หดตัว -2.8% YoY ในเดือนที่ผ่านมา อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ค. ลดลงเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์ ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ที่ 1.115 พันล้านดอลลาร์ฯโดยชะลอลงจากเดือนที่ผ่านซึ่งขาดดุลที่ 2.05 พันล้านดอลลาร์ฯ โดยแม้ว่าการส่งออกจะหดตัวลงที่ -4.6% YoY (vs. Consensus 1.0% YoY ) แต่การนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงที่ […]
ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนพ.ย. ชะลอลงเล็กน้อย ขณะที่ อินโดนีเซียตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณปี 2019 คิดเป็น 1.84% ของ GDP
BF Economic Research ฟิลิปปินส์ : ขาดดุลการค้าในเดือนพ.ย. ชะลอลงเล็กน้อยเหลือ 3.9 พันล้านดอลลาร์ฯ จาก 4.21 พันล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนที่ผ่านมา อินโดนีเซีย: ตั้งเป้าการขาดดุลงบประมาณปี 2019 คิดเป็น 1.84% ของ GDP สูงกว่าปี 2018 ซึ่งมีการขาดดุลงบประมาณคิดเป็น 1.76% ของ GDP เล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่าการขาดดุลงบประมาณเฉลี่ย 2.34% ของ GDP ในระหว่างปี 2012-2017 ที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์: การส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือนพ.ย. 2018 ติดลบที่ -0.3% (Prev. +5.5% YoY) โดยเป็นการติดลบในรอบ 6 เดือน เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนกว่า 83.6 % ของสินค้าส่งออกทั้งหมดหดตัว […]
PBoC ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำสำหรับธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 100bps และเตรียมพร้อมใช้โครงการปล่อยกู้ใหม่
BF Economic Research จีน: PBoC ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำสำหรับธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 100bps และเตรียมพร้อมใช้โครงการปล่อยกู้ใหม่ ธนาคารกลางจีน (PBoC) ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (Reserve Requirement Ratio: RRR) ลง 100bps เป็น 13.5% สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และ 11.5% สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก โดยแบ่งเป็น 50bps มีผลบังคับใช้วันที่ 15 ม.ค. และอีก 50bps มีผลบังคับใช้วันที่ 25 ม.ค. จากการปรับลด RRR จะทำให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านล้านหยวน แต่เนื่องด้วย PBoC กล่าวว่าจะไม่ต่อโครงการเพิ่มสภาพคล่องอื่นๆ จึงจะทำให้โดยสุทธิแล้วจะมีสภาพคล่องเข้าสู่ระบบประมาณ 8 แสนล้านหยวน ในรายละเอียดนั้น PBoC กล่าวว่าจะไม่ Roll-over […]
BF ECONOMIC OUTLOOK 1H2019
BF Economic Research Core Macro Theme ช่วงครึ่งแรกของปี 2018 เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดี ตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง ส่งผลให้ตลาดโดยรวมมีภาพที่เป็นเชิงบวก ด้านนโยบายต่างๆ ยังหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้ แม้จะไม่มากเท่ากับในช่วงปี 2016 ทั้งนี้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศออกมาดีกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ในช่วงที่เหลือของปี 2018 และในปี 2019 ก็จะยังเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้แต่ผลบวกอาจจะชะลอลงท่ามกลางความท้าทายที่เพิ่มขึ้นจากภาวะความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และผลของฐานสูงในช่วงปลายปี 2017 ในขณะที่ สภาพคล่องในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงมากขึ้น ภายหลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) เริ่มเข้าสู่การใช้นโยบายการเงินขาขึ้นเช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เหลือเพียงธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่หนุนสภาพคล่องในตลาด เนื่องจากยังคงนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายไว้ตามเดิม ในบรรดาทั้งสามธนาคารกลางหลัก ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะยังคงเป็นผู้นำในการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น โดยตลาดได้ปรับมุมมองว่าภาพเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลงในสหรัฐฯ อาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นช้าลง โดย ณ ข้อมูลเดือนธ.ค. ตลาดส่วนใหญ่มองว่า Fed จะปรับดอกเบี้ยขึ้น 1-2 ครั้งในปี 2019 เป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยอาจจะอยู่ที่ระดับใกล้เคียงดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐฯที่ […]
2 ม.ค. 2019 เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย.
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย. ให้ภาพที่แผ่วลงโดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากรายได้เกษตรที่หดตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีจากการย้ายฐานการผลิตกลุ่ม HDD มาไทย ประกอบกับโครงการก่อสร้างภาครัฐได้เริ่มก่อสร้างทำให้ยอดขายซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างขยายตัวดี การส่งออกถูกกระทบจากฐานที่สูงและการกีดกันทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เป็นผลให้การผลิตเพื่อการส่งออกในสินค้าบางกลุ่มถูก Disrupt เช่นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีการเร่งการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นภายหลังจากที่สหรัฐฯและจีนยืดระยะเวลาการต่อรองออกไป ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอลงจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงกว่าครึ่ง ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ชะลอจากเดือนก่อนที่ 1.0% (เดือนก่อน 5.8% YoY) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ชะลอจากเดือนก่อนที่ 1.0% (เดือนก่อน 5.8% YoY) เมื่อเปรียบเทียบรายเดือนอยู่ที่ 1.5% MoM sa โดยภาพรวมการผลิตชะลอในทุกหมวด โดยหมวดที่ยังหดตัวสูงจากเดือนก่อนคือ ยางพาราและพลาสติก (-12.7% YoY จากเดือนก่อน -14.5% YoY) จากการชะลอคำสั่งซื้อ ของผู้ประกอบการจีน ประกอบกับสินค้าคงคลังในจีนยังอยู่ในระดับสูง, เสื้อผ้าและสิ่งทอ (-2.2% YoY เท่ากับเดือนก่อน) ส่วนหมวดการผลิตที่ยังขยายตัวได้แต่เห็นโมเมนตัมการชะลอลงอย่างชัดเจนคือหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน (6.4% YoY […]
B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update Singapore
GDP สิงคโปร์ไตรมาส 4/2018 โต 2.2% YoY ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี
BF Economic Research GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 2.3% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 2.7% YoY GDP ทั้งปี 2018 ของสิงคโปร์ขยายตัว 3.3% ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่ขยายตัว 3.6% อย่างไรก็ดี ยังคงอยู่ในกรอบที่ MIT ได้ประกาศเป้าหมายปี 2018 ไว้ที่ 3.0-3.5% ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในปี 2019 น่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ MAS ยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างรัดกุมต่อไปในระยะข้างหน้า GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อยที่ขยายตัว 2.3% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ […]
กองทุนบัวหลวงคาดปี 2019 เศรษฐกิจกัมพูชา-เมียนมาขยายตัว 6.8% ส่วนลาวขยายตัว 7%
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา กัมพูชา เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2018 มีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่ขยายตัว โดยการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาขยายตัวได้ดีในครึ่งแรกของปี ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากกัมพูชาเป็นฐานการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของจีน ประกอบกับการส่งออกยางพาราที่ขยายตัวได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้ เศรษฐกิจของกัมพูชายังได้รับแรงส่งจากการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังกัมพูชาในช่วงครึ่งแรกของปี 2018 ขยายตัว 12.7% YoY สปป.ลาว เศรษฐกิจสปป.ลาว ปี 2018 ขยายตัวจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและการลงทุนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไม่เติบโตตามที่คาด แม้ว่ารัฐบาลสปป.ลาวจะมีความพยายามในการดึงดูดนักท่องเที่ยวผ่านนโยบาย Visit Laos โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของประเทศ เนื่องจากการท่องเที่ยวนับเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังคงต้องจับตาประเด็นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเกิดจากการนำเข้าที่ขยายตัวเป็นอย่างมาก แม้ว่าการส่งออกจะสามารถเติบโตได้ดี ทั้งนี้ มีสาเหตุเนื่องมาจากการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะโครงการรถไฟจีน-ลาว เมียนมา ภาพรวมเศรษฐกิจเมียนมาในปี 2018 ขยายตัวได้ดี สะท้อนได้จากภาคการผลิตที่เติบโตได้ดีในครึ่งแรกของปี แม้จะมีความท้าทายจากการที่ดัชนี PMI ร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 50 จุดในเดือนก.ค. ถึงเดือนต.ค. อย่างไรก็ดี จากข้อมูลล่าสุดในเดือนพ.ย. ดัชนี […]